พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙ - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙

พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙ พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙ พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙ พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙ พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม พ.ศ.๒๕๑๙
รายละเอียดพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา(พิมพ์ใหญ่) ด้านหลังยันต์อุณาโลม จัดสร้างฯ พุทธาภิเษกพิธีใหญ่ พ.ศ.๒๕๑๙ หากยกไว้เสียแต่ "พระสมเด็จจิตรลดา" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างด้วยฝีพระหัตถ์และทรงอธิษฐานด้วยพระองค์เองเมื่อราวปี พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๑๒ แต่เพียงรุ่นเดียวแล้ว

“พระเครื่องแห่งกษัตริย์” ที่ในหลวงทรงมีพระราชดำริ, มีพระบรมราชานุญาต, พระราชทานมวลสาร, ทรงพระสุหร่ายด้วยพระองค์เองในยุคนี้สมัยนี้ ก็ยากอย่างที่สุดที่จะมี “พระเครื่องแห่งกษัตริย์” แบบใดรุ่นใด ที่จะถึงพร้อมด้วยองค์คุณแห่ง “พระวิสัยทัศน์”, “พระราชปัญญา”, “พระราชบารมี” และ “พระบรมเดชานุภาพ” แห่งองค์พระนวบรมมหากษัตริยาธิราชเจ้า พระองค์ปัจจุบันเป็นการ “โดยตรง” เสมอเหมือนด้วย “พระอุณาโลมทรงจิตรลดา” และ “พระนางพญา สก” ที่มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในจัดสร้างได้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ และเป็นพระที่มีเนื้อหามวลสารดีเยี่ยมที่สุดเท่าที่คณะบุคคลจะพึงทำได้พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
...เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ วัดบวรนิเวศวิหารได้ทำการรื้อกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถทั้งของวัดบวรฯ เอง และของคณะรังษี (ซึ่งเดิมก็คือ วัดบวรรังษี หากภายหลังได้ยุบรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร) แล้วนำกระเบื้องลงมากองไว้
วันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีที่วัดบวรฯ ทรงทอดพระเนตรเห็นกระเบื้องเก่าอายุนับร้อยปี ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาเนิ่นนาน อบด้วยกระแสพุทธมนต์ที่พระภิกษุทำวัตรเช้า-เย็น ซึมซับพิธีพุทธาภิเษกมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันพิธี ที่สำคัญ คือพระองค์ก็ทรงผนวชภายใต้ร่มเงาของกระเบื้องชุดนี้ก่อนที่จะถูกรื้อลงมา จึงมีพระราชดำรัสว่า “กระเบื้องมุงหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารนั้นน่าจะทำประโยชน์ได้บ้าง เนื่องจากเป็นของเก่า และสมเด็จพระสังฆราชเคยประทับอยู่วัดแห่งนี้ถึง ๓ พระองค์ หากนำไปทำพระผงคงจะดีไม่น้อย”

ด้วยพระราชดำรัสนี้เอง ทำให้คณะพระภิกษุและกรรมการวัดบวรฯ และสภาการศึกษามหามงกุฎราชวิทยาลัย จึงได้คิดสร้างพระผงสมเด็จนางพญาขึ้นรับสนองเสมือนหนึ่งเป็นพระบรมราชโองการ แล้วดำเนินการจัดสร้างทันที โดยกำหนดแบบพิมพ์และขนาด “พระจิตรลดา” ทุกประการ ด้วยการนำผงพระราชทานและผงศักดิ์สิทธิ์ ๑๙๙ ชนิด มาผสมกับกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถดังกล่าว และยังได้ขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ส.ก” มาประดิษฐานไว้ด้านหลังของพระสมเด็จนางพญา ส.ก.

***สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างนั้นเพื่อนำรายได้จากการบูชาพระสมเด็จและนางพญา ส.ก.ไปก่อตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อนำดอกผลมาใช้ในการศึกษาของพระและเณรที่วิทยาลัยสงฆ์ ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีความอัตคัต สืบเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยสงฆ์ ณ จังหวัดอยุธยา มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นทุ่งนา ปราศจากต้นไม้ น้ำท่วมทุกปี ทั้งยังมีปัญหาน้ำดื่มที่ขาดแคลน ปัญหาการบิณฑบาต เนื่องจากวิทยาลัยอยู่ห่างจากหมู่บ้าน ในการนี้ทางมูลนิธิจึงได้คิดสร้างพระสมเด็จนางพญาขึ้นจำนวนหนึ่ง เพื่อหารายได้มาช่วยในวัตถุประสงค์ดังกล่าว รายได้จากศรัทธาของพุทธศาสนิกชนครั้งนี้ จะนำไปจัดตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อหาดอกผลมาบำรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ตามโครงการฯ ดังนี้
๑. สร้างอาคารเรียนสำหรับพระภิกษุและสามเณร
๒. ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร
๓. ขยายโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้แพร่หลายทุกจังหวัด
๔. เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้านพระธรรมฑูตและหนังสือต่างๆ
๕. เป็นค่าภัตตาหาร
....เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว จึงได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก ๗ วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯ เมื่อวันที่ ๕ – ๑๑ ก.ค. ๒๕๑๙
....ในวันที่ ๑๒ ก.ค. ๒๕๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯ
....พุทธลักษณะโดยทั่วไปของพระสมเด็จอุณาโลม ซึ่งได้ถอดแบบมาจาก “พระสมเด็จจิตรลดา” ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิอยู่บนอาสนะบัวสองชั้นในทรงกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่วคล้ายพระสมเด็จจิตรลดา แต่เพิ่มรายละเอียดในองค์พระปฏิมากรให้ชัดเจนขึ้นและเพิ่มยันต์อุณาโลมที่ด้านหลังองค์พระ พร้อมกับมีอักขระจารึกว่า
“เอตังสะติง พะมะนะอะกะสะนะทะอะ สะ อะ” เป็น ๓ บรรทัด อักษรจมลงไปในเนื้อพระด้านหลัง ขนาดองค์พระมีสองพิมพ์ คือ
๑) พิมพ์ใหญ่ สูง ๓ ซม. กว้าง ๒ ซม. หนา ๐.๕ ซม.
๒) พิมพ์เล็กสูง ๒.๕ ซม. กว้าง ๑.๗ ซม. หนา ๐.๔ ซม. พระเครื่องพิมพ์นี้เป็นพระเครื่องเนื้อผงพุทธคุณ สีแบบอิฐเผา จำนวนการจัดสร้าง ๑๐๐,๐๐๐ องค์
พูดถึงพิธีการสร้างวัตถุมงคล หรือการประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลที่ปัจจุบันดูจะหายากสักหน่อยที่จัดพิธีอย่างใหญ่โต เต็มไปด้วยความเข้มขลังของพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก อย่างเช่นในพิธีพุทธาภิเษกพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา พระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นพร้อมกับพระสมเด็จนางพญา สก อันโด่งดังเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙
....ที่ว่าพิธีดีนั้นดีอย่างไร ครั้งนั้นได้จัดให้มีการประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร ถึง ๗ วัน ๗ คืน ระหว่างวันที่ ๕-๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๙ มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งยุคหลายรูปเข้าร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยเฉพาะ "หลวงปู่โต๊ะ"วัดประดู่ฉิมพลี ได้มาร่วมปลุกเสกถึง ๕ วันด้วยกัน รวมทั้งพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ดั่งรายนาม ต่อไปนี้
๑. พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่
๒. พระเทพวราลังการ วัดป่าสุทธาวาส จ.เลย
๓. พระญาณสิทธาจารย์ วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม จ.นครราชสีมา
๔. พระอาจารย์อ่อน วัดโพธาราม จ.อุดรธานี
๕. พระสุทธสารโสภณ วัดศรีโพนแท่น จ.เลย
๖. พระอาจารย์เปลื่อง วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
๗. พระสังวรวิมลเถร (โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
๘. พระโพธิสังวรคุณ (ไพฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
๙. พระครูสารธรรมนิเทศ (มา) วัดวิเวกอาศรม จ.ร้อยเอ็ด
๑๐. พระอาจารย์สี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม
๑๑. พระราชธรรมานุวัตร (อ่อน) วัดประชานิคม จ.กาฬสินธุ์
๑๒. พระครูศีลขันธสังวร (อ่อนสี) วัดพระงาม จ.หนองคาย
๑๓. พระครูทัศนปรีชา (ขม) วัดป่าบ้านบัวค่อม
๑๔. พระอาจารย์สาม อกิญจโน วัดไตรวิเวการาม จ.สุรินทร์
๑๕. พระครูญาณปรีชา (เหรียญ) วัดป่าอรัญญบรรพต จ.หนองคาย
๑๖. หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี
๑๗. พระอาจารย์หัวพา วัดป่าพระพนิต จ.หนองคาย
๑๘. พระชินวงศาจารย์ (พุธ) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
๑๙. พระครูวิบูลย์ธรรมภาณ (โชติ) วัดภูเขาแก้ว จ.อุบลราชธานี
๒๐. พระครูวินิตวัฒนคุณ วัดบ้านนาเจริญ จ.อุบลราชธานี
๒๑. พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร
๒๒. พระอาจารย์สมชาย วัดราษฎร์บุรณคุณาคาม (เขาสุกิม) จ.จันทบุรี
๒๓. พระรักขิตวันมุนี (ถิร) วัดป่าเลไลยก์ฯ จ.สุพรรณบุรี
๒๔. พระศีลขันธโสภณ (สนิท) วัดศีลขันธาราม
๒๕. พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
๒๖. พระญาณจักษุ (ผ่อง) วัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพฯ
๒๗. พระครูโสภณกัลยาณวัตร (เส่ง) วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
๒๘. พระราชธรรมวิจารณ์ (ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) กรุงเทพฯ
๒๙. พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (สา) วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ
๓๐. หลวงพ่อซ่วน วัดพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
๓๑. หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น
๓๒. พระอาจารย์ไสว สุวโร วัดป่าสิริสาลวัน จ.อุดรธานี
๓๓. หลวงปู่จันทร์ วัดป่ามะขาม ฯลฯ
พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตลดา เป็นพระเครื่องเนื้อผงทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้าเป็นพระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่คล้ายกับพระสมเด็จจิตรลดาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง ส่วนด้านหลังมียันต์อักขระตัวอุณาโลม จึงเป็นที่มาของการเรียกขานชื่อพิมพ์สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา เป็นพระเครื่องกลางเก่ากลางใหม่ที่น่าสนใจอีกรุ่นหนึ่ง ที่มีพิธีดี มวลสารดี น่าสนใจทีเดียว อีกทั้งนับอายุกาลก็ได้กว่า ๔๐ ปีแล้ว

*****ที่ว่ามวลสารดีนั้น พระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดามีมวลสารมากมายกว่า ๒๐๐ ชนิด ซึ่งคงยากที่จะเรียงร่ายให้ครบ เอาแต่เพียงที่สำคัญยิ่งคือ ผงดอกไม้พระราชทานเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๗ ผงธูปพระราชทาน ผงดอกไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบูชาพระพุทธชินสีห์ในเทศกาลเข้าพรรษา พ.ศ.๒๕๑๗ แล้วยังมีผงธูป ผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากพระเกจิอาจารย์ เช่น ผงพระสมเด็จ(โต) วัดระฆังโฆสิตาราม ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม ผงพระสมเด็จวัดสามปลื้ม ผงพระหลวงพ่อวัดปากน้ำ ผงพระสมเด็จ ธัมมวิตักโก ผงอิทธิเจ หลวงปู่โต๊ะ และผงจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศไทย
พุทธคุณแห่งพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม และลาภผลพูนทวี นอกเหนือจากมวลสารสุดยอดเยี่ยม ยังมีกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้น โดยพระสมเด็จอุณาโลม ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง "จิตรลดา" และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมพระสมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๙ เวลา ๑๖.๐๐ น. ด้วย จึงเป็นพระเครื่องอีกพิมพ์หนึ่งที่ควรค่าแก่การบูชาทั้งปวง
ราคาเปิดประมูล4,300 บาท
ราคาปัจจุบัน4,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 01 ก.พ. 2560 - 22:17.20
วันปิดประมูล ศ. - 03 ก.พ. 2560 - 00:04.59 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 4,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
4,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 02 ก.พ. 2560 - 00:04.59
กำลังโหลด...
Top