ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525
พระสังกัจจายน์ห้าเหลี่ยม หลวงปู่ภู จนฺทสโร อีกหนึ่งของสุดยอดพระเนื้อผงตระกูลพระสมเด็จ มาอีกแล้วจ้า
ชื่อพระเครื่อง | พระสังกัจจายน์ห้าเหลี่ยม หลวงปู่ภู จนฺทสโร อีกหนึ่งของสุดยอดพระเนื้อผงตระกูลพระสมเด็จ มาอีกแล้วจ้า |
---|---|
รายละเอียด | พระเนื้อผงพุทธคุณของพระครูธรรมมานุกูล (ภู จนฺทสโร) แห่งวัดอินทรวิหาร ถือได้ว่าเป็นพระหน่อเนื้อเชื้อสายเดียวกันกับสุดยอดพระเนื้อผงพุทธคุณอย่างพระสมเด็จที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารยฒ์ (โต ( โต พฺรหฺมรํสี) โดยมีหลักฐานปรากฏเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะสายสัมพันธ์อันใกล้ชิด ระหว่างศิษย์ และพระอาจารย์ หลวงปู่ภู ถือเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด ทั้งยังมีชีวิตอยู่ทันยุค ทั้งยังได้รับการถ่ายทอดสรรพเวทย์วิทยาคม จนได้รับการไว้วางใจ จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากรูปหนึ่ง ท่านและ หลวงปู่ใหญ่ พระพี่ชายของท่าน เคยออกร่วมธุดงค์กับ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม หลายครั้งหลายครา แม้ขณะหลวงปู่ภูศึกษาวิปัสสนาธุระ หลังเข้ามาอยู่จำพรรษาในพระนคร ณ วัดอินทรวิหาร ยังปรากฏหลักฐานว่าท่านได้ไปลงอุโบสถที่วัดระฆังอยู่เป็นนิจ อันวัดอินทรวิหารนี้ ตามประวัติ เป็นวัดที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์( โต พฺรหฺมรํสี) เคยบรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดนี้ โดยเป็นศิษย์ของ ท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารในสมัยนั้น แม้ต่อมาท่านจะไปอุปสมบทเป็นภิกษุจนภายหลังครองวัดระฆังโฆษิตารามแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังมีความผูกพันกับวัดอินทรวิหารเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากเสนาสนะและสิ่งปลูกสร้างที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่มากมาย รวมถึงพระยืนหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่นับได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของพระอารามแห่งนี้ สำหรับพระครูธรรมานุกูล (หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร) นี้ ตามประวัติไม่นิยมสร้างวัตถุมงคล เพราะเกรงจะเป็นการแข่งขันกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นอาจารย์ ปฐมเหตุที่ท่านจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล น่าจะ เป็นเพราะท่านต้องรับภาระดำเนินการก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต ต่อจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ และยังมิได้สำเร็จลุล่วงสมดังเจตนา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงจำเป็นต้องสร้างพระผงพุทธคุณ ขึ้นมาเพื่อตอบแทนให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างองค์หลวงพ่อโตฯ และแจกจ่ายให้ลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงปู่ภู มีการสร้างขึ้นหลายครั้งหลายรุ่นต่อเนื่องตลอดตราบจนสิ้นอายุขัย คงเป็นเรื่องยากลำบากที่จะระบุชี้ชัดลงไป ว่าในแต่ละครั้งสร้างพระพิมพ์ใดจำนวนเท่าใดบ้าง หากสังเกตจากเนื้อหามวลสารในพระเนื้อผงพุทธคุณของท่าน จะสามารถแยกแบ่งตามยุคสมัยในการสร้างพระของท่านได้ดังนี้ 1. พระยุคต้น สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในช่วงประมาณปี พ.ศ 2450เป็นต้นมา ภายหลังการสิ้นชีพิตักษัยของสมเด็จพระพุฒาจารย์( โต พฺรหฺมรํสี) ไปแล้วหลายสิบปี เท่าที่พบพระในยุคนี้มีลักษณะเนื้อหาแบบที่เรียกว่า “เนื้อจัดแก่มวลสาร” เมื่อพิจารณาจะเห็นเนื้อหาที่เข้มข้น มีความเก่าได้อายุ หากมีการสัมผัสจับต้องมักมีความหนึกนุ่ม แสดงให้เห็นว่าสูตรการผสมผงพุทธคุณและมวลสารอันประกอบด้วย ปูนจากเปลือกหอย ข้าวสุก กล้วย ผงเกสรดอกไม้บูชาพระ โดยมีน้ำมันตังอิ้ว และกระดาษสาที่บดละเอียดจนเป็นเส้นใยขนาดเล็ก เมื่อพิจารณาโดยรวมจึงน่าจะมีความเกี่ยวข้องและทำตามแบบฉบับเดียวกันกับสูตรต้นตำหรับของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ แต่เนื้อจะมีความละเอียดมากกว่า พระที่สร้างในยุคต้นนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นพิมพ์พระสมเด็จ เท่าที่พบ ได้แก่ พระพิมพ์สมเด็จทรงเจดีย์ พระสมเด็จกลุ่มพิมพ์ฐานสามชั้น ทั้งหูติ่ง ที่เรียกกันว่าพิมพ์โย้ พิมพ์สามชั้นฐานหมอน พิมพ์พระในยุคแรกนี้ มักจะสร้างพิมพ์แบบเดียวกัน กับพระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพียงแตกต่างกันที่รายละเอียดของพิมพ์และเนื้อหามวลสารเพียงเล็กน้อย หากพิจารณาตามเหตุผล และลักษณะการครองตน ชี้ให้เห็นว่าท่านต้องการเผยแผ่เกียรติคุณและแสดงความเคารพไม่ยกตนเทียบเสมอครูบาอาจารย์ จึงเริ่มสร้างพระเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นหลังสิ้นเจ้าประคุณสมเด็จฯไปแล้วเป็นเวลานาน 2. พระยุคกลางจนถึงยุคปลาย ลักษณะของพระยุคนี้ มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดได้แก่เนื้อหาของผงพุทธคุณที่ใช้กดองค์พระ จากเนื้อหาเข้มข้นจัดจ้านแบบเดิม มาเป็นแบบที่เรียกกันว่า “เนื้อผงแก่ปูน”ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นเพราะ ในช่วงดังกล่าว หลวงปู่ภู มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก มีลูกศิษย์ลูกหาตลอดจนมหาชนผู้ศรัทธามากมาย ที่ต้องการพระเครื่องเนื้อผงของท่าน ทำให้ปริมาณในการสร้างพระในแต่ละครั้งมากขึ้นกว่าเดิม เนื้อหามวลสารที่เก็บรวบรวมไว้อาจขาดแคลน มีจำนวนน้อยลง ทำให้เนื้อหาผงพุทธคุณตลอดจน รูปแบบของพิมพ์ที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด จากมีเฉพาะเพียงพิมพ์พระสมเด็จฯเท่านั้น เปลี่ยนมาเป็นล้อพิมพ์พระกรุบ้าง เช่น พิมพ์ลีลา บางพิมพ์ก็สร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่โดยใช้แรงบันดาลใจจากพระในยุคเก่า เช่นพิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยมที่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพอสังเกตได้ว่า คือ พระขุนแผนบ้างกร่างพิมพ์ทรงพลเล็ก เพียงแต่มีขนาดย่อมลงมาเท่านั้น พิมพ์ไสยาสน์ พิมพ์พระปิดตาทั้งแบบกรอบสามเหลี่ยมที่ใช้รูปแบบจากพระปิดตาวัดพลับ พิมพ์พระปิดตากรอบสี่เหลี่ยมที่พิจารณาจากพุทธลักษณะได้ว่าน่าจะเป็นสายของวัดสะพานสูงหรือ หรือพระบางพิมพ์อาจเป็นพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่แสดงถึงความสามารถในการออกแบบที่ท่านเจริญรอยตามองค์สมเด็จฯอาจารย์อย่างไม่เป็นรองผู้ใดเลยทีเดียว ได้แก่ พระสมเด็จพิมพ์แซยิด ทั้งแบบแขนหักศอก และแขนกลม อันเป็นพิมพ์ยอดนิยมสูงสุดในบรรดาพระเนื้อผงพุทธคุณของท่าน พิมพ์ฐานแปดชั้นทั้งแขนหักศอกและแขนกลม พิมพ์ฐานเจ็ดชั้นหูติ่ง พิมพ์ฐานสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ฐานคู่ทั้งแขนกว้างและแขนแคบ พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์พระนาคปรกฐานโค้ง นอกจากนั้นยังมีพระที่สร้างจากจินตนาการตาม “อัตตลักษณ์” ของท่านเองล้วน ๆ ทั้งนี้เพื่อผลตามเจตนารมณ์เฉพาะทาง เช่น พระพิมพ์สังกัจจายน์ ทั้งแบบข้างเม็ดและห้าเหลี่ยม เพื่ออานิสงค์ให้ผลทางโชคลาภ เมตตาค้าขาย รวมทั้งพระพิมพ์ยืนทั้งพิมพ์ประทานพรและแบบอุ้มบาตรซึ่งมีพุทธลักษณะแบบเดียวกันกับหลวงพ่อโต เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการสร้างพระ อันถือเป็นสัญลักษณ์คู่วัดอินทรวิหาร ตามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ เป็นผู้ริเริ่มสร้างไว้ก่อนหน้านั้นเอง พระเนื้อผงพุทธคุณของพระครูธรรมานุกูล (หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร) นี้ นอกจากสร้างและแจกจ่ายที่วัดอินทรวิหารแล้ว ยังมีที่แจกและนำไปบรรจุกรุที่วัดอื่น ๆด้วย อาทิเช่นที่ วัดไพรสุวรรณ พิษณุโลก หรือที่รู้จักกันดี มีการบรรจุรายการพระท้องถิ่นประจำจังหวัดราชบุรี ในงานประกวดหลายงานมาแล้ว ได้แก่วัดเกาะนัมทา ซึ่งมีทั้งพิมพ์ฐานห้าชั้น และ เจ็ดชั้นหูติ่ง พิมพ์ปรกโพธิ์ นอกจากนี้ยังมีผู้พบพระพิมพ์แซยิด และพิมพ์แปดชั้นทั้งแบบแขนหักศอกและแขนกลม ถูกบรรจุภายในพระเจดีย์ของ วัดจุกกระเฌอ ที่ชลบุรีอีกด้วย ซึ่งพระเหล่านี้สันนิษฐานจากทั้งพิมพ์และเนื้อหาตลอดจนความเก่าว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในครั้งเดียวกัน แต่ได้แจกจ่ายให้กับญาติโยม หรือลูกศิษย์แล้วถูกนำไปเก็บรักษาในสถานที่ดังกล่าว ตั้งแต่ครั้งนั้น เท่าที่เขียนมาจนยืดยาวนี้เพื่อเป็นการเล่าแจ้งแถลงไขว่า ไม่ว่าพระเครื่อง หรือวัตถุมงคลใด ๆ ของหลวงปู่ภู ท่านสร้างด้วยความพิถีพิถัน ให้ครบถ้วนถูกต้องตามตำรับตำรา อีกทั้งท่านยังเชี่ยวชาญสืบทอดการสร้างพระผงพุทธคุณจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯผู้เป็นอาจารย์ สำหรับพุทธคุณนั้นเด่นดังทางด้านเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด เฉกเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหมทุกประการ ขอแถมอีกนิดเกี่ยวกับประสบการณ์ของพระเนื้อผงของหลวงปู่ภูที่ “เห็นมาเด็มตา พบพามากับตัว” เมื่อตอนJORAWISยังเป็นเด็กนักเรียน บ่ายวันหนึ่ง ขณะเดินเล่นอยู่แถวห้างแก้วฟ้าพลาซ่า ละแวกบางลำพู เห็นชายคนหนึ่งวิ่งตัดหน้ารถในระยะกระชั้นชิด ทำให้รถที่ผ่านมาเบรกไม่ทันชนเข้าเต็มแรงจน เสียงดังสนั่น หมอนั่นกระเด็นไปกองอยู่ริมทางแน่นิ่งไป ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงวิ่งเข้าไปดูใกล้ ๆ น่าแปลกที่ไม่มีเลือดออกซักหยดทั้ง ๆ ที่เสื้อผ้าขาดเพราะแรงชน จนหายจุกนายคนนั้นจึงลุกขึ้นนั่ง พร้อมกับยกมือท่วมหัว เห็นในมือมีสร้อยที่ขาดและพระเนื้อขาวองค์เล็ก รูปห้าเหลี่ยมที่หักไปครึ่งองค์อยู่ในกรอบ ด้วยความอยากรู้จึงถามพวกไทยมุงที่รุมล้อมกันอยู่ จนได้คำตอบว่า พระองค์ที่หักนั้น คือ “พระหลวงปู่ภู วัดอินทร์ ” พระเนื้อผงของท่านนอกจากพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์แล้ว ยังเปี่ยมไปด้วยพุทธศิลป์และพุทธลักษณะที่งดงามเพียบพร้อม อย่างมีเอกลักษณ์ เรียกได้ว่า “ดีทั้งนอกทั้งใน”เลยทีเดียว หากศรัทธาในองค์ผู้เป็นอาจารย์ แต่บุญวาสนายังมาไม่ถึง อย่างน้อยก็ยังมีทางเลือกให้เช่าหาสะสมพระในตระกูลเดียวกัน ตามกำลังฐานะและความศรัทธา ที่เริ่มตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนหลักแสนกลางเป็นต้นไปสำหรับพิมพ์ยอดนิยมอย่าง “พิมพ์แซยิด” องค์นี้เป็นพระพิมพ์สังกัจจายน์ห้าเหลี่ยม เนื้อผงจ้ดเข้มข้นแก่น้ำมันแม้มีร่องรอยกระเทาะบิ่นตามกรอบหลายแห่ง แต่ยังมีดีที่ไม่โดนองค์พระ แถมยังได้พิมพ์ที่ค่อนข้างคมชัดลึก ซึ่งจัดว่าพบได้ค่อนข้างยาก สำหรับพระเนื้อผงขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย ทั้งยังสามารถศึกษาเนื้อหาด้านในภายในองค์พระได้อย่างชัดเจนโดยพระไม่หักชำรุด หักซ่อม แม้สภาพแบบนี้ยังสามารถฝ่าด่านพระพิมพ์เดียวกันอีกหลายองค์ชิงโบว์แดงได้จากงานประกวดที่ห้างสุขอนันต์ปารฺ์ค ในจังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2557ที่ผ่านมาจ้า ครั้งนี้ตั้งใจว่าจะเก็บไว้ยาววววว เลยนำมาออกเซอร์ฯ อีกรอบ ซึ่งผลออกมาเป็นพระดูง่าย ผ่านฉลุย ตอนนี้ส่งเลี่ยมทองไปแล้วจ้า สนใจลองติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้เลยจ้า หากองค์นี้ยังไม่"โดนใจ" อาจมีพระบางรายการ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่ได้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/jorawis |
ราคาเปิดประมูล | 900 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 35,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 24 ม.ค. 2560 - 16:20.20 |
วันปิดประมูล | อ. - 24 ม.ค. 2560 - 16:32.32 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 35,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
---|---|
ราคาประมูลด่วน | 35,000 บาท |
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
20,000 บาท | อ. - 24 ม.ค. 2560 - 16:32.06 | |
30,000 บาท | อ. - 24 ม.ค. 2560 - 16:32.18 | |
32,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อ. - 24 ม.ค. 2560 - 16:32.27 | |
35,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) | อ. - 24 ม.ค. 2560 - 16:32.32 |
กำลังโหลด...