พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗ - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗

พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗ พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗ พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗

บัตรรับประกันพระแท้
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗
รายละเอียดพระกลีบบัว สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน ๒๕๐๗

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ญาโณทยมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระประวัติเบื้องต้น
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิมว่า อยู่ พระนามฉายาว่า ญาโณทโย ประสูติ เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ที่เรือนแพหน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี โยมบิดาชื่อ ตรุษ โยมมารดา ชื่อ จันทร์
เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักบิดาผู้เป็นบุรพาจารย์ และต่อมาเมื่อมีพระชนมายุพอสมควร ได้มาอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ช้าง วัดสระเกศ ได้ทรงเล่าเรียนสืบมาจนกระทั่งได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร จึงได้ทรงเริ่มศึกษาภาษาบาลี ทรงศึกษามูลกัจจายน์ในสำนักของพระอาจารย์ช้าง ต่อมาได้ทรงศึกษาในสำนักของพระธรรมกิติ (เม่น) บ้าง ในสำนักเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (แดง) บ้าง และในสำนักพระยาธรรมปรีชา (ทิม) บ้าง
บรรพชาอุปสมบท เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในสำนักพระอาจารย์ช้าง วัดสระเกศ พระนครได้ทรงศึกษาสามเณรสิกขารวมทั้งพระธรรมวินัย ตลอดจนตำราโหราศาสตร์
พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีศาสดาราม เป็นครั้งแรก ทรงได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้อีก ๑ ประโยค รวมเป็น ๔ ประโยค
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๗ เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท ทรงได้รับอุปสมบทที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมทานาจารย์ (จุ่น) วัดสระเกศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมกิติ (เม่น) วัดสระเกศ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากได้ทรงอุปสมบทแล้ว ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ทรงได้เป็นเปรียญ ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งสุดท้าย ทรงแปลได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยค เมื่อพระชนมายุ ๒๘ พรรษา
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยคองค์แรกในรัชกาลที่ ๕ จึงทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งจนถึงพระอารามที่อยู่เป็นพิเศษและนับตั้งแต่นั้นมา ถ้าเปรียญใดสอบได้ ๙ ประโยค ก็ทรงพระกรุณาโปรดให้นำรถยนต์หลวงส่งเปรียญรูปนั้นจนถึงที่ เป็นธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบันนี้
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช นับแต่ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่ประโยคต้น จนถึงประโยคสุดท้าย คือ ประโยค ๙ ไม่เคยแปลตกเลย

พระกรณียกิจด้านต่างๆ
ในด้านการศึกษา ในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักเรียนวัดสระเกศ พระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์ ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกบาลีและนักธรรมให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป มีภิกษุสามเณรทั้งในวัดและต่างวัดได้มาอาศัยศึกษาเล่าเรียน จนปรากฏว่ามีนักเรียนสอบไล่ได้นักธรรม และบาลีเป็นจำนวนมาก เพิ่มขึ้นทุกปี
สำหรับพระภิกษุที่เป็นเปรียญและนักธรรมในสำนักวัดสระเกศ ที่ได้ออกไปเผยแผ่การศึกษาในต่างจังหวัดจนปรากฏว่าได้รับหน้าที่และดำรงสมณศักดิ์ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก
นอกจากนั้น เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์กิตติมศักดิ์ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาตั้งแต่เริ่มเปิดการศึกษา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ตลอดมา
ในด้านการบูรณะปฏิสังขรณ์ เมื่อทรงได้รับพระกรุณาโปรดให้ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ก็ได้ทรงเริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถทั่วทั้งหลัง ได้ต่อหน้าชานพระวิหารให้กว้างใหญ่ขึ้น ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เข้าไปนมัสการพระอัฏฐารส ในพระวิหารเป็นอย่างมาก ได้ทรงปฏิสังขรณ์เสนาสนะและถนนในวัดให้มีสภาพดีขึ้นกว่าเก่ามาก ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์บรมบรรพตจนสำเร็จเรียบร้อย ได้ทรงสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมและหอสมุดของวัดขึ้น นับว่าพระองค์ได้ทรงสร้างถาวรวัตถุไว้เป็นอย่างมาก
ในด้านการเผยแพร่พระศาสนา พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมาก และทรงกระทำตามกาลด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงสนับสนุนพระภิกษุผู้สามารถที่จะทำการเผยแพร่พระศาสนาทั้งในและนอกประเทศ ทรงยกย่องพระภิกษุผู้ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ ทรงสนับสนุนองค์การและสมาคมที่ทำงานพระศาสนาด้านนี้
เมื่อพระองค์ทรงได้รับสถาปนาดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกแล้ว พระองค์ทรงบริหารการคณะสงฆ์ โดยมิทรงคำนึงถึงความชราภาพ ทรงทำทุกอย่างเพื่อความสงบสุขของ สังฆมณฑล พระองค์รับสั่งเสมอว่า สังฆราช ไม่ใช่ สังฆราชี
ในด้านการติดต่อกับชาวต่างประเทศ พระองค์ทรงปฏิสันถารต้อนรับผู้มาถึงพอเหมาะพอดี เป็นที่สบายใจแก่อาคันตุกะนั้นๆ แม้บางครั้งผู้เข้าเฝ้าเป็นคนต่างศาสนา พระองค์ก็ทรงสามารถปฏิสันถารให้เหมาะแก่ผู้นั้น ซึ่งเรื่องนี้ มีผู้หนักใจกันมาก เพราะพระองค์ทรงชรา เกรงไปว่าจะทรงปฏิสันถารขาดตกบกพร่อง แต่กลับตรงกันข้าม และปรากฏชัดแล้ว

สิ้นพระชนม์ โดยปกติเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช มีพระพลานามัยดีตลอดมา แต่เพราะทรงชราพระองค์จึงประชวรด้วยโรคพระหทัย วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘ ได้เกิดพระโลหิตอุดตันในสมอง คณะนายแพทย์ได้นำพระองค์ไปรับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่พระอาการหนักมาก เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชทรงชรามากแล้ว สุดที่คณะนายแพทย์จะถวายการพยาบาล พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๘ เวลา ๐๒.๒๐ น. ซึ่งหากนับโดยสุริยคติในปัจจุบัน ตรงกับวันเพ็ญกลาง เดือน ๖ วันวิสาขบูรณมี สิริพระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา ๕ เดือน ๑๔ วัน
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลส. - 31 ก.ค. 2553 - 21:03.49
วันปิดประมูล จ. - 02 ส.ค. 2553 - 08:51.46 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
ราคาประมูลด่วน700 บาท
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
pasjin (15) (-4) 118.172.214.88
550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 01 ส.ค. 2553 - 08:51.46
กำลังโหลด...
Top