ประมูล หมวด:วัตถุมงคล ร.5-ร.9
เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. (ซองเดิม) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ร่วมพิธี ***ประกันแท้
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. (ซองเดิม) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ร่วมพิธี ***ประกันแท้ |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร.(พร้อมกล่อง) พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ปี 2530 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) ร่วมพิธีพุทธาภิเษกหมู่ ซองเดิม สวยมากๆ เหรียญพระชัยหลังช้าง ความเป็นมาของ "พระชัยวัฒน์" เดิมมีพระนามว่า "พระชัย" หรือ "พระไชย" ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกพระนามเพิ่มว่า "พระไชยวัฒน์" และได้เปลี่ยนพระนามมาเป็น "พระชัยวัฒน์" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร มีฉัตรปรุ 5 ชั้นปักกั้น หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว สูงจากทับเกษตรถึงยอดพระรัศมี 9 นิ้ว มีพัดแฉกหล่อด้วยเงินปักข้างหน้า ที่ฐานมีคำจารึก ซึ่งเป็นต้นแบบในการนำมาสร้าง เหรียญพระชัยหลังช้าง เหรียญพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. ปี 2530 เหรียญพระชัยหลังช้าง เหรียญดังพิธีดีอีกเหรียญหนึ่งที่หยิบยกมากล่าวถึง เป็นเหรียญที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แห่งวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร ในนามคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น สืบเนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ในปี พ.ศ.2530 เป็นเหรียญปั๊มด้านหน้าเป็นรูปพระชัยวัฒน์ที่เรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร." มีอักษรปรากฏบนเหรียญว่า "5 ธันวาคม 2530" และ "คณะสงฆ์สร้างในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ" เหรียญพระชัยหลังช้าง เป็นเหรียญดีเพราะพิธีการจัดสร้างเปี่ยมด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งเจตนาการจัดสร้างเพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชานั้น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2530 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเกจิอาจารย์ดังปลุกเสกมากมาย ประการสำคัญยิ่ง เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระสังฆราชถึง 2 พระองค์ ปลุกเสก นั้นคือ สมเด็จพระสังฆราช (วาส) วัดราชบพิธฯ และสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ.2532 และ เหรียญพระชัยหลังช้าง มีสมเด็จพระราชาคณะที่ร่วมปลุกเสกอีก คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา สมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวิหาร สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว) วัดสระเกศ เมื่อครั้งยังเป็นที่พระพรหมคุณาภรณ์ แล้วยังมีพระเกจิอาจารย์ดังแห่งยุคนั้น อาทิ หลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูสันติวรญาณ (หลวงปู่สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระอุดมสังวรเถร (อุตตมะ) วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม หลวงปู่ม่น วัดเนินตาหมาก จังหวัดชลบุรี พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม พระครูปริมานุรักษ์ (พูล) วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม ที่สำคัญ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ท่านเคยกล่าวไว้กับลูกศิษย์ของท่านว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง นี้เป็นเหรียญที่มีพุทธานุภาพดีมากๆ กล่าวสำหรับพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์รัชกาลปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาสืบเนื่องจากราชประเพณีหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล เริ่มเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงมีพระราชดำริว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำพระองค์ที่เชิญไปในราชการศึกสงคราม ซึ่งเรียกกันว่า "พระชัยหลังช้าง" นั้น ได้เชิญไปประดิษฐานหน้าพุทธบัลลังก์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เพราะเป็นพระพุทธรูปคู่บารมีมาด้วยกัน จึงขาดพระพุทธปฏิมาสำหรับถวายสักการะ ณ พระราชมณเฑียร จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ขึ้นแทน ถวายพระนามว่า พระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในรัชกาลต่อมา เมื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ถือเป็นราชประเพณีที่จะต้องหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์สืบมาทุกรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 ยังไม่ได้สร้างพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาล ในการพระราชพิธีจึงต้องเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นพระพุทธรูปประธานในงานพระราชพิธี ครั้น พ.ศ.2495 เสด็จพระราชดำเนินกลับจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับพระนคร พ.ศ.2506 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลตามราชประเพณี และโปรดเกล้าฯ ให้ นายพิมาน มูลประมุข เป็นช่างปั้นหุ่นพระพุทธรูป พระเครื่องและเหรียญที่ระลึกที่มีพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า หรือด้านหลัง ถือว่าเป็นสิ่งมงคลที่น่าเก็บสะสมบูชาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเหรียญพระพุทธรูปของ วัดต่างๆ ที่มีตรา ภปร.ประดิษฐานอยู่ด้านหลังนั้นมีอยู่จำนวนมากเช่นกัน หลายๆ รุ่นมีพิธีการสร้างที่เข้มขลัง และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอย่างยิ่ง ดั่งเช่นเหรียญพระพุทธ หรือเหรียญพุทธคุณ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร.ที่เรียกขานกันว่า "เหรียญพระชัยหลังช้าง" สร้างโดยคณะสงฆ์ทั้ง 2 นิกายในปีมหามงคลเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธ.ค.2530 เหรียญพระชัยหลังช้าง มีเนื้อทองคำ, เนื้อเงิน, เนื้อกะไหล่ทอง มูลเหตุที่นำรูป พระชัยหลังช้างมาจัดสร้างเพื่อเทิดพระเกียรติล้นเกล้าทั้งสอง พระองค์ ด้วยเห็นว่าพระชัย (หลังช้าง) เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง คู่บุญญาบารมีของปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ควรที่ประชาชนจะมีไว้สักการบูชา เพราะเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในพระองค์ ดังเช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น) อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา กรุงเทพฯ ได้ลิขิตไว้ว่า เหรียญพระชัยหลังช้าง "หากอยู่กับบ้านก็คุ้มบ้าน หากอยู่กับตัวก็คุ้มตัว" และเพื่อเป็นการยืนยันคำพูดดังกล่าว ท่านจึงได้จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "ปรากฏการณ์อันน่าพิศวงเกี่ยวด้วย เหรียญพระชัย (หลังช้าง)" ขึ้น โดยรวบรวมเรื่องราวจากผู้ที่ได้รับประสบการณ์จากเหรียญนี้มากมายหลายท่าน พระชัยหลังช้าง “ภ.ป.ร.-ส.ก.” พิธีเข้มขลัง-คู่กันสิริมงคลยิ่ง “พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. และ ส.ก.” ด้วยเป็นวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นในปีแห่งมหามงคล แต่ต่างวาระกัน โดยพระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร. สร้างเมื่อปี 2530 ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. สร้างเมื่อปี 2535 แม้จะต่างวาระกัน แต่ทั้ง ภ.ป.ร. และ ส.ก. ต่างก็เป็นที่นิยมของปวงชนชาวไทยยิ่งนัก โดยจะเช่าเก็บคู่กันเป็นที่ระลึก เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว กล่าวถึงประวัติการสร้างคร่าวๆ ย้อนไปเมื่อปี 2530 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 60 ปี 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปวงชนชาวไทยต่างพร้อมใจกันถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์โดยประกอบกิจกรรมต่างๆ ขึ้นอย่างมากมาย แม้ทางคณะสงฆ์ก็เตรียมถวายความจงรักภักดีแด่พระองค์เช่นกัน โดยครานั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ได้จัดสร้างเหรียญ “พระชัยหลังช้าง ภ.ป.ร.” ขึ้นเพื่อให้ประชาชนนำไปบูชา โดยรายได้นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่!!! เมื่อ 5 ธ.ค. 2530 เกจิดังทั่วฟ้าเมืองไทยร่วมอธิษฐานจิต... ส่วนพระชัยหลังช้าง ส.ก. นั้น จัดสร้างขึ้นโดยคณะสงฆ์ไทยเมื่อปี 2535 พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่เช่นกัน “เหรียญพระชัยหลังช้าง” ขนาดว่าครั้งหนึ่ง “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ท่านเคยปรารภแก่ลูกศิษย์ลูกหาไว้ว่า... เหรียญพระชัยหลังช้างนี้เป็นหนึ่งในพระดีที่น่าบูชาไว้ติดตัว เพราะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์แท้จริง กล่าวสำหรับประวัติ “พระชัยหลังช้าง” แต่ก่อนเรียกดังนี้ พระนามเดิมคือ “พระชัย” หรือ “พระไชย” ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ออกพระนามเพิ่มว่า “พระไชยวัฒน์” ก่อนเปลี่ยนพระนามเป็น “พระชัยวัฒน์” ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงมีพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ เพียงรัชกาลที่ 8 ที่ไม่มี ปัจจุบันพระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลทุกพระองค์ ประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง พระชัยเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีลักษณะพิเศษคือเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะถือด้ามพัด เป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมหรือค่อนข้างเล็ก เพื่อสะดวกเคลื่อนย้ายไปในการพระราชพิธีสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพระราชสงคราม ถ้าเป็นทางสถลมารคจะเชิญขึ้นช้างนำหน้าช้างพระที่นั่ง จึงเรียกว่า “พระชัยหลังช้าง” ทางชลมารคก็เชิญลงเรือพระที่นั่งหน้าเรือพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน สันนิษฐานว่าการหล่อพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ประจำรัชกาลเป็นราชประเพณีที่ปฏิบัติสืบเนื่องยาวนาน คือเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับบรมราชาภิเษก ที่ปรากฏในพงศาวดารรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร มีการเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ไปในงานพระราชสงครามด้วย บ่งชี้ว่ามีพระชัยมาตั้งแต่รัชกาลนั้นแล้ว จากหลักฐานที่พบน่าจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา พระชัยหลังช้าง นับเป็นเหรียญยอดนิยม-เหรียญดีที่น่าสะสม เป็นเนื้อกะไหล่ทอง ขนาด 2.2 X 3.7 c.m.พุทธคุณดีทางเมตตาคุ้มครอง โชคลาภก็เป็นเยี่ยม เพราะพระชัยเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะที่ในสมัยโบราณเวลาออกศึกจะอาราธนาท่านขึ้นบนหลังช้างเป็นเคล็ด และได้ชัยชนะทุกครั้ง... อาจารย์ที่พุทธาภิเษกหมู่ เจริญพระพุทธมนต์ เกือบ 80 รูป ขอเอ่ยชื่อเป็นตัวอย่างดังนี้ 1 สมเด็จพระสังฆราช(วาส) วัดราชบพิตรฯ 2 สมเด็จพระญาณ สังวร วัดบรวนิเวศวิหาร ( พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน) 3 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพยา 4 สมเด็จพระวันรัด วัดโสมนัสวีหาร 5 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปธุมคงคา 6 พระพรหมคุณาภรณ์ (สมเด็จพุฒาจารย์เกี่ยว)วัดสระเกศ (รักษาการองค์พระสังฆราช) 7 พระมหาวีระ ถาวะโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง) พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ 8 พระอาจารย์ ชื้น พุทธสาโร วัดญาณเสน พระของท่าน ท่านรับรองว่ากันรังสีต่างๆได้ ที่สำคัญ กระดูกกลายเป็นพระธาตุ 9 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง 10 พระครูสันติวรญาณ (สิม) วัดถ้ำผาปล่อง พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั้น กระดูกกลายเป็นพระธาตุ 11 พระอุดมสังวรเถร (ล.พ.อุตตะมะ) วัดวังค์วิเวการาม เทพเจ้าแห่งสังขระบุรี 12 พระครูฐาปนกิจสุนทร (ล.พ.เปิ่น) วัดบางพระ 13 พระครูปริมานุรักษ์ (ล.พ.พูล) วัดไผ่ล้อม 14 หลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก 15 พระครูเกษมธรรมนันท์ (ล.พ.แช่ม) วัดดอนยายหอม |
ราคาเปิดประมูล | 50 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 17 พ.ย. 2559 - 01:51.26 |
วันปิดประมูล | พ. - 23 พ.ย. 2559 - 09:46.56 |
ผู้ตั้งประมูล |
gangpakorn
(21)
|
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
100 บาท | พฤ. - 17 พ.ย. 2559 - 01:55.57 | |
150 บาท | พฤ. - 17 พ.ย. 2559 - 07:13.02 | |
200 บาท | พฤ. - 17 พ.ย. 2559 - 09:34.57 | |
250 บาท | ส. - 19 พ.ย. 2559 - 18:37.01 | |
300 บาท | อ. - 22 พ.ย. 2559 - 09:46.51 | |
350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อ. - 22 พ.ย. 2559 - 09:46.56 |
กำลังโหลด...