"จ่าสันต์" แดงเคาะเดียว/ล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ลำพูน - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

"จ่าสันต์" แดงเคาะเดียว/ล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ลำพูน

"จ่าสันต์" แดงเคาะเดียว/ล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา  วัดห้วยไซ  ลำพูน "จ่าสันต์" แดงเคาะเดียว/ล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา  วัดห้วยไซ  ลำพูน "จ่าสันต์" แดงเคาะเดียว/ล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา  วัดห้วยไซ  ลำพูน "จ่าสันต์" แดงเคาะเดียว/ล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา  วัดห้วยไซ  ลำพูน
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง "จ่าสันต์" แดงเคาะเดียว/ล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ลำพูน
รายละเอียดล็อกเก็ตหลวงปู่ครูบาอินตา วัดห้วยไซ ลำพูน
อัตโนประวัติของหลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญวัดห้วยไซ ท่านเกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก)ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อินตา นามสกุล ปาลีเป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลี เป็นคนที่มีเชื้อสายยองมารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตาจึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยมและได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซโดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัดสันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์เจ้าอาวาส เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่นอักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติมซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้นเมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลาน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชื่น สันกอแงะเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง)เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”

หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่านทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือในเรื่องของวิชาอาคมแขนงต่างๆระหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนักหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรีวิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกันเมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋าได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยง้มเขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิหลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วยที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาสของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัดโดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไปหลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซเมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์มากมาย อาทิพัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรืองสาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุดที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้านนอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตาอนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธานอำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่งจังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ

พระพุทธรูปยืนวัดศรีดอนชัย อำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิและผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษาพระเถระที่หลวงปู่ครูบาอินตาท่านสนิทสนมไปมาหาสู่กันเป็นประจำก็มีครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) ครูบาชุ่ม วัดวังมุยครูบาหล้าตาทิพย์ วัดป่าตึง ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาดวงจันทร์วัดป่าเส้า ครูบาน้อย วัดบ้านปง ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ครูบาวงศ์วัดพระบาทห้วยต้ม ครูบาอินตา วัดวังทอง สำหรับพิธีพระราชทานเพลิงศพหลังจากศิษยานุศิษย์ได้เก็บรักษาสรีระของหลวงปู่ครูบาอินตาไว้เป็นเวลาหลายปีแต่รางของท่านก็มิได้มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใดเมื่อก่อสร้างวิหารแล้วเสร็จจึงได้ของไฟพระราชทานและประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๔ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ขึ้น

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตาท่านได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆก็จะมีเพียงยันต์และตระกุดเพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาไว้ใช้ป้องกันตัวอิทธิวัตถุมงคลต่างๆก็มีประสิทธิผลจนเป็นที่ลำลือเป็นที่ต้องการกันมากทำให้ทำแจกแทบไม่ทันยุคต่อๆมาเมื่อท่านชราภาพก็ให้ลูกศิษย์ที่พอมีความรู้เป็นผู้ทำให้โดยใช้ตำราของท่านแล้วให้หลวงปู่ครูบาอินตาเสกเป่าอีกครั้งลักษณะของตระกุดจะมีดอกเดียวที่เรียกกันว่าตระกุโทนโดยใช้ตะกั่วทำตะกั่วนั้นได้จากหลังกระจกสีที่ใช้ติดตามห้าบรรณวิหารและตามเจดีย์ในสมัยก่อนเมื่อชำรุดตกหล่นลงมาท่านจึงได้นำมาทำเป็นตระกุดต่อมาศิษย์จึงได้ขอนุญาติจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓และอีกหลายๆรุ่นในเวลาต่อมา ทั้งเหรียญ รูปหล่อลอยองค์รูปเหมือนบูชาขนาดต่างๆ ล็อกเก็ต พระผงวัตถุมงคลรุ่นต่างๆที่ท่านได้อธิฐานจิตปุกเสกเอาไว้ก็มีอิทธิปาฏิหาริย์จนเป็นที่ลำลือเช่นกันและได้รับความนิยมมาก เหรียญใบโพธิ์ รุ่นสมปรารถนาแซยิด ๙๑ พ.ศ.๒๕๓๘หนึ่งในเหรียญประสบการณ์ที่โดดเด่นทางด้านแคล้วคลาดคงกระพันมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่ามีเด็กวัยรุ่นถูกคู่อริไล่ยิงและถูกยิงจนเสื้อที่สวมนั้นขาดเป็นรอยลูกกระสูนรูพรุนแต่ลูกกระสูนไม่ได้ผ่านเข้าผิวแค่เป็นรอยจุดแดงซ้ำเป็นยางบอนเจ็บๆแสบๆเท่านั้นผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ที่เข้าไปช่วยเหลือขอดูของดีที่วัยรุ่นคนนั้นพกติดตัวที่คอของเขามีเพียงเหรียญใบโพธิ์ของครูบาอินตาเพียงเหรียญเดียวทำให้เหรียญรุ่นดังกล่าวเป็นที่แสวงหากันมากนี้เป็นเพียงแค่หนึ่งในประสบการณ์ของวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอินตาที่มีอยู่มากมายหลายต่อหลายครั้ง

หลวงปู่ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ วัดห้วยไซ เกิดเมื่อวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘เหนือ ปี มะเส็ง(งูเล็ก) ตรงกับ วันเสาร์ ที่ ๖ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช๒๔๔๘ ณ บ้านห้วยไซ ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่าอินตา นามสกุล ปาลี เป็นบุตรของ นายก๋อง นางก๋ำ นามสกุล ปาลีเป็นคนที่มีเชื้อสายยอง มารดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็กไม่รู้ความ

ท่านจึงได้รับการเลี้ยงดูจากบิดาจนอายุท่านได้ ๙ ขวบจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์วัด(ขะโยม)ที่วัดห้วยไซเพื่อจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนเช่นปัจจุบัน เด็กชายอินตาจึงได้เรียนภาษาพื้นเมืองตามแบบสมัยนิยมและได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรขณะอายุได้ ๑๓ ปี พ.ศ.๒๔๖๑ ณ วัดห้วยไซโดยมีพระภิกษุพุธเป็นผู้บวชให้หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงได้ไปศึกษาภาษาไทยกลางเพิ่มเติมที่สำนักวัดสันก้างปลา(วัดทรายมูลในปัจจุบัน) อำเภอสันกำแพง โดยมีพระครูอินทนนท์เจ้าอาวาส เป็นอาจารย์ผู้สอนให้ด้วยความเป็นผู้ไผ่เรียนท่านยังมีความสนใจเรื่องของภาษาอื่นๆด้วยเช่นอักษรขอมโบราณ ภาษาอังกฤษ และจีนเพิ่มเติมซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากในสมัยนั้น

เมื่อพออายุครบบวชจึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดห้วยไซ พ.ศ.๒๔๖๙ โดยมีครูบาอินทจักร วัดป่าลานเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการชื่น สันกอแงะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง(สันพระเจ้าแดง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “อินฺทปัญฺโญภิกขุ”


หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วจึงได้ตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรมวินัยและสรรพวิชาตามจริตวิสัยที่ชอบศึกษาหาความรู้อันเป็นทุนเดิมของท่านทำให้ท่านเป็นที่ยอมรับนับถือในเรื่องของวิชาอาคมแขนงต่างๆระหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๑ครูบาศรีวิชัยท่านได้มาเป็นประธานในการบูรณะพระธาตุดอยห้างบาตรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดห้วยไซมากนัก

หลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้ไปร่วมในการบุญครั้งนั้นด้วยและได้พบกับครูบาศรีวิชัยและถือโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์หลังจากนั้นขณะที่ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นประธานในการสร้างทางขึ้นดอยสุเทพหลวงปู่ครูบาอินตาก็ได้มีโอกาสไปร่วมในการสร้างทางด้วยเช่นกันเมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพไปหลังเสร็จสิ้นงานพระราชทานเพลิงศพ ผ้าขาวดวงต๋าได้นำอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัยมาบรรจุและสร้างกู่อัฐิขึ้นที่บนดอยงุ้มเขตติดต่อระหว่างอำเภอสันกำแพงกับอำเภอบ้านธิหลวงปู่ครูบาอินตาท่านก็ถือว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการนำสร้างด้วยที่วัดห้วยไซเองท่านถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่มีส่วนร่วมกับอดีตเจ้าอาวาสของวัดห้วยไซองค์ก่อนๆในการนำสร้างถาวรวัตถุต่างๆภายในวัดโดยเฉพาะสมัยของพระครูดวงดี จนกระทั้งครูบาดวงดีท่านมรณภาพไปหลวงปู่ครูบาอินตาท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยไซเมื่อพ.ศ.๒๕๑๙ และได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็น พระครูถาวรวัยวุฒิเมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๖

ระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้ได้ฝากผลงานทางด้านพระพุทธศาสนาและสาธารณประโยชน์มากมาย อาทิพัฒนาถาวรวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆของวัดห้วยไซจนเป็นที่เจริญรุ่งเรืองสาธารณะประโยชน์เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุดที่อ่านหนังสือพิมพ์ ตลอดจนฌาปนกิจสถานประจำหมูบ้านนอกจากนั้นท่านยังทำนุบำรุงพระศาสนาไปยังวัดวาอารามต่างๆที่มาของความเมตตาอนุเคราะห์จากท่าน เช่น ถาวรวัตถุต่างที่วัดเปาสามขา วัดวังธานอำเภอแม่ออน วัดโป่งช้างคต อำสันเภอกำแพง วัดเวียงแห่ง อำเภอเวียงแห่งจังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีชัยชุม บ้านห้วยไซเหนือ พระพุทธรูปยืนวัดศรีดอนชัยอำเภอบ้านธิ ประธานสร้างตึกสงฆ์อาพาสโรงพยาบาลบ้านธิและผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทิ้งไว้ให้ศิษย์ได้สารงานต่อคือพระวิหารของวัดห้วยไซก่อนที่ท่านจะมรณภาพด้วยชราภาพ เมื่อวันที่ ๒๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๕สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๗ พรรษา
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน40 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 29 ก.ย. 2554 - 15:18.26
วันปิดประมูล ส. - 01 ต.ค. 2554 - 00:17.54 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 40 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 30 ก.ย. 2554 - 00:17.54
30 บาท ศ. - 30 ก.ย. 2554 - 22:54.29
40 บาท (auto) ศ. - 30 ก.ย. 2554 - 22:54.29
กำลังโหลด...
Top