พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหลวงพ่อปานสร้างฝากกรุ ไม่แพง (เคาะเดียวปิด) - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหลวงพ่อปานสร้างฝากกรุ ไม่แพง (เคาะเดียวปิด)

พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหลวงพ่อปานสร้างฝากกรุ ไม่แพง (เคาะเดียวปิด) พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหลวงพ่อปานสร้างฝากกรุ ไม่แพง (เคาะเดียวปิด) พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหลวงพ่อปานสร้างฝากกรุ ไม่แพง (เคาะเดียวปิด)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาลหลวงพ่อปานสร้างฝากกรุ ไม่แพง (เคาะเดียวปิด)
รายละเอียดวัดดงตาล (วัดสามัคคีธรรม) ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เดิมเป็นวัดร้าง ได้บูรณะขึ้นใหม่เมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมา หมอผาด เกษตรง เจ้าของร้านขายยาพระอาทิตย์เวชโอสถ บางลำพู กรุงเทพฯ ได้มาเป็นผู้นำในการสร้างอุโบสถ และหล่อพระประธานขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๗
หมอผาด เป็นผู้มีความรู้ทางวิชาอาคม ในการหุงน้ำมันมนต์ และปรุงยาโบราณ ขณะเดียวกันก็มีความคุ้นเคยกับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นอย่างดียิ่ง จึงได้ขอให้หลวงพ่อปานช่วยสร้างพระเครื่อง สำหรับบรรจุกรุในอุโบสถตามธรรมเนียมประเพณีนิยมแห่งการสร้างอุโบสถมาแต่โบราณ
หลวงพ่อปาน จึงได้สร้างเป็นพระพิมพ์ พระพุทธรูปประทับสิงห์ พิมพ์หนึ่ง และ ประทับเสือ อีกพิมพ์หนึ่ง เป็นพระเนื้อดินขนาดเล็ก ตัดขอบ ด้านบนเจาะบรรจุผงวิเศษ แบบเดียวกับพระที่ท่านสร้างขึ้นที่วัดบางนมโค



หลังจากหลวงพ่อปานปลุกเสกพระชุดนี้ทั้งหมดแล้ว ก็มอบให้หมอผาดนำใส่กล่องไม้ลงเรือล่องมาตามแม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา มาขึ้นที่คลองหลังวัดดงตาล
ต่อมาหมอผาดได้บวชเป็นพระภิกษุ จำพรรษาอยู่ที่วัดดงตาล เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก เพราะหมอผาดเป็นพระหมอที่เก่งในการรักษาโรคกระดูก โรคเส้น ฯลฯ ด้วยน้ำมนต์ และมีดโต้ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับรักษาโรคประจำตัว จนได้ฉายาว่า หลวงพ่อผาด มีดโต้
เมื่อท่านสร้างอุโบสถวัดดงตาลแล้วเสร็จ จึงได้นำพระพิมพ์ประทับหลังสิงห์และเสือ บรรจุไว้บนฐานชุกชี แล้วอัญเชิญพระประธาน ซึ่งหล่อด้วยโลหะขึ้นประดิษฐานครอบไว้ จากนั้นจึงก่ออิฐถือปูน เป็นบัวคว่ำบัวหงายปิดไว้ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๔๗๔
ภายหลัง หลวงพ่อผาด วีรุตตโม ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดในกรุงเทพฯ และมรณภาพเมื่อปี ๒๕๐๐ ชาวดงตาล พร้อมทั้งทายาทห้างขายยาพระอาทิตย์เวชโอสถ และห้างพระจันทร์เวชโอสถ จึงได้หล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของท่านไว้ พร้อมมีดโต้ประจำตัว ประดิษฐานไว้ที่วัดดงตาล เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ เพื่อให้ชาวบ้านได้สักการบูชารำลึกถึงพระคุณของท่านที่มีต่อฃาวบ้านดงตาลตลอดมา จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน มาถึงปัจจุบัน
ต่อมา พระครูกิตติพิพัฒน์ เจ้าอาวาสวัดดงตาล ได้บูรณะซ่อมแซมอุโบสถเก่า แบบก่ออิฐถือปูน เครื่องบนหลังคาเป็นไม้สัก ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา การซ่อมแซมได้ทำการสกัดเจาะฐานหลังชุกชีปูนปั้นเป็นช่อง เพื่อยกองค์พระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะลงรักปิดทอง ปางสมาธิ หน้าตัก ๒ ศอก ให้สูงขึ้นกว่าพระพุทธรูปองค์รอง ที่ประดิษฐานอยู่ที่หน้าพระประธานบนฐานเดียวกัน เพื่อให้พระประธานเด่นเป็นสง่ากลางอุโบสถ
ระหว่างที่บูรณะอยู่นี้ได้พบ พระพิมพ์สี่เหลี่ยมรูปพระพุทธประทับสิงห์และเสือ เนื้อดินเผา ตกลงมาจากโพรงใต้ฐานบัวพระประธานจำนวนหนึ่ง คณะกรรมการวัดจึงยุติการเจาะฐาน แล้วตรวจสอบนับจำนวนพระที่พบ และได้ทราบจากคำบอกเล่าของ นายตี๋ ชิงช่วง อายุ ๗๕ ปี อดีตผู้ใหญ่บ้าน และผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านอีกหลายท่านว่า เป็นพระที่หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค สร้างให้หลวงพ่อผาด ผู้สร้างอุโบสถหลังนี้
ต่อมาเจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม ได้นำพระเครื่องชุดนี้ออกให้ทำบุญบูชา หาทุนบูรณะอุโบสถวัดดงตาล ทำให้พระชุดนี้ได้ปรากฏชื่อเสียงจนถึงทุกวันนี้
ฐกร บึงสว่าง นักสะสมพระระดับแนวหน้าคนหนึ่ง ได้วิเคราะห์ พระกรุหลวงพ่อผาด วัดดงตาล ว่าทำไมเพิ่งมาเริ่มดัง เมื่อเวลาผ่านมาเกือบ ๗๐ ปี โดยให้ความเห็นว่า
เมื่อช่วงปี ๒๔๗๐ คนสมัยนั้นนิยมพระแนวนักเลง หรือแนวคงกระพัน มหาอำนาจ ไม่นิยมพระแนวเมตตา ด้วยเหตุนี้ พระหูยาน ลพบุรี จึงแพงกว่าพระสมเด็จวัดระฆัง ขนาด ๕ แลก ๑ ก็ยังเฉยๆ
ช่วงนั้นคนนิยมแขวนพระกรุกันมาก โดยเฉพาะเมืองลพบุรีเป็นแดนพระกรุศิลปะเขมร ขึ้นชื่อด้านคงกระพัน มหาอำนาจ แล้วทำไมต้องมาแขวนพระเนื้อดินใหม่ๆ ที่รับแจกมาจากพระผาด ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุประมาณ ๒๘ ปี อีกทั้งหลวงพ่อปานก็ยังไม่มีชื่อมากนัก ท่านดังทางเป็นพระหมอรักษาคน
เมื่อปี ๒๕๐๐ พระหลวงพ่อปาน ยังเป็นพระน้ำจิ้มอยู่เลย เพิ่งจะมาดังสุดๆ เมื่อสัก ๓๐ ปีที่ผ่านมานี่เอง
ส่วนพระของหลวงพ่อผาด ส่วนมากจะบรรจุกรุ มีแจกบ้างเล็กน้อย เฉพาะคนละแวกพื้นที่ และคนที่เข้าไปรักษาไข้กับท่าน จึงทำให้พระชุดนี้ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก
แต่หลวงพ่อผาด ท่านก็ไม่ธรรมดาเหมือนกัน อายุ ๒๘ ปีสามารถสร้างวัดได้ พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าหลายท่านยังต้องใช้ช่วงปลายของชีวิต ๕๐-๖๐ ปี จึงจะสามารถรวบรวมความศรัทธาหาคนมาร่วมสร้างวัดได้ หลวงพ่อผาดอายุแค่ ๒๘ ปี สามารถสร้างวัดที่เป็นวัดจริงๆ มีโบสถ์มีพระประธาน มีศาลา มีกุฏิ ครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งที่เป็นวัดบ้านนอก การหาปัจจัยทุนก่อสร้าง จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ความสามารถของหลวงพ่อผาด จึงต้องยกย่องว่าท่านเป็นเลิศจริงๆ
พระชุดนี้มีแจกช่วงก่อนบรรจุกรุเมื่อปี ๒๔๗๐-๒๔๗๔ มีไม่มากนัก จะมาแตกกรุจริงๆ เมื่อปี ๒๕๔๓ แต่ก็ยังไม่ค่อยเผยแพร่มากนัก เนื่องจากเป็นวัดบ้านนอก อีกทั้งกรรมการวัดก็ไม่มีความเข้าใจเรื่องการนำเสนอ คงปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพิ่งจะมาเผยแพร่อย่างจริงจังเมื่อปี ๒๕๔๖-๒๕๔๗ นี่เอง เพราะมีหนังสือพิมพ์ลงข่าวอยู่บ้าง
แต่เนื่องจากพระแตกกรุมีจำนวนมาก และช่วงนั้นตลาดพระมีพระหมุนเวียนมาก และพระหลวงพ่อผาดที่หมุนเวียนเข้าตลาด เป็นพระเกรดซีเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหย่อนความสวยงาม พิมพ์บาง ไม่ลึกนัก พระเกรดเอ-บี ถูกคนพื้นที่เก็บหมด อีกทั้งประวัติการสร้างช่วงนั้น ยังไม่ค่อยชัดเจนนัก ทำให้ตลาดไม่ค่อยขานรับเท่าที่ควร
มาถึงวันนี้...สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว มีคนนำประวัติไปเผยแพร่ นำพระสวย เกรดเอ-บี ออกมาจากรังในพื้นที่ไปสู่ตลาดกลางมากขึ้น ทำให้ตลาดขานรับ รวมทั้งมีการบรรจุเอาไว้ในรายการประกวดมาหลายครั้งแล้ว ทำให้ผู้คนสนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน


ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดพระเงียบมาก ไม่มีพระกรุหรือพระเกจิอาจารย์หลักๆ ออกมาเปลี่ยนมือเลย พระสวยก็แพงสุดๆ จะมีบ้างก็แต่พระไม่สวย และพระชำรุดอุดซ่อมเป็นส่วนใหญ่ ผู้คนไม่สนใจมากนัก การที่ พระหลวงพ่อผาด กรุวัดดงตาล ออกมาสู่ตลาดพระอีกครั้งในขณะนี้ จึงนับว่าเป็นจังหวะที่ดี ที่พระชุดนี้จะทำให้ตลาดตื่น และอีกไม่นาน พระชุดนี้จะโด่งดังเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวางของนักสะสมโดยทั่วไป
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 22 ก.ย. 2554 - 11:21.58
วันปิดประมูล อา. - 02 ต.ค. 2554 - 23:30.34 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
550 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 01 ต.ค. 2554 - 23:30.34
กำลังโหลด...
Top