ประมูล หมวด:พระบูชา
หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร 2516
ชื่อพระเครื่อง | หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร 2516 |
---|---|
รายละเอียด | พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516 หน้าตักกว้าง 5 นิ้ว สูง 11 นิ้ว พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย วัสดุทองคำ เนื้อเจ็ดน้ำ สองขา ขนาดกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยโปรดให้ประชุมช่างหล่อขึ้นเพื่อหล่อพระพุทธรูปทอง เมื่อเสร็จก็โปรดให้ สร้างพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุขึ้นกลางกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทอง ดังศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "กลางเมืองสุ โขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันงาม" พุทธศักราช ๑๙๒๐ สมเด็จ"ข้อความนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ"ราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ยกทัพไปทำสงครามกับพระมหาธรรมราชา(ไสยฤๅไท) พระมหา ธรรมราชาออกมาถวายบังคมยอมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยานับแต่นั้นมา พระสุโขทัยไตรมิตรคงจะได้รับการอัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัย ซึ่งการอัญเชิญพระสุโขทัยไตรมิตรมานี้ มีข้อสันนิษฐานสามประการคือ ๑. ประการที่หนึ่ง มีผู้อาราธนาลงมาจากกรุงสุโขทัยโดยเลื่อมใสศรัทธา ๒. ประการที่สอง ใน พุทธศักราช ๒๓๑๐ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชแก่พม่า พระสุโขทัยไตรมิตรอาจได้รับการอัญเชิญจากกรุง สุโขทัยในครั้งนั้น ๓. ประการที่สาม บุคคลใดบุคคลหนึ่งอัญเชิญลงมาในราวต้นรัชกาลที่ ๑ หรือในรัชกาลที่ ๓ เพราะในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อ พุทธศักรา ๒๓๓๒ และมีประบรมราชโอง การให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ขึ้นไปอัญเชิญพระพุทธรูปตามวัดร้างในกรุงสุโขทัย และหัวเมืองเหนือทั้งปวงมายังกรุงเทพฯ เป็นจำนวน ถึง ๑,๒๔๘ องค์พระสุโขทัยไตรมิตรอาจจะได้รับการอัญเชิลงมาจากกรุงสุโขทัยในคราวนี้ด้วย เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปที่งดงามจึง นำไปบูชาไว้เสียเองในวัดที่ตนสร้างขึ้น ต่อมาได้นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดโชตินาราม(วัดพระยาไกร) ซึ่งพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เจ้าสัวบุญมา) เป็นผู้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระสุโขทัยไตรมิตรที่ถูกอัญเชิญมาในครั้งนั้น มีลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะมีสาเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เอาปูนปั้นหุ้มไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จ"ข้อความนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ"ราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปทำสงครามกับกรุงสุโขทัย เมื่อกรุงสุโขทัยตกเป็น เมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา จึงเกรงว่าสมเด็จ"ข้อความนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ"ราชาธิราชจะอัญเชิญพระพุทธรูปลงมาที่กรุงศรีอยุธยา ๒. พุทธศักราช ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า วัดและพระพุทธรูปถูกเผาสำรอกเอาทองไป ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนที่กลัวพระ พุทธรูปทององค์นี้จะถูกเผาสำรอกเอาทองไปจึงได้เอาปูนปั้นพอกเสีย ๓. ขุนนางใหญ่ที่ขึ้นไปพบ เห็นว่าพระพุทธรูปมีพุทธลักษณะงดงาม ก็ได้อัญเชิญมาประดิษฐานในวัดแห่งสกุลของตนแล้วจึงเอาปูนปั้น พอกพระพุทธรูปนั้นเสีย พุทธศักราช ๒๔๗๘ วัดพระยาไกรได้ชำรุดทรุดโทรมคล้ายวัดร้าง จึงได้อัญเชิญพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ขนาดใหญ่มาไว้ที่วัดไตรมิตร วิทยาราม หรือวัดสามจีนได้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ดำริที่จะสร้างพระวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธ รูปที่อัญเชิญมาจากวัดพระยาไกร แต่ยังไม่สามารถยกขึ้นได้ กระทั่งวันที่ ๒๕ พฤษภา คม ๒๔๙๘ ฝนตกตอนใกล้รุ่ง พบว่าปูนตรง พระอุระแตกกะเทาะออก เห็นรักปิดทองอยู่ชั้นใน เมื่อแกะปูนออกหมดเป็นพระพุทธรูป ทองคำตลอดทั้งองค์ พุทธลักษณะงดงาม สมบูรณ์ยิ่ง ใต้ฐานทับเกษตรมีกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกได้เป็น ๙ ส่วน ช่วยให้สามา รถเคลื่อนย้ายองค์พระขึ้นไปประ ดิษฐานยังพระวิหารได้สำเร็จ ซึ่งผู้สร้าง(คนโบราณ)ได้ใส่ทองคำสำรอง(สำหรับซ่อมแซม หากองค์พระ ชำรุด) รวมทั้งมุกสำหรับ ใส่พระเนตรสำรองไว้ใต้ฐานพระ นับเป็นการสื่อสารของคนโบราณที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง ด้วยพุทธลักษณะสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยที่เรียกขานว่า "พระสุโขทัย ไตรมิตร" ชาวต่างประเทศเรียกว่า "Golden Buddha"มุ่งหน้ามาชมองค์พระอย่างต่อเนื่องทุกวัน |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 3,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 18 ส.ค. 2559 - 23:54.09 |
วันปิดประมูล | พฤ. - 25 ส.ค. 2559 - 07:17.20 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
1,000 บาท | ศ. - 19 ส.ค. 2559 - 07:21.15 | |
1,500 บาท | ศ. - 19 ส.ค. 2559 - 10:41.48 | |
2,000 บาท | ศ. - 19 ส.ค. 2559 - 22:19.48 | |
2,100 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 17:14.30 | |
2,200 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 22:26.22 | |
2,300 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 22:26.28 | |
2,400 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 22:26.33 | |
2,500 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 22:26.38 | |
2,800 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 22:28.07 | |
2,900 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 22:28.12 | |
3,000 บาท | อ. - 23 ส.ค. 2559 - 22:28.15 | |
3,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | พ. - 24 ส.ค. 2559 - 07:17.20 |
กำลังโหลด...