เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2541 ถึง ปัจจุบัน

เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง

เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ	หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ	หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ	หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ	หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ	หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญนะฤาชา รุ่นแรก ทองแดงรมดำ หลวงปู่นาค วัดหนองพันเรือ สระบุรี... เคาะเดียวแดง
รายละเอียดพระน้องชายของหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง วัตถุมงคลทุกอย่างมีโค๊ดและหมายเลขกำกับ

เดิมชื่อบุญนาค เกิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๕๗ ปีขาล(เสือ) ที่ตำบลไผ่ขวาง อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี เป็นบุตร หมอย้อย กับ นางทองคำ นามสกุล ขาวสะอาด มีอาชีพทำนาทำไร่ แต่หลวงปู่นาคในวัยเด็กนั้นได้ไปเติบโตใช้ชีวิตอยู่ทางอำเภอนครหลวงจังหวัดอยุธยา บริเวณใกล้ๆวัดพระนอนและวัดโพธิ์ลอย เพราะหมอย้อยผู้เป็นบิดาได้ไปอยู่ทางบ้านมารดาที่นั่น และเนื่องจากมีบิดาเป็นหมอเรืองอาคม ทำให้หลวงปู่นาคในตอนนั้นได้ซึมซับวิชาอาคมต่างๆจากการเป็นลูกมือช่วยพ่อรักษาคนมาโดยไม่รู้ตัว จนโตขึ้นมาเป็นหนุ่มได้บวชและร่ำเรียนพุทธาคมกับหลวงพ่อปลอด วัดพระนอนศิษย์เอกหลวงพ่อดำ วัดละมุด ผู้สร้างท้าวเวสสุวรรณ ซึ่งเป็นหนึ่งในเบญจภาคี สุดยอดเครื่องรางของอำเภอนครหลวงอันโด่งดังนั่นเอง นอกจากนั้นหลวงปู่นาค ยังได้เรียนวิชากับหลวงพ่อปุย วัดโพธิ์ลอย ลูกศิษย์ของหลวงปู่รอด วัดสามไถ ผู้เป็นรุ่นพี่ของหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ และเจ้าของตำรับวิชาเบี้ยหอยโข่งอันโด่งดัง
(เบญจภาคีเครื่องรางยอดนิยมของอำเภอนครหลวงคือ ๑.ตะกรุดหลวงพ่อกรอง วัดเทพจันทร์ลอย ๒.เบี้ยหอยโข่ง หลวงพ่อรอด วัดสามไถ ๓.เสือหลวงพ่อนวม วัดกลาง ๔.หนุมานหลวงพ่อจุ้ย วัดบันได ๕.ยักษ์หลวงพ่อดำ วัดละมุด)
เมื่อหลวงปู่นาคบวชเรียนเป็นเวลาอันพอสมควรแล้ว หมอย้อยผู้เป็นบิดาได้ย้ายครอบครัวกลับมายังภูมิลำเนาของตนที่ตำบลไผ่ขวาง หลวงปู่นาคจึงต้องลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำนา ระหว่างนี้เองที่หลวงปู่นาคในเพศฆราวาสได้ติดตามพี่ชายคือปู่นวมไปคลุกคลีกับหลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง ( เนื่องด้วยปู่นวมซึ่งพี่ชายของท่านนั้น เป็นทั้งลูกพี่ลูกน้องและเพื่อนที่ตายแทนกันได้ของหลวงพ่อตาบทีเดียว โดยก่อนบวชนั้นทั้งสองคนต่างก็เป็นนักเลงด้วยกันทั้งคู่ ) ทำให้หลวงปู่นาคกับหลวงพ่อตาบในวัยหนุ่มนั้นสนิทกันมาก เพราะต่างก็ชอบทดสอบและแลกเปลี่ยนวิชาอาคมกัน ก่อนที่หลวงพ่อตาบจะหันไปสนใจในการศึกษากรรมฐานแบบมหาสติปัฏฐาน ส่วนหลวงปู่นาคนั้นก็ได้ไปมีครอบครัว ทำการเกษตรและเป็นหมอตามรอยของหมอย้อยผู้เป็นพ่อ โดยมิอาจทิ้งกรรมฐานและวิชาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมาถึงแม้ว่าท่านจะมีครอบครัวแล้วก็ตาม ทุกคืนก่อนนอน ท่านจะไหว้พระสวดมนต์ ทบทวนวิชาต่างๆเพราะต้องใช้ในทางหมออยู่ตลอด เมื่อเวลาผ่านไปนับสิบๆปี ยิ่งทำให้วิชาของท่าน ทรงความเข้มขลังมากขึ้นทุกวัน ถึงขนาดบางวันในขณะที่ท่านกำลังนั่งพักเหนื่อยอยู่ใต้ร่มไม้ หลังจากที่ท่านได้ขุดดินปลูกต้นไม้ต้นไร่อยู่เงียบๆคนเดียวจนจิตใจเกิดเป็นสมาธิขึ้นมา แล้วสายตาของท่านเผลอไปเพ่งมองที่ใบจอบ ใบเสียม ทำให้ ใบจอบใบเสียมซึ่งเป็นเหล็กเกิดแดงวาบขึ้นมา แล้วอ่อนตัวเสียรูปทรงไปทันที เรื่องนี้ทำให้ท่านกังวลในอานุภาพของอภิญญาจิตของท่านเป็นอย่างมาก ท่านจึงต้องฝึกอบรมจิตใจของท่านให้หนักขึ้นไปอีกเพื่อหาวิธีควบคุมอานุภาพเหล่านี้ไว้ ขณะเดียวกันท่านก็ได้ใช้วิชาอาคมไปในทางต่างๆอยู่เสมอ อย่างเช่นวิชา ผูกพยนต์ ที่ท่านเสกหุ่นนั้นขลังนัก เพราะพวกหัวขโมยที่จะมาลักวัวของท่านนั้น ไม่เคยมีโอกาสจะเข้าบ้านของท่านได้เลย เพราะมาเฝ้ารอโอกาสเข้าไปลักวัวทีไร ก็จะเห็นมีแต่คนเดินไปเดินมาอยู่ในบ้านทั้งคืน จนเอาไปร่ำลือกันทั้งบางว่าคนในบ้านของท่าน กลางคืนทำอะไรกันอยู่ทั้งคืนก็ไม่รู้ ไม่ยอมหลับไม่ยอมนอนกัน ทั้งๆที่จริงแล้วทุกคนในบ้านของท่านนั้นนอนหลับกันหมด หรือย่างวิชามหาเสน่ห์ของท่านนั้นก็มีความแรงเป็นเลิศเพราะก่อนที่หลวงปู่จะมาบวชครั้งที่สองนั้น ท่านมีภรรยาสาวๆมามากมายหลายคน ภรรยาของท่านแต่ละคนนั้นทั้งสาวและสวยจนพวกหนุ่มๆวัยรุ่นต้องอิจฉาทีเดียว ส่วนวิชาทางด้านคงกระพันมหาอุดนั้นต้องถือว่าไม่เป็นสองรองใคร เพราะลูกศิษย์ที่ท่านลงอาคมให้ไปนั้น ได้กลายเป็นนักเลงหนังเหนียว และกลายเป็นเสือปล้นจนถูกตำรวจล้อมยิงแต่ก็ยิงไม่เข้า เรื่องเหล่านี้ทำให้หลวงปู่นาคท่านเสียใจและเบื่อหน่ายทางโลก จึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ณ.วัดอินทาราม ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โดยมีพระครูโอภาสพัฒนาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบู่เป็นกรรมวาจาจารย์ พระจัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แล้วได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดช้าง(กุญชร) ต.บ้านหลวง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี จากนั้นก็ไปอยู่วัดสฎางค์ ต.ท่าเจ้าสนุก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วย้ายมาอยู่วัดหนองพันเรือ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๓๔ หลังจากที่หลวงพ่อตาบวัดมะขามเรียงมรณภาพได้เพียง ๒ ปี
ราคาเปิดประมูล180 บาท
ราคาปัจจุบัน200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 19 ก.ค. 2559 - 21:17.39
วันปิดประมูล พฤ. - 04 ส.ค. 2559 - 23:30.58 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ20 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 03 ส.ค. 2559 - 23:30.58
กำลังโหลด...
Top