เหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ ( ยุคแรก ปี2460 ) - webpra

ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป

เหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ ( ยุคแรก ปี2460 )

เหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ ( ยุคแรก ปี2460 ) เหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ ( ยุคแรก ปี2460 )
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ ( ยุคแรก ปี2460 )
รายละเอียดเหรียญชินราช หลวงพ่อโม เนื้อชินตะกั่ว พิมพ์หน้าใหญ่ จัดว่าหายากเป็นบล็อคที่สร้างในยุคแรกหรือรุ่นแรกเลยก็ไม่ผิด ครั้นต่อมาก็จะมีออกมาอีกเป็นยุคหลังพิมพ์หน้าเล็ก


พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน ที่คนรุ่นเก่ารู้จักดีโดยเฉพาะผู้ที่ยกตัวเองว่าเป็น “นักเลงอันธพาล” ที่ชอบก่อเหตุยกพวกตีกันเพราะในยุค “ก่อนปี พ.ศ. 2500” นั้นกรุงเทพฯ มีนักเลงหลายก๊กหลายพวกอย่างเช่น “นักเลงเก้ายอด” หรือพวก “ลั่กก๊ก” นักเลงพวกนี้นอกจากใจถึงไม่กลัวใครแล้ว ว่ากันว่าแต่ละคนยังหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า รวมทั้ง “นักเลงย่านวัดสามจีน” ก็เป็นอีกพวกที่ไม่มีใครอยากข้องแวะเพราะร่ำลือกันว่ามี “หนังเหนียว” ทั้งนี้ก็เพราะในคอนักเลงพวกนี้แขวน “พระพุทธชินราช” ของ “หลวงพ่อโม วัดสามจีน” ทุกคน

ดังนั้น “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน” จึงเป็นที่รู้จักด้วยเหตุนี้ ประกอบกับวัดนี้มี “พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่ภายในวัดซึ่งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปที่ถูกโบกปูนปิดทับเอาไว้โดยสันนิษฐานกันว่าเพื่อไม่ให้ผู้ใดทราบว่าภายในเป็น “พระทองคำ” กระทั่งปูนที่โบกทับไว้กะเทาะออกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นี่เองจึงได้ทราบว่าเป็น “พระทองคำ” ขนาดใหญ่อยู่ภายใน “หลวงพ่อโม” นับเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าท่านหนึ่งที่ บรรลุธรรมขั้นสูง และเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวิปัสสนากรรมฐานมากอีกรูปในยุคนั้น ชนิดผู้คนร่ำลือกันว่าท่านสามารถล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้าได้ ดังนั้นเมื่อท่านเป็นผู้ให้กำเนิด “พระพุทธชินราชหลวงพ่อโมวัดสามจีน” จึงเชื่อมั่นได้ว่าพุทธคุณต้องครบเครื่องทุกด้านแม้จะสร้างเป็นแบบ “องค์แบนครึ่งซีก” ด้วยเนื้อตะกั่วก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะวัสดุในการสร้างพระสมัยนั้นค่อนข้างหายาก

อีกทั้งสมัยนั้นก็นิยมสร้างวัตถุมงคลด้วยเนื้อตะกั่วเพราะสร้างได้ง่ายไม่มีอะไรยุ่งยาก ส่วนพุทธคุณจะดีแบบใดก็อยู่ที่ผู้สร้างมีความเก่งทางด้านใดเท่านั้น ส่วนมูลเหตุที่ “หลวงพ่อโม” สร้างพระในรูปแบบของ “พระพุทธชินราช” นั้นก็เนื่องเพราะเมื่อครั้งที่ “พระปรมากรมุณี” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านไปรับตำแหน่งเป็น “เจ้าคณะ” แห่งเมืองพิษณุโลก “หลวงพ่อโม” ผู้เป็นศิษย์จึงเดินทางไปปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ในกาลครั้งนั้นด้วย จึงได้มีโอกาสไปสัมผัสและกราบนมัสการ “พระพุทธชินราชองค์ใหญ่” ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อย่างสม่ำเสมอ “หลวงพ่อโม” จึงมีความศรัทธา “พระพุทธชินราช” เป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้นเมื่อเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ “วัดสามจีน” เมื่อปี พ.ศ. 2460 จึงได้สร้างพระเครื่องเป็นพิมพ์ “พระพุทธชินราช” ด้วยเนื้อตะกั่วแล้วทำการลงอักขระด้วยเหล็กจาร
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน3,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 24 มิ.ย. 2559 - 14:32.22
วันปิดประมูล ส. - 25 มิ.ย. 2559 - 14:42.25 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0870248080
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 3,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,000 บาท ศ. - 24 มิ.ย. 2559 - 14:41.50
2,000 บาท ศ. - 24 มิ.ย. 2559 - 14:42.00
3,000 บาท ศ. - 24 มิ.ย. 2559 - 14:42.13
3,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 24 มิ.ย. 2559 - 14:42.25
กำลังโหลด...
Top