เหรียญเสมาหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2541 เนื้อทองแดงรมน้ำตาลผิวรุ้ง สวย! - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ – หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม – หลวงปู่แผ้ว วัดรางหมัน

เหรียญเสมาหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2541 เนื้อทองแดงรมน้ำตาลผิวรุ้ง สวย!

เหรียญเสมาหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2541 เนื้อทองแดงรมน้ำตาลผิวรุ้ง สวย! เหรียญเสมาหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2541 เนื้อทองแดงรมน้ำตาลผิวรุ้ง สวย! เหรียญเสมาหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2541 เนื้อทองแดงรมน้ำตาลผิวรุ้ง สวย!
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญเสมาหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ ปี 2541 เนื้อทองแดงรมน้ำตาลผิวรุ้ง สวย!
รายละเอียดหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นามเดิม เปิ่น นามสกุล ภู่ระหงษ์
เกิดวันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๖ เดือน ๙ ปีกุน ณ บ้านเลขที่ ๔ หมู่ที่ ๔
ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี
จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายฟัก นางยวง ภู่ระหงษ์ เป็นบุตรคนที่ ๙
ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกันรวม ๑๐ คน หลวงพ่อเปิ่นสนใจในเรื่องของไสยศาสตร์
มาตั้งแต่สมัยเด็กอาศัยว่าครอบครัวของท่านอยู่ใกล้กับวัดบางพระซึ่งในสมัย
นั้นมีพระคุณเจ้าที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบางพระมีความเก่งกาจมีความเชี่ยวชาญใน
สายไสยศาสตร์ หลายองค์ เด็กชายเปิ่นจึงเข้าออกเพื่อความอยากรู้อยากใฝ่หา
ในวิชาอยู่กับวัดบางพระเป็นประจำ นายเปิ่น ศึกษาวิชากับหลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก
ด้รับการถ่ายทอดยาสมุนไพรรักษาโรค คาถาอาคมต่างๆ โดยเฉพาะวิชาสักยันต์อันเกรียงไกร
จากหลวงพ่อหิ่ม อินฺทโชโต
เจ้าอาวาสวัดบางพระซึ่งท่านท่านรักและเมตตาศิษย์หลวงพ่อเปิ่นเป็นพิเศษ วิชาการต่าง
ๆ ท่านจึงถ่ายทอดให้โดยไม่ปิดบัง ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ
เดือน ๖ ปีกุน จึงเข้าสู่บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมี เจ้าอธิการหิ่ม อินทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์ทองอยู่ ปทุมรัตน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เปลี่ยน
ฐิตฺธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อเปิ่น ได้นามว่า “พระฐิตคุโณ”
การศึกษาเล่าเรียนใด ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด แม้หลวงพ่อเปิ่นได้รับจากหลวงพ่อหิ่มมาก็ยังไม่อิ่มในรสแห่งพระธรรม
เสร็จจากงานฌาปนกิจศพของหลวงพ่อหิ่มแล้ว ก็ตั้งใจจะแสวงสัจจะธรรมต่อไปอีก
หลวงพ่อเปิ่นได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์
หลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน)วัดบางมด ซึ่งได้อบรมแนะนำสั่งสอนพระกัมมัฎฐาน
ศึกษาปฏิบัติกับหลวงพ่อโอภาสีเป็นเวลา ๑ ปีเศษ หลวงพ่อเปิ่นก็กราบลาเพื่อออกธุดงค์วัตรต่อไปทางภาคเหนือของประเทศไทย แล้วธุดงค์ลงใต้
พบอาจารย์ที่ไหน ก็จะเข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาธรรมจากท่าน
ย้อนกลับขึ้นมาที่สุราษฎร์ธานี ได้กราบนมัสการ หลวงพ่อพุทธทาส แห่งสวนโมกข์ และ
หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย หลังจากนั้นข่าวคราวของหลวงพ่อเปิ่นเงียบหายไปอย่างสนิทกระทั่งปลายปี
พ.ศ.๒๕๐๔ บ่ายแก่ของวันหนึ่ง พระธุดงค์วัยเกือบสี่สิบมาปักกลดอยู่ชายทุ่ง
ใกล้กับวัดทุ่งนางหรอก อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี
พระธุดงค์องค์นี้ได้สร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมาย ทั้งปฏิปทาที่เคร่ง
ทั้งสายวิชาพระเวท ทั้งยาสมุนไพรช่วยเหลือชาวบ้าน
ยิ่งเกิดศรัทธาอันสูงสุดของชาวบ้านที่พุ่งตรงสู่พระธุดงค์รูปนี้ หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ
คือองค์พระธุดงค์องค์นั้น ภายในระยะเวลาไม่ถึง ๒ ปี หลวงพ่อเปิ่นได้พัฒนาวัดทุ่งนางหรอก
อำเภอลาดหญ้า จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ในช่วงดังกล่าว
ท่านเกิดป่วยกระทันหัน จำเป็นต้องเข้ามารักษาตัวในเมือง
ท่านจึงได้กลับมารักษาตัวที่วัดบางพระ ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
ตั้งใจไว้ว่าเมื่อหายป่วยดีแล้วก็จะกลับไปพัฒนาส่วนอื่นที่จะต้องทำอีกต่อไป
เมื่อหายป่วยดีแล้ว ก็ตั้งใจจะกราบลาพระอาจารย์เพื่อเดินทางกลับไป
ประจวบเหมาะกับที่ชาวบ้านวัดโคกเขมา มาขอพระจากพระอาจารย์เปลี่ยน ฐิตธัมโม
ไปเป็นเจ้าอาวาสเพื่อพัฒนาวัด คณะสงฆ์ในตำบลแหลมบัว ออกประกาศและแต่งตั้งให้
หลวงพ่อเปิ่นฐิตคุโณ
เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๙
และนี่เป็นจุดแห่งบุญญาบารมีและชื่อเสียงของหลวงพ่อเปิ่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคกเขมา หลวงพ่อเปิ่นได้เริ่มพัฒนาวัด
ก่อสร้างเสนาสนะ ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ทุกอย่างเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้เกิดด้วยแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ หลวงพ่อเปิ่นในเวลานั้น
และที่วัดโคกเขมานี่เอง หลวงพ่อเปิ่นได้สร้างพระเครื่องเป็นครั้งแรก
ปัจจุบันพระเครื่องหลวงพ่อเปิ่นรุ่นนี้ของวัดโคกเขมาหายากมาก
เพราะเป็นพระเครื่องที่มีประสบการณ์ สร้างอภินิหาริย์ให้ผู้เช่าบูชาได้ประจักษ์
หลังจากรุ่นรูปหล่อเนื้อทองแดงของท่านแล้ว พระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ
จากวัดโคกเขมาจึงออกมาอีก เพื่อให้ศิษย์และประชาชนทั่วไปได้เช่าหาบูชากัน
เพื่อนำเงินบำรุงพัฒนาวัด ที่วัดโคกเขมา ได้จัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลหลวงพ่อเปิ่นทั้งเนื้อผง สมเด็จ รูปหล่อ
เหรียญ พระบูชาพระสังกัจจายน์
ทุกอย่างทุกองค์ที่หลวงพ่อสร้างมีค่ายิ่งสำหรับชาวบ้านที่รับไป
สิ่งที่เป็นตำนานกล่าวขานกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น
จวบจนปัจจุบันตั้งแต่วัดโคกเขมาเป็นต้นมาก็คือ “การสักยันต์” หลวงพ่อเปิ่นในสมัยที่ท่านยังมิได้รับพระราชทาน
สมณะศักดิ์ หลวงพ่อเปิ่นท่านลงมือสักลงอักขระเวทด้วยองค์ท่านเอง
มาภายหลังหลวงพ่อได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการสักให้แก่ศิษย์เป็นองค์สักแทน แล้วหลวงพ่อเปิ่นเพียงทำพิธีครอบให้เท่านั้น
เรื่องการสักยันต์ของหลวงพ่อเปิ่นกล่าวเพียงบทสรุป
ว่าชอบ เสือ ด้วยเหตุผลที่บอกเพียงสั้น ๆ แก่ศานุศิษย์ว่า เสือเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ
เพียงเสียงคำรามของเสือ สัตว์ทั้งหลายก็สงบเงียบ กลิ่นของเสือ
สัตว์ทั้งหลายเมื่อรับสัมผัสจะยอมในทันที หลีกทันก็ต้องหลีก จัดอยู่ในมหาอำนาจ
เสือรูปร่างสง่างาม เต็มไปด้วยอำนาจบารมี จัดอยู่ในมหานิยม ที่สำคัญ หลวงพ่อเปิ่น
เคยประจันหน้ากับเสือมาแล้ว กลางป่าลึก ระหว่างธุดงค์วัตรแถวป่าใหญ่
จังหวัดกาญจนบุรี จึงเกิดความประทับใจตั้งแต่นั้นมา เมื่อหลวงปู่หิ่ม อินฺทโชโต
มรณภาพลงและหลวงพ่อเปิ่นออกจาริกแสวงธรรม
ทางวัดบางพระเงียบเหงาลง ต่อมา”หลวงพ่อทองอยู่ ปทุมรัตน์” พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่นได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจากหลวงปู่หิ่ม
จนมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๕๑๖ เจ้าอาวาสวัดบางพระ จึงว่างลง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกัน
ไปกราบอาราธนาหลวงพ่อเปิ่นให้กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางพระ
ซึ่งในตอนแรกหลวงพ่อเปิ่นไม่ยอมมาด้วยสาเหตุว่าไม่มีใครดูแลวัดโคกเขมา
ซึ่งเป็นเหมือนกับวัดที่ท่านสร้างขึ้นมาใหม่ ภาระและความรับผิดชอบยังอยู่ที่ท่าน
กล่าวกันว่าชาววัดโคกเขมา เมื่อทราบว่าหลวงพ่อเปิ่นท่านจะต้องกลับไปพัฒนาวัดบางพระซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน
เสียดายก็เสียดายทำอย่างไรได้เมื่อเหตุมันเกิดก็ต้องยอมแต่ยังอุ่นใจอยู่ว่า
ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นไปกราบปรึกษาหารือท่าน ก็คิดว่าจะได้รับคำแนะนำที่ดีมีประโยชน์
บางทีท่านอาจจะลงมือมาช่วยได้อีก ในที่สุดหลวงพ่อเปิ่นท่านก็กลับมาพัฒนาวัดบางพระ
สมเจตนาของชาวบ้านบางพระ นั่นคือการจบชีวิตการธุดงค์ของหลวงพ่อเปิ่น ในวันที่ ๒
ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ ให้พระฎีกาเปิ่น วัดบางพระ จังหวัดนครปฐม เป็น
“พระครูฐาปนกิจสุนทร”
ช่วงนี้นี้เองที่วัดบางพระมีการออกพระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงพ่อเปิ่น
เพื่อทดแทนในน้ำใจแห่งศรัทธาที่ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านได้ร่วมกันในการพัฒนาวัดบางพระนั่นเอง
ในวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗ หลวงพ่อเปิ่นท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณะศักดิ์จาก
พระครูฐาปนกิจสุนทร เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ เป็น “พระอุดมประชานาถ”
ด้วยการพัฒนาวัดและชุมชนมาโดยตลอด ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ถวายปริญญาบัตร
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมศาสตร์ ณ วันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช
๒๕๓๘ แก่องค์หลวงพ่อเปิ่น
แสดงให้เห็นว่าหลวงพ่อเปิ่นได้เป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ยิ่งใหญ่
ซึ่งเป็นพระสงฆ์ของประชาชนโดยแท้ ท่านไม่ทิ้งธุระทางการศึกษา
พัฒนาสาธารณะประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาไว้มากเพื่อเป็นแนวทางแก่พระภิกษุ -
สามเณรในพระพุทธศาสนา ในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เวลา ๑๐.๕๕ น. ณ
โรงพยาบาลศิริราช หลวงพ่อเปิ่นได้ละสังขารด้วยอายุ
๗๙ ปี ๕๔ พรรษา ยังความอาลัย เศร้าโศก เสียใจแก่ปุถุชนจิต
แต่ได้แสดงให้เห็นถึงมรณัสสติแก่ศิษยานุศิษย์ คุณงามความดีที่หลวงพ่อเปิ่นท่านได้กระทำไว้ในพระพุทธศาสนามากมาย
จะเป็นตำนานแห่งแผ่นดินสยามในทุกๆเรื่อง
เป็นเครื่องเตือนสติให้พุทธศาสนิกชนได้รู้จักและปฏิบัติสืบสานกันต่อไป.

**ไม่มีกล่องนะครับ**
ราคาเปิดประมูล250 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 14 มิ.ย. 2559 - 10:16.42
วันปิดประมูล ศ. - 17 มิ.ย. 2559 - 07:30.06 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
bono (96) 10.20.154.233
300 บาท ส. - 28 พ.ค. 2559 - 16:57.05
bono (96) 182.255.13.55
350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 16 มิ.ย. 2559 - 07:30.06
กำลังโหลด...
Top