เหรียญปี37 หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย สุพรรณบุรี เนื้อสามกษัตริย์ - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิสายสุพรรณ

เหรียญปี37 หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย สุพรรณบุรี เนื้อสามกษัตริย์

เหรียญปี37 หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย สุพรรณบุรี เนื้อสามกษัตริย์ เหรียญปี37 หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย สุพรรณบุรี เนื้อสามกษัตริย์
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญปี37 หลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย สุพรรณบุรี เนื้อสามกษัตริย์
รายละเอียดท่านเป็นชาววังยางโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู มีนามเดิมว่า จวน ดอกกุหลาบ ท่านเล่าด้วยอารมณ์ขำๆว่าหากใช้นามสกุลโยมพ่อต้องเป็น ทรงพินิจ แต่เนื่องจากโยมแม่อิ่ม ออกจะไม่ชอบใจที่โยมพ่อ มีภรรยาหลายคนจึงให้ท่านใช้ ดอกกุหลาบ ของโยมแม่แทน ท่านมีพี่น้อง ๔ คน ดังนี้
๑. นางส้มลิ้ม
๒. เด็กชายล้วน (ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเยาว์)
๓. นางส้มจีน
๔. พระครูสุกิจวิจารณ์ (หลวงตาจวน)

การศึกษาอบรม
หลวงตาจวน เป็นผู้มีโอกาสเข้าไปศึกษาในกรุงเทพฯ ในสมัยที่การศึกษายังไม่เจริญแผ่ขยายมายังบ้านนอก โดยท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๓ ปี แล้วย้ายเข้าไปศึกษาภาษาบาลีที่วัดสามพระยา ท่านเล่าว่า ไปเรียนอยู่ ๒ ปี สามเณรฟื้น พลายภู่ (ต่อมมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เป็นอาจารย์สอนหนังสือดีมาก หลวงตาเองก็ชอบอัธยาศัย แต่ต่อมาทางสำนักเรียน เปลี่ยนเอาพระอาจารย์รูปอื่นมาสอน ดุยังเสือเลย ท่านไม่ชอบใจเลยหนีกลับสุพรรณ ลาสิกขาไปช่วยโยมพ่อ-โยมแม่ทำนาจนกระทั่งอายุครบบวช
การที่ท่านไม่ได้สอบเป็นเปรียญ เป็นสาเหตุหนึ่งที่หลวงตาจวนมุ่งส่งเสริมลูกศิษย์ลูกหาหลายท่านให้ได้เรียนบาลี โดยท่านส่งเสียเงินทองสนับสนุน จนมีลูกศิษย์สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค

อุปสมบท
เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบท ณ พันธสีมาวัดเสาธงทอง ท่านเล่าว่า เป็นนาคที่วัดไก่เตี้ย เนื่องด้วยวัดไก่เตี้ยยังไม่มีอุโบสถ จึงต้องข้ามไปบวชที่วัดเสาธงทอง โดยมี
พระครูธรรมสารรักษา (หลวงพ่อพริ้ง) วัดวรจรรย์ เป็นพระอุปัชฌาชย์
พระปลัดหรุ่น พรหมสโร วัดเสาธงทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการแสน สุวัณโณ วัดไก่เตี้ย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ และกลับมาจำพรรษาที่วัดไก่เตี้ย
ผู้คนในสมัยก่อนนิยมบวชเรียนเพื่อศึกษาธรรม คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้ากันอย่างจริงจัง ไม่บวช ๓ วัน ๗ วัน เหมือนคนสมัยนี้ จะเห็นได้ว่าคนรุ่นปู่ รุ่นตา จะบวชกัน ๒ ถึง ๓ พรรษา เป็นอย่างน้อย อาจจะเป็นเพราะต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นวิสัยของฆราวาส เมื่อ ๒๐ ปี่ก่อน ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี นำข้อคิด จารีตที่ดีงามของพระไปใช้เมื่อต้องการกลับไปสู่เพศฆราวาสอีกครั้งหนึ่ง วิธีที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนอกจากการศึกษาแล้ว “ธุดงค์” ที่เรียกว่า “รุกขมูล” ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่พระในสมัยก่อนทำกันเป็นกิจวัตร
หลวงตาจวน ท่านได้ธุดงค์กับ หลวงพ่อหรุ่น พระกรรมวาจาจารย์ของท่าน แล้วได้ธุดงค์ไปตามที่ต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศ จนกระทั่งรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส ภาระมากท่านจึงหยุด

ไปศึกษาต่อที่วัดสวนหงส์
ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ ท่านได้ย้ายไปเรียนนักธรรมที่วัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยสอบนักธรรมตรี และนักธรรมโท ได้ที่สำนักเรียนแห่งนั้น กลับมาอยู่วัดไก่เตี้ยท่านสอบได้ นักธรรมเอก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖

หน้าที่และผลงาน
พ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดไก่เตี้ย
พ.ศ. ๒๔๙๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดไก่เตี้ย
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะตำบลมดแดง
พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระอุปัชฌาย์


พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าคณะตำบลชั้นตรี ในราชทินนามที่ “พระครูสุกิจวิจารณ์”
พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

ปฏิปทา – วัติปฏิบัติส่วนตัว
ตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่หลวงตาจวนดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสท่านได้พัฒนาวัดไก่เตี้ย จากวัดที่อยู่ในสภาพคล้ายวัดร้าง ให้มีความเจริญทั้งศาสนสถาน ศาสนวัตถุและยังได้อบรมชาวบ้านวัดไก่เตี้ย ให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ช่วยยกระดับจิตใจชาวบ้านให้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
หลวงตาเป็นพระเถระที่เคร่งครัดวินัย และจารีตประเพณีของพระอย่างมาก คนทั่วไปอาจจะมองภาพท่านว่าเป็นเกจิ อาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม แต่คนใกล้ชิดจริงๆจะทราบว่า หลวงตาไม่ปรารถนาให้เป็นอย่างนั้นเลย สามารถพูดได้ว่า ถ้าท่านต้องการให้คนรู้จักท่านในฐานะเกจิอาจารย์ ท่านจะต้องเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย ท่านใช้ชีวิตอย่าง พระเรียบง่าย สะอาดบริสุทธิ์ สิ่งที่ท่านให้กับผู้คนที่มากราบไหว้ คือ ธรรมะของพระพุทธเจ้า ท่านจะสอนอบรมด้วยเมตตาบารมีที่คนรับรู้ได้
หลวงตาพูดเสมอว่า ท่านไม่มีสมบัติส่วนตัว ไทยธรรมที่ญาติโยมถวายก็เป็นของวัดทั้งหมด ไม่เคยสะสมหรือมอบให้แก่ผู้ใดเลย ท่านปฏิบัติกับชาวบ้านทั่วไปเหมือนญาติ จะเห็นได้ว่า ท่านจะเรียกว่า “หมู่ญาติ” ทุกครั้ง แสดงถึงเมตตาบารมีที่แผ่ไปถึงทุกคน กับพระหนุ่ม เณรน้อย ท่านจะใช้คำว่า “พ่อคุณ” ส่วนน้ำเสียงจะหนักเบาก็ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในขณะนั้น
ท่านจะไม่กล่าวดุด่าใคร และไม่มีใครอยากถูกท่านดุด่า เพราะกลัวว่าจะเป็นไปตามปากของท่าน โดยส่วนตัวแล้วท่านชอบให้คนเรียกว่า “หลวงตา” เคยมีคนได้ยินคำอธิบายว่า ท่านต้องการเป็นเพียงพระหลวงตารูปหนึ่งเท่านั้น

วาระสุดท้ายของชีวิต
หลวงตาจวนอาพาธด้วยโรคชราแต่ก็ยังรู้สึกตัวและปฏิบัติสมณกิจอย่างไม่ขาด ไม่ได้ล้มเจ็บแต่อย่างใดเพียงแต่อ่อนเพลียไม่มีแรงเหมือนคนแก่ทั่วไป
แต่ในวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่านได้อาพาธเป็นลมหมดสติ พระสงฆ์และกรรมการวัดจึงนำท่านส่งโรงพยาบาล แพทย์บอกว่าไม่สามารถรักษาได้ และสมองของท่านไม่สั่งงานแล้ว เมื่อนำท่านกลับวัดไก่เตี้ย หลวงตาก็มรณภาพด้วยอาการอันสงบ เมื่อ เวลา ๑๔.๐๐ น.
สิริรวมอายุได้ ๘๗ ปี ๑๑ เดือน ๑๙ วัน
หลวงตาจวนท่านเคยบอกว่า "พระของฉันไม่มีคุณวิเศษอะไร ใครทำดีก็ได้ดี ใครทำไม่ดีก็ไม่ดีเอง" แต่เท่าที่ปรากฏมา คงกระพันชาตรีเป็นเลิศ นักเลงแถวศรีประจันต์นิยมกันนัก
หลวงตาจวนท่านเคยบอกกับลูกศิษย์อยู่เสมอว่า "พระของกูต่อให้ไปทิ่ม...หมา ยังไงก็ไม่มีวันเสื่อม" แล้วท่านก็หัวเราะอย่างสบายใจ หลวงตาเป็นคนโบราณจะพูดจา กูมึงตลอด จะพูดไม่เพราะเหมือนพระรูปอื่นๆ แต่ท่านรักและเมตตาลูกศิษย์ของท่านทุกคน ลูกศิษย์คนไหนโดนหลวงตาด่าไป ได้โชคได้คนศรีประจันต์จะรู้กิติศัพท์ของหลวงตาจวนดี ว่าท่านพูดจริงทำจริง วันไหนมีงานบุญที่วัดไก่เตี้ย แล้วหลวงตาจะแจกพระจะมีคนไปร่วมงานกันมากมายจนล้นวัด พระที่เตรียมไว้แทบไม่พอแจก มีอยู่ครั้งหนึ่งงานทำบุญอายุ๘๖ปีของหลวงตา ผู้คนต้องการธงห้อยหน้ารถของหลวงตากันมาก แต่ที่ทางวัดเตรียมไว้มีน้อย คนที่มาทำบุญก็อยากได้ หลวงตาเลยพูดใส่ไมค์ให้ทุกคนทั้งวัดรับรู้ว่า"ธงให้คนละผืนนะ ใครไม่ได้มาไม่ได้ คนที่ฝากมาทำบุญก็ไม่ต้องเอาไปให้เขา เอาไปแค่ของตัวเองคนละผืนเท่านั้น" ทำให้ผู้คนที่เอาไปหลายผืนรีบมาคืนหลวงตาในทันที เพราะรู้ดีว่าหลวงตา


เหรียญรูปไข่ ปี2537 หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่าเหรียญหนวด คงเพราะจากที่มาที่หลวงตาเห็นเหรียญนี้ครั้งแรก แล้วขำบอกทำออกมามีหนวดมีเคราเป็นลิงไปได้ แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสะสม จำนวนสร้างพอประมาณ ตอกโค๊ตชัดเจน รับประกันความแท้100% พระตรงตามในภาพทุกประการ เหรียญนี้เป็นเนื้อสามกษัตริย์ สภาพพอสวย
ราคาเปิดประมูล50 บาท
ราคาปัจจุบัน250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลส. - 13 ก.พ. 2559 - 15:55.25
วันปิดประมูล ศ. - 04 มี.ค. 2559 - 13:14.42 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
100 บาท จ. - 25 ม.ค. 2559 - 16:17.42
150 บาท จ. - 29 ก.พ. 2559 - 18:06.29
200 บาท จ. - 29 ก.พ. 2559 - 18:17.56
250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พฤ. - 03 มี.ค. 2559 - 13:14.42
กำลังโหลด...
Top