หลวงปู่ทวดหลังเตารีด ออกวัดคอกหมู (ตอกหมู 3 ตัว) - webpra

ประมูล หมวด:หลวงปู่ทวด ทั่วไป วัดอื่นๆ

หลวงปู่ทวดหลังเตารีด ออกวัดคอกหมู (ตอกหมู 3 ตัว)

หลวงปู่ทวดหลังเตารีด ออกวัดคอกหมู (ตอกหมู 3 ตัว) หลวงปู่ทวดหลังเตารีด ออกวัดคอกหมู (ตอกหมู 3 ตัว) หลวงปู่ทวดหลังเตารีด ออกวัดคอกหมู (ตอกหมู 3 ตัว) หลวงปู่ทวดหลังเตารีด ออกวัดคอกหมู (ตอกหมู 3 ตัว)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง หลวงปู่ทวดหลังเตารีด ออกวัดคอกหมู (ตอกหมู 3 ตัว)
รายละเอียดข้อมูลการสร้างหลวงปู่ทวดหลังเตารีดวัดคอกหมู
อ้างอิงบทความจาก..หนังสือเซียนพระเล่มที่ ๔๓๑ (ปกหลัง)
หลายคนอาจสงสัยว่า พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดวัดคอกหมูมีด้วยหรือ แล้ววัดคอกหมูคือวัดไหนกันแน่ ก่อนอื่นมารู้จักวัดคอกหมูกันก่อน วัดคอกหมูมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัดสิตาราม อยู่ถนนดำรงรักษ์ บนถนนจักรพรรดิพงษ์ เยื้องวัดสะเกศฯจะมีสี่แยกย่อย(เดิมเรียกว่าแยกสะพานสาวร้องไห้) ก่อนถึงสี่แยกหลานหลวง ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนดำรงรักษ์ทางจะไปมหานาค ตรงเข้าไปหน่อยเดียว ทางซ้ายมือจะเป็นวัดคอกหมู บริเวณวัดนี้เมื่อก่อนชาวจีนได้มาเลี้ยงหมูจนร่ำรวยภายหลังได้ถวายที่ดิน ส่วนนี้ให้สร้างวัด ชื่อวัดแต่ดั้งเดิมจึงเรียกกันว่า วัดคอกหมูและต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดสิตาราม ละแวกวัดนี้ในอดีตมีช่างหล่อและโรงหล่อของนายช่างอิน(บางท่านเรียกว่าช่าง แสวง) นายอินผู้นี้คือช่างผู้หล่อพระกริ่งหน้าอินเดียให้กับวัดสุทัศน์
ต่อมาในปี2491 นายอินพาทีมช่างหล่อลงใต้ไปสงขลาเพื่อทำการหล่อพระกริ่งโภคทรัพย์ให้ พ่อท่านเส่ง วัดแหลมทราย
ครั้นในปี 2505 ท่านอาจารย์ทิม สร้างพระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดขึ้นที่วัดช้างให้ ปรากฏว่า ช่างหล่อทำงานไม่ทันกำหนด จึงได้ให้ช่างอินในกรุงเทพฯ ช่วยหล่ออีกแรงหนึ่ง พิมพ์ที่ช่างอินทำการหล่อคือ ก็คือพิมพ์ใหญ่ A ช่างอินหล่อพระแล้วก็คัดงานหล่อสวยส่งขึ้นรถไฟไปวัดช้างให้ และพระที่หล่อไม่สวยหรือชำรุด ได้คัดแยกใส่กล่องต่างหาก แล้วตอกโค๊ตหมูไว้ที่ด้านหลัง จุดประสงค์เพื่อถวายวัดคอกหมู พระของช่างอินจะแก่ทองเหลือง ไม่ออกแดงอย่างพระที่หล่อที่วัดช้างให้
เมื่อท่านอาจารย์ทิมปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกพระที่วัดช้างให้ ส่วนพระที่ตอกรูปหมู ท่านส่งกลับคืนให้ช่างอินนำไปถวายวัดคอกหมู
นั่นหมายความว่า พระหลังเตารีดวัดคอกหมูเป็นพระพิธีเดียวกับพระหลังเตารีดวัดช้างให้ ดังนั้นพุทธคุณจึงเสมอเหมือนทุกประการ
บางท่านบอกว่าพระหลังเตารีดวัดคอกหมูมีหลายบล็อก แล้วจะเล่นบล็อกไหนดีล่ะ จากประหวัดความเป็นมา ช่างอินหล่อเฉพาะพิมพ์ใหญ่ A การเล่นหาถ้าจะให้ชัวร์ ก็ควรต้องให้น้ำหนักไว้ที่พิมพ์นี้ดังพระที่เห็นในภาพ สำหรับรูปหมูที่ตอกด้านหลังพระมีตั้งแต่ 1 ตัว ๒ ตัว ๓ ตัว จนถึง๙ ตัวก็มี บางคนหัวแหลมเอาพระที่มีรูปหมูตัวเดียวแต่ตกตื้นๆมาตะไบหลัง แล้วขายเป็นของวัดช้างให้ไปเลย แต่ก็รู้ได้ เพราะกระแสพระจะออกเหลือง ไม่ออกแดงอย่างพระเททีวัดช้างให้คอกหมูกันก่อน วัดคอกหมูมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดสิตารามอยู่ถนนดำรงรักษ์ บนถนนจักรพรรดิพงษ์ เยื้องวัดสะเกศฯจะมีสี่แยกย่อย(เดิมเรียกว่าแยกสะพานสาวร้องไห้) ก่อนถึงสี่แยกหลานหลวง ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนดำรงรักษ์ทางจะไปมหานาค ตรงเข้าไปหน่อยเดียว ทางซ้ายมือจะเป็นวัดคอกหมู บริเวณวัดนี้เมื่อก่อนชาวจีนได้มาเลี้ยงหมูจนร่ำรวยภายหลังได้ถวายที่ดิน ส่วนนี้ให้สร้างวัด ชื่อวัดแต่ดั้งเดิมจึงเรียกกันว่า วัดคอกหมูและต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดสิตาราม ละแวกวัดนี้ในอดีตมีช่างหล่อและโรงหล่อของนายช่างอิน(บางท่านเรียกว่าช่าง แสวง) นายอินผู้นี้คือช่างผู้หล่อพระกริ่งหน้าอินเดียให้กับวัดสุทัศน์
ต่อมาในปี2491 นายอินพาทีมช่างหล่อลงใต้ไปสงขลาเพื่อทำการหล่อพระกริ่งโภคทรัพย์ให้ พ่อท่านเส่ง วัดแหลมทราย
ครั้นในปี 2505 ท่านอาจารย์ทิม สร้างพระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดขึ้นที่วัดช้างให้ ปรากฏว่า ช่างหล่อทำงานไม่ทันกำหนด จึงได้ให้ช่างอินในกรุงเทพฯ ช่วยหล่ออีกแรงหนึ่ง พิมพ์ที่ช่างอินทำการหล่อคือ ก็คือพิมพ์ใหญ่ A ช่างอินหล่อพระแล้วก็คัดงานหล่อสวยส่งขึ้นรถไฟไปวัดช้างให้ และพระที่หล่อไม่สวยหรือชำรุด ได้คัดแยกใส่กล่องต่างหาก แล้วตอกโค๊ตหมูไว้ที่ด้านหลัง จุดประสงค์เพื่อถวายวัดคอกหมู พระของช่างอินจะแก่ทองเหลือง ไม่ออกแดงอย่างพระที่หล่อที่วัดช้างให้
เมื่อท่านอาจารย์ทิมปลุกเสกแล้ว ท่านก็แจกพระที่วัดช้างให้ ส่วนพระที่ตอกรูปหมู ท่านส่งกลับคืนให้ช่างอินนำไปถวายวัดคอกหมู
นั่นหมายความว่า พระหลังเตารีดวัดคอกหมูเป็นพระพิธีเดียวกับพระหลังเตารีดวัดช้างให้ ดังนั้นพุทธคุณจึงเสมอเหมือนทุกประการ
บางท่านบอกว่าพระหลังเตารีดวัดคอกหมูมีหลายบล็อก แล้วจะเล่นบล็อกไหนดีล่ะ จากประหวัดความเป็นมา ช่างอินหล่อเฉพาะพิมพ์ใหญ่ A การเล่นหาถ้าจะให้ชัวร์ ก็ควรต้องให้น้ำหนักไว้ที่พิมพ์นี้ดังพระที่เห็นในภาพ สำหรับรูปหมูที่ตอกด้านหลังพระมีตั้งแต่ 1 ตัว ๒ ตัว ๓ ตัว จนถึง๙ ตัวก็มี บางคนหัวแหลมเอาพระที่มีรูปหมูตัวเดียวแต่ตกตื้นๆมาตะไบหลัง แล้วขายเป็นของวัดช้างให้ไปเลย แต่ก็รู้ได้ เพราะกระแสพระจะออกเหลือง ไม่ออกแดงอย่างพระเทที่วัดช้างให้
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 09 ส.ค. 2554 - 00:54.33
วันปิดประมูล อา. - 14 ส.ค. 2554 - 20:59.26 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
ekk57 (12) 14.207.144.199
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 2,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
fiat26 (108) (-1) 115.87.138.218
800 บาท อ. - 09 ส.ค. 2554 - 01:02.27
900 บาท อ. - 09 ส.ค. 2554 - 19:07.27
1,000 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 13:46.49
1,100 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 13:47.15
1,200 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 14:03.18
1,300 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 14:03.21
1,400 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 14:03.27
1,500 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 14:03.30
1,600 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 14:03.33
1,700 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 14:03.34
1,800 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 14:03.36
1,900 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 18:45.18
2,000 บาท พ. - 10 ส.ค. 2554 - 18:45.20
2,100 บาท ส. - 13 ส.ค. 2554 - 19:12.30
2,200 บาท ส. - 13 ส.ค. 2554 - 19:12.33
2,300 บาท ส. - 13 ส.ค. 2554 - 19:12.35
2,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 13 ส.ค. 2554 - 20:59.26
กำลังโหลด...
Top