ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ. 2475 ผิวงาม ๆ สภาพสวยสมบูรณ์มาแล้วจ้า
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ. 2475 ผิวงาม ๆ สภาพสวยสมบูรณ์มาแล้วจ้า |
---|---|
รายละเอียด | แม้จะเป็นเหรียญเนื้อทองแดง บล็อกธรรมดา แต่ด้วยความสวยสมบูรณ์ ทั้งผิวไฟและความเดิมทำให้เหรียญนี้ได้ติดโบว์แดงมาแล้วจากงานหอประชุมพุทธมณฑล ี่ศาลายา เมื่อวันที่ 2 rพฤษภาคม 2558 ที่่านมาจ้า เหรียญดี รูปทรงสวยงาม แถมอายุอานามก็เกินค่อนศตวรรษ ตอนนี้เริ่มหายากแล้วจ้าสำหรับสภาพแบบนี้ สนใจติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้เลยจ้า Jorawis รับประกันความแท้ทุกสนามเหมือนเดิม หรือ เหรียญนี้อาจยังไม่ถูกใจ ลองเข้าไปชมที่นี่ก็ได้จ้า อาจมีซักองค์ที่ท่านกำลังหาอยู่ http://www.web-pra.com/shop/jorawis สำหรับประวัติความเป็นมาของเหรียญนี้ ขอคัดลอกบทความของคุณพรเทพ เกิดเมืองพระ ที่ท่านได้เขียนไว้ใน บทความชื่อ " เหรียญพระแก้วมรกต ปี พ.ศ. 2475 ฉลองกรุงรันโกสินทร์ สุดยดเหรียญดี พิธีใหญ่ " ที่ลงตีพิมพ์ไวในนิตยสาร "พระคุณ" ปีที่1 ฉบับที่ 9 ของเดือนมกราคม 2555 ที่ท่านเขียนบรรยายเล่าประวัติความเป็นมาของเหรียญนี้ไว้อย่างละเอียดดังต่อไปนี้ หนังสือ - พระคุณ ฉบับที่ 9 คอลัมน์ – บทความพิเศษพระเครื่อง โดย : พรเทพ เกิดเมืองพระ เหรียญพระแก้วมรกต ปี พ.ศ.2475 ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี สุดยอดเหรียญดี พิธีใหญ่ เหรียญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต ปี พ.ศ.2475 นับเป็นเหรียญดีพิธีใหญ่ ที่มีอายุเก่าแก่พอสมควร เมื่อนับอายุจนถึงปัจจุบัน ประมาณเกือบ 80 ปีแล้ว ถึงแม้ประวัติการสร้างและพิธีพุทธาภิเษกของเหรียญนี้ยังมิได้บันทึกไว้ชัดเจนนักหากเปรียบเทียบกับการสร้างเหรียญและวัตถุมงคลในพิธีอื่น ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน แต่หากดูจากอายุการสร้างของเหรียญนี้ และ ราคาเล่นหาสะสมแล้ว นับว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเหรียญที่จัดสร้างเพื่อเป็นระลึก ในมงคลวโรกาส ต่าง ๆ หรือเหรียญพระพุทธพระเกจิคณาจารย์ทั้งหลาย หากมีอายุการสร้างขนาดนี้ มักจะมีราคาเล่นหาตั้งแต่หลักหมื่นเป็นต้นไปจนหลักแสนหรือทะลุเกินตัวเลข7หลักไปแล้วแทบทั้งสิ้น แต่สำหรับเหรียญนี้ มีหลายระดับราคาให้เลือกเช่าหาตามกำลังของแต่ละบุคคล หากเป็นนักสะสมทั่วไป ชอบของดีราคาพอสมน้ำสมเนื้อ พอเล่นหากันได้ตามอัตตภาพ ก็มีเหรียญ”บล็อกใน” ให้สะสม หากเลือกสภาพแค่พอสวย ก็อยู่แค่หลักพัน ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณของเหรียญมีมากมายพอหมุนเวียนให้พบเห็นได้ไม่ยากนัก แต่หากอยู่ในกลุ่มนักเล่นนักสะสมประเภท “มือใหญ่ กระเป๋าหนัก รักพระแชมป์ หรือ ต้องหนึ่งเดียวองค์นี้เท่านั้น” ก็มีเหรียญ “บล็อกนอก”หรือเหรียญเนื้อโลหะสูงค่าอย่างทองคำ หรือ เงินให้เลือกเช่าหาสะสมตามความพอใจด้วยเช่นกัน เหรียญพระแก้วมรกต ปี พ.ศ.2475 เป็นเหรียญที่แจกให้กับผู้ร่วมสมทบทุนในการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อคราวฉลองพระนครครบ 150 ปี ใน ปี พ.ศ.2470 โดยตามใบแจ้งความของสำนักผู้อำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระบุไว้ว่าเหรียญที่ระลึกชุดนี้ ได้สร้างก่อนการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ ซึ่งสอดคล้องกันกับข้อมูลที่คุณประชุม กาญจนวัฒน์ บันทึกไว้ในหนังสือ “ภาพพระเครื่องสี” ว่าเป็นเหรียญแห่งชาติที่ทางราชการได้จัดสร้างขึ้นโดยสั่งปั๊มจากต่างประเทศจำนวนหนึ่ง โดยมีการจัดพิธีพุทธาภิเษกด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณการจัดสร้างว่าต้องก่อนปีพุทธศักราช 2468 อันเป็นปีสวรรคต อย่างแน่นอน และมีการจัดสร้างเพิ่มเติมขึ้นจากเดิมอีกครั้งเป็นจำนวนมาก ใน ปี พ.ศ.2473 โดยให้ หลายบริษัทช่วยผลิต เพื่อให้ทันตามความต้องการ สำหรับตอบแทนให้กับผู้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ.2475 ในการจัดสร้างครั้งต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานกรรมและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ให้เสร็จสมบูรณ์สง่างามสมกับเป็นพระอารามหลวงในพระบรมมหาราชวัง และเพื่อให้ทันกับพิธีสมโภชพระนคร ซึ่งจะมีอายุครบ 150 ปี ใน พ.ศ.2475 โดยตั้งงบประมาณ ที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์ไว้สูงถึง 600,000 บาท ซึ่งพระองค์เองทรงมีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 200,000 บาท เป็นทุนเริ่มต้น คณะรัฐบาลในสมัยนั้นสนองตามพระราชดำริอนุมัติเงินแผ่นดินสมทบทุนร่วมอีก 200,000 บาท สำหรับส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระราชทานวโรกาส ที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร และไพร่ฟ้าประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสที่จะบำเพ็ญกุศลร่วมกัน ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานเรี่ยไร ดำเนินการโฆษณาประกาศบอกบุญ ปรากฏตามข้อความเชิญชวนในใบปลิว ที่โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจพิมพ์ถวาย เมื่อปี พ.ศ.2473 ว่า “.....โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จ และ เหรียญพระแก้วตอบแทน เป็นที่ระลึก ตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้ 1. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ 2. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน 3. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาท ขึ้นไปพระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล) 4. ผู้บริจาค ตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง อย่างไรก็ตาม ตามประกาศ ระเบียบการรับเงินเรี่ยไรในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ของหอรัษฏากรพิพัฒน์ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2473 ยังได้กล่าวไว้ว่า ผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ ไป.............ฯ” พุทธลักษณะ เหรียญพระแก้วมรกตที่ระลึกกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เป็นเหรียญกลมขอบเรียบ ด้านหน้า ปรากฏรูปองค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทรงเครื่องวสันตฤดู แบบนูนต่ำ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย มีผ้าทิพย์ ภายในซุ้ม ลักษณะเดียวกับซุ้มของพระพุทธชินราช และ พุ่มดอกไม้อยู่บนพื้นเหรียญโดยรอบ เชื่อกันว่าองค์ ผู้กำหนดรูปแบบของเหรียญนี้ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งหากพิจารณาด้วยเหตุผล นับว่ามีความเป็นไปได้ เพราะผู้ที่ออกแบบจะต้องมีความรู้ในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ด้านหลังของเหรียญ ปรากฏเป็นยันต์รูปกงจักร มีอักษรจารึก “อัฏฐังคิกมรรค” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “มรรค 8” อักขระขอมที่ปรากฏในยันต์ อ่านได้ความว่า “ทิ สํ วา กํ อา วา ส สํ” อันเป็นคำย่อขององค์ประกอบของหนทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้ง8 ได้แก่ ทิ คือ สัมมาทิฐิ สํ คือ สัมมาสังกัปโป วา คือ สัมมาวาจา กํ คือ สัมมากัมมันโต อา คือ สัมมา อาชิโว วา คือสัมมา วายาโม ส คือ สัมมา สติ สํ คือ สัมมาสมาธิ เมื่อพิจารณาต่อไปอีก จะเห็นว่า ที่ด้านหลังบริเวณขอบล่างตามแนวโค้งของเหรียญจะมีอักษรที่แสดงชื่อบริษัทหรือห้างร้าน ต่างๆ กันอยู่หลายชื่อ แม้กระทั่งชื่อที่เป็นภาษาอังกฤษ การเล่นหาสะสมก็ต่างกันตรงที่ชื่อต่างๆ เหล่านี้ด้วย ตามการสันนิษฐานของผู้เขียน เหรียญที่สั่งมาในครั้งแรกในช่วงปลายรัชกาลที่ 6 นั้นคาดว่าคงมีจำนวนไม่มากนัก ข้อความที่ปรากฏอยู่ด้านหลังของเหรียญ “บล็อกนอก”ว่า Georges Hantz Geneve. U.G.D น่าจะเป็นฝีมือการแกะบล็อกเหรียญตามแบบจาก Georges Hantz แห่ง Switzerland ที่ได้ชื่อว่า เป็นช่างแกะสลักบล็อกเหรียญกษาปณ์ที่ดีที่สุดของยุคนั้น ตัวของ Georges Hantz เองเป็นนอกจากเป็นช่างแกะสลักฝีมือดีแล้ว ยังเป็นทั้งประติมากร นักเขียนผู้มีชื่อเสียงมีผลงานเป็นหนังสือติดอันดับขายดีมากมายหลายเล่ม รวมถึงการเป็นผู้ก่อตั้ง Musee’ Des Arts ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ทางมัณฑนศิลป์ของ Geneva ประเทศ Switzerland โดยตนเองยังรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ในยุคแรกก่อตั้งอีกด้วย เหรียญกษาปณ์ของ Georges Hantz ที่เคยฝากฝีมือไว้ ส่วนใหญ่มักอยู่ในอันดับต้นของทำเนียบเหรียญสะสมมูลค่าสูง ซึ่งหากดูจากเกียรติประวัติ ก็น่าที่จะเหมาะสมกับความเชื่อถือที่ทางราชการของสยามประเทศจะสั่งปั๊มเหรียญกษาปณ์เนื้อโลหะประเภท ต่าง ๆ ทั้ง ทองคำ เงิน นิเกิล และทองแดง เพื่อทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานเป็นที่ระลึกในพระราชพิธีฉัตรมงคล ตามลำดับชั้น ซึ่งในครั้งนั้นคาดว่าคงพระราชทานไม่หมด คงมีเหรียญที่เหลือจำนวนหนึ่งไม่มากนัก ซึ่งต่อมาใช้เป็นเหรียญต้นแบบ และนำมารวมกันเมื่อมีการจัดสร้างเพิ่มเติมอีกครั้งเป็นจำนวนมาก ใน ปี พ.ศ.2473 สำหรับตอบแทนให้กับผู้ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ.2475 เนื่องจากทางคณะกรรมการได้ให้ผู้ผลิตหลายแห่งรับทำเหรียญรูปแบบเดียวกัน เป็นจำนวนมากเพื่อให้ทันตามต้องการ ดังนั้น จึงได้มีการระบุชื่อห้างร้านที่ด้านหลังเหรียญ เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนการผลิตได้ ต่อมารายชื่อห้างร้านต่าง ๆ นี้ ได้กลายมาเป็นจุดสังเกตใช้แยกแยะหรียญ “บล็อกใน” ที่พบเห็นและรู้จักกันดี ได้แก่ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ ฮั้งเตียนเซ้ง โดยเฉพาะ ฮั้งเตียนเซ้ง ที่เป็นร้านแถวละแวกศาลาเฉลิมกรุงที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และเชื่อถือกันมากในยุคนั้น ซึ่งแม้เหรียญหลักยอดนิยมในชุดเบญจภาคีเหรียญคณาจารย์อย่าง เหรียญหลวงพ่อกลั่น แห่งวัดพระญาติฯ ก็สั่งทำจากห้างนี้เช่นกัน ด้านหลังเหรียญพระแก้วฯบางบล็อกหากแกะบล็อกจากร้านอื่นแล้วมาผลิตที่นี่จะมีชื่อร้าน แล้วมีชื่อ ฮั้งเตียนเซ้ง อยู่ด้วยเช่น “สุวรรณประดิษฐ์ แล้วต่อด้วย ฮั้งเตียนเซ้ง” ส่วนบล็อกต่อมาได้แก่ นาถาจารุประกร บล็อกนี้แรกเริ่มเดิมทีเป็นปริศนาอย่างยิ่งสำหรับนักสะสม เนื่องจากระบุไว้บนเหรียญไว้เพียงตัวอักษรย่อแค่ “น.ถ.จ.ก”เท่านั้น ทำให้คาดเดากันไปต่าง ๆ นาๆ จนสับสนกันในช่วงเวลาหนึ่ง ต่อมาเมื่อมีผู้หาหลักฐานได้ว่าเป็นตัวอักษรย่อของร้าน นาถาจารุประกร ที่ชื่อยาวมากจนต้องใช้คำย่อบนเหรียญ ต้องขออภัยที่ต้องเอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ว่า ผู้ที่สืบค้นและนำย่อคำมาเขียนเผยแพร่ในบทความเป็นคนแรก จนเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันคือ “คุณชัยรัตน์ โมไนยพงศ์” ซึ่งเป็นนักเขียนและนักสะสมระดับแนวหน้าคนหนึ่งในยุคนั้น ( ประมาณ ปี พ.ศ 2523 ) ปัจจุบันร้านต่าง ๆ ที่กล่าวมาต่างเลิกกิจการไปหมดแล้ว ยกเว้นร้าน “สุวรรณประดิษฐ์” ที่ยังคงดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อยู่แถวเสาชิงช้า แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า เหรียญที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างมีปริมาณมากที่สุด เมื่อมองย้อนกลับไปดูรายชื่อห้างร้านต่าง ๆ ในยุคนั้นยังเป็นกิจการขนาดเล็ก เท่าที่ทราบมีเพียง “ฮั้งเตียนเซ้ง” เท่านั้นที่มีโรงปั๊มเหรียญของตนเอง ห้างร้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่เมื่อแกะบล็อกเสร็จล้วนมาสั่งผลิตที่นี่ทั้งสิ้น แม้ “ฮั้งเตียนเซ้ง”มีโรงปั๊มเหรียญเพื่อใช้ในกิจการ แต่กำลังการผลิตย่อมไม่สามารถรับงานปั๊มเหรียญในปริมาณมากมายมหาศาลขนาดนี้ได้ แม้จะมีการเตรียมการล่วงหน้าไว้เป็นปีแล้วก็ตาม จึงมีความเป็นไปได้ที่เหรียญที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง จะถูกผลิตอกมาจากกิจการห้างร้านของชาวต่างชาติ ที่มีศักยภาพทัดเทียมกันกับ Georges Hantz Geneve. U.G.D นั่นคือ บริษัท ทอมัส เดอ ลารู แห่งประเทศอังกฤษ (Thomas de la rue) ที่มีชื่อเสียงในด้านการพิมพ์ธนบัตรและโรงกษาปณ์ และเป็นผู้พิมพ์ธนบัตรให้สยามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มใช้ธนบัตรเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2445 เป็นต้นมา ส่วนสาเหตุที่ไม่ระบุข้อความใด ๆ เนื่องจากการเคารพสิทธิ์และเรื่องความคุ้มครองสิทธิทางปัญญาของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะทางยุโรปและฝั่งอเมริกา ถือเป็นเรื่องใหญ่และมีมานานเป็นร้อยปีมาแล้ว เมื่อมีการการปั๊มเหรียญจากแบบบล็อกเดิมของ Georges Hantz Geneve. U.G.D จึงจำเป็นต้องตัดชื่อที่ด้านหลังเหรียญออกไป ..... ฯลฯ (ยังมีต่ออีกประมาณ 2 หน้าผู้สนใจลองหาหนังสือเล่มนี้ค้นคว้าดูจ้า) |
ราคาเปิดประมูล | 900 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 12,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 01 ก.ย. 2558 - 20:20.53 |
วันปิดประมูล | จ. - 21 ก.ย. 2558 - 19:48.20 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 12,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) |
---|---|
ราคาประมูลด่วน | 12,000 บาท |
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
5,000 บาท | พฤ. - 17 ก.ย. 2558 - 20:27.52 | |
5,100 บาท | พฤ. - 17 ก.ย. 2558 - 20:28.31 | |
5,200 บาท | พฤ. - 17 ก.ย. 2558 - 20:28.49 | |
5,500 บาท | พฤ. - 17 ก.ย. 2558 - 20:29.22 | |
6,500 บาท | พฤ. - 17 ก.ย. 2558 - 22:07.10 | |
7,000 บาท | พฤ. - 17 ก.ย. 2558 - 22:07.23 | |
10,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | จ. - 21 ก.ย. 2558 - 19:46.46 | |
12,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) | จ. - 21 ก.ย. 2558 - 19:48.20 |
กำลังโหลด...