เหรียญหลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นสร้างถวาย ปี 2538 - webpra

ประมูล หมวด:หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม - หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก - หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี - หลวงปู่เจียม วัดอินทราสุการาม

เหรียญหลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นสร้างถวาย ปี 2538

เหรียญหลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นสร้างถวาย ปี 2538 เหรียญหลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นสร้างถวาย ปี 2538
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นสร้างถวาย ปี 2538
รายละเอียดเหรียญหลวงปู่เจียม อติสโย รุ่นชมรมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นสร้างถวาย ปี 2538

เนื้ออัลปาก้า สวย สมบูณร์ ครับ

องค์เล็ก กะทักรัด

รับประกันความแท้ตลอดชีวิต

หลวงปู่เจียม อติสโย เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับการยกย่องเป็นยอดพระเกจิอาจารย์แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือรูปหนึ่ง เป็นนักบุญแห่งอีสานใต้ ท่านเป็นพระผู้เข้มขลังทางพระเวทย์ มีตบะสมาธิ และมีวิธีญานอันแกร่งกล้าจนเป็นที่กล่าวขานยกย่องยอมรับในหมู่ทหารหารที่ปฎิบัติราชการตามแนวประเทศไทย-กัมพูชา ตลอดทั้งบรรดาศิษยานุศิษย์ ญาติโยมที่รู้จักทั้วไป

หลวงปู่เจียม อติสโย เกิดวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2454 ตรงกับวันขึ้น 15ค่ำเดือน 1ปีกุน ณ บ้านดองรุน ต.ปะเตียเนียง อ.มงคลบุรี จ.พระตะบอง ประเทศกัมพูชา

หลวงปู่เป็นบุตรของ นายคำ เดือมคำ กับนางรุน เดือมคำ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา เดียวกัน 4 คนคือ
1 นายเจียม นวนสวัสดิ์ (หลวงปู่เจียม อติสโย)
2 นางคำ วันยิง (ขณะนี้กำลังอยู่ในประเทศกำพูชาประชาธิปไตย
3 นายคำ ยิว (ถึงแก่กรรมแล้ว)
4 นางคำ กิว (ถึงแก่กรรมแล้ว)

หลวงปูเจียมเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนประจำอำเภอมงคลบุรีเมื่ออายุประมาณ10ขวบได้เรียนทั้งภาษาเขมรและภาษาฝรั่งเศสตามที่หลักสูตรกำหนด ในขณะนั้นประเทศเขมรหรือกัมพูชาตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศฝรั่งเศส เมื่อเรียนจบชั้นประถมแล้ว ได้สอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนในตัวจังหวัดพระตะบอง แต่เรียนได้เพียงสามเดือน ก็ต้องออกจากโรงเรียนเนื่องปัญหาทางด้านเศรษฐกิจความยากจนและความเดือนร้อนอันเป็นผลเกิดจากภาวะสงครามและการสู้รบในขณะนั้น เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว หลวงปู่ได้ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวโดยทำนาเป็นอาชีพหลัก และยังประกอบอาชีพการค้าเพิ่มเติบ เช่น ค้าข้าว ค้าวัว รวมทั้งเป็นช่างไม้ด้วยซึ่งทำให้ฐานะทางครอบครัวของหลวงปู่มั่นคงยิ่งขึ้น หลวงปู่ได้ดำเนินชีวิตอยู่อย่างราบรื่นตลอดมา จนกระทั้งหลวงปู่มีอายุเข้าวัยกลางคน

เนื่องจากประเทศเขมรขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศฝรั่งเศส หลวงปู่เป็นคนหนึ่งที่มีความรักชาติแผ่นดินและรักบ้านเกิดต้องการให้ประเทศชาติมีอิสรภาพและเอกราช จึงได้เข้าร่วมร่วมมือกับชาวเขมรรักชาติ”กลุ่มเขมรเสรี”จัดตั้งกองกำลังเพื่อกอบกู้ประเทศชาติโดยปฏิบัติการสู้รบกับทหารฝรั่งเศสและผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งส่วนมากจะสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จากการปะทะและสู้รบกับฝ่ายที่มีกำลังเหนือกว่าหลายครั้ง ทำให้กลุ่มเขมรเสรีถูกปราบปรามอย่างหนักเพราะกำลังบางส่วนต้องหลบหนีซ่อนตัวอยู่ตามป่าเขา และกำลังบางส่วนได้หลบหนีเข้ามายังเขตจังหวัดชายแดนประเทศไทย แต่ละคนต้องหนีเอาตัวรอดจากบ้านเรือนถิ่นที่อยู่และครอบครัวอันเป็นที่รัก คิดว่าสักวันหนึ่งเมื่อมีความพร้อมและรวมตัวกันได้ จะกลับมาต่อสู้เพื่อ กอบกู้เอกราชของประเทศเขมรต่อไป

หลวงปู่ได้เข้ามาประเทศไทย ทางเขตชายแดนจังหวัดสุรินทร์ประมาณ พ.ศ.2485 โดยเข้ามากับพระสงฆ์ชาวเขมรชื่อพระครูดีได้เดินทางรอนแรมมาเรื่อยๆค่ำไหนก็นอนที่นั้น จนในที่สุดก็เดินทางมาถึงหมู่บ้านจารพัต อ.ศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ได้เข้าพักอาศัยอยู่ที่วัดบ้านจารพัต(อยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านจารพัต) เป็นเวลา1คืน รุ่งเช้าเดินต่อมาถึงบ้านราม และได้พักอาศัยที่บ้านของครูเติมประมาณ 3 คืน จากนั้นเดินทางต่อมาถึงบ้านบรมสุข และพักอาศัยอยู่กับบ้านครูจุมซึ่งเป็นญาติกับนายเมาออกจากบ้านบรมสุข แวะที่บ้านมะลูจรุง(ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านบรมสุข) และได้แยกทางกับพระครูดีที่บ้านมะลูจรุงความตั้งใจของหลวงปู่ขณะนั้นคือ จะกลับประเทศเขมรเพื่อกอบกู้บ้านเมืองต่อไป หลวงปู่ได้เดินทางผ่านบ้านทัพกระบือ บ้านตราด บ้านลำดวน และพักที่วัดทักษิณวารีศิริสุข (วัดใต้)ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อหว่าง ต่อมาอาจารย์ขัน คุณแม่เฮียะ ปานเจริญ คุณพ่อเภา คุณแม่เสน คงวัน โยมอุปัฏฐากหลวงพ่อหว่างได้ขอเป็นเจ้าถาพจัดพิธีอุปสมบถให้กับโยมเจียม (หลวงปู่เจียม)ในวันที่4เดือนกุมภาพันธ์พ.ศ.2501เวลา10.55ตรงกับวันขึ้น15ค่ำเดือน3 หลวงพ่อหว่าง ธัมมโชโต เป็นพระอุปชฌาย์ พระครูเปรม วัดบ้านจารย์กับพระครูยิ้มวัดหนองโย­-โคกปืด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ขณะนั้นหลวงปู่อายุได้46ปี

หลวงปู่ได้จำพรรษาแรกที่วัดทักษิณวารีศิริสุข ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อหว่าง ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่มีวัตรปฎิบัติอย่างเคร่งครัดนอกจากนั้นแล้วหลวงปู่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับ”หลวงพ่อเปราะ” “หลวงพ่อนต”ที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ)ซึ่งเป็นวัด ในหมู่บ้านลำดวน ต่อมาหลวงพ่อทั้งสองแนะนำให้หลวงปู่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม “หลวงพ่อมิน”เจ้าสำนักวัดคฤห์ในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งป็นพระนักปฎิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำและความเมตตาจากหลวงพ่อมินเป็นอย่างดี หลวงปู่ได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและฝึกปฎิบัติที่ครูอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเป็นอย่างดียิ่งภายหลังจากออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้กราบลาหลวงพ่อหว่าง เพื่อเข้าปริวาสกรรมและออกธุดงค์เพื่อประพฤติปฎิบัติธรรมตามแนวทางที่เรียนรู้มา โดยครั้งแรกออกธุดงค์ตามเส้นทางไปยังเขตจังหวัดปราจีนบุรี นครนายกสระบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ย้อนกลับมาทางลพบุรี สระบุรีอีกครั้ง และเลยไปถึงจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง อำเภอศรีราชา ข้ามไปอำเภอเกาะสีชัง และกลับเข้ามาในตัวจังหวัดชลบุรีอีกครั้ง ขณะที่หลวงปู่จะธุดงค์กลับจังหวัดสุรินทร์ โยมคนหนึ่งนิมนตพระจากอำเภอศรีราชา 2 รูป ผ่านมาและพบหลวงปู่เข้า จึงได้นิมนต์หลวงปู่ให้ไปจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์เขาหลุมยาง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ซึ่งหลวงปู่ได้ไปจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์เขาหลุมยาง1พรรษา เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้เข้าปริวาสกรรมที่วัดสาวชะโงกกับอาจารย์สี พระอาจารย์เชื้อ และออกธุดงค์มาทางเขตอำเภอพนมสารคาม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี ได้จำวัดที่โรงทานบริเวณต้นโพธิ์2คืนธุดงค์เข้าจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก ได้จำวัดที่วัดป่ามะไฟจังหวัดนครนายก1คืน รุ่งเช้าออกธุดงค์ไปทางเขตอำเภอหินกอง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ผ่านไปจังหวัดลพบุรี ได้ไปจำวัดอยู่ค่ายโคกกระเทียม ออกจากโคกกระเทียม ธุดงค์ไปทางโคกสำโรง อำเภอตากฟ้าพร้อมกับพระสงฆ์ 4 รูป คือพระอาจารย์สี พระอาจารย์เชื้อ พระอาจารย์เย็นและพระอาจารย์สว่าง ออกจากอำเภอตากฟ้าธุดงค์ไปทางจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ในเขตอำเภอลาดยาว เข้าจังหวัดกำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ผ่านอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ลงมาเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอำเภอแม่สอด ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงปีพ.ศ.2502ออกจากจังตากลงมาทางกำแพงเพชร ชัยนาท สุพรรณบุรี กาณจบุรี ในขณะที่เดินผ่านจังหวัดกาณจนบุรีได้ศึกษาธรรมะกับหลวงพ่ออุตมะ รัมโถภิกขุ วัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรีด้วย จากกาณจนบุรี ธุดงค์ผ่านมาทางจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร อำเภอสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา อำเภอกบินทร์บุรี(จังหวัดปราจีนบุรี) (อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา) อำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง อำเภอประโคนชัย (จังหวัดบุรีรัมย์) บ้านบักดอก นิคมสร้างตนเองอำเภอปราสาท (จังหวัดสุรินทร์) เพื่อกลับมาจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีสุข หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่อีก 1 พรรษา ในปีพ.ศ.2503

เมื่อออกพรรษาหลวงปู่ได้ไปสมาทานที่อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรีประมาณ 1 เดือน ก็ออกธุดงค์ไปยังวัดสาวชะโงก และจังหวัดอื่นๆอีกหลายจังหวัดและก็กลับมาจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีศิริสุขในปีพ.ศ.2504 เมื่อออกพรรษาพรรษาหลวงปู่ก็ออกธุดงค์สมาทานอีกเช่นเดิม และเมื่อใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่ก็จะกลับจำพรรษาที่วัดทักษิณวารีศิริสุขอีกเช่นเคย(ปีพ.ศ.2505) หลังจากออกพรรษาแล้วหลวงปู่กราบลาหลวงพ่อไปจำพรรษาอยู่ที่วัดปราจีนบุรี 1 พรรษา(คือในปีพ.ศ.2506)และเมื่อออกพรรษาแล้วได้พาญาติโยมนำกฐินมาทอดถวายที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ) และขอจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณรัตน์ในปีพ.ศ.2507 หลวงปู่ได้วนเวียนวัตรปฎิบัติเช่นนี้อย่างต่อเนื่องทุกปี คือพอออกพรรษาก็จะออกธุดงค์ และเมื่อใกล้จะฤดูเข้าพรรษา หลวงปูก็จะกลับมาจำพรรษาอยู่เช่นนี้เรื่อยไป เป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า13ปี ช่วงระยะเวลาดั้งกล่าวหลวงปู่ได้ธุดงค์ไปเกือบทุกภูมิภาคทุกจังหวัดในประเทศไทย ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเพิ่มเติม ได้ฝึกปฎิบัติด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้พบปะสนทนาแลกเปลียนแนวทางในการประพฤติปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์ต่างๆหลายรูป เช่น อาจารย์คำษา ในเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย อาจารย์คำปัน ในเขตอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมอาจารย์วงษ์ ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี เป็นต้น

ในระยะหลังตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 หลวงปู่จะจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณรัตน์ (วัดเหนือ) เท่านั้น และประมาณช่วงเดือนมกราคม-เมษายน พ.ศ.2513 ภายหลังที่หลวงปู่ได้กลับจากธุดงค์แล้ว โยมเดียม โยมบาน โยมสมร ผู้ใหญ่พานได้ไปนิมนต์ให้หลวงปู่มาสร้างสำนักสงฆ์ที่หมู่บ้านหนองยาว ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2513 และไดจำพรรษาที่สำนัดสงฆ์แห่งนั้นด้วยซึ่งต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนั้นคือ”วัดอินทราสุการาม”ในปัจจุบัน
การมรณภาพ
ย่างเข้าสู่วัยชรา หลวงปู่เจียมเริ่มมีอาการเหน็ดเหนื่อย สายตาพร่ามัว ประสาทหูฟังไม่ค่อยชัด คณะศิษยานุศิษย์ได้นำตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล หลวงปู่เจียมก็ยังต้องรับกิจนิมนต์จากชาวบ้านญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา เพื่อคอยปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขไม่เว้นแต่ละวัน บ้างต้องไปนั่งประพรมน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้ลูกศิษย์ลูกหาสม่ำเสมอ
กระทั่งเมื่อเวลา 16.59 นาฬิกา ของวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2549 คณะศิษยานุศิษย์วัดอินทราสุการาม ได้ตีระฆังรัวกลองเป็นชุด เพื่อแจ้งเหตุว่า บัดนี้ชาวเมืองสุรินทร์ได้สูญเสียปูชนียสงฆ์รูปสำคัญ คือ หลวงปู่เจียม อติสโย ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคไตวาย ภายในกุฏิวัดอินทราสุการาม หลังเข้ารับการรักษาตัวด้วยอาการอาพาธจากโรคไตมาเป็นเวลานาน ประกอบกับวัยที่ชราภาพมาก สิริอายุรวม 96 พรรษา 47 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ชาวบ้าน และพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เคารพนับถือเป็นยิ่งนัก

เขียนโดย เหน่ง โคกรัมย์ ที่ 21:39
ราคาเปิดประมูล290 บาท
ราคาปัจจุบัน300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 19 มิ.ย. 2558 - 10:10.56
วันปิดประมูล จ. - 06 ก.ค. 2558 - 10:12.07 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
swat (48) 115.87.176.226
300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 05 ก.ค. 2558 - 10:12.07
กำลังโหลด...
Top