พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู จนฺทสโร องค์นี้ออกที่วีดเกาะนัมทา ราชบุรี เนื้อจัดสะใจ มาแล้วจ้า - webpra

ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป

พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู จนฺทสโร องค์นี้ออกที่วีดเกาะนัมทา ราชบุรี เนื้อจัดสะใจ มาแล้วจ้า

พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู จนฺทสโร องค์นี้ออกที่วีดเกาะนัมทา ราชบุรี เนื้อจัดสะใจ  มาแล้วจ้า พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู จนฺทสโร องค์นี้ออกที่วีดเกาะนัมทา ราชบุรี เนื้อจัดสะใจ  มาแล้วจ้า พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู จนฺทสโร องค์นี้ออกที่วีดเกาะนัมทา ราชบุรี เนื้อจัดสะใจ  มาแล้วจ้า พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู จนฺทสโร องค์นี้ออกที่วีดเกาะนัมทา ราชบุรี เนื้อจัดสะใจ  มาแล้วจ้า
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระสมเด็จปรกโพธิ์ หลวงปู่ภู จนฺทสโร องค์นี้ออกที่วีดเกาะนัมทา ราชบุรี เนื้อจัดสะใจ มาแล้วจ้า
รายละเอียดองค์นี้จัดเป็นพระเนื้อหาจัดจ้าน มีลงหางของรักน้ำเกลี้ยงที่เจือจางจนเกือบไมมีเนือรักมาบนผิวเดิมๆ เพิ่อรักษาเนื้อพระ ทำให้เห็นเนื้อหามวลสารได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ ขนาดจะเล็กกว่าพระพิมพ์สมเด็จทั่วไปเล็กน้อย แต่นับว่าเป็นพระสมเด็จที่มีอัตตลักษณ์ชัดเจน และมีพุทธศิลป์ที่สวยงามอลังการของพระครูธรรมานุกูล (หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร) ที่ท่านได้สร้างไว้ นอกจากสร้างและแจกจ่ายที่วัดอินทรวิหารแล้ว ยังมีพระบางส่วนที่นำไปแจกและบรรจุกรุที่วัดอื่น ๆด้วย อาทิเช่นที่ วัดไพรสุวรรณในจังหวัดพิษณุโลก หรือที่รู้จักกันดี มีการบรรจุรายการพระท้องถิ่นประจำจังหวัดราชบุรี ในงานประกวดหลายงานมาแล้ว ได้แก่วัดเกาะนัมทา ในจังหวัดราชบุรี ซึ่งมีทั้งพิมพ์ฐานห้าชั้น และ เจ็ดชั้นหูติ่ง และ พิมพ์ปรกโพธิ์ นอกจากนี้ยังมีผู้พบพระพิมพ์แซยิด และพิมพ์แปดชั้นทั้งแบบแขนหักศอกและแขนกลม ถูกบรรจุภายในพระเจดีย์ของ วัดจุกกระเฌอ ที่จังหวัดชลบุรีอีกด้วย ซึ่งพระเหล่านี้สันนิษฐานจากทั้งพิมพ์และเนื้อหาตลอดจนความเก่าว่าน่าจะเป็นพระที่สร้างในครั้งเดียวกัน แต่ได้แจกจ่ายให้กับญาติโยม หรือลูกศิษย์แล้วถูกนำไปเก็บรักษาในสถานที่ดังกล่าว ตั้งแต่ครั้งนั้น

ล่าสุดส่งออกใบรับรองพระแท้ของสมาคมฯ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2557 ผลออกมาว่าเป็นพระแท้ ไม่มีอุดซ่อมจ้า ใครที่สนใจพระองค์นี้สบายใจไร้กังวล เนื่องจากปัจจุบันพระมีหมุนเวียนในสนามน้อยมาก จนแทบไม่มีรายการลงประกวดแล้วจ้า สนใจติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้เลยจ้า ยินดีต้อนรับกันทุกท่านด้วยความยินดีจ้า

เพิอน ๆ สมาชิกที่เข้ามาชม หากยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ สามารถเข้าชมได้ที่ทำเนียบพระเครื่องของเวปนี้ตามLinKนี้ได้เลยจ้า

http://www.web-pra.com/Amulet/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A0%E0%B8%B9-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3/Item/Show/4994



หากองค์นี้ยังไม่"โดนใจ" อาจมีพระบางรายการ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่ได้เลยจ้า

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis

พระเนื้อผงพุทธคุณของพระครูธรรมมานุกูล (ภู จนฺทสโร) แห่งวัดอินทรวิหาร ถือได้ว่าเป็นพระหน่อเนื้อเชื้อสายเดียวกันกับสุดยอดพระเนื้อผงพุทธคุณอย่างพระสมเด็จที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารยฒ์ (โต ( โต พฺรหฺมรํสี) โดยมีหลักฐานปรากฏเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะสายสัมพันธ์อันใกล้ชิด ระหว่างศิษย์ และพระอาจารย์ หลวงปู่ภู ถือเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิด ทั้งยังมีชีวิตอยู่ทันยุค ทั้งยังได้รับการถ่ายทอดสรรพเวทย์วิทยาคม จนได้รับการไว้วางใจ จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ มากรูปหนึ่ง ท่านและ หลวงปู่ใหญ่ พระพี่ชายของท่าน เคยออกร่วมธุดงค์กับ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม หลายครั้งหลายครา แม้ขณะหลวงปู่ภูศึกษาวิปัสสนาธุระ หลังเข้ามาอยู่จำพรรษาในพระนคร ณ วัดอินทรวิหาร ยังปรากฏหลักฐานว่าท่านได้ไปลงอุโบสถที่วัดระฆังอยู่เป็นนิจ

อันวัดอินทรวิหารนี้ ตามประวัติ เป็นวัดที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์( โต พฺรหฺมรํสี) เคยบรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดนี้ โดยเป็นศิษย์ของ ท่านเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารในสมัยนั้น แม้ต่อมาท่านจะไปอุปสมบทเป็นภิกษุจนภายหลังครองวัดระฆังโฆษิตารามแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ยังมีความผูกพันกับวัดอินทรวิหารเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากเสนาสนะและสิ่งปลูกสร้างที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่มากมาย รวมถึงพระยืนหลวงพ่อโตองค์ใหญ่ที่นับได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของพระอารามแห่งนี้

สำหรับพระครูธรรมานุกูล (หลวงปู่ภู จนฺทเกสโร) นี้ ตามประวัติไม่นิยมสร้างวัตถุมงคล เพราะเกรงจะเป็นการแข่งขันกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นอาจารย์ ปฐมเหตุที่ท่านจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล น่าจะ เป็นเพราะท่านต้องรับภาระดำเนินการก่อสร้างองค์หลวงพ่อโต ต่อจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ และยังมิได้สำเร็จลุล่วงสมดังเจตนา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงจำเป็นต้องสร้างพระผงพุทธคุณ ขึ้นมาเพื่อตอบแทนให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์สร้างองค์หลวงพ่อโตฯ และแจกจ่ายให้ลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวงปู่ภู มีการสร้างขึ้นหลายครั้งหลายรุ่นต่อเนื่องตลอดตราบจนสิ้นอายุขัย คงเป็นเรื่องยากลำบากที่จะระบุชี้ชัดลงไป ว่าในแต่ละครั้งสร้างพระพิมพ์ใดจำนวนเท่าใดบ้าง หากสังเกตจากเนื้อหามวลสารในพระเนื้อผงพุทธคุณของท่าน จะสามารถแยกแบ่งตามยุคสมัยในการสร้างพระของท่านได้ดังนี้

1. พระยุคต้น สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในช่วงประมาณปี พ.ศ 2450เป็นต้นมา ภายหลังการสิ้นชีพิตักษัยของสมเด็จพระพุฒาจารย์( โต พฺรหฺมรํสี) ไปแล้วหลายสิบปี เท่าที่พบพระในยุคนี้มีลักษณะเนื้อหาแบบที่เรียกว่า “เนื้อจัดแก่มวลสาร” เมื่อพิจารณาจะเห็นเนื้อหาที่เข้มข้น มีความเก่าได้อายุ หากมีการสัมผัสจับต้องมักมีความหนึกนุ่ม แสดงให้เห็นว่าสูตรการผสมผงพุทธคุณและมวลสารอันประกอบด้วย ปูนจากเปลือกหอย ข้าวสุก กล้วย ผงเกสรดอกไม้บูชาพระ โดยมีน้ำมันตังอิ้ว และกระดาษสาที่บดละเอียดจนเป็นเส้นใยขนาดเล็ก เมื่อพิจารณาโดยรวมจึงน่าจะมีความเกี่ยวข้องและทำตามแบบฉบับเดียวกันกับสูตรต้นตำหรับของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างไว้ แต่เนื้อจะมีความละเอียดมากกว่า พระที่สร้างในยุคต้นนี้ ส่วนใหญ่มักเป็นพิมพ์พระสมเด็จ เท่าที่พบ ได้แก่ พระพิมพ์สมเด็จทรงเจดีย์ พระสมเด็จกลุ่มพิมพ์ฐานสามชั้น ทั้งหูติ่ง ที่เรียกกันว่าพิมพ์โย้ พิมพ์สามชั้นฐานหมอน พิมพ์พระในยุคแรกนี้ มักจะสร้างพิมพ์แบบเดียวกัน กับพระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพียงแตกต่างกันที่รายละเอียดของพิมพ์และเนื้อหามวลสารเพียงเล็กน้อย หากพิจารณาตามเหตุผล และลักษณะการครองตน ชี้ให้เห็นว่าท่านต้องการเผยแผ่เกียรติคุณและแสดงความเคารพไม่ยกตนเทียบเสมอครูบาอาจารย์ จึงเริ่มสร้างพระเมื่อถึงเวลาที่จำเป็นหลังสิ้นเจ้าประคุณสมเด็จฯไปแล้วเป็นเวลานาน

2. พระยุคกลางจนถึงยุคปลาย ลักษณะของพระยุคนี้ มีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดได้แก่เนื้อหาของผงพุทธคุณที่ใช้กดองค์พระ จากเนื้อหาเข้มข้นจัดจ้านแบบเดิม มาเป็นแบบที่เรียกกันว่า “เนื้อผงแก่ปูน”ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นเพราะ ในช่วงดังกล่าว หลวงปู่ภู มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก มีลูกศิษย์ลูกหาตลอดจนมหาชนผู้ศรัทธามากมาย ที่ต้องการพระเครื่องเนื้อผงของท่าน ทำให้ปริมาณในการสร้างพระในแต่ละครั้งมากขึ้นกว่าเดิม เนื้อหามวลสารที่เก็บรวบรวมไว้อาจขาดแคลน มีจำนวนน้อยลง ทำให้เนื้อหาผงพุทธคุณตลอดจน รูปแบบของพิมพ์ที่แตกต่างออกไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด จากมีเฉพาะเพียงพิมพ์พระสมเด็จฯเท่านั้น เปลี่ยนมาเป็นล้อพิมพ์พระกรุบ้าง เช่น พิมพ์ลีลา บางพิมพ์ก็สร้างพิมพ์ขึ้นมาใหม่โดยใช้แรงบันดาลใจจากพระในยุคเก่า เช่นพิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยมที่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพอสังเกตได้ว่า คือ พระขุนแผนบ้างกร่างพิมพ์ทรงพลเล็ก เพียงแต่มีขนาดย่อมลงมาเท่านั้น พิมพ์ไสยาสน์ พิมพ์พระปิดตาทั้งแบบกรอบสามเหลี่ยมที่ใช้รูปแบบจากพระปิดตาวัดพลับ พิมพ์พระปิดตากรอบสี่เหลี่ยมที่พิจารณาจากพุทธลักษณะได้ว่าน่าจะเป็นสายของวัดสะพานสูงหรือ หรือพระบางพิมพ์อาจเป็นพิมพ์ที่สร้างขึ้นใหม่จนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่แสดงถึงความสามารถในการออกแบบที่ท่านเจริญรอยตามองค์สมเด็จฯอาจารย์อย่างไม่เป็นรองผู้ใดเลยทีเดียว ได้แก่ พระสมเด็จพิมพ์แซยิด ทั้งแบบแขนหักศอก และแขนกลม อันเป็นพิมพ์ยอดนิยมสูงสุดในบรรดาพระเนื้อผงพุทธคุณของท่าน พิมพ์ฐานแปดชั้นทั้งแขนหักศอกและแขนกลม พิมพ์ฐานเจ็ดชั้นหูติ่ง พิมพ์ฐานสามชั้นหูบายศรี พิมพ์ฐานคู่ทั้งแขนกว้างและแขนแคบ พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์พระนาคปรกฐานโค้ง

นอกจากนั้นยังมีพระที่สร้างจากจินตนาการตาม “อัตตลักษณ์” ของท่านเองล้วน ๆ ทั้งนี้เพื่อผลตามเจตนารมณ์เฉพาะทาง เช่น พระพิมพ์สังกัจจายน์ ทั้งแบบข้างเม็ดและห้าเหลี่ยม เพื่ออานิสงค์ให้ผลทางโชคลาภ เมตตาค้าขาย รวมทั้งพระพิมพ์ยืนทั้งพิมพ์ประทานพรและแบบอุ้มบาตรซึ่งมีพุทธลักษณะแบบเดียวกันกับหลวงพ่อโต เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการสร้างพระ อันถือเป็นสัญลักษณ์คู่วัดอินทรวิหาร
ตามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ เป็นผู้ริเริ่มสร้างไว้ก่อนหน้านั้นเอง


เท่าที่เขียนมาจนยืดยาวนี้เพื่อเป็นการเล่าแจ้งแถลงไขว่า ไม่ว่าพระเครื่อง หรือวัตถุมงคลใด ๆ ของหลวงปู่ภู ท่านสร้างด้วยความพิถีพิถัน ให้ครบถ้วนถูกต้องตามตำรับตำรา อีกทั้งท่านยังเชี่ยวชาญสืบทอดการสร้างพระผงพุทธคุณจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯผู้เป็นอาจารย์ สำหรับพุทธคุณนั้นเด่นดังทางด้านเมตตา มหานิยม แคล้วคลาด เฉกเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังและบางขุนพรหมทุกประการ ขอแถมอีกนิดเกี่ยวกับประสบการณ์ของพระเนื้อผงของหลวงปู่ภูที่ “เห็นมาเด็มตา พบพามากับตัว” เมื่อตอนJORAWISยังเป็นเด็กนักเรียน บ่ายวันหนึ่ง ขณะเดินเล่นอยู่แถวห้างแก้วฟ้าพลาซ่า ละแวกบางลำพู เห็นชายคนหนึ่งวิ่งตัดหน้ารถในระยะกระชั้นชิด ทำให้รถที่ผ่านมาเบรกไม่ทันชนเข้าเต็มแรงจน เสียงดังสนั่น หมอนั่นกระเด็นไปกองอยู่ริมทางแน่นิ่งไป ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงวิ่งเข้าไปดูใกล้ ๆ น่าแปลกที่ไม่มีเลือดออกซักหยดทั้ง ๆ ที่เสื้อผ้าขาดเพราะแรงชน รอจนหายจุกนายคนนั้นจึงลุกขึ้นนั่ง พร้อมกับยกมือท่วมหัว เห็นในมือมีสร้อยที่ขาดและพระเนื้อขาวองค์เล็ก รูปห้าเหลี่ยมที่หักไปครึ่งองค์อยู่ในกรอบ ด้วยความอยากรู้จึงถามพวกไทยมุงที่รุมล้อมกันอยู่ จนได้คำตอบว่า พระองค์ที่หักนั้น คือ “พระหลวงปู่ภู วัดอินทร์ ” พระเนื้อผงของท่านนอกจากพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์แล้ว ยังเปี่ยมไปด้วยพุทธศิลป์และพุทธลักษณะที่งดงามเพียบพร้อม อย่างมีเอกลักษณ์ เรียกได้ว่า “ดีทั้งนอกทั้งใน”เลยทีเดียว หากศรัทธาในองค์ผู้เป็นอาจารย์ แต่บุญวาสนายังมาไม่ถึง อย่างน้อยก็ยังมีทางเลือกให้เช่าหาสะสมพระในตระกูลเดียวกัน ตามกำลังฐานะและความศรัทธา ที่เริ่มตั้งแต่หลักหมื่น ไปจนหลักแสนกลางเป็นต้นไปสำหรับพิมพ์ยอดนิยมอย่าง “พิมพ์แซยิด” ส่วนพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์นี้ แม้จะไม่ใช่พิมพ์ยอดนิยม ที่ใครเห็นจะต้องฮือหา แต่หากศรัทธาและเชื่อมั่นในศิษย์เอกสมเด็จฯ องค์นี้จริงก็นับว่าคุ้มค่าที่จะเสาะแสวงหา แบบรู้ลึก รู้จริง ฉลาดเลือก จะได้ไม่ต้องมานั่งตอบคำถามตัวเองว่า
"จ่ายแพงกว่าทำไม????"

ราคาเปิดประมูล900 บาท
ราคาปัจจุบัน12,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 20 พ.ย. 2557 - 16:53.13
วันปิดประมูล จ. - 24 พ.ย. 2557 - 20:36.12 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 12,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
ราคาประมูลด่วน12,000 บาท
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
topturbo (6) (-1) 171.5.250.171
1,000 บาท พฤ. - 20 พ.ย. 2557 - 19:48.48
10,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) จ. - 24 พ.ย. 2557 - 20:35.42
12,000 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) จ. - 24 พ.ย. 2557 - 20:36.12
กำลังโหลด...
Top