พ่อหลวงเวาะ ขวานครูพิษณุกัณห์ อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี - webpra

ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง

พ่อหลวงเวาะ ขวานครูพิษณุกัณห์ อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี

 พ่อหลวงเวาะ ขวานครูพิษณุกัณห์  อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี  พ่อหลวงเวาะ ขวานครูพิษณุกัณห์  อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี  พ่อหลวงเวาะ ขวานครูพิษณุกัณห์  อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี  พ่อหลวงเวาะ ขวานครูพิษณุกัณห์  อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พ่อหลวงเวาะ ขวานครูพิษณุกัณห์ อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี
รายละเอียด "ขวานครูพิษณุกัณห์" พ่อหลวงเวาะ

สำหรับเล่มนี้เทหล่อในพิธีครับ สร้างน้อย หายากมาก

."ขวานครูพิษณุกัณห์"... พ่อหลวงเวาะ (โต๊ะกือปะ) อหิงสกะอาศรม หนองจิก จ.ปัตตานี ยาวประมาณ ๑๕ ซ.ม. สร้างจำนวน ๑,๔๙๙ เล่ม จารอักขระเต็มสองด้าน ...เนื้อโลหะผสม ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่ชาวมุสลิมนับถือกันมาก ชอบเรียกท่านว่า ดาโต๊ะ หรือโต๊ะกือปะ ส่วนชาวไทยพุทธเรียกท่านว่า พ่อหลวงเวาะ หรือท่านขุนขวาน เพราะท่านทำวัตถุมงคลเป็นรูปขวานเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของท่าน ตามตำรากล่าวไว้ว่า “ขวานครูพิษณุกัณห์” นี้ไว้ต้านปราบมาร สิ่งชั่วร้าย ลมเพลมพัด อาถรรพ์ต่างๆ ไม่มากล้ำกลาย รวมถึงหนุนดวงชะตา คาถาบูชาว่า “นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุสะนิมะ ผุด ผัด ผิด ผิด ผัด ผุด” ภาวนาบ่อยๆ ให้ขึ้นใจ
หลวงพ่อเวาะ ปัจจุบันท่านอยู่วัดตุยง ปัตตานี เจ้าคุณธงชัยชอบเรียกท่านว่า ท่านขุนขวาน ขวานครู จากอหิงสกะอาศรม หนองจิก ปัตตานี เกิดขึ้นจากแรงศรัทธาของพี่น้องไทยพุทธและมุสลิม ที่มีต่อพ่อท่านโต๊ะกือปะ หล่อด้วยทองเหลืองตามแบบฉบับโบราณ และพิธีกรรมปลุกเสกที่ศักดิ์สิทธิ์-เข้มขลัง ทรงพลังแห่งคุณความดี ติดตัวไว้เสมอ ป้องกันคุณไสย์ สิ่งชั่วร้าย และลมพัดลมเพ




ท่านเวาะห์โต๊ะกือป๊ะพระผู้เป็นที่พึ่งทั้งพุทธ-มุสลิม
ท่านเวาะห์โต๊ะกือป๊ะพระภิกษุผู้เป็นที่พึ่ง "ไทยพุทธ-ไทยมุสลิม" : เรื่อง สุพิชฌาย์ รัตนะ / ภาพ จรูญ ทองนวล 0
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดินแดนอันได้ชื่อว่าเป็นดั่งสังคมพหุวัฒนธรรม อันเป็นพื้นที่ซึ่งมีการอยู่ร่วมกันของผู้คนต่างศาสนา และต่างวัฒนธรรม อันมีหลักฐานเชิงสัญลักษณ์ปรากฏให้เห็นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นศาสนสถาน หรือชุมชนบางหมู่บ้านที่ชาวพุทธและมุสลิมยังคงพึ่งพาอาศัยกันดุจพี่น้อง ตั้งแต่ครั้งบรรพกาลจวบจนปัจจุบัน เฉกเช่นเรื่องราวของ “พระเรวัตร ถิรสัทโธ” อายุ ๕๐ ปี หรือที่ชาวบ้านไทยพุทธ-มุสลิมเรียกกันติดปากว่า "ท่านเวาะห์"

“นายเรวัตร เชาว์ทอง” เป็นชื่อและสกุลเดิมของท่านเวาะห์ ซึ่งพื้นเพเดิมเป็นชาว อ.ตากใบ จ.นราธิวาส และได้เดินเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์มาแล้วเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี โดยปูมหลังของชีวิตมีบรรพบุรุษนับถือศาสนาอิสลาม กระทั่งมาถึงรุ่นของโยมพ่อซึ่งเป็นชาวพุทธ ส่วนโยมแม่เป็นชาวมุสลิม เป็นคนที่มีนิสัยรักเพื่อน เลือดร้อน มุทะลุ และชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ไม่ว่าเห็นใครลำบาก จะต้องเสนอตัวเข้าไปช่วยเหลืออยู่เสมอ จนบางครั้งต้องมีเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งไปทั่ว เพราะนิสัยที่ไม่ยอมเห็นคนถูกรังแกนั่นเอง

เมื่อครั้งเป็นวัยรุ่น มีเพื่อนทั้งไทยพุทธและมุสลิม ชอบเฮฮาตามประสาคนวัยคะนอง กระทั่งเรียนหนังสือจบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมนราธิวาส เพื่อนฝูงรุ่นราวคราวเดียวกันได้เดินทางไปศึกษาต่อในระดับสูง แต่ชีวิตของ “เรวัตร เชาว์ทอง” ยังคงโลดโผนโจนทะยานในเมืองนราธิวาส กระทั่งเริ่มรู้สึกอยากหาหนทางยุติความรุ่มร้อน เพื่อสงบจิตสงบใจ โดยได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๕ ที่วัดธารากร (บางน้อย) ต.ธารากร อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยมี พระครูสุนทรธรรมานุรักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

ท่านเวาะห์ศึกษาธรรมที่วัดแห่งนี้เป็นเวลา ๒ ปีเต็ม ก่อนจะมาจำพรรษาที่วัดพิกุลทอง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นเวลา ๑๗ ปี จากนั้นจึงได้เดินทางออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ทั่วประเทศ อีกทั้งยังมีโอกาสไปศึกษาความรู้ต่างๆ กับ หลวงพ่อคง สุวณฺโณ วัดวังสรรพรส ต.บ่อ อ.ขลุง จ.จันทบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมายังจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจำพรรษาที่วัดสถิตชลธาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี โดยปัจจุบันจำพรรษาที่กุฏิซึ่งอยู่ในบริเวณที่ดินท้ายวัดมุจลินทวาปีวิหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

“เราเป็นคนมีฐานะ พ่อแม่ทำธุรกิจค้าผ้า แถมมีทรัพย์สินที่บรรพบุรุษรุ่นทวดสร้างทิ้งไว้ให้ ไม่สนใจความสุขที่แท้จริง ได้แต่โลดโผนไปวันๆ กระทั่งวันหนึ่งอยากหยุดและละวางทุกสิ่งขึ้นมาเฉยๆ จึงตัดสินใจศึกษาธรรมในเส้นทางของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อหาหนทางดับทุกข์ให้กับตัวเอง” ท่านเวาห์ะกล่าว

แม้จะเป็นคนที่มีรากฐานครอบครัวเป็นชาวมุสลิม ก่อนจะเข้าสู่เส้นทางพุทธศาสนา แต่บัดนี้ “ท่านเวาะห์” ยังคงมีปฏิสัมพันธ์กับพี่น้องมุสลิมมาตลอด โดยไม่ได้รับเพียงกิจนิมนต์ของญาติโยมชาวพุทธเท่านั้น แต่งานบุญ งานแต่ง งานขึ้นบ้านใหม่ ร่วมไปถึงพิธีศพของชาวมุสลิม งานมัสยิด “ท่านเวาะห์” ก็เดินทางไปร่วมงานด้วยตามปกติ ซึ่งถือว่าเป็นพระรูปเดียวที่ไปร่วมงานทั้งของชาวพุทธ และชาวมุสลิม ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

ทุกแห่งหนไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สีแดงหรือสีอะไรก็ตาม เมื่อมีงานบุญทั้งของพุทธและอิสลามจะพบเห็น "ท่านเวาะห์" เพราะท่านคิดอยู่เสมอว่า ศาสนาใดก็มีเป้าประสงค์เดียวกัน นั่นคือ การช่วยให้ทุกคนพ้นจากบ่วงแห่งความทุกข์ จนทุกวันนี้ชาวบ้านทั้งไทยพุทธและมุสลิม ไม่มีใครที่ไม่เคยได้ยินชื่อของภิกษุสงฆ์ที่เรียกขานกันติดปากว่า “ท่านเวาะห์โต๊ะกือป๊ะ” หรือ “ท่านเวาะห์อาจารย์ขุนขวาน” ซึ่งมีที่มาจากบุคลิกเมื่อครั้งเป็นฆราวาสที่ชอบพกขวานขนาดเล็ก หรือ ที่ชาวปักษ์ใต้เรียกกันว่า“ลูกขวาน” ติดตัวไปไหมาไหนตลอดเวลา นั่นเอง

เมื่อถามที่มาของชื่อที่ว่า "ท่านเวาะห์โต๊ะกือป๊ะ" ซึ่งเป็นภาษายาวี พระเรวัตร อธิบายให้ฟังว่า “ท่านเวาะ นั้นเป็นชื่อทางสงฆ์ที่ชาวพุทธเรียก ส่วน โต๊ะ เป็นคำเรียกของคนมุสลิมในพื้นที่ ซึ่งมีความหมายว่า ครู ในขณะที่คำว่า กือป๊ะ แปลว่า ขวาน ดังนั้นจึงกลายเป็นชื่อที่เขาเรียกเรากันติดปากในหมู่คนพุทธและคนมลายูในชายแดนใต้ว่า ท่านเวาะโต๊ะกือป๊ะ” พระเรวัตร ถิรสัทโธ เล่า

ท่านเวาะห์ย้ำว่า ปัจจุบันเราแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ การแก้ปัญหาที่เริ่มจากใหญ่ มีอะไรบ้างที่ดี ถ้าเริ่มจากเล็กๆ ใหญ่ข้างหน้าถึงจะดี ทุกวันนี้ความสามัคคีค่อยๆ เรียวเล็กลง เพราะเราไม่แก้ที่ต้นเหตุ นอกจากนี้ควรปลูกฝังให้เด็กมีศาสนา มีคุณธรรม รวมถึงแก้ปัญหาการศึกษาให้ชาวบ้าน ปัญหาชายแดนภาคใต้ ต้องแก้ในระดับราก ต้องแก้โดยคนในพื้นที่ หลักใหญ่ๆ อยู่ที่ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ซึ่งรู้จักคนในหมู่บ้าน มีความรู้ มีความคิดที่จะแก้ไขได้ แต่ที่ผ่านมา ไม่มีโอกาส จึงวุ่นวาย หวาดระแวงไปทั่ว ที่สำคัญการแก้ปัญหา ต้องแก้ให้ตรงประเด็น เริ่มจากต้นเหตุ โดยให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม ถ้ามีโอกาสก็ช่วยกันออกความเห็น ช่วยกันชี้แนะ เพราะทุกคนทุกศาสนามีสิทธิเท่าเทียมกัน

“ท่านเวาะ หมอช้าง”

บทบาทของท่านเวาะห์ ทุกวันนี้ นอกจากจะช่วยเหลือชาวบ้านทั้งพุทธและมุสลิมด้วยวิธีทางสายกลางอย่างเท่าเทียมกันแล้ว ยังเป็นที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อให้ความเห็นและแนะนำการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ อย่างเรียบๆ แบบธรรมชาติ เพราะธรรมะ คือธรรมชาติ โดยมองว่าที่ผ่านมามักจะให้ยึดหลักการแก้ปัญหาแบบใช้อำนาจ ให้มีความยำเกรง ไม่ตรงกับสภาพของชาวบ้านในพื้นที่ ที่อยู่แบบเรียบง่าย แบบธรรมชาติ การแก้ปัญหาภาคใต้ต้องใช้แบบพระคุณ ไม่ใช่พระเดช

ในร่มกาสาวพัสตร์มากว่า ๓๐ ปี วันนี้ท่านเวาะห์ยังมีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่ยังคงสานต่อในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จนเป็นที่รับรู้กันในวงกว้าง นั่นคือ การทำหน้าที่เป็น “หมอช้าง” ซึ่งเป็นวิชาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจาก “ทวด” เนื่องจากใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มีช้างป่าและช้างเผือกจำนวนมาก ดังนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการอันเป็นศาสตร์ที่มีการถ่ายทอดมาจากบรรพชน ซึ่งวันนี้ในพื้นที่เหลือ มีเพียงท่านเวาะห์เท่านั้นที่สามารถประกอบพิธีเต็มรูปแบบ ตามสูตรโบราณ อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ในพื้นที่จะมีพิธีเข้าสุนัตหมู่ (มาโซะยาวี)

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้จัดขึ้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ได้มีช้างเข้าร่วมขบวนแห่ถึง ๑๖ เชือก เด็กเข้าร่วมพิธี ๗๕ คน ซึ่งการที่มีพระสงฆ์เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว รวมถึงบรรดาท่านผู้รู้ทางด้านศาสนาอิสลามในพื้นที่ บอกว่าไม่ผิดหลักศาสนาแต่อย่างใด เพราะเป็นการร่วมงานวัฒนธรรมประเพณี ไม่ได้เข้าร่วมพิธีทางศาสนา อีกทั้งถือเป็นภาพลักษณ์ที่ดีที่ทำให้สังคมภายนอกได้เข้าใจ ในอีกมิติหนึ่งของพี่น้องชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้จะมีความต่างในเรื่องศาสนาและความเชื่อ แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลัก แม้แตกต่าง แต่ไม่แตกแยก

********* รับประกันความแท้ 100 % *********
"พระที่ท่านเช่าบูชาไปจากร้าน 11 ธันวา รับประกันพระแท้ตลอดชีพ
หากเก๊ทางร้านยินดีคืนเงินเต็มทุกกรณี
แต่พระต้องอยู่ในสภาพเดิมที่ออกจากร้านเท่านั้น
ขอบคุณที่ใช้บริการ V-Amulet"

อย่าลืมคลิก พระเครื่องทั้งหมดของทางร้าน 11 ธันวา นะครับ อาจมีพระที่คุณสนใจอยากได้ครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาดูครับ

http://www.web-pra.com/Shop/V-Amulet

11 ธันวา
เจ้าของร้าน ปฐวีคงคา
โทร.087-0257282
ราคาเปิดประมูล800 บาท
ราคาปัจจุบัน900 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 17 พ.ย. 2557 - 12:29.05
วันปิดประมูล พ. - 03 ธ.ค. 2557 - 18:51.05 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 087-0257282
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 900 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
900 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 02 ธ.ค. 2557 - 18:51.05
กำลังโหลด...
Top