เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 ) - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 )

เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 ) เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 ) เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 ) เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 ) เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 )
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญสมโภชน์ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี2511..เริ่ม20บาท( 12/11/57-24 )
รายละเอียดยังคงยืนหยัด ราคาเดิมใหม่เปลี่ยนแปลงครับ
**********เริ่ม20บาท ทุกรายการ *******
รอบนี้..12/11/2557-16/11/2557 ครับ 21.00 น.ของทุกวันครับ
รอบนี้ลงไม่ต่ำกว่า 150 รายการเท่านั้นครับ 5 วันๆละประมาณ 30 รายการ ขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประมูลครับผม

..............รายละเอียด......

***********************
เหรียญสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม 2511 และ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก มีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม 2511 ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จ พระราชราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ ประวัติ วัตถุมงคลวัดมกุฏกษัตริยาราม ฉลอง ๑๐๐ ปี พ.ศ.๒๕๑๐ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก มีอายุครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๑๑ ประกอบกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๑ ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” สำหรับเป็นที่ระลึก คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏ กษัตริยารามก่อน จากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททอง “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ วชิรมงกุฏ” ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ทั้งนี้ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จ พระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ในวันอังคารที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่ง ปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิต เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญ สุขาราม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อเกลี้ยง วัด เฉลิมอาสน์ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี

ประวัติการสร้างเหรียญ

***พิธีเททองครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที
.....โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น
- หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี
- หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
- หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม
- หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
-หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี
- หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา
- หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น
.....โดยพิธีการจัดสร้างเป็นปฐมฤกษ์นั้นจะ มีเพียง “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง”
.....ส่วน “พระชัยวัฒน์” เป็นพิธีกรรมการจัดสร้างที่เรียกว่า “พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สอง” โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นองค์ประธานในการเททองหล่อด้วยพระองค์เอง
.....ซึ่งเป็นการหล่อสืบเนื่องจากที่เสด็จพระราชดำเนินหล่อ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” โดย “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ที่หล่อเสร็จแล้วล่วงหน้าทางคณะกรรมการได้นำมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สองนี้ อีกด้วย

***พิธีเททองครั้งที่ 2 นี้ ได้จัดประกอบพิธีในพระวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม ถึง 3 วัน 3 คืนคือระหว่าง วันอังคารที่ 9 ถึงวันพฤหัส บดีที่ 11 มกราคม 2511
- โดยสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงจุดเทียนชัยเวลา 15.21 น. ในวันที่ 9 มกราคม 2511
- แล้วเสด็จออกเททองหล่อ “พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” ในเวลา 15.29 น.
.....มีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญ พุทธาภิเษก อาทิ
- หลวงปู่นาควัดระฆังฯ กท.
- หลวง พ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี
- หลวงพ่อเส่งวัดกัลยา กท.
- หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอยสุพรรณบุรี
- พระอาจารย์ฟั่นอาจาโรวัดป่าอุดมสมพร
- หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูมชลบุรี
- หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่องเชียงใหม่
- หลวงพ่อพุธฐานิโย วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
- หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาดอุดรธานี
- หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ ชลบุรี
- หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
- หลวงปู่เทียม วัดกษัตราพระนครศรีอยุธยา
- พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น

***ส่วนวัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้ประกอบด้วย
1. “พระพุทธรูปพระพุทธวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะไทยประยุกต์ผสมผสานกับศิลปะอินเดียมี 2 ขนาดคือ
(1.1) ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระศกขมวดประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวหงาย มีชายผ้าทิพย์และฉัตร 3 ชั้นอยู่ด้าน หน้ามีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (ในบันทึกการจัดสร้างมิได้ระบุจำนวนสร้างจึงไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด)
(1.2) ขนาดหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว พระศกเป็นมวยมุ่นประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ มีชายผ้าทิพย์และมงกุฎมีพานรองรับฉัตร 7 ชั้นมีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระสังฆราชอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (มิได้ระบุจำนวนสร้างเช่นกัน)
2. “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะประยุกต์ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและอินเดีย แต่พระศกจะสลวยแบบศิลปะคันธาระของอินเดียมีทั้ง “ปางมารวิชัย” (คว่ำพระหัตถ์) และ “ปางประธานพร” (หงายพระหัตถ์) มี 3 ขนาดดังนี้
(2.1) “พระกริ่งพิมพ์ใหญ่” ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ ด้านหลังมีตรามงกุฎและฉัตร 5 ชั้น ใต้ฐานมีแผ่นทองปิดปั๊มอักษรว่า “มกุฏฺขตฺติยารามสฺส วสฺสสต” หมายความว่า “ครบ 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม” และมีอักษรขอมอยู่ใต้ฉัตร 3 ชั้น (ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช) และมีเลขลำดับประจำองค์พระตอกอยู่ด้านล่าง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองวัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี
(2.2) “กริ่งพิมพ์เล็ก” มีขนาดหน้าตัก 1.8 เซนติเมตรเป็น ปางประทานพร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เหมือนกับพระกริ่งใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ครบ 70 พรรษา
(2.3) “พระกริ่งพิมพ์พิเศษ” ขนาดหน้าตัก 1.4 เซนติเมตร ปางประทานพร รายละเอียดก็เฉกเช่นกันกับพระกริ่งพิมพ์ใหญ่แต่ไม่มีหมายเลขประจำองค์พระสร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณเป็นพิเศษ โดยพระกริ่งทั้ง 3 ขนาดนี้มี “พิมพ์ใหญ่” เท่านั้นที่สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” เพียงเนื้อเดียวส่วน “พิมพ์เล็ก” และ “พิมพ์พิเศษ” สร้างไว้ 2 เนื้อคือ “ทองคำ” และ “นวโลหะ” จำนวนเท่าใดมิได้ระบุเช่นกัน
3. “พระชัยวัฒน์” พระชัยวัฒน์มีขนาดหน้าตักกว้าง 1 เซน ติเมตร สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “ทองคำ” เป็นปางประทานพรที่ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงประกอบพิธีเททองหล่อเป็นปฐมฤกษ์ในพิธี พุทธาภิเษกครั้งที่ 2 ดังกล่าวมาแล้ว
4. “เหรียญที่ระลึก” จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในพิธีฉลอง วัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี และ พระชนมายุ 70 พรรษา สมเด็จพระสังฆราช (จวน) มีรายละเอียดดังนี้
(4.1) “เหรียญกลม” ด้านหน้าเป็น พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีตรามงกุฎแวดล้อมด้วยฉัตร 5 ชั้นทั้งสองด้านและมีอักษรว่า “สมโภช 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม 2511” และ
(4.2) “เหรียญมน” ด้านหน้าเป็น พระรูป สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีฉัตร 3 ชั้นเหนือลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” และ “ฉลองพระชนมายุ 70 พรรษา 2411”
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 12 พ.ย. 2557 - 21:06.07
วันปิดประมูล พฤ. - 13 พ.ย. 2557 - 23:29.18 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 12 พ.ย. 2557 - 23:29.18
30 บาท พฤ. - 13 พ.ย. 2557 - 21:18.00
40 บาท (auto) พฤ. - 13 พ.ย. 2557 - 21:18.00
50 บาท พฤ. - 13 พ.ย. 2557 - 21:18.02
กำลังโหลด...
Top