หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1.. - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคกลางตอนบน

หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1..

หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1.. หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1.. หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1.. หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1.. หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1..
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อหวั่น วัดคลองคูณ .. ปั๊มตะกั่ว ..1..
รายละเอียดรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก.. มหาลาภ-มหาอุตม์.. เนื้อตะกั่ว ( อยู่ในชุดกรรมการสร้าง 199 ชุด ) ตอกโค๊ต.. กรรมการ .. ( สร้างน้อยกว่า ทองเหลือง - ทองแดง ) สวยๆ รับประกันพระแท้ ตลอดชีพ .. ครับท่าน ..

พระครูพิพิธธรรมาธร หรือ ที่คนจังหวัดพิจิตรจะเรียกขานนามท่านว่า หลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นพระที่เมตตาสูง หรือถ้าไม่เกินเลยความเป็นจริงจะเรียกท่านว่า พระเถระผู้เปี่ยมเมตตาแห่งแควน่านก็ไม่น่าจะเกินความจริง

พระเกจิอาจารย์บ้านนอกที่ญาติโยมเข้ากราบสักการะหัวกะไดกุฎีวัดไม่แห้งถือว่าต้องมีดี ใช้ได้ทีเดียวคงจะไม่ธรรมดาเป็นแน่ลูกหลานสอบเข้ารับราชการได้จะพาไปให้ท่านรดนํ้ามนต์เหมือนเป็นการอวยชัยให้ศีลให้พรให้ความเป็นศิริมงคลเกิดขึ้นในขณะที่รับราชการจนถึงวันเกษียณชาวบ้านเขาเชื่อว่าชีวิตราชการนั้นจะเจริญรุดหน้าไปเรื่อยๆเป็นที่โจษขานมาช้านาน หรือว่าการดำรงตนครองชีวิตไม่ราบรื่นก็จะไปหาหลวงพ่อหวั่นท่านรดนํ้ามนต์เขาเล่ากันว่าพลิกกลับหน้ามือเป็นหลังมือกันทีเดียว วันที่ผมขึ้นไปกราบท่านมีชาวบ้านนำลูกสาวที่ทำงานอยู่กรุงเทพไปหาท่านเล่าเรื่องเบื้องหลังอย่างรันทดผมจึงลุกออกมาก่อนตามมารยาทไทยที่ไม่ฝักใฝ่เรื่องผู้อื่น เมื่อประพรมนํ้าพระพุทธมนต์เสร็จแล้วขอพระเครื่องเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจท่านหยิบมอบให้แล้วทั้งสองแม่ลูกก็เดินทางกลับ ผมเองได้เห็นแล้วรู้ทันทีว่าพระเกจิอาจารย์ในชนบทท่านนี้ต้องมีดีในตัวจึงนั่งในศรัทธาชาวบ้านมาช้านาน ..

ท่านเป็นพระที่พูดน้อยจะยิ้มเสียส่วนใหญ่ และที่สำคัญเท่าที่สังเกตดูท่านไม่ค่อยสนใจในลาภสักการะนักเพราะเห็นเงินในซองนอกซองวางทั่วไปรอบๆตัวที่ท่านนั่งต้อนรับญาติโยม ในขณะที่พระเณรช่วยกันเทปูนสร้างสาธารณะประโยชน์ของวัด เครื่องดื่มที่ญาติโยมนำไปถวายท่าน ท่านจะเดินเอาออกไปแจกพระเณรเมื่อเจ้าของทานมัยเหล่านั้นกลับไปแล้ว นี่คือสิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า หลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นผู้มี “ทานมัย” คือผู้ให้ผู้บริจาคหรือผู้ให้เป็นที่ตั้งไม่ได้เก็บไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน หลวงพ่อหวั่นนอกจากจะเป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังเป็นที่ศรัทธาในท้องถิ่นและละแวกใกล้เคียงแล้ว วัตถุมงคลต่างๆหากท่านพอใจที่จะให้ท่านให้ไม่เสียดาย ส่วนจะร่วมบุญสร้างกุศลเสริมบารมีกับท่านมากน้อยแค่ไหน ท่านไม่ได้ยึดติดกับลาภสักการะเหล่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ทางคณะกรรมการวัดจึงต้องตั้งตู้วัตถุมงคล ให้พระดูแลเพื่อนำรายได้ต่างๆมาบูรณะวัด วัดคลองคูณแม้จะเป็นวัดเก่าแก่แต่ขาดการพัฒนาที่ดี มาในยุคหลวงพ่อหวั่นเป็นเจ้าอาวาส เสนาสนะต่างๆภายในวัดดูแล้วเจริญหูเจริญตาขึ้นมามากและดูเหมือนว่า จะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในอำเภอ ตะพานหินด้วย หลวงพ่อหวั่น ท่านเก่งในด้านทำตะกรุดทั้งแบบมหาอุดหยุดกระสุนปืนตลอดทั้งแบบเมตตามหานิยมใครเห็นใครชมใครเห็นต่างเมตตารักใคร่ เหมือนลูกหลานหรือคนในแวดวงสกุลเดียวกัน ซึ่งการสร้างตะกรุดนั้นท่านบอกว่าท่านทำ มาตั้งแต่พรรษาไม่มากนักและได้ รับความไว้วางใจจากชาวบ้านและคณะสงฆ์ในอำเภอตะพานหินให้ท่านรักษาการ เจ้าอาวาสตั้งแต่เพิ่งจะบวชได้แค่ ๓ พรรษาเท่านั้น เมื่อครบ ๕ พรรษาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสทันทีเพื่อไม่ปล่อยโอกาสอันดีจากสายตาพระผู้ใหญ่ในขณะนั้น

หลวงพ่อหวั่น.. ท่านได้เรียนวิชาจากตำราของหลวงพ่อโพธิ์ วัดคลองหมาเน่า ซึ่งหลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระมอญที่ไปจากจังหวัดปทุมธานี มีความเชี่ยวชาญในการลงตะกรุดคงกระพัน ไปอยู่ที่วัดคลองหมาเน่า จนกระทั่ง มรณะภาพ ลงญาติพี่น้องของท่านที่อยู่ในจังหวัดปทุมธานี ได้เดินทางไปรับศพท่านกลับมาประกอบพิธีทางพระศาสนาและ ปลงศพที่บ้านเกิดหลังที่ทางคณะกรรมการวัดคลองหมาเน่าตลอดจนผู้ศรัทธาได้ประกอบพิธีทางศาสนาได้ระยะหนึ่ง เล่ากันว่าหลวงพ่อโพธิ์ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เข้มขลังวิชาเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมใน ละแวกนั้น ( หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ก็เคยได้เล่าเรียนศึกษาวิชาอาคม มาจากหลวงพ่อโพธิ์ ) นอกจากหลวงพ่อโพธิ์วัดคลองหมาเน่าแล้ว หลวงพ่อหวั่น ท่านได้ไปเรียนคาถาด้านเมตตามหานิยมกับท่านพระอาจารย์รอด ที่สำคัญและไม่กล่าวถึงไม่ได้คือหลวงพ่อจันทร์ วัดคลองคูณพระเกจิอาจารย์นามอุโฆษในอดีต หลวงพ่อหวั่นได้เรียนรู้วิชาอาคมของหลวงพ่อจันทร์ท่านได้วิธีการลงอักขระยันต์ต่างๆ ในตะกรุดตลอดจนขั้นตอนการปลุกเสกและการนั่งสมาธิ เพื่อให้วัตถุมงคลที่ได้ปลุกเสกไปเกิดมีฤทธิ์อำนาจทางพุทธคุณในด้านต่างๆ เมื่อได้ศึกษามาก็ได้ฝึกปรือจนแน่ใจว่าใช้ได้ในเรื่องพุทธคุณไม่ขาดไม่เกินความสามารถที่หลวงพ่อหวั่นท่านได้เรียนมาก็มอบให้ญาติโยมซึ่งเดินทางมาจากที่ต่างๆทั้งใกล้และไกลเมื่อมีประสบการณ์ต่างบอกกล่าวเล่าต่อๆ กันไปกระทั่งท่านนั่งต้อนรับญาติที่ต่างดั้นด้นมาหาท่าน แม้ในขณะนั้นบางคนต้องเดินเท้ามานานนับชั่วโมงโดยมิย่อท้อ เดินทางมาเพื่อให้พบกับพระอาจารย์หนุ่มท่านนี้ให้จงได้ และหลวงพ่อหวั่น ท่านเป็นผู้มีเมตตาสูงใครไปใครมาขอเมตตาอะไรจากท่านก็ล้วนแต่สำเร็จจากปากสู่หูที่บอกเล่ากล่าวต่อกันไป ชื่อเสียงของท่านหอมกระจายไปในทุกสารทิศเหมือนกลิ่นดอกแก้วที่หอมรวยรินไปกับสายลมในยามรุ่งอรุณ เกียรติคุณความดีของท่านนั้นหาได้ผิดแผกไปจากความหอมแห่งบุปผาชาติในยามรุ่งสางไม่ ปัจจุบันแม้สังขารจะล่วงเลยเข้าร่วมศตวรรษแล้วก็ตาม แต่หากมีพิธีพุทธาภิเษก ในเขตจังหวัดพิจิตรตลอดจนย่านใกล้เคียงในละแวกนี้ จะต้องมีนามของท่านพระครูพิพิธธรรมาทรร่วมในพิธีฯ อยู่ด้วยเสมอทุกครั้งไป ..
ราคาเปิดประมูล1,900 บาท
ราคาปัจจุบัน1,950 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 31 ต.ค. 2557 - 08:42.48
วันปิดประมูล พ. - 05 พ.ย. 2557 - 17:08.03 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,950 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,950 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 04 พ.ย. 2557 - 17:08.03
กำลังโหลด...
Top