ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ปี 2511 อ.ฝั้น หลวงตามหาบัว ร่วมพิธีปลุกเสก...เริ่ม20บาท( 28/10/57-57 )
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ปี 2511 อ.ฝั้น หลวงตามหาบัว ร่วมพิธีปลุกเสก...เริ่ม20บาท( 28/10/57-57 ) |
---|---|
รายละเอียด | ยังคงยืนหยัด ราคาเดิมใหม่เปลี่ยนแปลงครับ **********เริ่ม20บาท ทุกรายการ ******* รอบนี้..27/10/2557-31/10/2557 ครับ 21.00 น.ของทุกวันครับ รอบนี้ลงไม่ต่ำกว่า 150 รายการเท่านั้นครับ 5 วันๆละประมาณ 30 รายการ ขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประมูลครับผม ..............รายละเอียด...... *********************** เหรียญสมเด็จพระสังฆราช (จวน) พิธีเดียวกับพระกริ่งวัดมงกุฎฯ พ.ศ. 2511 อ.ฝั้น หลวงตามหาบัว ลพ.เงิน อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ฯลฯ ..ส่วนพิธีการสร้างอ่านดูเอาเลยครับ พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกล้วนสุดยอดทั้งสิ้น ***ประวัติการสร้างเหรียญ .....วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 .....ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511 .....ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511 .....โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน “ศุภวาระมงคลวโรกาส” ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ พระพุทธรูป - พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ - เหรียญ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชา ***โลหะที่จะนำมาจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้นั้น คณะกรรมการมีแนวคิดว่าด้วยเหตุที่ วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่ พระมหากษัตริย์ ทรงสร้างเป็น พระอารามหลวง และมีอายุการสร้างมายาวนานถึง 100 ปี .....ประกอบกับ “สมเด็จพระสังฆราช (จวน)” เจ้าอาวาสในขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา อีกทั้งวัดมกุฏกษัตริยารามยังมิเคยจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในส่วนของพระอารามหรือส่วนพระองค์เลย ดังนั้นการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้จึงนับเป็นการสร้าง “ครั้งหนึ่งครั้งเดียว” จึงควรแสวงหา “โลหะวัตถุที่ดี ที่สุด” ในขณะนั้นมาเป็นเนื้อหาการจัดสร้าง .....และโดยที่ทรงเป็น “สกลมหาสังฆปริณายก” พระราชา คณะหรือเจ้าคณะและเจ้าอาวาสรวมทั้งพระคณา จารย์ทั่วราช อาณาจักรกว่า 500 รูป ก็ยินดีถวายโลหะวัตถุที่ได้ปลุกเสกไว้แล้ว .....รวมทั้งถวายแผ่นโลหะชนิดต่าง ๆ ที่มีการลงอักขระยันต์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย เพื่อให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกประการ .....ซึ่งหลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อน .....จากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” และนำเหรียญมาปลุกเสก ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ***พิธีเททองครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที .....โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น - หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ - หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี - หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม - หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม - หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร -หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี - หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา - หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี - พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น .....โดยพิธีการจัดสร้างเป็นปฐมฤกษ์นั้นจะ มีเพียง “พระพุทธรูป” และ “พระกริ่ง” .....ส่วน “พระชัยวัฒน์” เป็นพิธีกรรมการจัดสร้างที่เรียกว่า “พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สอง” โดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเป็นองค์ประธานในการเททองหล่อด้วยพระองค์เอง .....ซึ่งเป็นการหล่อสืบเนื่องจากที่เสด็จพระราชดำเนินหล่อ “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” โดย “พระพุทธวชิรมงกุฏ” และ “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” ที่หล่อเสร็จแล้วล่วงหน้าทางคณะกรรมการได้นำมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่สองนี้ อีกด้วย ***พิธีเททองครั้งที่ 2 นี้ ได้จัดประกอบพิธีในพระวิหาร วัดมกุฏกษัตริยาราม ถึง 3 วัน 3 คืนคือระหว่าง วันอังคารที่ 9 ถึงวันพฤหัส บดีที่ 11 มกราคม 2511 - โดยสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงจุดเทียนชัยเวลา 15.21 น. ในวันที่ 9 มกราคม 2511 - แล้วเสด็จออกเททองหล่อ “พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ” ในเวลา 15.29 น. .....มีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญ พุทธาภิเษก อาทิ - หลวงปู่นาควัดระฆังฯ กท. - หลวง พ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี - หลวงพ่อเส่งวัดกัลยา กท. - หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอยสุพรรณบุรี - พระอาจารย์ฟั่นอาจาโรวัดป่าอุดมสมพร - หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูมชลบุรี - หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่องเชียงใหม่ - หลวงพ่อพุธฐานิโย วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา - หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาดอุดรธานี - หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่าฯ ชลบุรี - หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร - หลวงปู่เทียม วัดกษัตราพระนครศรีอยุธยา - พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ปัตตานี ฯลฯ เป็นต้น ***ส่วนวัตถุมงคลที่จัดสร้างครั้งนี้ประกอบด้วย 1. “พระพุทธรูปพระพุทธวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะไทยประยุกต์ผสมผสานกับศิลปะอินเดียมี 2 ขนาดคือ (1.1) ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว พระศกขมวดประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวหงาย มีชายผ้าทิพย์และฉัตร 3 ชั้นอยู่ด้าน หน้ามีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (ในบันทึกการจัดสร้างมิได้ระบุจำนวนสร้างจึงไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด) (1.2) ขนาดหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว พระศกเป็นมวยมุ่นประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ มีชายผ้าทิพย์และมงกุฎมีพานรองรับฉัตร 7 ชั้นมีลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระสังฆราชอุฏฐายี” อยู่ด้านหลังสร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “เนื้อสำริด” มีลำดับเลขหมายอยู่ที่ฐานด้านหลัง (มิได้ระบุจำนวนสร้างเช่นกัน) 2. “พระกริ่งวชิรมงกุฏ” สร้างด้วยศิลปะประยุกต์ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและอินเดีย แต่พระศกจะสลวยแบบศิลปะคันธาระของอินเดียมีทั้ง “ปางมารวิชัย” (คว่ำพระหัตถ์) และ “ปางประธานพร” (หงายพระหัตถ์) มี 3 ขนาดดังนี้ (2.1) “พระกริ่งพิมพ์ใหญ่” ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ ด้านหลังมีตรามงกุฎและฉัตร 5 ชั้น ใต้ฐานมีแผ่นทองปิดปั๊มอักษรว่า “มกุฏฺขตฺติยารามสฺส วสฺสสต” หมายความว่า “ครบ 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม” และมีอักษรขอมอยู่ใต้ฉัตร 3 ชั้น (ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช) และมีเลขลำดับประจำองค์พระตอกอยู่ด้านล่าง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองวัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี (2.2) “กริ่งพิมพ์เล็ก” มีขนาดหน้าตัก 1.8 เซนติเมตรเป็น ปางประทานพร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เหมือนกับพระกริ่งใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ครบ 70 พรรษา (2.3) “พระกริ่งพิมพ์พิเศษ” ขนาดหน้าตัก 1.4 เซนติเมตร ปางประทานพร รายละเอียดก็เฉกเช่นกันกับพระกริ่งพิมพ์ใหญ่แต่ไม่มีหมายเลขประจำองค์พระสร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณเป็นพิเศษ โดยพระกริ่งทั้ง 3 ขนาดนี้มี “พิมพ์ใหญ่” เท่านั้นที่สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” เพียงเนื้อเดียวส่วน “พิมพ์เล็ก” และ “พิมพ์พิเศษ” สร้างไว้ 2 เนื้อคือ “ทองคำ” และ “นวโลหะ” จำนวนเท่าใดมิได้ระบุเช่นกัน 3. “พระชัยวัฒน์” พระชัยวัฒน์มีขนาดหน้าตักกว้าง 1 เซน ติเมตร สร้างด้วย “เนื้อนวโลหะ” และ “ทองคำ” เป็นปางประทานพรที่ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงประกอบพิธีเททองหล่อเป็นปฐมฤกษ์ในพิธี พุทธาภิเษกครั้งที่ 2 ดังกล่าวมาแล้ว 4. “เหรียญที่ระลึก” จัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกทั้งในพิธีฉลอง วัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี และ พระชนมายุ 70 พรรษา สมเด็จพระสังฆราช (จวน) มีรายละเอียดดังนี้ (4.1) “เหรียญกลม” ด้านหน้าเป็น พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีตรามงกุฎแวดล้อมด้วยฉัตร 5 ชั้นทั้งสองด้านและมีอักษรว่า “สมโภช 100 ปีวัดมกุฏกษัตริยาราม 2511” และ (4.2) “เหรียญมน” ด้านหน้าเป็น พระรูป สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ด้านหลังมีฉัตร 3 ชั้นเหนือลายพระหัตถ์ “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณอุฏฐายี” และ “ฉลองพระชนมายุ 70 พรรษา 2411” |
ราคาเปิดประมูล | 10 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 70 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 28 ต.ค. 2557 - 21:06.47 |
วันปิดประมูล | พ. - 29 ต.ค. 2557 - 21:12.37 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อ. - 28 ต.ค. 2557 - 21:12.37 | |
30 บาท | อ. - 28 ต.ค. 2557 - 23:53.56 | |
40 บาท | อ. - 28 ต.ค. 2557 - 23:56.54 | |
50 บาท | พ. - 29 ต.ค. 2557 - 20:22.38 | |
60 บาท | พ. - 29 ต.ค. 2557 - 20:30.15 | |
70 บาท | พ. - 29 ต.ค. 2557 - 21:02.11 |
กำลังโหลด...