ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อชิน
พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล ชินเงิน
ชื่อพระเครื่อง | พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล ชินเงิน |
---|---|
รายละเอียด | พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล ชินเงิน พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา พระระดับคลาสสิกที่ใครๆ ในวงการมีใจพิสมัยเป็นอย่างยิ่ง แต่หลายคนนั้นก็ยังคงเวียนวนในกระแสความอยากได้อยู่ร่ำไป ไม่เคยได้พานพบเป็นเจ้าของสักองค์ ธรรมดาทั่วไปของพระพิมพ์นี้ก็คือเนื้อดินเผา แต่เหนือธรรมดาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็คือเนื้อชิน ยิ่งกว่าหายากเข้าไปอีก ขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ เป็นพระที่นักสะสมหลายท่านใฝ่ฝันที่จะมีไว้ในครอบครอง ด้วยเหตุผลที่เป็นพระสร้างโดยกษัตริย์คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่มีอายุถึง400ปี และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือเป็นการฉลองชัยชนะในการกระทำยุทธหัตถีกับพม่าจน ได้รับชัยชนะ การได้ครอบครองก็เป็นความภูมิใจในความเป็นไทยและขอพึ่งพุทธคุณและพระบารมี ที่สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระพันธรัตน์ พระสมณเจ้าในยุคนั้นได้ประสิทธิ์ประสาทปลุกเสกไว้ในองค์พระขุนแผนใบพุทรานี้ องค์ที่นำมาเสนอวันนี้ เป็นพระร่วมกรุเดียวกันกับพระขุนแผนเคลือบ ของกรุวัดใหญ่ชัยมงคลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวโรกาศที่ทรงได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราช และทรงได้รับชัยชนะ เมื่อพระองค์เสด็จกลับมายังกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงได้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นที่วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นวัดที่จำพรรษาของสมเด็จพระนพรัตน์ พระเถระผู้ยิ่งใหญ่และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามครั้งนั้น พระขุนแผนใบพุทรา กรุวัดใหญ่ชัยมงคล จึงถือว่ามีความเกี่ยวเนื่องในเชิงสัญลักษณแห่งความสำเร็จ องค์พระผู้สร้างที่ทรงมีชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรูและอุปสรรคขวากหนามทั้งมวล มีทั้งพิมพ์ห้าเหลี่ยมเคลือบ และพิมพ์ใบพุทราเนื้อดิน และเนื้อชิน พระขุนแผน กรุวัดใหญ่ชัยมงคล นั้นเล่าลือสืบกันมามากมายด้วยกฤษฎาภินิหาร ตั้งแต่คนรุ่นเก่ามาจนถึงวันนี้ ความนิยมต่อพระพิมพ์นี้จึงไม่เหือดหายไปจากวงการ ขณะที่ความต้องการมีอยู่มาก แต่จำนวนพระเท่าเดิม ก็เป็นธรรมดาที่คุณค่าทางราคาก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย หนังสือตำนานโยนก ว่า[1] "เมื่อราวปีขาล จุลศักราช ๗๘๔ พ.ศ ๑๙๖๕ ตรงในสมัยเมื่อสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ ๑ ครองราชย์สมบัติ ณ กรุงศรีอยุธยา มีพระภิกษุทางประเทศนี้หมู่หนึ่ง หัวหน้าเป็นพระมหาเถรชาวเชียงใหม่ ๗ รูป ชื่อพระธรรมคัมภีร์ ๑ พระเมธังกร ๑ พระญาณมังคละ ๑ พระสีลวงศ์ ๑ พระสาริบุตร ๑ พระรัตนากร ๑ พระพุทธสาคร ๑ เป็นพระมหาเถรชาวกรุงศรีอยุธยา ๒ รูป ชื่อพระพรหมมุนี ๑ พระโสมเถร ๑ เป็นพระมหาเถรชาวกรุงกัมพูชา ชื่อพระญาณสิทธิ์รูป ๑ พระภิกษุบริษัทเป็นอันมากพากันออกไปเมืองลังกา ไปอุปสมบทแปลงเป็นสิงหฬนิกาย ณ อุทกเขปสีมาที่แม่น้ำกัลยาณี ในสำนักพระวันรัตมหาเถร เมื่อ ณ วันเสาร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ อุตราสาฒ ปีมะโรง จุลศักราช ๗๘๖ พ.ศ. ๑๙๖๗ แล้วศึกษาธรรมวินัยอยู่ในลังกาทวีปอยู่หลายปี เมื่อกลับมาได้นิมนต์พระมหาเถรชาวลังกามาด้วย ๒ รูป ชื่อพระมหาวิกรมพาหุ รูป ๑ พระอุดมปัญญา รูป ๑ มาขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาก่อน แล้วแยกย้ายกันไปเที่ยวตั้งนิกายลังกาขึ้นอีกนิกายหนึ่ง เรียกว่า วันรัตนวงศ์ แปลเป็นภาษาไทยเรียกว่า คณะป่าแก้ว (ชาวเชียงใหม่เรียกว่า ป่าแดง)" แต่ก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันเช่น ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ว่า[2] "ได้ความตามหนังสือในตำนานที่ปรากฏอยู่ในเมือง เชียงใหม่ดังนี้ เชื่อได้ว่าพระสงฆ์นิกายป่าแก้วมีขึ้นครั้งนั้นเป็นปฐม แต่ความที่ปรากฏทางเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง วัดนิกายป่าแก้วนี้มีในหัวเมืองแถบนั้นมาก เห็นพระสงฆ์นิกายเมืองป่าแก้วจะมาแพร่หลายทางหัวเมืองเหล่านั้นก่อน แล้วจึงขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยา จึงได้เรียกพระสงฆ์คณะป่าแก้วที่ขึ้นสมเด็จพระวันรัตนว่า คณะใต้ พระสงฆ์นิกายนี้คงจะปฏิบัติเคร่งครัดทางแสดงธรรมวินัย กว่าพระสงฆ์ลังกาวงศ์ซึ่งอยู่มาแต่ก่อน จึงทำให้เจริญความเลื่อมใสกันขึ้น เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงผนวชใน คณะป่าแก้ว เห็นจะเลื่องลือพระเกียรติยศมาก เป็นเหตุให้พระเจ้าแผ่นดินประเทศอื่น ขวนขวายการบำเพ็ญอุปถัมภกพระศาสนาเป็นพิเศษบ้าง เช่น พระรามาธิบดี (ปิฎกธร) กรุงหงสาวดี ส่งพระภิกษุสงฆ์ออกไปอุปสมบทแปลงที่ลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๘ เมื่อพระสงฆ์เหล่านั้นกลับเข้ามาแล้ว บังคับให้พระสงฆ์ในรามัญประเทศแปลงเป็นนิกายเดียวกันจนหมด พระเจ้าติโลกราช เมืองเชียงใหม่ก็ตั้งพิธีทำสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งที่ ๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ เป็นต้น ซึ่งดูจะเนื่องมาจากการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงผนวชขึ้นก่อนทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้นยังปรากฏว่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๐๗ เป็นต้นมา ได้นำพระราชโอรส พระราชนัดดา ตลอดจนเจ้านายลูกผู้ลากมากดีบวชกันมากจนกลายเป็นธรรมเนียมสืบมา ถือกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ประเพณีบวชนี้ ได้แพร่หลายนิยมตามกันมาถึงในหมู่คนสามัญด้วย วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว(วัดใหญ่ชัยมงคลครั้งบรรพกาล) อนึ่ง พระสงฆ์ไทยที่ไปบวชแปลงที่สำนักพระวันรัตนวงศ์ในลังกา ที่เรียกเป็นภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” นั้น เมื่อเข้ามาถึงกรุงศรีอยุธยาก็ได้เข้าพักอยู่ในวัดเจ้าพระยาไทยซึ่งเป็น อรัญวาสีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อคณะ ป่าแก้วเข้ามาก็ทำให้เพิ่มความคึกคักในการปฏิบัติธรรมกันฝ่ายนี้กันมากขึ้น วัดเจ้าพระยาไทยจึงเป็นวัดชั้นนำทางด้านอรัญวาสี พระเถระที่เป็นหัวหน้าควบคุมจึงได้นามว่า “สมเด็จพระวันรัตน” (พระพนรัตน์) ตามพระนามพระวันรัตนมหาเถระซึ่งเป็นอาจารย์ในลังกาทวีป การที่คณะ ป่าแก้วเข้ามีเมืองไทยนั้น ได้จัดเป็นคณะหนึ่งต่างหาก ผู้คนจะเลือกศึกษาได้ตามสมัครใจไม่บังคับเหมือนในเมืองมอญ ฉะนั้น ในชั้นแรกจึงเรียกชื่อวัดว่า “วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว” ภายหลังจึงได้เหลือ วัดป่าแก้ว แต่อย่างเดียว อย่างไรก็ดี เนื่องจาก วัดเจ้าพระยาไทย หรือ วัดป่าแก้ว เป็นพระอารามหลวงมีพระเจ้าแผ่นดินเจ้านายเข้าทรงผนวช และเป็นที่ประกอบการพระราชพิธีบางอย่าง รวมทั้งใหญ่โตกว้างขวาง ชาวบ้านจึงได้เรียกกันว่า “วัดใหญ่” มาแต่แรกสร้าง หมายเหตุ : [1] บทความเรื่องนี้ใช้อักขรวิธีตามต้นฉบับ [2] สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา วัดใหญ่ชัยมงคล ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ (พงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา) สันนิษฐานว่าเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง วัดนี้เดิมชื่อว่า "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่ที่พระราชทานเพลิงพระศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท" วัดนี้เป็นวัดของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี มีพระวันรัตน์เป็นเจ้าคณะ ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับ พระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๓๑ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริมพระเจดีย์ให้ ใหญ่และสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระเกียรติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ชัยมงคลวัดนี้ร้างไปเมื่อ คราวเสียกรุงครั้งสุดท้ายแล้ว เพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้เอง แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจหรือไม่ว่า พระกรุนี้มิได้ถูกพม่าทุบทำลายปล้นชิงไป กอปกับคำบอกเล่าของนักขุดล่าหาสมบัติพระกรุแห่งเมืองกรุงเก่า ว่ากรุนี้ใครเข้าไปมักหลงทาง หาทางกลับออกมาไม่ได้ บ้างก็ลงแหวกว่ายในทะเล ทั้งที่ไม่มีน้ำอยู่เลย กลับมาถึงบ้านหน้าอกหน้าใจถลอกปอกเปิกหมดสิ้นกันทั้งคณะ บูชาพระกรุนี้จึงไม่ต้องกังวลว่าพระจะคุ้มครองคน หรือคนจะต้องเป็นฝ่ายคุ้มครองพระกันแน่ |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 7,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 22 มิ.ย. 2553 - 21:01.02 |
วันปิดประมูล | ศ. - 02 ก.ค. 2553 - 21:01.02 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 7,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
500 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.18 | |
600 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.23 | |
700 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.24 | |
800 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.26 | |
900 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.28 | |
1,000 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.29 | |
1,100 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.36 | |
1,200 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.44 | |
1,300 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.45 | |
1,400 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.46 | |
1,500 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.48 | |
1,600 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.50 | |
1,700 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.52 | |
1,800 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.54 | |
1,900 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.55 | |
2,000 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 02:06.57 | |
5,000 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 16:15.22 | |
6,000 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 16:15.32 | |
7,000 บาท | พ. - 23 มิ.ย. 2553 - 16:15.52 |
กำลังโหลด...