ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
หายาก!!!เหลือน้อย!!!วัดใจ๑๑๑๑เหรียญเสด็จพ่อในหลวงรัชกาลที่ ๕ กำลังแผ่นดินด้านหลังหลวงพ่อโต ๕ พี่น้อง
ชื่อพระเครื่อง | หายาก!!!เหลือน้อย!!!วัดใจ๑๑๑๑เหรียญเสด็จพ่อในหลวงรัชกาลที่ ๕ กำลังแผ่นดินด้านหลังหลวงพ่อโต ๕ พี่น้อง |
---|---|
รายละเอียด | หายาก!!!เหลือน้อย!!!วัดใจ๑๑๑๑เหรียญเสด็จพ่อในหลวงรัชกาลที่ ๕ กำลังแผ่นดินด้านหลังหลวงพ่อโต ๕ พี่น้องชุบทองคำ ๓ กษัตรย์ปลุกเสก ๕ พิธีใหญ่ วัดพระแก้ว พศ.2539-40 ออกวัดพระแก้วและวัดศรีสุดาราม หลวงพ่อเณร กรรมการจัดสร้าง เจตนาบริสุทธิ์เงินไปทำบุญสร้าง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ปี40และสมทบสร้างวัดโกมุทพุทธรังสี พุทธมณฑลสาย 3 และสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดหนองบัวทอง สุพรรณบุรี พิธีเดียวกันกับสมเด็จจิตรลดา 2 กำลังแผ่นดิน พระสมเด็จเนื้อว่านกำลังแผ่นดิน รุ่นพิมพ์ใหญ่มวลสารจิตรลดา เฉลิมฉลองปีกาญจนาภิเษก 50 ปี ออกปี39ปลุกเสกวัดพระแก้ว เป็นพิธีที่ 1 ได้รับอนุญาติเข้าพิธีเดียวกัน วัตถุประสงค์เพื่อมอบให้แก่สมทบทุนฃื้อเครื่องมือแพทย์แก่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง 2 ธันวาคม 2539 เวลา 15.19 น.โดยพระภาวนาจารย์ 109 รูปเป็นการรวบรวมเกจิอาจารย์สมัยปี40เกือบทั้งหมดเช่น ลพ.คูณ วัดบ้านไร่ ลพ.หลิว วัดไร่แตงทอง ลพ.พูล ลพ.เปิ่น วัดบางพระ นครปฐม นั่งปรกในวัดพระแก้วและนอกวัดยังมีพระสงฆ์นั่งเจริญขัยคาถาอีกเป็นพันองค์รอบอุโบสถวัดพระแก้วเป็นพิธีที่ 1 และในพิธีที่ 2นำเข้าปลุกเสกพร้อมกันกับเหรียญ พระพุทธเบญจภาคีมหาราช โดยเนื่องในโอกาสมงคลวโรกาสที่สมเด็จพระปิยมหาราชเสด็จประพาสศรีลังกาครบรอบ 100ปี เข้าพิธีมังคลาพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2540 ณ วัดจุฬาลงกรณ์ธรรมศาลา เมืองกอลล์ ศรีลังกา ครั้งที่ 3 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระแก้ว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2540 หลังจากนั้นได้นำเหรียญเข้าพิธีพุทธาภิเษกอีก 5 ครั้งเดินสายปลุกเสกวัดหลวงพ่อโต 5 พื่น้องด้งนี้ 1 หลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา 2 หลวงพ่อวัดไร่ขิง นครปฐม 3 หลวงพ่อวัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม 4 หลวงพ่อวัดเขาตะเครา เพชรบุรี 5 หลวงพ่อโต วัดบางพลีใน สมุทรปราการ ฃี่งหลวงพ่อโตอันศักดิ์สิทธิ์ 5 วัดมีประสพการณ์บนท่านจะได้สมปราถนาเป็นที่เลื่องลือเสมอมา ออกให้ราคาวัดขาดทุนสายตรงองค์เสด็จพ่อไม่ควรพลาดพระมีตอกโค้ดพระเก็บไว้ไม่มากพระองค์จริงสวยกว่ารูปรับรองไม่ผิดหวังสนใจเชิญเคาะเดียว ฃี่งหลวงพ่อโตอันศักดิ์สิทธิ์ 5 วัดมีประสพการณ์บนท่านจะได้สมปราถนาเป็นที่เลื่องลือเสมอมา ออกให้ราคาวัดขาดทุนสายตรงองค์เสด็จพ่อไม่ควรพลาดพระมีตอกโค้ดพระเก็บไว้ไม่มากพระองค์จริงสวยกว่ารูปรับรองไม่ผิดหวังสนใจเชิญเคาะเดียว ตามตำนานประวัติของ หลวงพ่อโต ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ประมาณกาล ๒๐๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว ได้มีพระพุทธรูป ๓ องค์ ปาฏิหาริย์ลงมาจากทางเหนือ ลอยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดมา พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ เข้าใจว่าปวงชนในกรุงศรีอยุธยาคงอาราธนาท่านลงสู่แม่น้ำเพื่อหลบหนีข้าศึก ด้วยในสมัยนั้นบ้านเมืองได้เกิดสภาวะสงครามขึ้นกับพม่า พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ได้แสดงอภินิหารลอยล่องมาตามลำแม่น้ำและบางครั้งก็แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ผุดให้ผู้คนเห็นตามลำดับ จนเป็นที่โจษจันกันทั่วถึงอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน จนล่วงมาถึงตำบล ๆ หนึ่ง ท่านก็ได้ผุดให้คนเห็นเป็นอัศจรรย์ พวกเหล่าประชาชนในตำบลนั้น ต่างก็พร้อมใจกันทำพิธีอาราธนาท่านขึ้นสู่ฝั่ง ฝูงชนประมาณ ๓ แสนคน ช่วยกันฉุดลากชะลอองค์ท่าน ก็ไม่สามารถนำท่านขึ้นสู่ฝั่งได้ และท่านก็กลับจมลงหายไปในแม่น้ำอีก ยังความเศร้าโศกเสียดายของประชาชนในตำบลนั้นเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาตำบลนั้นจึงถูกเรียกชื่อว่า "ตำบลสามแสน" แต่ต่อมาก็ถูกเรียกกลับกลายเป็น "ตำบลสามเสน" มาจนกระทั่งบัดนี้ ...พระพุทธรูปได้ล่องลอยทวนน้ำมาทั้ง ๓ องค์โดยลำดับ ครั้งหนึ่งปรากฏว่าได้ล่องลอยไปจนถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แสดงอภินิหารปรากฏให้ผู้คนเห็นอีก ประชาชนต่างก็ได้ช่วยกันอาราธนาและฉุดชะลอท่านขึ้นจากลำน้ำ แต่ก็ไม่สำเร็จอีก ...พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ได้ลอยทวนน้ำและจมหายไป ณ ที่แห่งนั้น จึงได้ชื่อว่า "สามพระทวน" แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนเรียกกันอีกเป็น "สัมปทวน" คือ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปัจจุบัน ...พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ท่านล่องลอยผ่าน ณ ที่ใดที่นั่นก็จะมีชื่อเรียกกันใหม่ทุกครั้งดังเช่น ท่านได้แสดงอภินิหารล่องลอยให้ผู้คนเห็นเป็นอัศจรรย์เรื่อยมาในแม่น้ำบางปะกง ผู้คนมากมายพยายามที่จะอาราธนาท่านขึ้นแต่ก็ไม่สำเร็จอีก ณ สถานที่นั้นจึงได้มีชื่อเรียกกันว่า "บางพระ" ซึ่งเรียกว่า "คลองบางพระ" ในปัจจุบัน ...ครั้นต่อมาภายหลังปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์หนึ่งไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ "วัดบ้านแหลม" จังหวัดสมุทรสงคราม และต่อมาในเวลาไล่เลี่ยกันพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งก็ไปขึ้นประดิษฐานอยู่ที่ "วัดโสธร" จังหวัดฉะเชิงเทรา ...และอีกองค์หนึ่งได้ล่องลอยเรื่อยมาตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ปาฏิหาริย์ลอยวกเข้ามาในลำคลองสำโรง ประชาชนพบเห็นต่างโจษจันกันไปทั่วถึงความศักดิ์สิทธิ์และอภินิหาร พร้อมกับพากันอาราธนาท่านขึ้นที่ปากคลองสำโรงนั้น แต่ท่านก็ไม่ยอมขึ้น และในที่นั้นได้มีผู้มีปัญญาดีคนหนึ่งได้ให้ความเห็นว่าคงเป็นเพราะบุญญาอภินิหารของท่าน แม้จะใช้จำนวนผู้คนสักเท่าไรอาราธนาฉุดท่านขึ้นบนฝั่งคงไม่สำเร็จเป็นแน่ควรจะเสี่ยงทายต่อแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือพายฉุดท่านให้ลอยมาตามลำน้ำสำโรง และอธิษฐานว่า "หากท่านประสงค์จะขึ้นโปรดที่ใด ก็ขอจงได้แสดงอภินิหารให้แพที่ลอยมาจงหยุด ณ ที่นั้นเถิด" เมื่อประชาชนทั้งหลายได้เห็นพ้องดีกันดังนั้นแล้วก็พร้อมใจกันทำแพผูกชะลอกับองค์ท่าน แล้วใช้เรือซึ่งสมัยนั้นเป็นเรือพายทั้งสิ้นช่วยกันจ้ำพายจูงแพลอยเรื่อยมาตามลำคลอง เรือที่ใช้ลากจูงแพมานั้นมีชื่อแปลกต่าง ๆ กัน เช่น ม้าน้ำ เป็ดน้ำ ตุ๊กแก และอื่น ๆ เป็นต้น และจัดให้มีการละเล่นต่าง ๆ มีละครเจ้ากรับรำถวายมาตลอดทาง และการละเล่นอื่น ๆ ครึกครื้นมาตลอดทั้งลำน้ำ ครั้นแพลอยมาถึงบริเวณหน้าวัดพลับพลาชัยชนะสงคราม หรือวัดบางพลีใหญ่ใน แพที่ผูกชะลอองค์ท่านก็เกิดหยุดนิ่ง พยายามจ้ำและพายกันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง แพนั้นก็หาได้ขยับเขยื้อนไม่ ประชาชนที่มากับเรือและชาวบางพลีถึงกับยินดีและเห็นเป็นอัศจรรย์ยิ่งนักต่างก้มลงกราบนมัสการด้วยความเคารพ และเปี่ยมด้วยสักการะจึงได้พร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานว่า "ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครองชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว ก็ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ำได้โดยง่ายเถิด" ...และก็เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมาก เพียงใช้คนไม่มากนักก็สามารถอาราธนาท่านขึ้นจากน้ำได้โดยง่าย ทำให้ประชาชนต่างแซ่ซ้องในอภินิหารของท่านเป็นอย่างยิ่ง และได้อาราธนาท่านขึ้นไปประดิษฐานในพระวิหารซึ่งต้องชะลอท่านขึ้นข้ามฝาผนังวิหารเพราะขณะนั้นหลังคาพระวิหารยังไม่มี และประตูวิหารก็เล็กมาก ต่อจากนั้นท่านจึงได้ประดิษฐานอยู่ในวิหารนั้นเรื่อยมา ครั้นต่อมาได้รื้อวิหารนั้นอีกเพื่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่ถาวร จึงต้องชะลออาราธนาองค์ท่านมาพักไว้ยังศาลาชั่วคราว จนกระทั่งได้สร้างพระอุโบสถสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนาท่านไปประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถเพื่อเป็นพระประธานของวัดบางพลีใหญ่ใน การที่ท่านได้พระนามว่า "หลวงพ่อโต" นั้นคงเป็นเพราะองค์ของท่านใหญ่โตสมกับที่ประชาชนเรียก คือใหญ่โตกว่าองค์ที่ลอยน้ำมาด้วยกันทั้ง ๒ องค์ จึงถือเป็นนิมิตอันดีให้ประชาชนพากันถวายนามว่า "หลวงพ่อโต" เป็นสิ่งที่เคารพสักการะของชาวบางพลี และเป็นมิ่งขวัญของวัดบางพลีใหญ่ในมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ...การที่ลำดับว่าองค์ไหนเป็นองค์พี่ องค์กลาง องค์น้องนั้น และลอยมาพร้อมกันตามตำนานที่สืบต่อกันมา เข้าใจว่าคงจะนับเอาองค์ที่อาราธนาขึ้นจากน้ำได้ก่อนเป็นองค์พี่ ขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๒ เป็นองค์กลาง และขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๓ เป็นองค์น้อง ตามลำดับคือ ...๑.หลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๑ เป็นองค์พี่ (โปรดติดตามประวัติที่จะเสนอต่อไป) ...๒.หลวงพ่อโสธร วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๒ เป็นองค์กลาง (โปรดติดตามประวัติที่จะเสนอต่อไป) ...๓.หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ อาราธนาขึ้นจากน้ำองค์ที่ ๓ เป็นองค์น้อง เรียงกันมาตามลำดับ... พระแจกกรรมการไม่มีกล่องวัดได้จากกรรมการสายตรงวัด ประวัติ หลวงพ่อวัดเขาตะเครา (หลวงปู่ทองวัดเขาตะเครา) วัดเขาตะเครา หลวงพ่อวัดเขาตะเคา ประดิษฐานที่ วัดเขาตะเครา เชิงเขาตะเครา อำเภอบางแหลม จังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่อวัดเขาตะเคา เป็นพระพุทธรูป คูบ้านคู่เมืองของประเทศไทย เป็นพระพุทธรูป นั่งปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ศิลปะเชียงแสน วัสดุ สำริดปิดทอง สูง ๒๖ นิ้ว หน้าตัก ๒๑ นิ้ว ไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปปั้น หรือ โลหะ หรือเป็นไม้แกะ เพระปิดทองหนามากจนไม่เห็นองค์เดิม เนื่องจากประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา เป็นที่เคารพบูชาของคนจังหวัดเพชรบุรี และ ทั่วประเทศ เป็นเวลานานกว่า 200 ปี หลวงพ่อวัดเขาตะเครา หรือหลวงปู่ทองวัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง ของเมืองเพชรบุรี ที่ชาวเมืองและคนในท้องถิ่นใกล้เคียงเคารพนับถือและเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของ ท่านมานานหลายชั่วอายุคน ความเป็นมาของหลวงพ่อไม่ปรากฏชัดนัก มีเล่ากันเป็น ๒ ตำนาน ตำนานแรกว่าหลวงพ่อวัดเขาตะเครา เป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งในจำนวนพระพุทธรูป ๕ องค์พี่น้องที่ลอยน้ำมาด้วยกันจากเมืองเหนือ และเข้าสู่สายน้ำสายหลักๆ ได้แก่ บางปะกง แม่กลอง ท่าจีน เจ่าพระยา เพชรบุรี แล้วได้ขึ้นประดิษฐานยังวัดโสธรฯ วัดบ้านแหลม วัดไร่ขิง วัดบางพลีใหญ่ในและวัดเขาตะเคราแห่นี้ตามลำดับ ส่วนอีกตำนานหนึ่งกล่าวถึงหลวงพ่อวัดเขตะเคราว่ามีประวัติความเป็นมาอยู่รวมกับหลวงพ่อวัดบ้านแหลม โดยเล่ากันมาว่าชาวประมงวัดบ้านแหลม สมุทรสงครามซึ่งเป็นคนกลุ่ม ที่อพยพย้ายถิ่นไปจากอำเภอบ้านแหลม เมืองเพชรบุรี ออกไปตีอวนหาปลาตามปรกติ ปรากฏว่าได้พระพุทธรูปสององค์ขึ้นมาพร้อมกัน องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน ชาวบ้านแหลมได้เชิญไปประดิษฐานไว้สักการะบูชาอยู่ที่วัดบ้านแหลม สมุทรสงคราม ส่วนอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยได้มอบให้ญาติพี่น้องชาวบ้านแหลม เพชรบุรีไปสักการะบูชา ซึ่งได้แก่ หลวงพ่อวัดเขาตะเครานั้นเอง เหตุกาลตามตำนานทั่งสองนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่แจ้งชัด แต่เมื่อสุนทรภู่เดินทางมาเพชรบุรี และแต่นิราศเมืองเพชรบุรีขึ้นเมื่อปี ๒๓๗๔ หลวงพ่อวัดเขาตะเคราก็เป็นที่เคารพกราบไหว้ ของชาวเมืองและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดเขาตะเคราก็เป็นที่เลื่องลืออยู่ในถิ่นนั้นมามากและเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ดังกลองที่ว่า ...ไปครู่หนึ่งถึงเขาตะเคราสวาท มีอาวาสวัดวามหาเถร มะพร้าวรอบขอบที่บริเวณ พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสำราญ กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้ จะขึ้นไหว้พระสัมฤทธิ์พิษฐาน เขาลืออยู่แต่บุราน ใครบนบานพระก็รับช่วยดับร้อน... จนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อเขาตะเคราก็เป็นที่ศรัทธากราบไหว้และเป็นที่พึ่งทางใจแก่คนจำนวนมาก ดั่งจะเห็นได้จากทองคำเปลวที่ปิดพอกองค์จนแทบไม่เห็นลักษณะอันแท้จริงว่ากันว่าผู้ที่มาบนบานกับท่าน หากเป็นการบนตัวบวชมักจะสำเร็จสมประสงค์เสมอ วัดเขาตะเคราได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อในวันขึ้น ๑๓ ค่ำถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ จัดเป็นงานใหญ่และมีผู้คนมากมายทั้งใกล้และไกลเดินทางมาสักการะบูชาหลวงพ่อทุกปี 16.03 17.11 0172 0188 20.11 27.11 2873 74 1 77 78 316.03 17.11 0172 0188 19.12 101 496 504 |
ราคาเปิดประมูล | 290 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 21 ก.ย. 2557 - 23:01.04 |
วันปิดประมูล | ศ. - 26 ก.ย. 2557 - 22:26.06 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...