เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78) - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78)

เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78) เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78) เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78) เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78) เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17..เริ่ม20บาท(29/06/57-78)
รายละเอียดรอบสุดท้ายของเดือนนี้ครับ พระบ้านเดิมๆ" ไม่แต่งไม่ทำผิว "ทุกรายการครับ หาของสวยๆมาฝากครับ

ยังคงยืนหยัด ราคาเดิมใหม่เปลี่ยนแปลงครับ
**********เริ่ม20บาท ทุกรายการ *******
รอบนี้..27/06/2557-01/07/2557 ครับ 21.00 น.ของทุกวันครับ
รอบนี้ลงไม่ต่ำกว่า 150 รายการเท่านั้นครับ 5 วันๆละประมาณ 30 รายการ ขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประมูลครับผม

..............รายละเอียด......
**************************
เหรียญ หลวงพ่อเส็ง วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพ ปี 17
ข้อมูลประวัติ พระครูอนุกูลพิทยา (เส่ง อินฺทสโร) วัดน้อยนางหงษ์ กรุงเทพฯ
๑. สถานะเดิม
ชื่อ เส่ง นามสกุล ธรรมเอี่ยม เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๓ ณ บ้านกระแชง ตำบลตะลุง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี นามบิดา เอี่ยมนามมารดา เม้า มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๓ คน คือ
๑. นางสาย
๒. นายซ้วน
๓. พระครูอนุกูลพิทยา (เส่ง อินฺสโร)
๒. ชีวิตในเยาว์วัย
บ้านเดิมของโยมท่านอยู่ที่กรุงเทพฯ คือที่บ้านปูนนี่เอง เนื่องจากโยมบิดา โยมมารดา ของท่าน ต้องขึ้นไปประกอบอาชีพที่ลพบุรีชั่วคราวตั้งแต่ท่านยังไม่เกิด โดยไปผูกสัมปทานเก็บผลประโยชน์จากหนองน้ำ (เข้าใจว่าจะเป็นหนองอีโป้ง ซึ่งอยู่หลังบ้านกระแชงนั่นเอง) ที่ตำบลตะลุง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี และท่านก็ได้กำเนิดและเจริญวัยที่นั่น
หลังจากที่ท่านได้ถือกำเนิดมาแล้ว โยมบิดาได้กลับมาอยู่บ้านเดิมที่กรุงเทพฯ โดยประกอบอาชีพไปวัน ๆ หนึ่ง ไม่ปรากฏว่าอาชีพอะไร (เข้าใจว่าจะค้าขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ)
จนกระทั่งท่านมีอายุยังไม่เกิน ๑๐ ขวบ โยมบิดาก็ขึ้นไปรับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ พร้อมด้วยโยมมารดาของท่าน โดยมาอยู่แพที่บ้านปูน ต่อมาโยมบิดาก็ได้ถึงแก่กรรมลง ขณะที่ท่านมีอายุยังน้อยอยู่
๓. การบรรพชา
หลังจากที่โยมบิดาถึงแก่กรรมแล้ว เข้าใจว่า โยมมารดาได้นำไปฝากไว้กับท่านอาจารย์ริด แห่งวัดบางยี่ขัน เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนตามความนิยมในสมัยนั้น และเมื่อได้มาอยู่กับท่านอาจารย์ริดแล้ว ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับท่านอาจารย์ริด

ต่อมา เมื่อท่านอาจารย์ริดย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดน้อยนางหงษ์ท่านก็ได้ติดตามมาอยู่ที่วัดน้อยนางหงษ์ด้วย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมาโยมมารดาของท่านได้พาพี่สาวและพี่ชายของท่านขึ้นไปประกอบอาชีพที่ลพบุรี ท่านก็ยังคงอยู่กับท่านอาจารย์ริดเรื่อยมา โดยศึกษาอักขรสมัยเรียนมูลกัจจายน์
ท่านยังเอาใจใส่ปรนนิบัติท่านอาจารย์ริด จนกระทั่งท่านได้รับความเมตตาจากท่านอาจารย์ริดมาก เป็นผู้ปรนนิบัติใกล้ชิดเสมอ จนเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของท่านอาจารย์ริด
๔. การอุปสมบท
เมื่ออายุครบกำหนดที่จะอุปสมบทได้แล้ว ท่านได้อุปสมบทที่วัดน้อยนางหงษ์นั่นเอง เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ โดยมีท่านอาจารย์ริดเป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ได้อยู่จำพรรษาที่วัดน้อยนางหงษ์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
หลังจากอุปสมบทได้ ๓ พรรษา พระอาจารย์ริด อุปัชฌาย์ของท่านก็ได้มรณภาพ
๕. การศึกษา
ไม่ปรากฏว่าท่านได้เคยศึกษาเล่าเรียนที่ใด แต่ท่านก็สามารถอ่านออกเขียนได้ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าตัวท่าน เคยศึกษาแพทย์แผนโบราณที่วัดโพธิ์ อยู่พักหนึ่ง แล้วได้เลิกเรียนมาอยู่วัดเพื่อบูรณะวัดและดูแลเอาใจใส่วัดเรื่อยมา แม้จะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้วก็ยังปฏิบัติอยู่ จนกระทั่งบั้นปลายแห่งชีวิต อายุมาก ทำไม่ค่อยไหว จึงได้พักไปโดยปริยาย
พูดถึงเรื่องการศึกษาของท่านนี้ มีเรื่องน่าศึกษาอยู่ก็คือว่า ท่านเป็นผู้ใฝ่การศึกษาเป็นอย่างมาก สนใจคอยสดับตรับฟังอยู่เสมอ ในลักษณะของพหูสูต จะเห็นได้ว่าเมื่อคุยกันเรื่องอะไรก็ตาม จะปรากฏว่าท่านรู้เรื่องดีเสมอ และรู้ดีเสียด้วย
ใครที่เคยใกล้ชิดกับท่าน จะรู้เรื่องนี้ดี และท่านก็ทำตัวเป็นรัตตัญญู คือผู้ร้ราตรีนาน อันตั้งอยู่ในฐานะของผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพนับถือของคนทั่วไป บางครั้งบางคราวก็มีผู้ยกย่องท่านให้เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดเกี่ยวกับเรื่องพิพาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทรัพย์มรดกเป็นต้น
๖. การปกครอง
พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นเจ้าอาวาสวัดน้อยนางหงษ์ จนถึงมรณภาพเป็นระยะเวลายาวนานถึง ๖๐ ปี
เคยเป็นผู้ดูแลวัดบางยี่ขัน เมื่อว่างเจ้าอาวาส
เคยเป็นผู้ดูแลวัดสามกุฏิ เมื่อว่างเจ้าอาวาส
๗. บูรณะปฏิสังขรณ์และก่อสร้างถาวรวัตถุในวัด
ถาวรวัตถุภายในวัดน้อยนางหงษ์ที่มีปรากฏอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลงานที่สร้างขึ้นในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทบทั้งสิ้น
๘. ก่อตั้งมูลนิธิ
ท่านได้ก่อตั้งมูลนิธิพระครูอนุกูลพิทยา (เส่ง อินฺสโร) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ เพื่อเก็บดอกผลบำรุงกิจการศาสนาภายในวัดน้อยนางหงษ์ และได้ก้าวหน้ามาโดยลำดับ
๙. การดำเนินชีวิตประจำวัดและมนุษยสัมพันธ์
ตามปกติท่านพระครูอนุกูลพิทยาเป็นคนแข็งแรง มักจะดำเนินชีวิตอย่างง่าย ๆ การใดที่ท่านพอจะทำได้ ท่านจะทำเองโดยไม่ต้องขอร้องหรือไหว้วานใคร เนื่องจากท่านเป็นคนขี้เกรงใจ ไม่ต้องการจะรบกวนใคร ประกอบกับท่านคิดว่า ท่านเองก็ทำได้ ไม่จำเป็นต้องไปรบกวนผู้อื่นให้ลำบาก
ใครก็ตามหากมีเรื่องราวอะไร มาหาท่าน มาพูด มาคุยกับท่านจะติดใจทุกคน เพราะท่านสามารถพูดคุยกับคนได้ทุกสถานะของแต่ละบุคคล
อีกเรื่องหนึ่งที่ท่านจะถือเคร่งครัดก็คือ เรื่องกิจนิมนต์ ใครก็ตามที่มีศรัทธามานิมนต์ท่านไปในงานที่บ้าน ท่านจะไปเสมอ ไม่ว่าผู้นิมนต์นั้นจะอยู่ในฐานะเช่นไร ท่านถือว่าเขามีศรัทธาตั้งใจมานิมนต์ ก็ต้องฉลองศรัทธาเขา อย่าให้เขาต้องผิดหวัง ซึ่งท่านจะปฏิบัติเช่นนี้โดยเคร่งครัดเสมอมา
วาระสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านพระครูอนุกูลพิทยา ได้ป่วยกระเสาะกระแสะเรื่อยมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ หลังจากที่ถูกคนร้ายเข้าไปขโมยเครื่องลายครามแล้วผลักท่านล้มลง ต้องรักษาตัวอยู่หลายเดือนในปี ๒๕๒๑ ท่านได้ป่วยหนัก เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและต่อมาก็มีโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารตีบ ฉันอาหารลำบาก จนกระทั่งถึงวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๑ จึงได้มรณภาพด้วยโรคอันเกิดจากความล้มเหลวของระบบหัวใจ ด้วยอาการอันสงบ ท่ามกลางพระภิกษุสามเณรและศิษย์ที่เฝ้าพยาบาลอยู่
รวมระยะเวลาที่ท่านเจ็บป่วยอยู่ ๓ เดือน สิริอายุได้ ๙๘ ปีพรรษา ๗๘ พรรษา

ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 29 มิ.ย. 2557 - 21:06.59
วันปิดประมูล จ. - 30 มิ.ย. 2557 - 21:07.45 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 50 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 29 มิ.ย. 2557 - 21:07.45
30 บาท จ. - 30 มิ.ย. 2557 - 08:28.54
40 บาท จ. - 30 มิ.ย. 2557 - 10:49.37
50 บาท จ. - 30 มิ.ย. 2557 - 20:53.10
กำลังโหลด...
Top