เหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี กรมศิลปากร ปี 2554 พร้อมตลับเดิม - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

เหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี กรมศิลปากร ปี 2554 พร้อมตลับเดิม

เหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี กรมศิลปากร ปี 2554 พร้อมตลับเดิม เหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี กรมศิลปากร ปี 2554 พร้อมตลับเดิม เหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี กรมศิลปากร ปี 2554 พร้อมตลับเดิม เหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี กรมศิลปากร ปี 2554 พร้อมตลับเดิม
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี กรมศิลปากร ปี 2554 พร้อมตลับเดิม
รายละเอียดเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รัชกาลที่ 6 หลังพระพิฆเนศ ครบรอบ 100 ปี กรมศิลปากร พ.ศ. 2554 สวยไม่ผ่านการใช้ พร้อมตลับเดิม
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
กรมศิลปากร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โดยในอดีตมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทย โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ ฯลฯ กระจายอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่มีการรวบรวมจัดเก็บไว้ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใดเป็นการเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอันเป็นรากเหง้าวิถีชีวิตของคนไทยและของชาติ จึงทรงมีพระราชดำริให้โอนกิจการของช่างมหาดเล็ก กระทรวงวัง และกรมพิพิธภัณฑ์ กระทรวงธรรมการ จัดตั้งขึ้นเป็น “กรมศิลปากร”
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนงานพิพิธภัณฑ์ไปอยู่ในความควบคุมดูแลของกรรมการหอสมุดฯ และให้ยุบกรมศิลปากรไปรวมเข้ากับ ราชบัณฑิตยสภา ใช้ชื่อว่า“ศิลปากรสถาน” และภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมศิลปากรขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยสังกัดอยู่ในกระทรวงธรรมการ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่วนราชการอีกหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจ ปัจจุบันกรมศิลปากรสังกัดอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็น ๑ ใน ๒๐ กระทรวงหลักที่ได้จัดตั้งขึ้นภายหลังการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. ๒๕๔๕

กรมศิลปากรมีภารกิจในการคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนา รวมทั้งสืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาติ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลศิลปวัฒนธรรมของชาติแขนงต่าง ๆ ได้แก่ ด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม หัตถศิลป์ นาฏดุริยางคศิลป์ เป็นต้น กรมศิลปากรจัดเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทุกแขนง ว่าเป็นสถาบันที่ศึกษาวิชาศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับศิลปะไทยในทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งพิธีสำคัญต่าง ๆ จึงได้มีการนำรูปพระพิฆเนศวร์ซึ่งเป็นเทพแห่งศิลปะวิทยาการ ในวงล้อมดวงแก้ว ๗ ดวง อันหมายถึงศิลปวิทยาการ ๗ อย่าง คือ ช่างปั้น จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ วาทศิลป์ สถาปัตยกรรม และอักษรศาสตร์ มาเป็นตราประจำของกรมศิลปากร โดยในสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยทรงกำหนดให้รูปของพระพิฆเนศวร์เป็นตราเครื่องหมายของวรรณคดีสโมสร และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จึงได้กำหนดให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำกรมศิลปากร
นับจากอดีตถึงปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปฏิบัติภารกิจในการสืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติมาเป็นเวลายาวนาน โดยมีอายุครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ในโอกาสนี้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกครบ ๑๐๐ ปี กรมศิลปากร จำนวน ๑ ชนิดราคา คือ เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกโลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ชนิดราคา ๑๐ บาท ประเภทธรรมดา จำนวนผลิตไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ เหรียญ กำหนดออกจ่ายแลกวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Untitled-2

ลักษณะ เป็นเหรียญกษาปณ์กลมไม่ขัดเงา วงขอบนอกมีเฟืองจักร
ส่วนผสม โลหะสีขาว (วงนอก) มีส่วนผสมของ
นิกเกิล ร้อยละ ๒๕
ทองแดงร้อยละ ๗๕
โลหะสีทอง (วงใน) มีส่วนผสมของ
ทองแดง ร้อยละ ๙๒
นิกเกิล ร้อยละ ๒
อลูมิเนียม ร้อยละ ๖
น้ำหนัก เหรียญละ ๘.๕ กรัม
ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๖ มิลลิเมตร
ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา
ฉลองพระองค์ชุดสากล ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า
“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” เบื้องล่างมีข้อความว่า “รัชกาลที่ ๖”
ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปตราประจำกรมศิลปากร ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า
“๑๐๐ ปี กรมศิลปากร ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔” เบื้องล่างมีข้อความว่า “ประเทศไทย” และข้อความบอก
ราคาว่า “๑๐ บาท” ตามลำดับ
ผู้ออกแบบ ด้านหน้าและหลัง นายรังสรรค์ โชติรังสรรค์
ผู้ปั้นแบบ ด้านหน้า นายทัศวงศ์ โยเซฟ
ด้านหลัง นายทรงวุฒิ คงวัน
ราคาเปิดประมูล70 บาท
ราคาปัจจุบัน80 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 08 เม.ย. 2557 - 18:43.30
วันปิดประมูล อา. - 20 เม.ย. 2557 - 13:47.14 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
ข้อมูลเพิ่มเติม #1 ส. - 19 เม.ย. 2557 - 18:50.29
ขออนุญาตปิดรายการนี้ให้คุณ Mejira ครับ
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 80 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
80 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 19 เม.ย. 2557 - 13:47.14
กำลังโหลด...
Top