พระพลายคู่ตัดเดี่ยว กรุบ้านกร่าง องค์นี้ไม่สวย แต่ครบสูตร เป็นองค์ครูใจดี สำหรับนักเได้เลยจ้า - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระพลายคู่ตัดเดี่ยว กรุบ้านกร่าง องค์นี้ไม่สวย แต่ครบสูตร เป็นองค์ครูใจดี สำหรับนักเได้เลยจ้า

พระพลายคู่ตัดเดี่ยว กรุบ้านกร่าง องค์นี้ไม่สวย แต่ครบสูตร เป็นองค์ครูใจดี สำหรับนักเได้เลยจ้า พระพลายคู่ตัดเดี่ยว กรุบ้านกร่าง องค์นี้ไม่สวย แต่ครบสูตร เป็นองค์ครูใจดี สำหรับนักเได้เลยจ้า พระพลายคู่ตัดเดี่ยว กรุบ้านกร่าง องค์นี้ไม่สวย แต่ครบสูตร เป็นองค์ครูใจดี สำหรับนักเได้เลยจ้า พระพลายคู่ตัดเดี่ยว กรุบ้านกร่าง องค์นี้ไม่สวย แต่ครบสูตร เป็นองค์ครูใจดี สำหรับนักเได้เลยจ้า
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระพลายคู่ตัดเดี่ยว กรุบ้านกร่าง องค์นี้ไม่สวย แต่ครบสูตร เป็นองค์ครูใจดี สำหรับนักเได้เลยจ้า
รายละเอียด พระกรุวัดบ้านกร่าง เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งตามบันทึกของประวัติวัดบ้านกร่าง และตามข้อสันนิษฐานและการวิเคราะห์ของนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดี มีข้อคิดเห็นสอดคล้องต้องกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์กุศลแด่เหล่าทหารหาญที่เสียชีวิตในสงครามยุทธหัตถีฯ เมื่อครั้งกระโน้น สมเด็จพระนเรศวร จึงโปรดฯให้สร้างพระเจดีย์ขึ้นหนึ่งองค์ตรงบริเวณที่กระทำยุทธหัตถีนั้น จึงโปรดฯ ให้ยกกองทัพกลับมาทางเดิม ซึ่งจะต้องผ่านทางด้าน อำเภอศรีประจันต์ เนื่องจากเป็นทางตัดตรงที่สุด เพื่อนำทัพมาข้ามน้ำ ที่ละแวกวัดบ้านกร่าง ซึ่งเป็นช่วงระยะที่แม่น้ำท่าจีนตื้นเขินมากที่สุด พระองค์ดำคงจะพักทัพอยู่ริมแม่น้ำท่าจีนในราว 3-4 วัน และในระหว่างที่พักทัพนั้นพระองค์อาจรับสั่งให้ทหารในกองทัพสร้างรูปเคารพ พระพุทธเจ้า เพื่อบรรจุไว้ในสถูปเป็นพุทธบูชา

หรืออีกประการหนึ่ง ครั้นเมื่อชนะศึกจนกลับเข้ากรุงศรีอยุธยาแล้ว ในช่วงว่างเว้นจากประราชกรณียกิจการสงคราม ซึ่งหลังจากพระองค์ได้รับชัยชนะในยุทธหัตถีครั้งนั้นแล้ว พม่ามิได้ยกทัพมารุกรานไทยเป็นเวลานานกล่าว คือเมื่อ สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงชนะศึกยุทธหัตถีที่ดอนเจดีย์แล้ว พระองค์คงจะรีบยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยาเป็นการด่วนเพื่อจัดการสะสางพระราชภารกิจเกี่ยวกับการสงคราม เมื่อแล้วเสร็จจึงทรงโปรดเกล้าฯให้มีการจัดสร้างพระพิมพ์ต่าง ๆ เพื่ออนุสรณ์เป็นจำนวนมาก โดยเหตุผลนี้มีข้อมูลทางประวัติศาสตรสนับสนุนอยู่หลายประการ ได้แก่ มีการสร้างพระพิมพ์เนื้อดินเผาประทับนั่งมารวิชัย ในซุ้มเรือนแก้ว รูปทรงห้าเหลี่ยม ที่มีพุทธศิลป์แบบเดียวกัน และมีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกัน ในกรุวัดใหญ่ชัยมงคล อีกทั้งหากพิจารณาถึงกระบวนการในการจัดสร้างพระพิมพ์มากมายหลายหมื่นองค์ ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายนัก จะต้องใช้เวลาเป็นแรมเดือน อีกทั้งต้องมีการสุมองค์พระให้ดินสุก เพื่อความแข็งแกร่งของเนื้อพระ จากนั้นมีการตั้งราชวัตรฉัตรธงเพื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษก แล้วจึงบรรทุกใส่เกวียนเพื่อไปบรรจุในพระเจดีย์ ณ บริเวณที่ก่อพระเจีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน แต่เมื่อขณะเดินทางผ่าน ท่าขนอนที่ใช้ข้ามแม่น้ำท่าจีน ละแวกวัดบ้านกร่าง อาจเกิดเหตุสุดวิสัย หรือเกวียนอาจชำรุด จนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จึงนำพระเครื่องพระบูชาทั้งหมดบรรจุกรุไว้ที่ วัดบ้านกร่าง ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้ที่สุดในบริเวณนั้น

อย่าไรก็ตามแต่เดิมนั้น ชาวศรีประจันต์และชาวสุพรรณเรียกขานพระกรุนี้รวม ๆ กันว่า "พระกรุวัดบ้านกร่าง" ส่วนที่เรียกกันต่อมาว่า"พระขุนแผน" นั้น สันนิษฐานว่าด้วยเหตุที่เป็นพระกรุยอดนิยมประจำท้องถิ่นเมืองสุพรรณประการหนึ่ง และเหตุด้วยพุทธคุณที่เชื่อกันว่า เด่นทั้งเมตตามหาเสนห์ ไปจนถึงคงกระพัน มากด้วยประสบการณ์ เล่าขานกันมาตั้งแต่ครั้งรุ่นปู่ ด้วยคุณวิเศษต่าง ๆ ที่กล่าวมา ล้วนแล้วเป็นคุณลักษณะของยอดพระเอกในวรรณคดี "ขุนช้างขุนแผน" ทั้งสิ้น" ส่วนผู้ใดจะเป็นผู้เรียกและจะเริ่มตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีปรากฏหลักฐานบันทึกไว้ ในช่วงแรกที่เรียกพระกรุวัดบ้านกร่างว่า"พระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง"นั้น ใช้เรียกเฉพาะพระพิมพ์ทรงพลใหญ่ และพระพิมพ์ห้าเหลี่ยมเท่านั้น ต่อมาจึงมีผู้นิยมใช้คำนี้เรียกพระพิมพ์อื่น ๆ ที่ในสมัยก่อนเรียกกันว่า " พระพลายเดี่ยว " ซึ่งเป็นพระพิมพ์เดี่ยวมีหลายแบบพิมพ์ โดย มีพุทธลักษณะต่างๆ กันไปเช่น
พิมพ์ทรงพลเล็ก
พิมพ์ทรงพลเล็ก ปรกโพธิ์
พิมพ์พระประธาน หน้าแก่ และหน้าหนุ่ม
พิมพ์ซุ้มเหลือบ
พิมพ์ลายกนกเถาวัลย์ หรือพิมพ์ซุ้มเถาวัลย์
พิมพ์ใบไม้ร่วง
พิมพ์ใบมะยม
พิมพ์แขนอ่อน
พิมพ์ซุ้มประตู
พิมพ์ก้างปลา ฯลฯ

ส่วนพระกรุวัดบ้านกร่าง พิมพ์พลายคู่ น่าจะมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างแตกต่างกันออกไป คือ น่าจะสร้างเพื่อประกาศเกียรติคุณ หรือสำแดงกตเวทิตาแด่ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ พระเอกาทศรถ พระอนุชา ภายหลังเสร็จศึก
มีหลากหลายแบบพิมพ์เช่นกัน ได้แก่

พิมพ์พลายคู่ขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่า พิมพ์จัมโบ้
พิมพ์พิเศษ 2 ปาง
พิมพ์พลายคู่เศียรโต
พิมพ์พลายคู่เศียรเล็ก
พิมพ์พลายคู่หน้าเทวดา
พิมพ์พลายคู่หน้ามงคล ทั้งใหญ่ กลาง เล็ก ฯลฯ

จำนวนสร้างตามหลักพระพุทธศาสนา ท่านโบราณจารย์มักนิยมสร้างเท่าจำนวนพระธรรมขันธ์คือ 84,000 องค์ หรือมากกว่านี้ส่วนของพระ

พระกรุวัดบ้านกร่าง นอกจากพบที่ กรุวัดบ้านกร่าง แล้ว ยังพบที่ กรุวัดบ้านกล้วย และที่ วัดถั่ว ในเขตอำเภอศรีประจันต์ อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีผู้นำไปฝากกรุไว้ในต่างจังหวัด ต่างท้องที่อีกหลายแห่ง อาทิ ที่จังหวัดสมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม มีอยู่จำนวนมาก รวมถึงกรุภายในวัดกลางบางแก้ว ในอำเภอนครชัยศรีก็มีพระพิมพ์กรุวัดบ้านกร่างบรรจุอยู่ด้วยเช่นกัน

พระกรุวัดบ้านกร่าง ไม่ว่าพิมพ์ใด ล้วนแล้วแต่ขึ้นชื่อลือชาั้งเรื่องเมตตามหานิยม และคงกระพันมานาน ปัจจุบันหากไม่นับพระขุนแผนพิมพ์หลักยอดนิยม ดังเช่น พระขุนแผนพิมพ์ทรงพล และพิมพ์ห้าเหลี่ยมที่ราคาเช่าหาสะสมเกินเรือนแสนมานานแล้ว ในพระพิมพ์พลายเดียวแและพิมพ์พลายคู่ ที่พิมพ์คมชัดลึกสวยสมบูรณ์ก็มีราคาเช่าหาสูงขึ้นไปจรดหลักแสนและลายแสนเช่นกัน แถมของเทียมละเลียนแบบก็มีมากมายมานานนม ฝีมือยุคต้นพิมพ์อาจเพี้ยน กรวดในเนือพระมากมายเกินธรรมชาติ ส่วนฝีมือล่าสุดไม่ต้องพูดถึงแนบเนียนได้ใจทั้งเนื้อหาและพิมพ์ทรง จะขาดแค่เพียงธรรมชาติความเก่าและเนื้อหาบางประการเท่านั้น การเช่าหาควรระวัง

องค์นี้เป็นพระพลายคู่ตัดเดี่ยว องค์ด้านซ้ายมือ ซึ่งดูได้จากรอยตัดแบ่งอยู่ทางด้านขวา พิมพ์หน้ามงคลขนาดเล็กมาก ที่เรียกกกันว่าหน้ามงคลจิ๋ว เทียบพิมพ์จากรูปพระพิมพ์นี้องค์แชมป์ี่ลงในหนังสือ "พรล้ำค่าสุวรรณภูมิ" ได้จ้า ถูกพิมพ์แน่นอน ส่วนขนาดเล็กแค่ไหนลองเทียบขนาดตามรูป ที่ถ่ายคู่กับเหรียญบาทที่ใช้กันอยู่ได้จ้า พิมพ์นี้นักสะสมบางท่านเรียกพระพลายคูพิมพ์นี้ว่าพิมพ์ "เกศอุ" ซึ่งพบเห็นได้ค่อนข้างน้อย พอ ๆ กับพิมพ์สองปาง ด้านหลังมีร่องรอยกระเทาะมาจากกรุเดิม ทำให้เห็นเนื้อด้านในให้พิจารณาถึงรอยเก่า และใหม่จากร่องรอยการตัดแบ่งองค์พระ เนื้อหาและผิวพระจัดจ้านจากกการใช้สัมผัสมาพอสมควรทั้งหน้าและหลัง จัดเป็นองค์ครูสำหรับผู้สนใจศึกษาพระกรุนี้ได้เป็นอย่างดี แถมขนาดเล็กจิ๋วกระทัดรัด หากอาราธนาขึ้นคอ สภาพนี้ไม่อายใคร รับประกันความแท้ทุกสนาม Jorawis เคยส่งประกวดหลายสนามแล้วจ้า ได้แค่แท้สวยสู้พระแชมป์ไม่ได้จริงๆ แทบทุกงาน สนใจติดต่อสอบถามกันเข้ามาได้เลยจ้า

หรือหากองค์นี้ยังไม่ถูกใจอาจมีพระรายการอื่น ๆ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้า

http://www.web-pra.com/Shop/jorawis
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน9,500 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 28 มี.ค. 2557 - 08:48.18
วันปิดประมูล ส. - 29 มี.ค. 2557 - 13:06.55 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 9,500 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน)
ราคาประมูลด่วน9,500 บาท
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
600 บาท ศ. - 28 มี.ค. 2557 - 11:41.15
700 บาท ศ. - 28 มี.ค. 2557 - 18:37.36
2,000 บาท ศ. - 28 มี.ค. 2557 - 20:29.06
3,000 บาท ส. - 29 มี.ค. 2557 - 11:34.28
8,700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 29 มี.ค. 2557 - 13:06.14
9,500 บาท (ถึงราคาประมูลด่วน) ส. - 29 มี.ค. 2557 - 13:06.55
กำลังโหลด...
Top