พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมารามปี2499พิมพ์นาคปรก หลังยันต์นะคุ้ม เนื้อดินเผาคุณแม่บุญเรือนสร้าง - webpra

ประมูล หมวด:พระสมเด็จทั่วไป

พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมารามปี2499พิมพ์นาคปรก หลังยันต์นะคุ้ม เนื้อดินเผาคุณแม่บุญเรือนสร้าง

พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมารามปี2499พิมพ์นาคปรก หลังยันต์นะคุ้ม เนื้อดินเผาคุณแม่บุญเรือนสร้าง พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมารามปี2499พิมพ์นาคปรก หลังยันต์นะคุ้ม เนื้อดินเผาคุณแม่บุญเรือนสร้าง พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมารามปี2499พิมพ์นาคปรก หลังยันต์นะคุ้ม เนื้อดินเผาคุณแม่บุญเรือนสร้าง พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมารามปี2499พิมพ์นาคปรก หลังยันต์นะคุ้ม เนื้อดินเผาคุณแม่บุญเรือนสร้าง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมารามปี2499พิมพ์นาคปรก หลังยันต์นะคุ้ม เนื้อดินเผาคุณแม่บุญเรือนสร้าง
รายละเอียดพระมงคลมหาลาภ วัดสารนาถธรรมาราม ปี 2499 พิมพ์นาคปรก
เป็นพระ สมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ วัดสารนาถธรรมราม อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา เมื่อวันที่ ๕ - ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ ซึ่งเป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาให้แน่บแน่น สมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ สุขะ พละ แลลาภยศ สรรเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่จะให้ใจเข้าถึงอิฐผลนั้น ๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่ โดยสังเขป ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆ มีเทียนธูป ข้าวตอก ดอกไม้ ๗ สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ ๓๗๕ ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก ๘ ต้น บายศรีเงิน บายศรีทอง ๙ ชั้น สูง ๖ ศอก อย่างละ ๘ ต้น บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเศกมี - พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร - พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม - พระมหารัชชมังคลาจารย์ - หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ - พระครูวินัยธรเฟื่อง (ญาณปปทีโป) - หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ (ช่วยทำพิธีและประสานงานด้วย) - พระสอาด อภิวฒฒโน วัดสัมพันธวงศ์ - พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา - พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน - พระชอบ สัมมาจารี วัดอาวุธวิกสิตาราม ธนบุรี เป็นต้น พร้อมด้วยบันจุ เทพมนตพรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ มาเข้าทรงประกอบพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ (อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์ ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็นองค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเศกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเศกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว ๗ ชั้น ผ้าเขียว ๗ ชั้น พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่จะสร้างพระ ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี ๔๐ ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้ ๑. ผงขอจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ ผงแป้งที่ทำแลผงจากพระของเก่าบ้าง ๒. ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ อย่าง ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ ๑๐๘ อย่าง ๓. ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ ๗ ท่า และจากสระน้ำ ๗ สระ ๔. ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานแลสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึง ๕ นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อน แล้วเอาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีนี้ด้วย ๕. ผงที่ได้จากดินที่สังเวชนียสถาน ๔ แห่งในอินเดีย คือ ๑ ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ๒ ดินที่มหาโพธิพุทธคยาที่ตรัสรู้ ๓ ดินทีสารนาถ มฤคทายวัน เมื่องพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักร ๔ ดินที่กุสินาราซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๖. ดินจากสถานที่สำคัญอีก ๙ แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จเสวยวิมุติสุข ๗ แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าบนเขาคิชกูฏ (เมืองราชคฤห์) ๑ ดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ๓ ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถานด้วย ๗. ผงปูนขาวหินราชบุรี ๘. ผงปูนซิเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง แลน้ำอ้อย เป็นต้น
ราคาเปิดประมูล1,690 บาท
ราคาปัจจุบัน1,700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 27 เม.ย. 2554 - 19:49.56
วันปิดประมูล พฤ. - 28 เม.ย. 2554 - 21:13.16 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
ราคาประมูลด่วน2,000 บาท
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,700 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 27 เม.ย. 2554 - 21:13.16
กำลังโหลด...
Top