พระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อทองสัมฤทธิ์แก่ทอง...หายากครับ #3 - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อชิน

พระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อทองสัมฤทธิ์แก่ทอง...หายากครับ #3

พระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อทองสัมฤทธิ์แก่ทอง...หายากครับ #3 พระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อทองสัมฤทธิ์แก่ทอง...หายากครับ #3
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระยอดธง กรุวัดชะเมา นครศรีธรรมราช เนื้อทองสัมฤทธิ์แก่ทอง...หายากครับ #3
รายละเอียด พระยอดธง กรุวัดชะเมา หรือวัดประตูเขียน อ.เมือง นครศรีธรรมราช....อายุการสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ.2200 .... องค์ที่ท่านกำลัง ทัศนา อยู่นี้ เป็นเนื้อทองสัมฤทธิ์ จาก พุทธคุณ...คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด มหาอำนาจ มหานิยม เสริมบารมีและโชคลาภ กล่าวกันว่า ใครมีไว้ในครอบครอง จะประสบแต่ความสำเร็จ ดั่งเป็นเคล็ดตามตำราพิชัยสงครามเมื่อครั้งโบราณกาล ที่สร้างพระยอดธง ไว้ประจำธงชัย ในการออกรบ สำหรับประวัติการค้นพบ.......... กลายเป็นที่ฮือฮา การค้นพบ "พระยอดธงศิลปะอยุธยาตอนต้น" พระกรุเมืองคอน วัดชะเมา ถ.ราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปลายเดือนเม.ย.54 เป็นจุดประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกชื่อสืบทอดกันว่า"หลวงพ่อสูง" หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ ความเป็นมานั้นได้สืบค้นข้อมูลและพบจารึกที่ฐานพระพุทธรูปว่า สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.1079 ประดิษฐานที่เดิมตรงพื้นที่วัดประตูเขียน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราช พบในบริเวณใต้ฐานพระประธานที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังวัด และมีการเคลื่อนย้ายมาบูรณะประดิษฐานด้านหน้าวัด เป็นพระพุทธรูปศิลปะลังกาวงศ์ มีหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 4 เมตรเศษ ซึ่งถูกบูรณะให้อยู่ในรูปทรงเดิมอย่างงดงาม เผยอาถรรพ์ใครคิดเคลื่อนย้ายเกิดอาเพศทั้งลมพายุ,ฟ้าผ่าและอุบัติเหตุ-ระบุ 9 เจ้าอาวาสมรณภาพปริศนา “พระเกษม เขมจิตโต”กล้าลองของแต่เคลื่อนย้ายสำเร็จ-แตกตื่นพระทองคำพร้อมเพชรนิลจินดาใต้ฐานเพียบ ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2554 ที่วัดชะเมา ถนนราชดำเนิน ต.ท่าวัง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีประชาชนจำนวนมากแห่เดินทางไปชมการประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ อายุเกือบ 1,500 ปี ซึ่งประเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสย้ายจากสถานที่ประดิษฐานเก่าบริเวณด้านหลังวัด มาประดิษฐานในที่ใหม่บริเวณลานด้านหน้าวัด ริมถนนราชดำเนิน อยู่ระหว่างการบูรณะซ่อมแซมโดยก่อปูนหุ้มองค์พระเดิมแต่ยังไม่แล้วเสร็จ และยังพบว่าใต้ฐานเดิมที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังกล่าวมีพระพุทธรูปองค์เล็กหน้าตัก 3 นิ้ว 5 นิ้ว และ 7 นิ้ว พระเครื่องศิลปะลังกาวงศ์ที่ทำด้วยทองคำ และทำด้วยเงินรวมหลายองค์ บางองค์ชำรุดเศียรขาดก็มี อีกทั้งยังพบเพชรนิลจินดาของมีค่าอีกจำนวนมาก ทำให้ประชาชนที่ทราบข่าวแห่เดินทางมาขอชมอย่างต่อเนื่อง สำหรับพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ทำการย้ายออกมาประดิษฐานที่ใหม่นั้น มีหน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ สูงประมาณ 4 เมตรเศษ นำมาบูรณะซ่อมแซมและประดิษฐานให้อยู่ในลักษณะรูปทรงเดิมอย่างงดงาม อย่างไรก็ตามพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมีการเล่าลื่อกันมานับ 100 ปีว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีอาถรรพ์มาก หากใครคิดจะเคลื่อนย้ายจะต้องจะเกิดอาเพศต่าง ๆ นา ๆ เช่น เกิดฟ้าผ่า เกิดลมพายุที่คนโบราณเรียกว่า”ลมหัวด้วน” หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง จนไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้สำเร็จแม้เจ้าอาวาสวัดชะเมาจะพยายามมาตลอดถึง 9 เจ้าอาวาส ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุหรือฆราวาสจะมีอันเป็นไปจนมรณภาพและเสียชีวิตอย่างปริศนาทุกราย การที่พระเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน กล้าเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ทำให้คนทั่วไปให้ความสนใจและวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวาง และเป็นห่วงว่าพระเกษม เจ้าอาวาสจะมีอันเป็นไปจนมรณภาพไปอีกรูป เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกชื่อสืบทอดกันว่า “หลวงพ่อสูง” เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ หน้าตักกว้างประมาณ 3 เมตรเศษ ซึ่งพุทธลักษณะศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์นั้นจะต้องเป็นแบบนั่งราบเท่านั้น คือนั่งขัดสมาธิแบบขาขวาทับบนขาซ้าย จากการได้สืบค้นข้อมูลความเป็นมาคาดว่าสร้างสมัยเชียงแสนตอนต้นโดยช่างลังกา โดยเฉพาะมีหลักฐานจากการพบจารึกที่ใต้ฐานพระพุทธรูปว่าสร้างในปี พ.ศ.1079 หากนับจนถึงปีนี้พระพุทธรูปองค์นี้มีอายุเก่าแก่ถึง 1,475 ปี เดิมประดิษฐานตรงพื้นที่วัดประตูเขียน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของเมืองนครศรีธรรมราชมาตั้งแต่โบราณ ภายหลังในปี พ.ศ.2458 หรือเกือบ 100 ปีที่ผ่านมา พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณสิริธรรมมุณี หรือพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รตฺนธชเถร)เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้รวมพื้นที่วัดขึ้น 3 วัด คือ วัดประตูเขียน วัดสมิทฐาน และ วัดโมฬี หรือ วัดชะเมา เป็นพื้นที่เดียวกันและกลายเป็นวัดชะเมาในปัจจุบันนั่นเอง “พระพุทธรูปองค์นี้เดิมประดิษฐานอยู่ในเขตวัดประตูเขียน ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ของวัดชะเมาในปัจจุบัน และเจ้าอาวาสวัดชะเมาทุกรูปเห็นว่าพระพุทธรูป”หลวงพ่อสูง”เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สำคัญจึงต้องการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปหลวงพ่อสูงมาอยู่บริเวณหน้าวัดซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสม ประชาชนที่ผ่านไปมาจะได้มีโอกาสแวะเข้าไปสักการบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลได้อย่างสะดวก โดยที่ผ่านมาได้พยายามเคลื่อนย้ายมาอย่างยาวนานต่อเนื่องถึง 9 เจ้าอาวาส แต่ไม่สำเร็จ ทำให้พระพุทธรูปที่เก่าแก่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา และเป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปว่าความพยายามของเจ้าอาวาสที่ผ่านมาเกิดอาเพศตลอดว่าเมื่อจะทำการเคลื่อนย้ายก็จะเกิดปรากฏการณ์เหลือเชื่อทุกครั้ง ในบางครั้งเกิดฟ้าผ่าลงมาอย่างรุนแรง บางครั้งเกิดลมพายุหัวด้วนอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย หรือเกิดอุบัติเหตุกับช่างหรือคนงานที่มาเคลื่อนย้าย” พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมา กล่าวต่ออีกว่า เมื่อไม่มีใครกล้าดำเนินการจึงมีการปล่อยปละละเลยไว้เฉย ๆ จนเมื่อปี 2516 พระครูสุทธิจารี เป็นเจ้าอาวาสมีปรารภให้ย้ายพระพุทธรูปหลวงพ่อสูงแต่ท่านได้มรณภาพลงอย่างกระทันหัน ต่อมาสมัยพระครูกาแก้ว เป็นเจ้าอาวาส ได้ขอดำเนินการปลูกสร้างโรงเรือนหลังคามุงสังกะสีกันแดดกันฝน แต่พระครูกาแก้วก็มรณภาพไปอีกรูป และสมัยพระครูสุทธิวรคุณ เป็นเจ้าอาวาสท่านก็ปรารภจะเคลื่อนย้ายอีกครั้ง และอยู่ไม่นานท่านมรณภาพไปอีก จนไม่มีใครกล้าเคลื่อนย้ายหรือยุงเกี่ยวกับพระพุทธรูป”หลวงพ่อสูงอีก” “จนมาในสมัยอาตมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี 2553 อาตมาตั้งใจที่จะบูรณะบำรุงเสนาสนะ ภายในวัดชะเมาให้มีความสวยงาม เจริญหูเจริญตา จึงตัดสินใจดำเนินการเคลื่อนย้ายอีกครั้ง โดยก่อนการเคลื่อนย้าย อาตมาได้ตั้งเครื่องบวงสรวง เซ่นไหว้ ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อทำการรื้อองค์พระพุทธรูปมาตั้งหน้าวัด แต่กลับมีอุปสรรคอาเพศหลายอย่างทั้งเกิดลมพายุพัดแรงมากและมีแรงฟ้าผ่ารุนแรง ในขณะที่คนงานเกิดอุบัติเหตุเสียหาย อาตมาจึงสั่งยุติการเคลื่อนย้ายเอาไว้ก่อน จนเมื่อช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมาอาตมาได้ตั้งจิตอธิษฐานขอเคลื่อนย้ายและตั้งใจว่าหากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ก็จำเป็นที่จะต้องทุบองค์พระทิ้งเสีย จากนั้นอาตมาจึงเริ่มเคลื่อนย้ายพระพุทธรูป”พลวงพ่อสูง”เป็นครั้งที่ ซึ่งในขณะเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเครนยกได้เกิดลมพายุได้พัดอย่างแรงมาก แต่สามารถเคลื่อนย้ายสำเร็จ แต่เกิดเรื่องเหลือเชื่อเมื่อเกิดฝนตกหนักเฉพาะภายในบริเวณวัดเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก” เจ้าอาวาสวัดชะเมา เปิดเผยอีกว่า“เมื่อเคลื่อนย้ายมาได้แล้วจึงได้สร้างมณฑปประดิษฐานบริเวณลานด้านหน้าวัด และได้เร่งบูรณะซ่อมแซมให้มีรูปทรงดังเดิมรวมทั้งสร้างพระพุทธรูป”หลงพ่อสูง”จำลองหน้าตัก 1 เมตร สูง 1.5 เมตร ประดิษฐานในมณฑปด้านล่าง จนในช่วงกลางคืนเวลาตี 1 อาตมาได้นิมิตว่าให้อาตมาไปเอาสิ่งของใต้ฐานพระพุทธรูปมาเก็บไว้ด้วย จึงลุกขึ้นเดินไปตรวจสอบยังจุดที่ประดิษฐานเดิม จึงพบพระพุทธรูปและพระเครื่องที่สร้างด้วยทองคำและเงิน รวมทั้งพบเพชรนิลจินดาอีกจำนวนมาก ทั้งหมดเป็นศิลปะเชียงแสนลังกาวงศ์ ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลเชื่อว่าทั้งพระพุทธรูป และพระเครื่อง น่าจะอยู่ในสมัยสร้างองค์พระบรมธาตุเจดีย์ “โดยในสมัยนั้นมีการถวายพระพุทธรูปทองคำ เงิน และทรัพย์สินมีค่าเป็นพุทธบูชาแด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าและพระบรมธาตุเจดีย์ ที่เหลือส่วนหนึ่งได้นำมาประดิษฐานไว้ในวัดประตูเขียน วัดสมิทฐาน และ วัดโมฬี จนมีการรวม 3 วัดดังกล่าวเป็นวัดชะเมา และมีการนำพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ทรัพย์สินมีค่าฝังไว้ใต้ฐานพระพุทธรูป”หลวงพ่อสูง” จนมีการเคลื่อนย้ายและมาขุดพบเมื่อช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมาดังกล่าว ซึ่งในขณะนี้อาตมาได้เก็บรักษาหนึ่งไว้ในที่ปลอดภัย และจะพิจารณาภายหลังว่าจะดำเนินการอย่างไรกับพระพุทธรูปทองคำ เงิน และสิ่งของมีค่าที่ได้มาจากฐานองค์พระ” พระปลัดเกษม เขมจิตโต เจ้าอาวาสวัดชะเมากล่าวในที่สุด
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน4,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลส. - 18 ม.ค. 2557 - 08:05.48
วันปิดประมูล พ. - 29 ม.ค. 2557 - 14:25.23 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 4,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
number0 (274) (-3) 223.204.28.176
200 บาท ส. - 18 ม.ค. 2557 - 10:59.31
number0 (274) (-3) 223.204.28.176
300 บาท ส. - 18 ม.ค. 2557 - 10:59.33
number0 (274) (-3) 223.204.28.176
400 บาท ส. - 18 ม.ค. 2557 - 10:59.36
500 บาท ส. - 25 ม.ค. 2557 - 22:16.27
1,000 บาท ส. - 25 ม.ค. 2557 - 22:17.06
4,500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 28 ม.ค. 2557 - 14:25.23
กำลังโหลด...
Top