พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว - webpra

ประมูล หมวด:พระกรุ เนื้อดิน - เนื้อผง

พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว

พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชาย อยุธยา ปางสมาธิ ตัดเดี่ยว
รายละเอียดพระเนื้อดิน พระเจ้าสิบชาติ กรุวัดกระชายหรือวัดเจ้าชาย เป็นพระกรุยุคสมัย อยุธยา ....องค็นี้เป็นพิมพ์ปางสมาธิ เนื้อดินลงรัก ปิดทองเก่าเดิมๆ องค์พระหน้าตาคมชัด... ครับ "วัดเจ้าชาย" สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความสนพระทัยในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ตามตำนานของอยุธยา เล่าสืบกันมาว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ ท่านทรงสร้างวัดประจำพระองค์วัดหนึ่ง อยู่ใต้"วัดวรชษฐ์นอกเกาะ" วัดแห่งนี้ชื่อว่า "วัดเจ้าชายธรรมราชา" เรียกสั้น ๆ ว่า "วัดเจ้าชาย" และเรียกเพี้ยนเสียงมาเป็น "วัดกระชาย"
จากระยะเวลาที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงครองราชย์สมบัติในระว่างปี พ.ศ.๒๑๔๘ – พ.ศ.๒๑๕๓ รวมระยะเวลา ๕ ปีเศษนั้น แม้จะเป็นห้วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่พระองค์ก็ได้สร้างคุณประโยชน์ให้เกิดแก่แผ่นดินไทยอย่างเป็นอเนกอนันต์ นอกจากพระองค์ท่าน จะเป็นนักรบ นักพัฒนา นักการค้า นักการฑูตแล้ว ด้านการค้ำชูพระพุทธศาสนา พระองค์ท่านก็สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านนี้ได้เป็นอย่างดี สมกับที่เป็นยอดพระมหากษัตริย์พระราชอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อย่างแท้จริง

ต่อมาในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 แถบวัดเจ้าชาย วัดเต่า วัดสุเรนทร์ เป็นที่ตั้งทัพของพม่า จากการขุดแต่งพบโบราณวัตถุประเภทอาวุธ เช่น มีด หอก ดาบ ทวน ลูกกระสุนปืนใหญ่ เป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนข้อมูล ทางประวัติศาสตร์ว่าวัดเจ้าชาย ใช้เป็นที่ตั้งทัพสงคราม คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 นอกจากโบราณวัตถุประเภทอาวุธแล้ว ยังพบโบราณวัตถุที่เป็นส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรม เช่น กระเบื้องมุงหลังคาแบบกาบกล้วย กระเบื้องเชิงชายเป็นลายเส้นโค้งประกอบกันเป็นรูปสามเหลี่ยม พระพิมพ์ดินเผาแบบพระแผง และโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และคาดว่าวัดเจ้าชายถูกทิ้งร้างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากการขุดแต่งโบราณสถานวัดเจ้าชาย เมื่อปี พ.ศ.2544 พบหลักฐานหลายอย่างเป็นข้อมูลว่า วัดแห่งนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น "เขตพุทธาวาส" กับ "เขตสังฆาวาส" เขตพุทธาวาส เป็นที่ตั้งของโบราณสถานต่างๆ ตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก โดยมีเจดีย์ทรงระฆังกลม ตั้งบนฐานปัทม์แปดเหลี่ยมเป็นประธาน ด้านหน้าเจดีย์ประธานทางทิศตะวันออก เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถ เพราะจากการขุดแต่งพบฐานเสมาและใบเสมา รอบเจดีย์ประธานพบฐานเจดีย์ราย 4 องค์ล้อมรอบด้วยกำแพงวัด โบราณสถานต่างๆส่วนใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าประธานทางทิศตะวันออก นอกจากเขตพุทธาวาสแล้ว เนินดินทางทิศใต้ขององค์เจดีย์ประธาน พบเศษภาชนะดินเผาประเภท หม้อทะนน เตาเชิงกราน ไหจากเตาแม่น้ำน้อย และแหล่งเตาบ้านบางปูน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน รวมทั้งเศษกระเบื้องมุงหลังคา แต่ไม่พบรูปเคารพทางศาสนา สันนิษฐานว่า เนินดินบริเวณนี้เป็นเขตสังฆาวาส นอกจากนี้ยังพบว่าวัดเจ้าชาย มีการปรับพื้นที่ในเขตพุทธาวาส หลายครั้งด้วยกัน ในสมัยแรกมีการปรับพื้นที่โดยนำดินเหนียวท้องนา มาถมปรับพื้นที่ให้สูงขึ้นจากเดิม เพื่อให้พ้นจากน้ำท่วม จากหลักฐานที่ขุดค้นพบว่าในสมัยแรกยังไม่มีการสร้างเจดีย์ประธาน และตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชน โดยเป็นพื้นที่โล่งอยู่นอกเมือง โบราณวัตถุที่พบในดินช่วงนี้มีน้อยมาก สมัยที่สอง มีเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมเป็นประธาน มีวิหารอยู่ทางด้านหน้าเจดีย์ประธาน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นคตินิยมของการสร้างวัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ในสมัยนั้นเจดีย์ประธาน มีทั้งที่เป็นเจดีย์ทรงกลม เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม หรือปรางค์ เช่นวัดส้มใช้ปรางค์เป็นประธาน วัดพลับพลาชัยใช้เจดีย์ทรงกลมเป็นประธาน ส่วนการใช้เจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมเป็นประธานแบบวัดเจ้าชายได้แก่วัดหัสดาวาส วัดตะไกร วัดจงกลม เป็นต้น ซึ่งวัดทั้งสามนี้ ขุดค้นขุดแต่งระบุได้ว่า สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ต่อมาในสมัยที่สามมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นและก่อสร้างสิ่งใหม่ เพิ่มเติมคือ วิหารที่อยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธานถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นอุโบสถ มีการสร้างเจดีย์รายและกำแพงแก้วรอบอุโบสถขึ้น การเปลี่ยนวิหารให้กลายเป็นอุโบสถ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญกับอุโบสถ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไป เช่น วัดวังชัย สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ต่อมาเมื่อถึงพุทธศตวรรษที่ 23 ความสำคัญของอุโบสถยิ่งมีมากขึ้น วัดที่สร้างขึ้นในช่วงนี้จะสร้างอุโบสถเป็นประธานของวัด เช่น วัดบรมพุทธาราม ที่สร้างสมัยสมเด็จพระเพทราชา และหากเป็นวัดที่ปฏิสังขรณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ก็มักแปลงจากวิหารที่เคยตั้งอยู่หน้าเจดีย์ประธานให้กลายเป็นอุโบสถ เช่น วัดมเหยงคณ์ ที่ปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ พ.ศ. 2254 วัดเจ้าชาย ในช่วงนี้ได้มีการก่อพอก เฉพาะส่วนฐานของเจดีย์ประธาน แปลงจากแปดเหลี่ยมเป็นสี่เหลี่ยมเพื่อค้ำองค์เจดีย์ไม่ให้ทรุดไปมากกว่าที่ เป็นอยู่ ก่อกำแพงรอบโบราณสถานตั้งแต่อุโบสถ เจดีย์รายทั้งสี่องค์ รวมทั้งเจดีย์ประธานและได้ขยายพื้นที่โบราณสถานไปทางทิศตะวันตก อนึ่งวัดเจ้าชาย แห่งนี้มีชาวบ้านแถบวัดกลางทุ่งปากกราน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก ของวัดเจ้าชาย เคยเข้ามาขุดกรุที่องค์เจดีย์ ได้โบราณวัตถุเป็นพระพิมพ์ดินเผา ลักษณะของพระพิมพ์เป็นดินแผ่นรูปห้าเหลี่ยมด้านไม่เท่ากัน พิมพ์เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิบรรจุอยู่ 3 แถว แถวละ 3 องค์ และอยู่บนสุดอีก 1 องค์ พระพิมพ์ที่ขุดได้มี 2 ขนาด คือ ขนาด 17 x 10 x 1.5 เซนติเมตร กับขนาด 11 x 6.5 x 1.5 เซนติเมตร พระพิมพ์วัดเจ้าชายนี้ ชาวบ้านแถบนั้นมีความเคารพนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก และมักจะเรียกพระพิมพ์ลักษณะนี้ว่า "พระเจ้าสิบชาติ" ซึ่งหมายถึงชาติทั้งสิบของพระพุทธเจ้านั่นเอง

สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก พระองค์ได้ทรงสร้างพระและวัดมากมาย จึงไม่แปลกใจที่ แต่ละวัดที่พระองค์ทรงสร้างจะมีพระดีบรรจุไว้ในเจดีย์แทบทุกวัด สาเหตุที่พระองค์ทรงสร้างเป็นพิมพ์สิบทัศน์ อาจสันนิษฐานได้ว่า พระองค์อาจปรารถนาพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เพราะปางสิบทัศน์นี้ ต้องมีความมุ่งมั่นจริงๆ จึงจะสร้างพระพิมพ์นี้ได้
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 06 ม.ค. 2557 - 09:36.08
วันปิดประมูล พ. - 08 ม.ค. 2557 - 18:49.49 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0896887242
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท จ. - 06 ม.ค. 2557 - 10:21.24
300 บาท จ. - 06 ม.ค. 2557 - 10:21.37
400 บาท จ. - 06 ม.ค. 2557 - 20:31.08
500 บาท อ. - 07 ม.ค. 2557 - 18:49.30
600 บาท อ. - 07 ม.ค. 2557 - 18:49.35
700 บาท อ. - 07 ม.ค. 2557 - 18:49.39
800 บาท อ. - 07 ม.ค. 2557 - 18:49.42
900 บาท อ. - 07 ม.ค. 2557 - 18:49.46
1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 07 ม.ค. 2557 - 18:49.49
กำลังโหลด...
Top