วัดใจ เหรียญขวัญถุง หลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร พิจิตร ปี2505 - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคกลางตอนบน

วัดใจ เหรียญขวัญถุง หลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร พิจิตร ปี2505

วัดใจ เหรียญขวัญถุง หลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร พิจิตร ปี2505 วัดใจ เหรียญขวัญถุง หลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร พิจิตร ปี2505
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง วัดใจ เหรียญขวัญถุง หลวงพ่อเขียน วัดถ้ำขุนเณร พิจิตร ปี2505
รายละเอียดประวัติหลวงปู่เขียน วาจาสิทธิ์ วัดถ้ำขุนเณร บางมูลนาก จ.พิจิตร
มีคนเล่าลือถึง หลวงพ่อองค์หนึ่งว่า วาจาของท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ทั้งมีการประพฤติ ปฏิบัติ ในทางกรรมฐาน เคร่งครัดโดยเฉพาะเวลาวิกาลแล้ว มักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ และ ที่มหัศจรรย์ผิดแผกกว่าพระอาจารย์ อื่นๆ ก็คือ ท่านหัวเราะเหมือนเสียงไก่ขัน ! หลวงพ่อรูปนี้ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีชื่อว่า “หลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต “

หลวงพ่อเขียน เมื่อเป็นฆราวาสนั้น ท่านมีชื่อว่า เสถียร เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล (พ.ศ. ๒๓๙๙) ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดา ชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓
เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็นสามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่ วัดทุ่งเรไร ในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขระสมัย กับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่านสมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น
สามเณรเขียนอยู่ใน สามเณรเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ. วัดภูเขาดิน ใกล้กับ แม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาหาไว้ให้แล้วและอยากได้มา เป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อเขียนท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติ ที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะก ูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะก ูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำพรรษา ณ ที่นั้น
ต่อมาท่านได้ไป ศึกษาพระปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลา พระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่ วัดรังษี ฯ กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี ฯ จะโอนจาก วัดมหานิกาย เข้าเป็น วัดธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจที่ จะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี ฯ มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง
ท่านกลับมาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน ทราบข่าว ว่าท่านกลับมาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จึงได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อเขียน ให้มาจำพรรษาที่ วัดวังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อเขียน ท่าน ก็รับนิมนต์ จึงได้ออกเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดวังตะกู ตั้งแต่ บัดนั้น เป็นต้นมา
หลวงพ่อเขียน มาอยู่วัดวังตะกูได้ไม่กี่ปี ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเวียงใต้ ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวงพ่อตัวหนึ่ง และ ต่อมานายทอง บ้านเขาอีแร้ง ก็ได้นำม้าตัวผู้สีเขียว ค่อนข้างดุ ชื่อ อ้ายเขียวยักษ์ มาถวายหลวงพ่ออีกตัวหนึ่ง วันหนึ่ง หลวงพ่อเขียน จูงอ้ายเขียวยักษ์ ไปกินน้ำที่สระข้างวัด อ้ายเขียวยักษ์ เห็นสระน้ำอยู่เบื้องหน้าก็ออกวิ่งไปด้วยความคึกคะนอง แล้วนึกอย่างไรไม่ทราบ มันกลับวิ่งหวนกลับ เข้ามาหาหลวงพ่อเขียน ตรงเข้าโขก และกัดหลวงพ่อเขียน เข้าที่ที่หน้าผาก ไหล่ขวา และหน้าอก จนหลวงพ่อล้มกลิ้งไป แต่จะหารอยแผลสักน้อยก็ไม่มี มีแต่รอยเขียวช้ำเท่านั้น พวกชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ พากันคว้าไม้จะเข้าไปไล่ตี เจ้าเขียวยักษ์ แต่หลวงพ่อเขียน ท่านรีบลุกขึ้นมา และร้องห้ามพวกชาวบ้าน ไม่ให้ตีมัน ท่านบอกว่า “อ้ายเขียว มันลองหลวงพ่อน่อ”
วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อได้นำหญ้าอ่อนไปกำมือหนึ่ง แล้วเป่าคาถา อึดใจเดียวก็ยื่นให้ เจ้าเขียวยักษ์กิน แล้วท่านยังยกข้าวเปลือกที่แช่ในถังน้ำ มาให้มันเป็นของแถมเสียอีก หลังจากเจ้าเขียวยักษ์ กินหญ้าอ่อน และข้าวเปลือกแล้ว มันก็ยืนนิ่งเฉย ปล่อยให้หลวงพ่อ ลงอักขระ ที่กีบเท้าทั้งสี่ข้าง
อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเขียวยักษ์เกิดหลุดเชือก ไปกินข้าวในนา ของมรรคทายก นวม มรรคทายก เกิดโมโห คว้าปืนลูกซองยาว ยิงเจ้าเขียวยักษ์ ด้วย กระสุนเอสจี ลูกเก้า (ลูกแบบ แตกปลาย 9 เม็ดใหญ่) ลูกปืน ถูกเจ้าเขียวยักษ์อย่างจัง แต่ไม่รเข้า หรือระคายผิวเจ้าเขียวยักษ์ แม้แต่เม็ดเดียวเลย นางมา เมีย มรรคทายก นวม เห็นดังนั้น ก็เกิดความโมโหหนักขึ้น ถึงกับไปยืนด่าว่า หลวงพ่อ ด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่างๆ นานา หาว่าหลวงพ่อเลี้ยงม้าไม่ดี ปล่อยให้ไปรบกวนชาวบ้าน ให้เดือดร้อนเสียข้าวเสียของ
หลวงพ่อท่านนิ่งฟังพักใหญ่ ก็บอกว่า “เอ็งทำเป็นด่าข้าดีไปเถอะ ระวังปากเอ็งจะเน่า” ต่อมาอีกไม่กี่วัน นางมาได้เกิดป่วยเป็นโรคปากเปื่อย ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จมขี้จมเยี่ยว เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ที่พบเห็น แต่เมื่อมีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาสงสาร ได้ใช้ให้ คนไปบอกนางมา ให้หาดอกไม้ธูปเทียน มาขอขมาท่านเสีย นางมาทราบแล้ว ก็รีบปฏิบัติตามทันที มิช้าก็หายป่วย จากโรคปากเน่า
ม้าของหลวงพ่อเขียน ที่เดิมมีเพียงตัวเมีย กับตัวผู้ คือเจ้าเขียวยักษ์นั้น ต่อมาก็ได้ผสมพันธุ์กัน จนถึงปี ๒๔๗๗ ม้าก็เพิ่มจำนวนถึง ๗๐ ตัว ในจำนวนนี้ มันได้แบ่งพวกออกเป็น ๓ ฝูงๆ ละเกือบ เท่าๆ กัน ในฤดูแล้ง ม้า จะถูกปล่อยให้ไปหากินตามชายป่า หัวหน้าฝูงจะเป็นผู้นำ แต่ละฝูงจะอยู่ห่างกันไม่เกิน ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พอตกเวลาเย็น มันก็จะทยอยกันกลับวัด เข้าคอกเองโดยไม่ต้องมีคนไปไล่ต้อน ถ้าเป็นฤดูฝน หรือฤดูหนาว หลวงพ่อจะเอาข้าวเปลือกแช่น้ำ มากองหลายๆ กองให้ม้ากิน บางทีท่าน ก็เอาน้ำตาลปี๊บ ไปป้อนลูกม้า ท่านทำเช่นนี้เกือบจะเป็นประจำ ด้วยความเมตตา
ขณะที่หลวงพ่อเขียน จำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น หลวงพ่อพร้อมด้วยพุทธบริษัท ได้ชวนกันสละทุนทรัพย์ ตามกำลัง และศรัทธา และได้ช่วยกันหาปัจจัย สร้างโบสถ์ กำแพงแก้ว ซุ้มประตู และเจดีย์ ตัวพระอุโบสถนั้นเพียงแต่ก่ออิฐ แต่ยังมิได้ฉาบปูน
แต่ในระหว่างการก่อสร้าง มรรคทายกผู้หนึ่งเป็นเหรัญญิก ผู้เก็บรักษาเงิน และบัญชีรายรับรายจ่าย แต่มรรคทายกผู้นี้เกิดความโลภโมโท สันได้ทุจริต ยักยอก เอาเงินก่อสร้างอุโบสถไปใช้ ประโยชน์ส่วนตัว โดยนำเงินไปซื้อไร่นา และปลูกบ้านเรือนใหญ่โต ทั้งได้ ทำลายหลักฐาน บัญชีเดิม แล้วทำบัญชีใหม่ปลอมแปลงแทน ครั้นถึงวันจ่ายค่าแรงงานก่อสร้างแก่ นายช่าง หลวงพ่อเขียนท่าน ก็เรียกปัจจัยค่าก่อสร้างพระอุโบสถ จากมรรคทายกผู้นั้น แต่กลับได้รับคำปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉย ว่าเงินที่ตนเก็บไว้ได้ถูกเบิกจ่ายไปใช้ก่อสร้างจนหมดแล้ว
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น งานการก่อสร้างอุโบสถจึงได้หยุดชะงักลงทันที ชาวบ้านที่รู้เรื่องก็พากันมาถามหลวงพ่อเขียน หลวงพ่อท่านก็บอกแก่พวกเขาเหล่านั้นว่า “ใครโกงปัจจัยสร้างโบสถ์ ไม่ว่ารายไหนก็รายนั้น เป็นต้องคลานขี้คลานเยี่ยว มันจะต้องฉิบหาย วายวอด ถือกะลาขอทานเขากิน ไม่จำเริญสักคนน่อ”
อยู่ต่อมาไม่นาน ความวิบัติฉิบหาย ก็บังเกิด ขึ้นแก่มรรคทายกผู้นั้น กับภรรยา ตลอดจนลูกสาว ลูกชาย ด้วยเกิดการเจ็บป่วยได้ไข้ ขึ้นมาพร้อมกันในวาระเดียว เริ่มด้วยเกิดคันลูกนัยน์ตา รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนในที่สุด ตาบอดหมดทุกคน แม้หลานของมรรคทายกผู้นั้น ก็เกิดมาเสียลูกนัยน์ตาไปคนละข้าง ต้องทนทุกข์ทรมาน คลานขี้คลานเยี่ยว ดังหลวงพ่อท่านว่าไว้ไม่มีผิด เงินทองที่มีอยู่ ก็ถูกนำมาใช้จ่ายในการรักษาจนหมดตัว ถึงกับขายไร่นา เพื่อนำเงินมาบำบัดรักษา และพลอยหมดสิ้นลงอีก ถึงกับต้องจูงกันไปเที่ยวขอทานเขากิน ในที่สุด ก็ล้มหายตายจากกันไป ที่มีชีวิตอยู่ ก็ร่อนเร่ระหกระเหิน ไปคนละทิศละทาง จนสิ้นวงศ์วานหว่านเครือ ไม่มีเชื้อสาย เหลือในตำบลวังตะกู แม้แต่คนเดียว !
ครั้งหนึ่ง พระมหาบุญเหลือ เจ้าอาวาส วัดชัยมงคล กับ พระมหาชั้น เจ้าอาวาส วัดท่าฬ่อ เดินทางไปเทศน์ที่ บ้านห้วยพุก เมื่อเทศน์จบ ก็ได้เวลาประมาณ ๔ โมงเย็นเศษๆ เข้าไปแล้ว จึงรีบออกเดินทางจาก บ้านห้วยพุก ฝ่าป่าฝ่าดง เรื่อยมา เพราะสมัยนั้นการสัญจรไปมา ต้องอาศัยการเดินเท้าเป็นพื้น หลัก ท่านเจ้าอาวาสทั้งสอง ไม่คุ้นกับเส้นทาง จึงเดินวกวนอยู่ในป่าดงช้านาน บ้านช่องผู้คน ก็ไม่ค่อยจะมี นานๆ จึงจะพบสักหลังหนึ่ง เมื่อชาวบ้านป่าช่วยชี้หนทางให้ ก็เดินกันจนเท้าระบมแทบจะไปไม่ไหว
จนถึงเวลากลางคืน ก็ไปถึง ตำบลวังตะกู ท่านมหาบุญเหลือ จึงบอกท่านมหาชั้นว่า คงจะต้องนอนพักค้างคืนกับ หลวงพ่อเขียน ก่อนซะแล้ว เพราะจะเดินทางต่อไปจน ถึงบางมูลนากนั้นคงไม่ไหวแน่ ท่านมหาบุญเหลือซึ่งท่านรู้จักกับ หลวงพ่อเขียนดี เมื่อไปถึงวัด ได้พากันตรงไปกุฏิหลวงพ่อเขียน ก็เห็นประตู หน้าต่าง ปิดหมด แล เห็นแสงไฟทางช่องลม สลัวๆ ท่านมหาทั้งสอง จึงกระซิบกระซาบกันว่า “อย่าไปรบกวน เรียกท่านเลย จะเป็นการรบกวนท่านเปล่าๆ เรานอนกันข้างนอกที่หน้ากุฏิท่านนี่แหละ” ท่านมหาชั้น จึงเอนกายลงนอน ด้วยความอ่อนเพลีย แต่ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียง หลวงพ่อเขียน ร้องทักมาจากในห้องว่า “โธ่เอ๋ย มหา ! เดินหลงทางกันมาซิน่อ แย่เลยหนอ พักนอนด้วยกัน เสียที่นี่ ไม่ต้องเกรงใจน่อ” พลางท่านก็เปิดประตูออกมาต้อนรับ
เมื่อครั้งหลวงพ่ออย ู่วัดวังตะกู นั้น ได้มีผู้นำสัตว์ป่าทั้งหลาย มาถวายอยู่เนืองๆ อาทิ เช่น ลิง ชะนี เก้ง กวาง วัวแดง จระเข้ เป็นต้น โดยเฉพาะลูกกวางนั้น หลวงพ่อได้เอาเศษจีวรผูกคอไว้ เพื่อให้คนทั้งหลายได้รู้ ว่าเป็นกวางของวัด เจ้ากวางตัวนี้เติบโตขึ้นมา และเชื่องมาก มันมักจะติดตามหลวงพ่อไปไหนๆ อยู่เสมอ บางคราวมันก็จะหนีท่านไปกินข้าว หรือเหยียบย่ำข้าวในนา ของชาวบ้านเสียหายบ่อยๆ หลวงพ่อจึงนำไปให้ ท่านอาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณร เลี้ยงดูแทนท่าน ท่านได้บอกกับมันว่า “เอ็งไปอยู่กับ อาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณร น่อ แล้วไม่ต้องกลับมาหาข้าอีกน่อ” เมื่อหลวงพ่อให้ลูกศิษย์นำกวางไปให้ท่านอาจารย์เทินแล้ว ปรากฏว่าเจ้ากวางไม่เคยกลับมาที่วัดวังตะกูอีกเลย ทั้งๆ ที่วัดทั้งสองไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเท่าใดนัก
เมื่อกวางไปอยู่กับท่านอาจารย์เทินแล้ว ไม่ว่าท่านจะรับนิมนต์ไปที่บ้านใคร มันจะออกไปตามหาท่าน ถูกทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้ง ท่านจะออกไปจากวัด ขณะที่มันไม่ได้อยู่ในวัด แต่เมื่อมันกลับมา ก็จะออกตามหาท่านได้ถูกต้องทุกครั้ง
อยู่มาวันหนึ่ง กวางออกไปหากินไกลวัด ในหมู่บ้านที่มันเคยไป ชาวบ้านไม่รู้ว่า เป็นกวาง วัด นึกว่าเป็นกวางป่า จึงเอาปืนมาไล่ยิง แต่ไม่ถูกสักนัดเดียว เผอิญพวกนั้นเหลือบไปเห็นเศษจีวร ที่หลวงพ่อเขียนผูกคอมันไว้ จึงรู้ว่าเป็นกวางวัด ก็ร้องบอกห้ามปรามกัน แต่กวางตกใจเสียงปืน มันก็วิ่งเตลิดผ่านหน้าบ้านของชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นไม่รู้เรื่องราว ก็คว้าปืนลูกซองยิงสกัดออกไป ลูกปืนไปถูกลูกนัยน์ตาขวาของกวาง ถึงแก่ตาบอด แต่ต่อมาไม่ช้านาน เขาผู้นั้นไปตัดฟืนในป่า ถูกกิ่งไว้วัดเข้าที่ลูกนัยน์ตาขวาข้างขวา ถึงกับตาแตก และตาบอด เหมือนกับกวาง ในเวลาต่อมา เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก. (ที่กรรมตามทันอย่างรวดเร็ว)
หลวงพ่อได้อยู่วัดวังตะกู เป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีอาจารย์รูปหนึ่ง เดินทางมาจากจังหวัดนครราชสีมา ได้มาขอพักอยู่ที่วัดวังตะกู ครั้นอยู่นานเข้าก็มีประชาชนนับถือมาก เลยถือโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าอาวาส โดยมีทายกบางคนให้การสนับสนุน จึงได้รื้อกุฏิปลูกใหม่ ให้เรียงเป็นแถว เป็นระเบียบ ดูจะเป็นการขับไล่หลวงพ่อเขียนทางอ้อม โดยเว้นกุฏิของหลวงพ่อ ทิ้งไว้ให้โดดเดี่ยวอยู่องค์เดียว นอกจากนั้นยังได้สร้างเชิงตะกอนเผาศพ ไว้ด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กับกุฏิของหลวงพ่อ เวลาเผาศพ กระแสลมก็จะพัดควัน และกลิ่นเข้าหากุฏิหลวงพ่อ จนตลบอบอวลไปหมด ทำให้ท่านได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะการเผาศพในสมัยนั้น กว่าจะไหม้หมดก็กินเวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้หลวงพ่อจะได้รับความทุกข์ทรมานเพียงใด ท่านก็ทนอยู่ได้โดยใช้ขันติธรรมไม่ยอมไปไหน
ราคาเปิดประมูล450 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 26 ธ.ค. 2556 - 09:27.19
วันปิดประมูล ส. - 04 ม.ค. 2557 - 21:02.59 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 03 ม.ค. 2557 - 21:02.59
กำลังโหลด...
Top