*วัดใจ เคาะแรก*พระผงรูปไข่ครึ่งองค์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม รุ่น เจริญบารมี ๙๙ ปี ๒๕๔๙(๑) - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานใต้

*วัดใจ เคาะแรก*พระผงรูปไข่ครึ่งองค์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม รุ่น เจริญบารมี ๙๙ ปี ๒๕๔๙(๑)

*วัดใจ เคาะแรก*พระผงรูปไข่ครึ่งองค์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม รุ่น เจริญบารมี ๙๙ ปี ๒๕๔๙(๑) *วัดใจ เคาะแรก*พระผงรูปไข่ครึ่งองค์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม รุ่น เจริญบารมี ๙๙ ปี ๒๕๔๙(๑) *วัดใจ เคาะแรก*พระผงรูปไข่ครึ่งองค์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม รุ่น เจริญบารมี ๙๙ ปี ๒๕๔๙(๑)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง *วัดใจ เคาะแรก*พระผงรูปไข่ครึ่งองค์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม รุ่น เจริญบารมี ๙๙ ปี ๒๕๔๙(๑)
รายละเอียดพระผงรูปไข่ครึ่งองค์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม รุ่น เจริญบารมี ๙๙ ปี ๒๕๔๙(๑)
*****ประวัติ หลวงปู่เกลี้ยง พระมหาเถระรัตตัญญูวุฒาจารย์ “ผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน”วัดศรีธาตุ ( โนนแกด ) อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
(คัดย่อมาจากหนังสือชีวประวัติและภาพวัตถุมงคล ที่ระลึกฉลองอายุครบ ๑๐๕ ปี เพื่อน้อมถวายสักการบูชาคุณ)
***พระดีเกจิดังเมืองศรีสะเกษ ผู้ทรงคุณธรรมวิทยาคมในอดีตมีอยู่มากอันเป็นปูชนียบุคคลของสาธุชนเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสทุกยุคสมัย ปัจจุบันยังมีพระมหาเถระรัตตัญญูคุณูปมาสังฆาจารย์ เจริญด้วยพรรษายุกาลอาวุโสสูงสุด สร้างคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคมบ้านเมือง ทั้งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจพุทธศาสนิกชนทุกระดับชั้นอีกรูปหนึ่งคือ “หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม”
***หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม หรือ พระครูโกวิทพัฒโนดม เจ้าอาวาสวัดโนนแกด ต. ทุ่ม อ. เมือง จ. ศรีสะเกษ เป็นนักปฏิบัติ พระพัฒนา ( พระนักเสกและนักสร้าง ) ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กิตติคุณเลื่องลือในภาคอีสานและภูมิภาคทั่วทั้งใน และต่างประเทศทั้งเป็นต้นฉบับของพระแท้ พระโบราณ ไม่ถือยศถือศักดิ์ มุ่งปฏิบัติเพื่อธรรม นำวิชาความรู้สงเคราะห์ชาวบ้านจนมีผู้เอ่ยนามกล่าวขานด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ว่า “ หลวงปู่เกลี้ยงผู้หยั่งรู้ฟ้าดิน”
***ชาติภูมิ นามเดิม เกลี้ยง คุณมะนะ (นามสกุลเดิม ณวบุตร) ถือกำเนิดในสมัยแผ่นดินรัชกาลที่5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2451 ( ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปี วอก ) ที่บ้านก้านเหลือง ต. หมากเขียบ อ. เมือง จ. ศรีสะเกษ โยมบิดา นายบุญมี ณวบุตร โยมมารดา นางผิว บุญมะนะ เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้อง 7 คน ( ชาย 6 หญิง 1 )
***เมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านทุ่ม จนจบประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคบังคับสูงสุดในสมัยนั้น ต่อมามีความสนใจจะศึกษาต่อชั้นม. 3 จบการศึกษาใน พ.ศ. 2466 พ.ศ.2467 ทางราชการประกาศรับสมัครผู้ที่จบ ม.3 เป็นครูช่วยสอน ท่านเกิดสนใจไปสมัครสอบผ่าน จึงได้เป็นครูช่วยสอนครั้งแรกที่ที่โรงเรียนวัดบ้านโนนแกด ซึ้งขณะนั้นกำลังก่อตั้งใหม่สอนอยู่ได้ 4 เดือน ทางราชการได้ย้ายให้ไปช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านโพรง ต. ไพรบึง อ. ขุขันธ์ จ. ศรีสะเกษ ปัจจุบันคือ อ. ไพรบึง สอนอยู่นานถึง 3 ปี 6 เดือน จึงลาออกจากราชการเพระช่วงนั้นสุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงเกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังอยู่นาน 2-3 ปี
***แม่อนุญาตให้บวชเป็นสามเณร บรรพชาที่วัดบ้านทุ่ม ต.ทุ่ม อ.เมือง จ. ศรีสะเกษ มีโยมแม่และครอบครัวไปร่วมอนุโมทนาบุญ ในการบวชเป็นสามเณรครั้งนั้น มีหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์อ้วน( พระครูธรรมสาราจารย์ วัดบ้านทุ่ม) เป็นพระอุปชฌาย์ เมื่อบวชแล้วไปพำนักอยู่ที่วัดบ้านโนนแกดอยู่ได้หนึ่งปี ส่วนอาการป่วยก็ค่อยๆทุเลาลงและอาการดีขึ้นตามลำดับจนหายเป็นปกติ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงโดยไม่ได้รักษาหรือกินยาอะไรเลย เป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก! หรือเป็นเพราะบุญฤทธิ์บารมีที่เคยสร้างสมมาแต่อดีต ครั้นต่อมา เพื่อนสามเณร ชักชวนให้ไปเรียนนักธรรมด้วยกันที่วัดโนนใหญ่ ต. ดอนใหญ่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ( ปัจจุบันคือ อำเภอวังหิน ) โดยมีท่านพระครูนิวาสวัฒนาการ เป็นเจ้าอาวาส( มรณภาพเมือ พ.ศ.๒๕๐๒ ) ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมชั้นตรี ออกพรรษาถึงวันสอบนักธรรมพร้อมด้วยพระและเณรจากสำนักเรียนวัดบ้านโนนใหญ่ จำนวน ๔๗ รูป ได้เข้าสอบธรรมสนามหลวงที่สนามสอบวัดมหาพุทธาราม ผลการสอบปรากฏว่าสำนักเรียนวัดบ้านโนนใหญ่พระและเณรสอบได้เพียง ๒ รูปเท่านั้น คือ พระสิงห์ กับ สามเณรเกลี้ยง ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของท่านพระครูธรรมจินดามหามุนี เจ้าคณะเมืองขุขันธ์ เมื่อสอบนักธรรมชั้นตรีได้แล้ว คิดศึกษาเล่าเรียนในนักธรรมชั้นโท ท่านจึงตัดสินใจกราบลา พระครูนิวาสวัฒนาการ เจ้าอาวาสวัดดอนใหญ่ ไปศึกษาต่อในระดับชั้นโทที่วัดบ้านปลัดปุก ต.ปราสาท อ. เมือง จ. บุรีรัมย์ อยู่จำวัดนี้ได้หนึ่งพรรษา พอพรรษาเข้าสอบธรรมสนามหลวง ผลปรากฏว่าสอบได้นักธรรมชั้นโท ตามที่ตั้งใจนับเป็นโอกาสที่ดีที่สามเณรเกลี้ยงได้พบกับ พระครูบุญเรือง เขมโชโต พระป่าสายวิปัสสนากรรมฐานพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ขอฝากตัวเป็นศิษย์ติดตามไปจาริกธุดงควัตรตามเทือกเขาพนมดงรักอยู่นานถึง ๒ ปี สามเณรเกลี้ยงกลับจากธุดงค์แล้ว คิดอยากเรียนต่อนักธรรมชั้นเอก จึงเดินทางกลับจังหวัดศรีสะเกษ เข้ากราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์พระครูธรรมจินดา เจ้าสำนักวัดมหาพุทธาราม ในขณะที่ศึกษานักธรรมอยู่นั้น ได้ศึกษาพระคาถาจักราวุธองค์การพระเจ้า ๕ พระองค์ หลวงปู่เกลี้ยงได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมและหลักการปฏิบัติทั้งหมดจากพระครูธรรมจินดามากกว่าคณาจารย์รูปอื่น “บ่มีไผฆ่ามึงได้ อาวุธพุ่งมาคือห่าฝนกะสิบ่โดนโตมึง กูฝากแล้ว ไปทหารกลับมาค่อยมาเรียนวิชากับกู ”คำกล่าวของหลวงปู่พระครูธรรมจินดา ในวันที่หลวงปู่เกลี้ยงสึกจากสามเณร แล้วเข้าประจำการเป็นทหารไปรบในสงคราม ประจำการที่จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนจะออกเดินทางไปได้ไปกราบขอพร ท่านพระครูธรรมจินดามหามุนีได้รับวัตถุมงคลและพระคาถาเก้าดีสิบดีใช้ภาวนาป้องกันภัย ในขณะนั้นเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ถูกคำสั่งให้เป็น ผบ. ไปปฏิบัติในแนวชายแดนเขมร-ลาว-เวียดนาม แนวต่อลำน้ำโขงเป็นเวลา ๒ ปี ๗ เดือน สงครามสงบแล้ว ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสมียนสัสดีอำเภอ ที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ปฏิบัติหน้าที่ได้ประมาณ ๒ ปี ๓ เดือน เมื่อมารดาได้เสียชีวิต จึงลาออกจากราชการทหารกลับมาอยู่กับน้องสาวที่บ้านโนนแกด ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ทำสวน เจริญรอยตามบิดา มารดา
นายเกลี้ยงเป็นผู้นำของสังคม มีความรู้ความสามารถในทุกๆด้านได้ใช้ความช่วยเหลือชาวบ้าน จนเป็นที่ยอมรับของชุมชน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ทำหน้าที่ตุลาการ(พ่อใหญ่หรือโต่)ชาวบ้านที่มีความเดือดเหนือร้อนทุกข์ใจ เจ็บไข้ได้ป่วย หรือทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องไม่เป็นธรรม ท่านจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยด้วยความเป็นกลางยุติธรรม
***วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๐.๔๕ น. นายเกลี้ยงในวัย ๖๗ ปี กลับมาอุปสมบทใหม่อีกครั้ง ในการบวชครั้งนี้ท่านมีความตั้งใจถวายอก (อุรํ ทตฺวา) หมายถึง ไม่สึก อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ไปตลอดชีวิต พิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบ้านแทง ต.ชำ อ.เมือง จ. ศรีสะเกษ โดยมี พระเดชพระคุณพระเกษศิลาจารย์ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูมงคลกิจประสาทน์ และ พระสมุห์บุญทัน สนฺตจิตฺโต(สมณศักดิ์ในขณะนั้นต่อมาเลื่อนขั้นเป็นพระราชกิตติรังษี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ )เป็นพระอนุวนาจารย์ ไดรับสมณฉายาว่า เตชธมฺโม ภิกฺขุ ครั้นอุปสมบทแล้วกลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดโนนแกด จนถึงปัจจุบัน
***การศึกษาวิทยาคม ครูบาอาจารย์สายวิชา หลวงปู่เกลี้ยง เป็นพระที่สนใจใฝ่รู้ในการศึกษาแสวงหาวิชาความรู้ทุกแขนงตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณรใครมีวิชาความรู้ดีท่านจะเดินทางไปขอศึกษาถวายตัวเป็นศิษย์ สายวิชาครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดสรรพวิทยาคม ดังนี้
**๑.หลวงพ่ออ้วน( พระครูธรรมสาราจารย์ )วัดบ้านทุ่ม ต. ทุ่ม อ. เมือง จ. ศรีสะเกษ
**๒.หลวงพ่อพันธ์ สุวณฺโณ ( พระครูนิวาสวัฒนาการ )วัดบ้านดอนใหญ่ ต. ดอนใหญ่ อ. วังหิน
**๓.พระอาจารย์วัดบ้านปลัดปุก ต.ปราสาท อ. เมือง จ. บุรีรัมย์
**๔.พระครูธรรมจินดามหามุณี (เดช) เจ้าคณะเมืองขุขันธ์ วัดมหาพุทธราราม (วัดพระโต) อ.เมือง จ. ศรีะเกษ หลวงปู่เกลี้ยงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร มาสอบนักธรรมชั้นตรี และก่อนได้ฝึกทหารที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบวัตถุมงคลพร้อมด้วยคาถา ๙ ดี ๑๐ ดี ใช้ภาวนาป้องกันภยันอันตรายในการเข้ารณรงค์สงคราม
**๕. พระครูเกษตรศิลาจารย์ (ทอง จนฺทสาโร) เจ้าคณะแขวงเมืองศรีสะเกษ
**๖. หลวงพ่อมุม อินฺทปญโญ (พระครูประสาธขันธคุณ) วัดปราสาทเยอเหนือ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ (มีศักดิ์เป็นลุงของหลวงปู่เกลี้ยง) พระมหาเถระรูปนี้เป็นบุคคลสำคัญที่มีคณูปการต่อชาวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นอย่างมาก หลวงพ่อมุม สุดยอดพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศ หลวงปู่เกลี้ยงเล่าว่า หลวงพ่อมุม เป็นหลวงลุงรู้จักคุ้นเคยกับโยมบิดามารดาเป็นอย่างดี ได้ไปมาหาสู่เป็นประจำ รู้จักคุ้นเคยกับท่านตั้งแต่เด็ก ในการศึกษาวิชาอาคมและพิธีกรรมต่างๆหากติดขัดหรือไม่เข้าใจประการใด ท่านออกจากบ้านในตอนเช้า เดินลัดเลาะไปตามทุ่งนาเพื่อไปหาหลวงปู่มุมที่วัดปราสาทเยอเหนือ จวบเวลาถึงวัดกินข้าวหลังพระฉันเพลพอดี (บ้านปราสาทเยอเหนืออยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านโนนแกด ระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร) ถือว่าเป็นลูกศิษย์ผู้สืบทอดวิทยาคมจากหลวงปู่มุมโดยแท้ อักขระเลขยันต์ที่ใช้เป็นอักขระตัวธรรมเหมือนหลวงพ่อมุม ท่านบอกว่าหลวงพ่อมุมให้ใช้ตัวธรรมเช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกปี ๒๕๑๙ ซึ่งหลวงปู่มุมเขียนให้นำมาจารึกในเหรียญรุ่นแรกของท่านอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิชาจากหลวงปู่มุม นำมาส่งเคราะห์ญาติโยม
**๗. หลวงพ่อสอน วัดบ้านเปือย ต.พหรมสวัสดิ์ อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ ชาวบ้านคล้อ
**๘. ท่านเจ้าคุณเกษตรศิลาจารย์ ลงอักขระตัวธรรมพระคาถา ๘ ดี๑๐ดี เป็นคาถาเดียวกันที่หลวงปู่เกลี้ยงเรียนมาจากพระครูจินดามหามุนี (เดช)
**๙. พระอาจารย์บุญเรือง เขมโชโต เป็นพระธุดงค์กรรมฐาน เขาพริก อ.สีคิ้ว ฯลฯ
**บรรดาครูบาอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาอาคมให้หลวงปู่เกลี้ยง ล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในภาคอีสาน แสดงถึงท่านได้ ” ครูดี ศิษย์ดัง ” ได้นำวิชาความรู้เหล่านั้นมาสงเคราะห์ญาติโยมพัฒนาคน เพิ่มบุญเพิ่มบารมี ด้วยหัวใจของนักปฏิบัตินักพัฒนา ได้พัฒนาวัดทุกรูปแบบ ช่วยเหลือวัด โรงเรียน อนามัย สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลา กุฏิสงฆ์ สร้างถนนหนทาง แม้แต่ชาวบ้านยากจนเจ็บป่วย ช่วยสงเคราะห์รักษา เป็นผู้ควรแก่การยกย่องเชิดชูบูชาอย่างสูง
*****สมณศักดิ์ หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม เป็นพระเถระที่เจริญด้วยพรรษายุกาลอาวุโสสูงสุดในภาคอีสาน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตั่งมั่นในกรอบวินัย เป็นที่ศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย สร้างคุณประโยชน์ทั้งในส่วนพระพุทธศาสนาและชุมชนชาวบ้านมากกว่าจะนับได้และได้รับการเชิดชูคุณธรรมในโอกาสต่างๆดังนี้
**พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูปลัด ฐานานุกรมในพระเทพมุนี ( เสน ปญฺญาวชิโร )เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ วัดมหาพุทธาราม
**พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับราชทานตั้งแต่สมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ในราชทินนามที่” พระครูโกวิทพัฒโนดม ”เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ เข้ารับสัญญาบัตรพัดยศจาก เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ณ วัดมหาวนาราม อ. เมือง จ. อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๕
**พ.ศ.๒๕๔๘ ได้รับเลื่อนพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสังฆาธิการเป็น พระครูสัญญาบัตรพัดยศ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นราชทินนามเดิม เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ เข้ารับราชทานโปรดเกล้าฯ จากสมเด็จพุฒาจารย์( เกี่ยว อุปโณมหาเถระ ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าคณะใหญ่ตะวันออก ที่วัดศาลาลอย อ. เมือง จ. สุรินทร์เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ ชั้นพระสังฆาธิการเป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอกในพระราชทินนามเดิม เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ โดยพระเดชพระคุณพระรรมปริยัติโสภณ( สมณศักดิ์ในขณะนั้น ต่อมาเลื่อนชั้นที่พระพรหมกวี ) เจ้าคณะภาค ๑๐ อัญเชิญมามอบถวายที่วัดโนนแกด เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๓
*****ขอขอบคุณข้อมูลจากสายตรงทุกท่านครับ

*****เรียนเชิญชมพระอื่น ๆ ได้ที่ http://www.web-pra.com/Shop/vaivit

*****ไววิทย์ถิ่นหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน ที่อยู่ ๑๔๘ หมู่ที่ ๑๑ บ้านจาน ตำบลจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ๓ ๓ ๑ ๓ ๐
โทร ๐๘๕ ๗๗๗ ๕๗๗๑

ชื่อธนาคาร : กรุงไทย
สาขา : บิ๊กซีศรีสะเกษ
เลขบัญชี : 980-4-13154-4
ชื่อบัญชี : ไววิทย์ กงแก้ว
ประเภท : ออมทรัพย์

ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลส. - 21 ธ.ค. 2556 - 18:35.59
วันปิดประมูล อา. - 22 ธ.ค. 2556 - 18:50.39 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
เบอร์ติดต่อ 0857775771 , 0897175877
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ส. - 21 ธ.ค. 2556 - 18:50.39
300 บาท อา. - 22 ธ.ค. 2556 - 16:23.08
400 บาท อา. - 22 ธ.ค. 2556 - 18:01.11
500 บาท (auto) อา. - 22 ธ.ค. 2556 - 18:01.11
600 บาท อา. - 22 ธ.ค. 2556 - 18:01.15
กำลังโหลด...
Top