ประมูล หมวด:เครื่องรางของขลัง
พ่องั่ง เศียรแหลม มหาเสน่ห์
ชื่อพระเครื่อง | พ่องั่ง เศียรแหลม มหาเสน่ห์ |
---|---|
รายละเอียด | พ่องั่ง เศียรแหลม มหาเสน่ห์ ของจริงที่พิสูจน์ความเข้มขลังได้ ของจริงต้องหล่อและอุดดินจนถึงพระเศียร โปรดระวังของปลอมให้มากๆ สำหรับพ่องั่ง องค์นี้เป็น 1 ใน 3 องค์ ที่ผมได้มาจากข้าราชการที่ประจำในเขตสามจังหวัดชายแดน ปัจจุบันปลดประจำการแล้ว เรียกว่าผ่านสมรภูมิมาอย่างโชกโชน เป็นพระคู่กายนักรบโบราณ นิยมพกตัวยามศึกสงคราม บางครั้งเรียกพระชัย ดินอุดฐานอัดแน่นมากๆ ใช้ดีมีคุณ ไม่มีโทษ ถ้าจะนับอายุคงได้หลายร้อยปีขอรับ พุทธานุภาพที่เลื่องลือมานานไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องเสน่ห์ ได้รับความเอ็นดูแก่ผู้พบเห็นกับผู้ที่พกพาและด้านคงกะพันที่มีเมื่อยามขับ ขัน จึงเป็นที่นิยมเล่นหากันจนทุกวันนี้ครับ*** ในวงการพระเครื่องบ้านเรามีของแปลกประหลาดพิสดารพันลึกมากมาย ต้องค่อยๆ พิจารณาหาข้อมูลแล้วก็แลกเปลี่ยนความรู้กัน ตัวอย่างเช่น คนทั่วไปมักจะเคยเห็นพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ทำจากสำริดบ้าง ทองเหลืองบ้าง นั่งปางสมาธิบนฐานสูงหน่อย จุดที่น่าสังเกตคือพระเศียรส่วนที่เป็นพระเกศโมฬีจะแหลมมากกว่าพระพุทธรูป ประเภทอื่น ไม่ปรากฏผ้าสังฆาฏิพาดให้เห็น คนทั่วไปเรียกท่านว่า "พระงั่ง" หลายๆ คนคงสงสัยว่าทำไมใช้คำว่า "งั่ง" อันมีความหมายที่ทุกคนรู้ดีว่าเหมือนกับซื่อบื้อ งี่เง่า อะไรทำนองนี้ ในความจริง คำว่า "งั่ง" มีอีกหลายความหมาย เช่น อาจหมายถึงโลหะประเภททองเหลืองหรือทองแดงที่มีความแข็ง เคยได้ยินคนเก่าคนแก่เรียกแหวนทองเหลืองว่า แหวนงั่ง ก็มี นอกจากนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ยังเคยทรงมีพระอรรถาธิบายใน "สาส์นสมเด็จ" ว่าหมายถึงทองแดง เป็นอันได้ข้อสรุปข้อหนึ่งว่าคงจะเป็นคำที่ใช้เรียกโลหะคำหนึ่งในสมัยโบราณ และถ้าไปตามสืบความหมายในพจนานุกรมบางฉบับ มีการให้ความหมายคำว่า "งั่ง" ไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปทำจากเนื้อโลหะ ไม่มีผ้าสังฆาฏิพาด และมีการให้ความหมายว่า เป็นพระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทำพิธีเบิกเนตร (ปลุกเสกให้เป็นพระพุทธรูป) หากจะกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ผมเห็นว่าควรจะแยกสิ่งที่เรียกว่า "พระงั่ง" ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แบบที่ 1 งั่งในลักษณะพระพุทธรูปขนาดเล็ก เศียรแหลม ตรงที่คนโบราณพกออกศึกและนำกลับมาบูชาเรียกกันติดปากว่า "พระชัย" หมายถึงพระที่มีชัยชนะ และพุทธลักษณะที่ปรากฏจะเป็นศิลปะอยุธยา ที่มีศึกสงครามบ่อยครั้ง ไม่สู้จะงดงามนัก ฝีมือจะเป็นช่างชาวบ้าน รวมทั้งวิธีการเทหล่อก็จะง่ายๆ ไม่พิถีพิถัน แบบที่ 2 งั่งจะอยู่ในลักษณะเครื่องรางของขลังที่แพร่หลายในแถบเขมรตั้งแต่ยุคหลัง Post Angkor คือหลังสมัยเขมรเมืองพระนครเป็นต้นมา ศิลปะของสมัยนี้จะมีอิทธิพลจากชาติต่างๆ เช่น อยุธยา เวียดนาม ลาว เข้าไปปะปนอยู่เราเรียก ศิลปะแบบศรีสันธอร์ ปรากฏว่า "งั่ง" ของเขมรนี่เองมีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์ บางทีทำเป็นรูปผู้ชายนั่งอ้าขา บ้างทำคล้ายพระพุทธรูป นั่งบนฐานบัวฟันปลา หรือฐานเขียง ไม่มีผ้าพาดบ่า ที่สำคัญทำปลายเศียรแหลมเอียงบ้าง ทำเป็นเศียรโล้นบ้าง บางทีพบทำดวงตากลมใหญ่สีแดงนักเลงพระเรียก "ไอ้งั่งตาแดง" "งั่ง" ในลักษณะเครื่องรางของขลังไม่ได้มีเฉพาะในเขมร หากแต่พบได้ในแถบหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ก่อนจะแพร่หลายเข้ามาทางแถบภาคอีสานของไทยด้วย ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญถึงความเข้มข้นของกฤติยาคมในเรื่องอิตถีเพศ เรียกหาสตรีให้ลุ่มหลง เรื่อยไปถึงกระ บวนการดูแลให้คงความเข้มขลังจะต้องไว้ในที่ต่ำ เลยไปจนถึงการสังเวยด้วยเลือดประจำเดือนของหญิงสาว เป็นต้น จริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะกี่งั่งก็จะยืนอยู่บนเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า มีชายหนุ่มคนหนึ่งอกหักรักคุดไม่มีผู้หญิงเหลียวแล จนต้องหันหน้าเข้าหาร่มกาสาวพัสตร์ แต่ขณะที่ทำพิธีอุปสมบทอยู่นั้น หญิงคนรักเกิดเปลี่ยนใจหวนกลับมาขอคืนดี จนไอ้หนุ่มเปลี่ยนใจไม่บวชเรียน แต่ก็น่าแปลกว่าหลังจากนั้นมีสาวแก่แม่ม่ายมาลุ่มหลงรักใคร่มิได้ขาด คนโบราณอาจจะด่าเอาว่า "ไอ้งั่ง" ก็เป็นไปได้ เนื่องจากแทนที่จะบวชเรียนใฝ่หาทางธรรมกับหลงไปกับรูป รส อันเป็นกามตัณหา แต่ผู้ขมังเวทชาวเขมรกับเอาเคล็ดดังกล่าวมาจัดสร้างวัตถุอาถรรพ์และแพร่หลาย ไปทั่ว ดังนั้น รูปลักษณะที่ยังไม่ผ่านการเบิกเนตร (ตายังปิดด้วยอบาย) หรือการไม่ได้ครองผ้าสังฆาฏิ จึงเป็นการแสดงเงื่อนงำของตำนานดังกล่าวอีกทางหนึ่ง ส่วน "พระชัย" ที่กล่าวถึงนั้น ดันมีลักษณะไปใกล้เคียงกับ "ไอ้งั่ง" เข้า บวกกับคำว่า "งั่ง" ยังมีความหมายถึงโลหะประเภททองเหลือง ทองแดง เวลานานไปคนเลยเรียกพระชนิดนี้ว่า "พระงั่ง" ไปด้วย ซึ่งความจริงมีข้อสังเกต คือ พระเกศโมฬีท่านมักจะไม่เอียง และจะไม่ลงอักขระเลขยันต์ ฐานจะเป็นฐานเขียงเรียบไม่ใช่ฐานบัวฟันปลา รวมทั้งศิลปะจะเป็นอยุธยา ไม่ค่อยจะออกลักษณะพิสดารพันลึกเหมือนงั่งของเขมรและลาว *** ********* รับประกันความแท้ 100 % ********* "พระที่ท่านเช่าบูชาไปจากร้าน 11 ธันวา รับประกันพระแท้ตลอดชีพ หากเก๊ทางร้านยินดีคืนเงินเต็มทุกกรณี แต่พระต้องอยู่ในสภาพเดิมที่ออกจากร้านเท่านั้น ขอบคุณที่ใช้บริการ V-Amulet" อย่าลืมคลิก พระเครื่องทั้งหมดของทางร้าน 11 ธันวา นะครับ อาจมีพระที่คุณสนใจอยากได้ครับ ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาดูครับ http://www.web-pra.com/Shop/V-Amulet 11 ธันวา เจ้าของร้าน ปฐวีคงคา โทร.087-0257282 vvvrapong99@hotmail.com |
ราคาเปิดประมูล | 2,500 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 2,600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | ศ. - 13 ธ.ค. 2556 - 13:13.48 |
วันปิดประมูล | ส. - 28 ธ.ค. 2556 - 21:18.53 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
2,600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | ศ. - 27 ธ.ค. 2556 - 21:18.53 |
กำลังโหลด...