ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520
เหรียญกลมหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ปี 2506
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญกลมหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ ปี 2506 |
---|---|
รายละเอียด | ชีวประวัติ พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ย พุทธรักขิตฺโต วัดดอนไร่ ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี พระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์ผู้มีอายุยืนยาว ๕ แผ่นดิน วัดดอนไร่ วัดดอนไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ในปี พ.ศ.2456 ภายใต้การนำของท่านผู้ใหญ่ยาและนางบู่ ต้นตระกูล ยาสุขแสง ได้นำชาวบ้านหักร้างถางดงบนที่ดอนแห่งหนึ่งในหมู่บ้านหนองตม อันเป็นไร่เก่าของนายสี นางพูน และนายแก้ว นางหมอน แล้วสร้างเป็นวัดขึ้นตรงไร่ดังกล่าวเรียกว่า วัดดอนไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้านหนองตม วัดดอนไร่เป็นวัดที่ใหญ่โตอีกวัดหนึ่งในปัจจุบัน ด้วยได้รับความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาของบรรดาพุทธศาสนิกชนและเจ้าอาวาสของวัดทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน และ หากกล่าวถึงวัดดอนไร่แล้วบุคคลส่วนใหญ่จะต้องนึกถึงพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือหลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนไร่ และเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วประเทศไทย วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ต่างก็ได้รับความนิยม เป็นที่ต้องการของบุคคลทั้งหลาย หลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ พระ คณาจารย์ยุคกึ่งพุทธกาลที่เกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัด สุพรรณบุรีอีกรูปหนึ่ง ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นได้รับความนิยมกันมาก เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2431 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ณ.บ้านดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของพ่อเหมือน แม่ชัง มีศรีไชย มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน คือ 1. นางน้ำอ้อย จันทร์สุวรรณ 2. นางน้ำตาล จีนสุกแสง 3. นายช่อง มีศรีไชย 4. นายเชื่อม มีศรีไชย (หลวงพ่อมุ่ย พุทฺรักฺขิโต) 5. นางสาคู มีศรีไชย วัยเด็ก เนื่องด้วยครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา ในวัยเด็กของท่านจึงมีชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป โดยช่วยเหลือครอบครัวในการเลี้ยงควาย เป็นต้น วัยหนุ่ม เมื่อวัยหนุ่มท่านได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร ผลว่าท่านถูกเกณฑ์เป็นทหารและทางอำเภอได้ส่งตัวท่านไปยังจังหวัด แต่ท่านก็ต้องถูกส่งตัวกลับมาด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ สรุปคือท่านไม่ได้เป็นทหารแน่นอน อุปสมบท ภายหลังจากการเกณฑ์ทหารเรียบร้อยแล้ว ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทตามธรรมเนียมประเพณีของคนไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ณ. พัทธสีมาวัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี พระครูศีลกิติ ( หลวงพ่อกฤษณ์ ) วัดท่าช้าง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอนุสาวนาจารย์ไม่ทราบชื่อ ในช่วงนี้ท่านได้เข้ารับการศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆจากพระอาจารย์ต่างๆอยู่พอสมควร ท่านอุปสมบทได้ประมาณ10กว่า พรรษา ท่านก็ได้ลาสิกขาบท เพื่อมาช่วยบิดามารดาซึ่งชราทำไร่นา ในช่วงนี้ท่านได้เกิดล้มป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ยากจะดูแลรักษาให้หายได้ ท่านจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ว่า หากหายจากอาการเจ็บป่วย จะฝากกายถวายชีวิตในพระพุทธศาสนาตลอดไป เป็น ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักต่อมาอาการเจ็บป่วยของท่านก็ได้หายไป และช่วงนี้ท่านก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก เชื่อม มาเป็น มุ่ย สรุปแล้วท่านลาสิกขาบทมาได้ไม่กี่เดือนก็อุปสมบทใหม่เป็นครั้งที่สอง ท่านได้อุปสมบทเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2465 เวลา 15.30 น. ณ. พัทธสีมาวัดตะค่า(วัดดอนบุบผารามในปัจจุบัน) ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี พระครูธรรมสารรักษา (หลวงปู่อ้น) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทวน วัดบ้านกร่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์กุล วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับชื่อทางพระพุทธศาสนาจากพระอุปัชฌาย์ว่า พุทฺธรักฺขิโต ครูบาอาจารย์ เนื่อง ด้วยหลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้คงแก่เรียน หมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอๆ จึงทำให้ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง การเรียนรู้ในศาสตร์หลายแขนงของท่าน ได้พากเพียรเรียนรู้มาตั้งแต่การอุปสมบทครั้งแรก เมื่อกลับมาอุปสมบทอีกครั้งด้วยพื้นฐานที่รอบรู้อยู่แล้วและศึกษาเพิ่มเติม อยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ท่านรอบรู้และแตกฉานยิ่งขึ้น ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อมุ่ยไปศึกษามานั้นมีอยู่มากมายเกิน10ท่านขึ้นไปแต่ก็ สืบเสาะได้ยากยิ่งเนื่องจากหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง แต่เท่าที่สืบค้นได้ก็มีดังนี้ 1. พระครูธรรมสารรักษา หรือ หลวงปู่อ้น วัดดอนบุบผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี หลวงปู่ อ้นท่านเป็นพระอาจารย์ยุคเดียวกันกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านมีอายุน้อยกว่าหลวงพ่อเนียม 9 ปี |
ราคาเปิดประมูล | 2,500 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 5,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | จ. - 11 เม.ย. 2554 - 10:48.34 |
วันปิดประมูล | พ. - 13 เม.ย. 2554 - 17:39.18 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
4,500 บาท | อ. - 12 เม.ย. 2554 - 17:38.18 | |
5,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อ. - 12 เม.ย. 2554 - 17:39.18 |
กำลังโหลด...