ประมูล หมวด:พระเกจิภาคเหนือ
พระครูสุพรหมยานเถร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
ชื่อพระเครื่อง | พระครูสุพรหมยานเถร วัดพระพุทธบาทตากผ้า |
---|---|
รายละเอียด | ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย ครูบามีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร ถือกำเนิดเมื่อวันอังคารที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ (เดือน ๑๒ เหนือ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๔๑) ณ บ้านป่าแพ่ง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน (ป่าซางปัจจุบัน) เป็นบุตรของคุณพ่อเป็ง และคุณแม่บัวถา มีพี่น้องร่วมกัน ๑๓ คน โดยท่านเป็นคนที่ ๗ โดยพี่น้องของครูบาต่อมาได้บวชเป็นพระตลอดชีวิตจำนวน ๓ ท่าน ได้แก่ พี่ชายคนที่ ๖ ของท่านคือ พระสุธรรมยานเถร (ครูบาอินทรจักรรักษา) และ น้องชายคนที่ ๘ คือ พระครูสุนทรคัมภีรญาณ (ครูบาคัมภีระ วัดดอยน้อย) บิดามารดาเป็นผู้มีฐานะพอมีอันจะกิน มีอาชีพทำนา ทำสวน ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่มีการยิงนกตกปลา ไม่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ และไม่มีการเลี้ยงหมูขาย มีความขยันถี่ถ้วนในการงาน ปกครองลูกหลานโดยยุติธรรม ไม่มีอคติ หนักแน่นในการกุศล ไปนอนวัดรักษาศีลอุโบสถเป็นประจำทุกวันพระ บิดาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ถึงแก่กรรมในสมณเพศเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ อายุ ๙๐ ส่วนมารดาของท่านได้นุ่งขาวรักษาอุโบสถศีลทุกวันพระตลอดอายุได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ อายุ ๗๐ เมื่อเด็กชายพรหมาวัยพอสมควรได้ช่วยพ่อแม่ทำงาน งานประจำคือตักน้ำ ตำข้าว ปัดกวาดทำความสะอาดบ้านเรือนเป็นการตอบแทนบุญคุณของบิดามารดาเท่าที่พอจะทำได้ตามวิสัยของเด็ก ครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียนแล้วได้สึกออกไป เพราะสมัยนั้นตามชนบทยังไม่มีโรงเรียนสอนกันอย่างปัจจุบันแม้แต่กระดาษจะเขียนก็หายาก ผู้สอนคือพี่ชายก็มีงานมาก ไม่ค่อยได้อยู่สอนเป็นประจำ จึงเป็นการยากแก่การเล่าเรียน อาศัยความตั้งใจและความอดทนเป็นกำลังจึงพออ่านออกเขียนได้ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครูบาได้ขอบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอปากบ่วง (ป่าซางในปัจจุบัน) จ.ลำพูน โดยมีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่ออายุครบบวช จึงได้ทำการอุปสมบท ณ วัดป่าเหียง เมื่อวันที่ ๑๖ ม.ค. ๒๔๖๑ เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า"พรหมจักโก" ซึ่งท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน และได้สอบผ่านนักธรรมในปี พ.ศ.๒๔๖๒ ลุถึงอายุ ๒๔ พรรษาที่ ๔ วันอังคารที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ เดือนเพ็ญ ๘ (เดือน ๑๐ทางหนือ) ซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา ครูบาพรหมาได้ตัดสนใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ โยมพ่อ โยมแม่ พร้อมทั้งญาติพี่น้องเพื่อออกไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม เมื่อเดินทางออกจากวัด ท่านได้มุ่งตรงสู่ดอยน้อย ซึ่งตั้งอยู่ฝากแม่น้ำปิง เขต อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีสามเณรอุ่นเรือน (ต่อมาเป็นพระอธิการอุ่นเรือน โพธิโก วัดบ้านหวาย) ติดตามไปด้วย วันต่อมาก็มีท่านพระครูพิทักษ์พลธรรม (ครูบาหวัน วัดป่าเหียง) ได้กรุณาติดตามไปอีกท่าหนึ่ง โดยได้พักจำพรรษาอยู่ในศาลาเก่าคนละหลัง บำเพ็ญสมณธรรมได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่อยู่แถวนั้นเป็นอย่างดี พอออกพรรษาท่านครูบาพร้อมคณะที่ติดตามได้พากันเดินทางกลับมาคาราวะพระอุปัชฌาย์ พักอยู่ ๓ คืนก็ได้กราบลาท่านพระอุปัชฌาย์เพื่อเดินทางสู่ป่า พอได้เวลาประมาณตี ๓ ก็ถือเอาบาตร จีวรกับหนังสือ ๒-๓ เล่ม พร้อมทั้งกาน้ำและผ้ากรองน้ำและออกเดินทางเข้าสู่ป่า เพื่อแสวงหา ความสงบ บำเพ็ญสมณธรรมให้เต็มความสามารถน้อมจิตไปในทางปฏิบัติ ครูบาท่านออกธุดงค์ ไปตามป่าเขาเกือบทุกจังหวัดในภาคเหนือ เดินทางเข้าไปเขตพม่าและจำพรรษาอยู่ในเขตพม่าเป็นเวลานาน ๕ ปี หรือตามหมู่บ้านกระเหรี่ยงชาวเขา จนท่านครูบาสามารถพูดภาษากระเหรี่ยงได้เป็นอย่างดี เมื่อคราวจำพรรษาอยู่ในที่ต่างๆ ท่านถือธุดงค์วัตร อยู่ป่าเป็นวัตร ออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตร ฉันภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ภายหลังจากที่ท่านครูบาพรหมาได้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่า ตามนิคมต่างๆ หลายแห่งเป็นเวลา ๒๐ พรรษา ท่านได้ต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคได้รับความสุข ความทุกข์ ความลำบาก บางครั้งไม่ได้ฉันท์ภัตตาหาร ๑-๒ วัน ท่านเพียรพยายามอดทนด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดที่สุด หลังจากที่ท่านได้เดินธุดงค์ไปตามป่าและตามนิคมหลายที่หลายแห่งเป็นเวลานานหลายสิบปี ได้รับความสุข ความทุกข์ทรมาน ได้ผ่านประสบการณ์มามากต่อมากแล้ว ท่านก็ได้มาพักอยู่วัดป่าหนองเจดีย์ ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตามคำนิมนต์ของครูบาอาจารย์ญาติโยม ได้มาประจำอยู่ที่นั้น ๔ พรรษา หลังจากนั้นก็ได้ย้ายมาอยู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า อันเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นวัดร้างมาตั้งพันกว่าปีได้ อยู่ได้พรรษาเดียวก็ได้ย้ายไปอยู่ป่าม่อนมะหิน ประจำอยู่ที่นั่น ๒ พรรษาแล้วได้ย้ายไปอยู่วัดป่าหนองเจดีย์อีก ๒ พรรษา พ.ศ.๒๔๙๑ ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ท่านจะชราภาพและได้จำพรรษาในวัดเป็นประจำแล้ว แต่ท่านยังถือธุดงค์ศรัทธาเป็นประจำ ในฤดูแล้งปีไหนมีโอกาส ท่านก็อุตส่าห์พาภิกษุสามเณรไปเดินธุดงค์อยู่ตามป่าหรือป่าช้าเป็นครั้งคราว เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ทราบปฏิปทาในการเดินธุดงค์ แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ยังวัด ท่านพร่ำสอนลูกศิษย์ลูกหาให้อยู่ในศีลธรรม จัดตั้งสำนักโรงเรียนพระปริยัติ นักธรรมบาลี จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน พัฒนาวัดพระพุทธบาทตากผ้าให้เจริญรุ่งเรืองจนได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพระภิกษุสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ศรัทธาประชาชนทุกเพศทุกวัยทั้งในประเทศ และนานาประเทศ พระครูบาเจ้าพรหมา พรหมจักโก ทรงไว้ซึ่งคุณแห่งพระสุปฏิปันโน พระอริยสงฆ์ ผู้มีความบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิงมีจริยาวัตรอันงดงาม มีวัตรปฏิบัติเคร่งครัด มีปฏิปทาอันอุดมและมั่นคง บำเพ็ญสมณธรรมอยู่เนืองนิจ คือผู้นำประโยชน์ความสุข ความสงบให้เกิดแก่หมู่คณะ ทรงไว้คือสังฆรัตนะคุณควรบูชาสักการะแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย มรณภาพ :- ครูบาเจ้าพรหมจักรได้บำเพ็ญสมณธรรมจนเข้าสู่วัยชราภาพ สังขารของท่านชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา อาการเจ็บไข้ได้ป่วยจึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ท่านครูบาเจ้าได้เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ก่อนที่ท่านครูบาท่านจะละสังขาร ท่านครูบาได้ตื่นจากจำวัด แต่เช้าปฏิบัติธรรมตามกิจวัตร เมื่อถึงเวลาท่านลุกนั่งสมาธิ สำรวมจิตตั้งมั่นสงบระงับ ครูบาเจ้าพรหมจักรได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภานา เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ เวลา ๐๖.๐๐ น.อายุ ๘๗ ปี ๖๗ พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา ๓ ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมจักรด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมจักรได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี ธรรมโอวาท ๑. คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก คนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ ๒. "ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้ท่านทั้งหลายจงเก็บกำข้อธรรมะไว้ประจำจิตประจำใจ ธรรมะที่ควรตั้งไว้ในจิตในใจนั้น ท่านแสดงไว้ ๔ ประการด้วยกัน ข้อ ๑. ปัญญา ความรอบรู้ ข้อ ๒. สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง ข้อ ๓. จาคะ สละสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ และ ข้อ ๔. อุปปสมะ สงบใจจากสิ่งเป็นข้าศึกแก่ความสงบรวมเป็น ๔ ประการด้วยกัน ท่านทั้งหลาย ธรรมะ ๔ ประการนี้ ท่านเรียกว่า อธิษฐานธรรม คือ ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มี ๔ อย่างตามใจความที่ได้กล่าวมานี้" (((***โอนเงินภายใน7วันหลังปิดประมูล+++การโอนเงินทุกครั้งรวมถึงหากท่านมีปัญหาติดขัดประการใดในการชำระเงินรบกวนโทรแจ้งด้วยนะครับ ก่อนถึงกำหนด7วันผมจะแจ้งไปทางข้อความเพื่อให้ท่านได้รับทราบ เมื่อครบ7วันแล้วไม่มีการติดต่อกลับ ผมจะรออีก3วันจนครบ10วันและหากท่านไม่ได้ติดต่อกลับมาอีก ผมจะถือว่าสละสิทธิ์และขอลงขายใหม่และต้องขอให้คำติในfeedbackเป็นลบครับ***)))+++(((รายการปิดประมูล500บาทขึ้นไปจัดส่งแบบEMSต่ำกว่า500บาทจัดส่งแบบลงทะเบียนครับ))) |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | ศ. - 08 พ.ย. 2556 - 13:42.18 |
วันปิดประมูล | พ. - 27 พ.ย. 2556 - 19:41.09 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
150 บาท | ศ. - 08 พ.ย. 2556 - 18:21.53 | |
200 บาท | จ. - 11 พ.ย. 2556 - 07:07.03 | |
250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อ. - 26 พ.ย. 2556 - 19:41.09 |
กำลังโหลด...