ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานใต้
เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ วัดลำดวน จังหวัดสุรินทร์
ชื่อพระเครื่อง | เหรียญ พระครูวิชิตธรรมคุณ วัดลำดวน จังหวัดสุรินทร์ |
---|---|
รายละเอียด | เหรียญรุ่นแรก พระครูวิชิตธรรมคุณ (ชิต) วัดลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างปี พ.ศ. 2509 พิมพ์ยันต์เล็กเนื้อทองฝาบาตร สภาพพอสวย ณ เวลานี้หายากแล้วเพราะสายตรงเก็บหมด เนื่องจากประสบการณ์ล้วน ๆ ซึ่งสมัยก่อนแถวนั้นยังเป็นชุมชนไกลปืนเที่ยง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในพื้นทีเคารพนับถือท่านมาก เนื่องจากท่านค่อยให้การช่วยเหลือชาวบ้านทุกอย่าง ทั้งการรักษาโรคด้วยสมุนไพรและการขจัดปัดเป่าผีเข้าเจ้าทรงด้วยพุทธาคมที่ท่านเชี่ยวชาญชนิดหาตัวจับยาก แต่ท่านชอบอยู่เงียบ ๆ เกียรติคุณจึงไม่ค่อยแพร่หลาย เรื่องพุทธคุณครอบจักรวาลไม่ต้องโม้ให้เสียเวลาจ้า สำหรับท่านที่กำลังมองหาวัตถุมงคลดีราคาย่อมเยา เรามีวัตถุมงคลหลายรายการไว้บริการท่าน ตามลิงค์นี้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/silalad ประวัติพระครูวิชิตธรรมคุณ พระครูวิชิตธรรมคุณ เกิดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค 2434 ตรงกับวันพฤหัสบดีขึ้น 10 ค่ำเดีอนอ้าย ปีมะโรง ณ หมู่ 1 ต.บึง อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระครูวิชิต เป็นบุตรคนสุดท้องนามเดิม ชื่อว่า ชิต สายยศ บิดาชื่อ เทิง มารดาชื่ออิฐ สายยศ มีพีชายชื่อ เป็น ต่อมาเมื่อท่าน อายุได้ 13 ขวบ มารดาก็ได้สิ้นบุญ ต่อมาบิดา ได้พาหลวงปู่กับพีชายอพยพออกจากบ้านเกิดมาตั้งหลักปักอาชิพที่บ้านลำดวน อีกไม่นานบิดาได้แต่งงานไหม่ ชึ่งเป็นหม้ายลูกติด 4 คน ชื่อนางดาแล้วอพยพจากบ้านลำดวนไปอยู่บ้านศรีภูมิพร้อมกับแม่เลี้ยงตลอดเวลาที่หลวงปู่ดำรงชีวิตอยู่กับแม่เลี้ยงนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ไม่ค่อยจะราบรึ่นและมีความสุขเท่าที่ควรนักหลวงปู่เป็นคนชอบสันโดษเงียบขรึมดังนั้น จึงถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งต่างๆนาๆด้วยเหตุนี้เองหลวงปู่จึงได้ออกจาก บ้านศรีภูมิมาอาศัยเป็นลูกศิษย์วัดบ้านลำดวนกับหลวงปู่แสงโดยบิดานำมาฝากในระหว่างนั้นหลวงปู่แสงเป็นเจ้าอาวาสวัดลำดวนหลวงปู่แสงได้อุปการะเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนหลวงปู่เป็นอย่างดี ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนด้วยความขยันหมั่นเพียรเป็นศิษย์ที่ดีของหลวงปู่แสง ต่อมาเมื่อมีอายุครบ 15 ปี ได้บวชเป็นสามเณรแล้วได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยต่างๆตลอดจนศึกษาภาษาขอมจนสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี ต่อมาในวันอังคารที่ 13 พ.ค.ขึ้น15ค่ำปีชวด พ.ศ.2455 จึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบ้านเพี้ยราม หมู่1 ต. เพี้ยราม อ. เมือง จ. สุรินทร์ โดยได้รับเมตตาจากคุณพ่อตัน แม่ล้วน พะนิรัมย์ เป็นเจ้าภาพให้ มีพระอาจารย์มอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์โล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์แสง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่าพุทธสาโร และมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านลำดวนโดยตลอดมา การศึกษา ในเบื้องต้นแห่งการอุปสมบท เนื่องจากหลวงปู่มีพื้นฐานในการศึกษาพระธรรมคัมภีร์ และภาษาขอมมาก่อนในคราวเป็นเณร ดังนั้นจึงได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ตามแบบมูลศึกษาเดิมที่มีอยู่ในสำนักของพระอาจารย์แสง และในเวลาต่อมาหลวงปู่ได้จารึกอักษรขอม ไว้ในพระพุทธศาสนาหลายพระคุมภีร์ จะเห็นได้ว่าหลวงปู่มีความขยันหมั่นเพียรต่อการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมากจึงเป็นตัวอย่างที่ดีและสมควรอย่างยิ่งที่ศิษยานุศิษย์สมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีนี้ไว้ในการศึกษาหาความรู้สืบต่อไปหลวงปู่สำเร็จสมณศักดิ์ฝ่ายสงฆ์โดยเป็นผู้บริสุทธิ์ในทางธรรมและวินัยอยู่ในกฏเกณฑ์ไม่มีมลทินมีน้ำใจอันประเสริฐเมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาตามแบบโบราณแล้ว พระคุณท่านก็ยังไม่นี่งนอนใจยังค้นคว้าเรียนหนังสือไทยต่อเพื่อเพิ่มเติมความรู้ของท่านอีก ในสมัยนั้นพึ่งมีครูสอนภาษาไทยเป็นคนแรกของบ้านลำดวน การเลื่อนตำแหน่ง พ.ศ.๒๔๕๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดลำดวน พ.ศ.๒๔๖๑ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลำดวน พ.ศ.๒๔๘๒ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.๒๔๘๓ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลลำดวน พ.ศ.๒๔๙๒ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอธิการชิต พ.ศ.๒๔๙๖ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวิชิตธรรมคุณ พ.ศ.๒๕๑๕ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท นอกจากตำแหน่งทางการปกครองต่างๆแล้ว ท่านได้วางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองวัด และให้ความสนใจต่อการปกครองคณะสงฆ์ตามลำดับชั้น ตลอดทั้งให้ความร่วมมือต่อคณะสงฆ์ในทุกกรณีด้วยดีเสมอมาตลอดทั้งได้เอาใจใส่ดูแลตักเตือนคณะสงฆ์ในเขตปกครองอย่างสมํ่าเสมอ งานด้านการเผยแผ่ หลวงปู่ได้ตระหนักถึงความดำรงอยู่แห่พระสัทธรรมอย่างยวดยิ่ง โดยให้ความสนใจต่อการเผยแผ่พระพุทธธรรม และนำประชาชนปฏิบัติธรรมอย่างสมํ่าเสมอโดยเฉพาะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามิเคยขาด ท่านให้การศึกษาแก่พระสงฆ์ใต้ปกครองให้เข้าใจถึงระเบียบปฏิบัติในพระวินัยในกฎมหาเถรสมาคมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ไทย โดยยึดหลักว่าผู้เผยแผ่ที่ดีจะต้องเป็นนักปกครองที่ดีด้วยและประการสำคัญที่สุด หลวงปู่ท่านเป็นผู้มีสมาธิจิตสูง ได้แผ่เมตตาธรรมปกป้องพิทักษ์เหล่าศิษยานุศิษย์อย่างสมํ่าเสมอ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ด้วยเหตุนี้เองเหล่าพุทธศาสนิกชนจึงหลั่งไหลเข้ามารับนํ้าพระพุทธมนต์จากท่านวันละมากๆ จนแทบไม่มีเวลาเป็นของตน ท่านมักอวยพรแก่ผู้มารับนํ้าพุทธมนต์เป็นเชิงเปรียบเทียบบ่อยๆว่า "นํ้าเป็นของเย็นมีคุณช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกได้อย่างดีฉันใด ใจคนเยือกเย็นย่อมมีอุปการะช่วยให้คนคิดแก้ไขอุปสรรคได้อย่างสุขุมรอบคอบฉันนั้น" ดังนั้นทุกคนควรทำใจให้เย็นดุจนํ้าได้ช่วยชำระล้างมลทินในใจออกไปได้ นอกจากนี้ท่านยังได้รับภาระในการให้การศึกษาอบรมแก่เด็กนักเรียนตลอดทั้งจัดให้มีการอภิปราย-สนทนาธรรมขึ้นที่วัดเป็นประจำทุกวันพระในเทศกาลเข้าพรรษา ท่านได้ให้ความร่วมมือกับทางคณะสงฆ์ โดยให้ความสะดวกแก่พระธรรมทูตที่ทำการอบรมเผยแผ่หลักธรรมมาโดยตลอด นอกจากนี้มีคุณลักษณะพิเศษของท่านที่ควรกล่าวถึงคือ การประกาศหลักคำสอนด้วยวิธีการปฏิบัติมาให้เป็นตัวอย่าง คุณธรรมดังกล่าวของท่านคือ " ความเป็นผู้นิ่ง " ท่านปรารภเสมอว่าหลักคำสอนของพระบรมครูนั้น บางอย่างสอนโดยการพูด บางอย่างสอนโดยทางกาย และบางอย่างสอนโดยทางใจ เมื่อมีสิ่งไม่ต้องการเกิดขึ้นท่านจะสำรวมกาย วาจา ใจเป็นสมาธิด้วยความเป็นผู้นิ่งเพื่อให้เกิดความสงบ และนี้คือจุดสุดยอดแห่งการประกาศพระศาสนาที่มีประสิทธิภาพ เพราะท่านถือว่าการณ์ทุกอย่างจะดำเนินตามหลักพุทธธรรมก็ต่อเมื่อเกิดความสงบในหมู่คณะนั่นเอง งานด้านสาธารณูปการ หลวงปู่ได้สร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาตามลำดับดังนี้ พ.ศ.๒๔๖๐ สร้างกุฏิที่วัดลำดวน ๑ หลัง พ.ศ.๒๔๖๖ สร้างกุฏิที่วัดลำดวนอีก ๑ หลัง พ.ศ.๒๔๖๗ สร้างศาลาการเปรียญวัดลำดวน พ.ศ.๒๔๗๔ สร้างอุโบสถวัดลำดวน พ.ศ.๒๔๘๔ สร้างอุโบสถวัดหนองพลวง พ.ศ.๒๔๘๖ สร้างกุฏิที่วัดชุมแสง ต.หนองใหญ่ อ.สตึก พ.ศ.๒๔๘๘ สร้างศาลาการเปรียญวัดบ้านตามา พ.ศ.๒๔๙๐ สร้างกุฏิที่วัดกุดโคลน พ.ศ.๒๔๙๙ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่วัดลำดวน สร้างกุฏิที่วัดลำดวนอีก ๑ หลัง สร้างโรงเรียนบ้านยาง ขุดลอกสระนํ้าวัดลำดวน พ.ศ.๒๕๐๓ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่บ้านห้วยสำราญ พ.ศ.๒๕๐๕ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่วัดกุดโคลน พ.ศ.๒๕๐๗ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่บ้านยาง พ.ศ.๒๕๐๘ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่บ้านแซว สร้างกุฏิที่วัดหนองใหญ่ พ.ศ.๒๕๐๙ สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นที่วัดลำดวน พระคุณท่านเคยปรารภอยู่เสมอ ว่ายังขาดปัจจัยเป็นเรื่องสำคัญไม่สามารถที่จะสร้างอุโบสถขึ้นได้และมีนายประสงค์ สุขประจักษ์ทอง ร่วมหาปัจจัยในการสร้างอุโบสถครั้งนั้นด้วย โดยการขออนุญาตสร้างเหรียญของพระคุณท่านขึ้นเพื่อบูชา หารายได้ในการสร้างอุโบสถ จึงได้สร้างเหรียญรุ่น ๑ ขึ้นมีจำนวนทั้งสิ้น๕๙๐๐เหรียญ และพระคุณท่านได้แจกจ่ายให้แก่ศิษยานุศิษย์เพื่อบูชา บูชาเหรียญละ ๑๐-๑๐๐บาทด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของคณะศิษย์ทั้งหลายในการบูชาเหรียญของพระคุณท่าน และเหรียญได้หมดไปจึงได้สร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยมาใหม่ทั้งหมดมีถึง ๗ รุ่นและเป็นรุ่นสุดท้าย ปัจฉิมวัย พระครูวิชิตธรรมคุณ เป็นผู้มีร่าง เล็กและแข็งแรงปกติเป็นผู้มีโรคน้อย ไม่ค่อยจำเป็นในการรักษาพยาบาลมากนัก นอกเสียจากไข้หวัด เล็กน้อย ธรรมดาของสังขาร ชึ่งนับว่าเป็นลาภอันประเสริฐของท่าน จวบจนสิริมายุลุถึงปีที่๙๑ วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ท่านได้อาพาธลง มีอาการรับประทานอาหารตามปกติมิได้และไข้ขึ้นสูง พระคำรน กตปุญฺโญ(พระครูประดิษฐ์วราลังการ) ซึ่งเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดได้ไปตามนายแพทย์สมาน ทิพยางค์ นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระสัง มาทำการตรวจอาการไข้ถวาย วันที่ ๒ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ท่านนายแพทย์สมานพร้อมด้วยพยาบาลหลายท่านได้ไปตรวจเยี่ยมอาการอีกครั้งหนึ่งเมื่อเห็นอาการไข้สูงขึ้นกว่าปกติ จึงได้ลงความเห็นพร้อมกันว่าสมควรอาราธณาท่านไปพักรักษาที่โรงพยาบาลกระสัง เพราะเป็นการสะดวกในเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ พระคำรน พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา ได้อาราธณาหลวงปู่เข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลกระสัง ท่านนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระสังพร้อมด้วยพยาบาลทุกท่านได้ถวายการรักษาพยาบาลหลวงปู่อย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากหลักสัจจะแห่งพุทธธรรมมีอยู่ว่า "สพฺเพสังขาราอนิจจา" สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่ทนอยู่ได้ตลอดไป มีวันต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหลวงปู่ก็เป็นสังขารกองหนึ่งได้ปรุงแต่งและดำรงอยู่ตามกาลอันสมควรและในที่สุดหลวงปู่ก็ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ โรงพยาบาลกระสัง ท้ามกลางความโศกเศ้าอาลัยของเหล่าศิษยานุศิษย์และมวลศาสนิกชนทั้งหลาย สิริรวมอายุได้ ๙๑ ปีพรรษา ๗๐ จบเพียงเท่านี้ พุทธานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ธัมมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม สังฆานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ตลอดจนเดชะบารมีของหลวงปู่ขอจงคุ้มครองดลบันดาลประทานพรให้ผู้ติดตามประวัติของหลวงปู่พระครูวิชิตธรรมคุณจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ จงประสบด้วยพรทั้ง ๔ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภานธนสารสมบัติ ธัมสารสมบัติทุกทิวาราตรีกาลด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 05 พ.ย. 2556 - 16:10.14 |
วันปิดประมูล | จ. - 18 พ.ย. 2556 - 19:56.28 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
150 บาท | อ. - 05 พ.ย. 2556 - 20:14.33 | |
250 บาท | อ. - 05 พ.ย. 2556 - 20:15.14 | |
300 บาท | อ. - 05 พ.ย. 2556 - 20:15.28 | |
500 บาท | อา. - 17 พ.ย. 2556 - 19:55.46 | |
600 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อา. - 17 พ.ย. 2556 - 19:56.28 |
กำลังโหลด...