เหรียญ พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานใต้

เหรียญ พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร

เหรียญ พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร เหรียญ พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร เหรียญ พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร เหรียญ พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญ พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ จังหวัดยโสธร
รายละเอียดเหรียญรุ่นแรก พระครูสุมนสารคุณ วัดป่าหนองไคร้ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร องค์จริงสวยมาก หายากครับนาน ๆ จะเจอสักองค์ เรื่องพุทธคุณไม่ต้องโม้ให้เสียเวลาจ้า สำหรับท่านที่กำลังมองหาวัตถุมงคลดีราคาย่อมเยา เรามีวัตถุมงคลหลายรายการไว้บริการท่าน ตามลิงค์นี้เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/silalad

หลวงปู่ประสาร ท่านเป็นพระวิปัสสนาสาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปัจจุบันท่านเป็นพระวิปัสสนารุ่นครูบาอาจารย์อาวุโส มีอัชฌาสัยอันนุ่มนวลควรที่ยึดถือท่านเป็นแบบอย่างของบูรพาจารย์ในยามนี้ความเป็นอยู่ในการประพฤติปฏิบัติธรรมต่างๆ ถือเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะแก่การครองเพศสมณะ เป็นอีกพระเถระรูปหนึ่งของพระวิปัสสนาสายพระป่าของ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ได้พบเห็นมาว่า ท่านเป็นผู้สงบเสงี่ยมในศีลสังวรและมีจิตใจที่เยือกเย็น ในการสนทนาก็พูดเบา ๆ พอได้ยิน จึงมีลูกศิษย์ลูกหาอยู่มากในทุกวงการ

อัตประวัติพระครูสุมนสารคุณ (หลวงพ่อประสาร)

พระครูสุมนสารคุณ มีนามเดิมว่า ประสาร นามสกุล เผ่าเพ็ง ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็น ?เผ่าพุทธ? และในปัจจุบันคือนามสกุล เผ่าพุทธ (พุทธะ) นั่นเอง เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2473 ตรงกับวันศุกร์ แรม 13 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ที่บ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ในขณะนั้น ต่อมายกระดับขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยแยกการปกครองมาจากจังหวัดอุบลราชธานี) จึงถือตามเอกสารทางราชการในปัจจุบันว่า หลวงปู่ประสารเป็นคนบ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร? โยมบิดามีนามว่า นายกลม โยมมารดามีนามว่า นางขาว นามสกุล เผ่าพุทธ (นามสกุลเดิมฝ่ายโยมมารดา ?หงส์คำ) มีพี่น้องชายหญิง 2 คน

1. พระครูสุมนสารคุณ (หลวงพ่อประสาร เผ่าพุทธ)
2. นางเตย น้องสาว ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ (พ.ศ.2552 ต้นปี)

ปฐมวัย

ในวัยเด็กหลวงปู่ประสารนั้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบ้านหนองเป็ดจนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อ พ.ศ.2489 ชีวิตของท่านก็เหมือนเด็กในชนบททั่วๆ ไป ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำงานในบ้านตามแต่กำลังของเด็กจะช่วยได้ แม้ว่าร่างกายของท่านในยามนั้นจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง เพราะเป็นคนที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากน้ำนมของโยมมารดาของท่านไม่มีพอให้ท่านดื่ม แต่การประกอบสัมมาอาชีพท่านเล่าว่าท่านไม่เคยท้อ จนถึงปัจจุบันร่างกายของท่านก็ไม่ค่อยแข็งแรง กระทั่งปี 2492 พระอาจารย์ศรีอารย์ เป็นคนบ้านหนองเป็ดได้ไปจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ผั่น วัดนาหัวช้าง หรือ วัดป่าอุดมสมพร ในปัจุบัน ได้มารักษาตัวโรคนิ่วที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วมาเยี่ยมโยมทั้งสองที่บ้านหนองเป็ด โดยพักที่ วัดบ้านหนองค้อ ซึ่งบ้านหนองค้อกับบ้านหนองเป็ดนั้นอยู่ห่างกันคนละฝั่งคลอง

ในยุคนั้นหลวงปู่ประสารท่านออกจากโรงเรียนแล้วช่วยพ่อ-แม่ทำไร่ทำนา เมื่อเสร็จงานไร่งานนาแล้วว่างงานก็วิ่งเล่นตามประสาเด็กชนบทที่ว่างงาน พระอาจารย์ศรีอารย์เมื่อเห็นหลวงปู่ประสารย่างเล่นตามประสาคนชนบท จึงถามท่านด้วยความเมตตาว่า ?มึงอยากบวชบ่? ท่านจึงตอบว่า ?ก็อยากบวชอยู่แล้วล่ะขอรับพระอาจารย์? ท่านจึงพูดว่า ?ให้บอกพ่อ-แม่เสียก่อน ท่านจะบวชให้? เมื่อนำเรื่องไปปรึกษาครอบครัว พ่อ-แม่บอกว่า ?มึงจะบวชได้บ่ พระกรรมฐานฉันข้าวมื้อเดียว? หลวงปู่ประสารในขณะนั้นจึงตอบพ่อ-แม่กลับไปว่า ?ฉันก็เป็นคนเหมือนพระท่านนั่นแหละ เมื่อท่านอดได้ฉันก็ต้องทำได้? เมื่อไปบอกขออนุญาตจากทางบ้านแล้วก็ไปพบพระอาจารย์ศรีอารย์ ท่านจึงให้โกนหัวบวชขาว (ประมาณว่าให้ถือศีล 8 นั่นแหละ ผู้เขียน) ในต้นปี 2492 ที่วัดโนนค้อ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดที่พักของพระสายกรรมฐาน ไม่มีพระอยู่ประจำ พระกรรมฐานผ่านมาพักแล้วก็จากไปเป็นอยู่เช่นนั้น พอบวชได้ไม่กี่วันกลางๆ เดือนมกราคมของปีนั้นเดินทางจากจังหวัดยโสธรไปวัดป่าอุดมสมพรของพระอาจารย์ผั่นที่จังหวัดสกลนคร

บรรพชาอุปสมบท

จนถึงเดือนพฤษภาคม 2492 ได้บวชเป็นสามเณรที่ วัดสว่าง โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชา เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งในขณะนั้น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นพระหนุ่มยังจาริกธุดงค์อยู่ที่ภาคเหนือแถวจังหวัดลำปาง และจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพระสบาย และในพรรษานั้นข่าวว่าพระอาจารย์มั่นท่านอาพาธ สามเณรประสารในสมัยนั้นก็เดินทางไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ศรีอารย์ได้นำพระ-เณรไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ โดยไปพักที่ศาลา แม้ว่าจะมีพระ-เณรไปไม่ต่ำกว่า 5-60 รูป แต่ไม่มีเสียงดังหรือเสียงกระแอมไอให้ยินเลย การเดินของพระครูบาอาจารย์ต่างๆ นั้นหรือก็อยู่ในอาการสำรวมระวัง แม้จะออกเดินไปที่ใดก็สำรวมระวังอินทรีย์ บริเวณวัดนั้นก็ปัดกวาดสะอาดสะอ้าน จนค่ำพระอาจารย์มั่นก็ออกมาพบศิษย์และเทศนาอบรมพระ-เณรเสร็จ สามเณรประสารในขณะนั้นก็มีโอกาสสดับพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งแรก

เมื่อจบการเทศน์ฯท่านกลับไปพักที่ศาลา ท่านเล่าว่า พยายามไม่ให้เกิดเสียงดัง แม้แต่การวางกระโถนท่านก็กลัวจะเกิดเสียงดัง ต้องเอามือรองก้นกระโถนแล้วค่อยๆ วางลง แต่พอตกกลางคืนจิตใจเป็นลิงเป็นค่าง ยังมีความคิดวอกแวก จึงพยายามรักษาใจไว้ให้มั่นคง เพราะกลัวว่าจิตนั้นจะฟุ้งซ่านคิดออกนอกลู่นอกทาง จึงนั่งภาวนาจนจิตแตกเหงื่อไหลโทรมกายท่าน ด้วยอานุภาพหรือบารมีความกลัวในพระอาจารย์มั่น

เพราะเชื่อกันว่าจิตของพระอาจารย์มั่นนั้นท่านสามารถรู้วาระจิตผู้อื่น และอีกอย่างเพราะอยู่ในรัศมีของท่าน กลัวว่าท่านพระอาจารย์มั่นจะรู้ความคิดที่จิตเกิดวอกแวกเนื่องจากอยู่ในบริเวณของท่าน เพราะบุญบารมีของท่านแก่กล้า จึงไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะจิตใจไม่ยอมหลับยอมนอน คุมจิตรักษาใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ในชีวิตที่ได้บวชมาได้ฟังเทศน์ฟังธรรมขณะนั้น แม้หลวงปู่มั่นจะอาพาธแต่ยังพอเดินได้ออกมารับบิณฑบาตภายในวัด ในขณะนั้นพระอาจารย์มั่นท่านบวชได้ 60 พรรษาพอดี

จนถึงเดือนพฤศจิกายน ท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธหนัก บรรดาลูกศิษย์จึงนำท่านลงมาอยู่ที่วัดโนนโค่ ในขณะนั้น พระอาจารย์กู่ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อชาวบ้านได้ข่าวว่าพระอาจารย์มั่นลงมาพักที่วัดโนนโค่ ผู้คนหลั่งไหลมากราบท่านจำนวนมาก แต่ว่าไม่มีเสียงอึกทึก แม้เสียงไอเสียงจาม ในเดือนพฤศจิกายนนั้นเห็นว่าอาการอาพาธของท่านพระอาจารย์มั่นไม่ดีขึ้น จึงเอารถมารับไปที่วัดป่าสุทธาวาสซึ่งยังไม่เจริญ ด้านใต้ของวัดยังเป็นป่ารกทึบอยู่ และได้มรณภาพลงในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง

เมื่อข่าวท่านพระอาจารย์ได้มรณภาพ พระ-เณรและผู้คนมากันเต็มวัดป่าสุทธาวาสในขณะนั้น สามเณรประสารจึงได้มีโอกาสเข้าถวายน้ำสรงศพและแสดงการคารวะกราบศพท่านพระอาจารย์มั่น ด้วยถือว่าเป็นบุญบารมีมาแต่หนหลังก็ว่าได้ หากว่าพระอาจารย์ศรีอารย์ไม่ได้กลับมาที่บ้านหนองเป็ด ท่านก็คงยังไม่ได้บวชและโอกาสที่จะได้พบกับพระอาจารย์มั่นคงไม่มีโอกาส อันนี้ถือว่าเป็นบุญบารมีมาแต่อดีตชาติที่ถึงเวลาที่ศิษย์จะได้พบครูบาอาจารย์ในชาตินี้ภพนี้อีกครั้งหนึ่ง และได้รับสดับพระ ?ธรรม? กันโดยตรง แม้ใช้เวลาไม่นานครูบาอาจารย์ก็ทิ้งขันธ์สังขารลงไปตามธรรมชาติที่มนุษย์เรามีชีวิตเหมือนช่างปั้นหม้อดินนั่นเอง เมื่อเป็นรูปร่างหม้อดินขึ้นมาแล้วนับวันรอเวลาวันเสื่อมสลายแตกกลับธรรมชาตินี่เอง ชีวิตคนเราก็ไม่ผิดไปจากหม้อดินใบนั้น คือเมื่อมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในที่สุด เป็นสัจธรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลยจากการเกิดแก่เจ็บตาย ไม่เว้นแม้แต่พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสายวิปัสสนากรรมฐานจึงเดินจงกรมเพื่อกำจัดนิวรณ์คือกิเลสทั้งปวง เพื่อความผ่องแผ้วในอินทรีย์ แม้ยามจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้สำรวมระวังอินทรีย์ ทำจิตใจไม่ให้วอกแวกเป็นผู้มีสติมั่นคงในทุกโอกาส

พ.ศ.2494 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณศิริ วัดป่านิโครธาราม (ในยุคที่ท่านจำพรรษาที่วัดหนองโด่) หรือ วัดป่าโสตถิผล ในปัจจุบัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นพระนั่งหัตถบาส ซึ่งหลวงปู่อ่อนจะให้พระอาจารย์ผั่นสวดกรรมวาจาจารย์ด้วย แต่ท่านบอกว่าสวดองค์เดียวก็พอ เพราะบวชรูปเดียว ซึ่งหลวงปู่ประสารท่านแปลงจากเณรเป็นพระเพียงรูปเดียว และมีสามเณรมาบวชด้วยอีกรูปหนึ่ง ได้รับนามฉายาว่า ?สุมโน?

ในระหว่างที่ยังบวชเป็นสามเณรอยู่นั้น มีเหตุให้ชวนคิดว่าบารมีของหลวงปู่ประสารชะรอยว่าคงจะต้องอยู่เป็นพุทธบุตรไปจนสิ้นอายุขัยหรืออะไรก็เหลือเดา เมื่อ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ในสายวิปัสสนาชื่อดังในเวลาต่อมาจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง และเป็นที่เคารพศรัทธาของเจ้านายชั้นสูง ซึ่งต่อมาเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่มีญาณแก่กล้ามีลูกศิษย์ทั่วทุกชนชั้นอาชีพ ได้ถามสามเณรประสารในขณะนั้นว่า เกิดเมื่อไหร่ ปีเดือนอะไร จึงบอกวันที่เท่านั้น เดือนนั้นปีนั้นตลอดจน พ.ศ.เกิดให้หลวงปู่อ่อนทราบ

ท่านว่าบวชพระได้แล้ว ท่านจะบวชให้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พี่สาวที่ล่วงลับไปชื่อว่า โยมพี่ขาว เป็นเรื่องแปลกที่ชื่อพี่สาวหลวงปู่อ่อนมาตรงกับนามโยมมารดาของท่านคิดว่าเข้าท่าเหมือนกัน จึงพาไปฝึกขานนาคที่ วัดหนองโด่ จากนั้นจึงพาไปบวชที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อได้รับการอุปสมบทแล้วจึงพามาพักที่บ้านดอนเงิน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่อ่อน เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้พี่สาวของหลวงปู่อ่อน หลังจากนั้นหลวงปู่ประสารจึงย้อนกลับมาที่วัดหนองโด่ ซึ่งรู้จักกันกว้างของ

ปัจจุบันว่า วัดป่าโสตถิผล ของ พระอาจารย์บุญหนา และได้ข่าวทางยโสธรว่าโยมแม่ป่วย ท่านตั้งใจว่าจะไม่กลับยโสธรบ้านเกิด จึงปรึกษากับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จึงกล่าวว่า แม่ผู้บังเกิดเกล้าเจ็บป่วยไม่กลับไปเยี่ยมไปหาไม่เหมาะสม จึงตัดสินใจเดินทางกลับเมื่อปี 2494 ในปีที่บวชนั่นเอง และได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองทม ในปีนั้นหลวงปู่ผั่นได้กลับมาสร้างวัดป่าหนองไคร้
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน750 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลจ. - 04 พ.ย. 2556 - 21:52.23
วันปิดประมูล พฤ. - 28 พ.ย. 2556 - 15:07.38 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 750 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
150 บาท อ. - 05 พ.ย. 2556 - 16:32.22
200 บาท อ. - 05 พ.ย. 2556 - 16:34.02
300 บาท พ. - 06 พ.ย. 2556 - 00:16.22
350 บาท พ. - 06 พ.ย. 2556 - 10:12.44
700 บาท พ. - 27 พ.ย. 2556 - 15:07.13
750 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 27 พ.ย. 2556 - 15:07.38
กำลังโหลด...
Top