เหรียญคุ้มเกล้า พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ซองเดิมๆ5เหรียญ (พ่อโต๊ะ ประดู่ ปู่ดุลย์ บูรพาราม ปู่แหวนเสก) - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคล ร.5-ร.9

เหรียญคุ้มเกล้า พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ซองเดิมๆ5เหรียญ (พ่อโต๊ะ ประดู่ ปู่ดุลย์ บูรพาราม ปู่แหวนเสก)

เหรียญคุ้มเกล้า พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ซองเดิมๆ5เหรียญ (พ่อโต๊ะ ประดู่ ปู่ดุลย์ บูรพาราม ปู่แหวนเสก) เหรียญคุ้มเกล้า พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ซองเดิมๆ5เหรียญ (พ่อโต๊ะ ประดู่ ปู่ดุลย์ บูรพาราม ปู่แหวนเสก) เหรียญคุ้มเกล้า พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ซองเดิมๆ5เหรียญ (พ่อโต๊ะ ประดู่ ปู่ดุลย์ บูรพาราม ปู่แหวนเสก)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญคุ้มเกล้า พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะ ซองเดิมๆ5เหรียญ (พ่อโต๊ะ ประดู่ ปู่ดุลย์ บูรพาราม ปู่แหวนเสก)
รายละเอียดสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าทรงทำอุปการะก่อนแก่พสกนิกร เพราะทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจโดยธรรม อีกทั้งยังให้ความสุข ความเจริญแก่พสกนิกร ชื่อว่าทรงเป็นบุพการีของพสกนิกร ซึ่งเหล่าพสกนิกรชาวไทยจักถวายความจงรักภักดีเป็นล้นพ้นดุจบิดาของตน

ดังนั้น เมื่อมีการสร้างวัตถุมงคลที่ระลึกต่างๆ จึงมีผู้ให้ความสนใจอย่างมาก เพราะคนไทยทั้งปวงต่างเชื่อมั่นว่า ผู้ใดมีพระบรมฉายาลักษณ์ไว้บูชาจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคลสูงสุดและปลอดภัยจากภยันตรายทั้งมวล จึงทำให้วัตถุมงคลที่จัดสร้างเป็นที่ระลึก ซึ่งมีพระบรมรูปและพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร"ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหน แบบไหน ปีไหนล้วนเป็นที่ปรารถนาและทรงคุณค่าอย่างยิ่ง รวมทั้งมีมูลค่าในการสะสมเพิ่มขึ้นไปตามกาลเวลา

ตลอดปี 2554 ซึ่งตรงกับปีมหามงคลที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ 84 พรรษา นอกจากจะมีการจัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกและร่วมเทิดพระเกียรติแล้ว ยังส่งผลให้พระเครื่องและของที่ระลึกรุ่นเก่าๆ ของรัชกาลที่ 9 กลับมาได้รับความนิยมและเป็นที่เสาะหากันอย่างคึกคักอีกครั้ง

อย่างเช่น วัตถุมงคลดี พิธีใหญ่ เหรียญคุ้มเกล้า สร้างเมื่อปี 2522 ที่หลายคนต่างหาเช่าเก็บไว้บูชา ด้วยเหตุที่เป็นของดี ที่เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททอง

สำหรับ "เหรียญคุ้มเกล้า"มีประวัติการสร้างดังนี้ เนื่องในวาระครบรอบ 30 ปีของการให้บริการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เมื่อ 27 มีนาคม 2522 กองทัพอากาศได้ดำริสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขนาดใหญ่สูง 12 ชั้นที่ทันสมัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเสริมสร้างบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมบรรดาผู้ป่วยทั้งหลายไปชั่วกาลนาน โดยสิ้นค่าใช้จ่ายกว่า 600 ล้านบาท จากเงินที่ประชาชนทั่วประเทศร่วมใจกันบริจาค

ในการรณรงค์หาทุนสร้าง อาคารคุ้มเกล้าฯ และจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยไว้ใช้ในอาคารคุ้มเกล้าฯ กองทัพอากาศได้จัดสร้าง วัตถุมงคลคุ้มเกล้า ขึ้นเพื่อสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธา ให้การสนับสนุน ประกอบด้วย พระพุทธรูปบูชา พระกริ่ง และเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ประดิษฐานที่เหรียญ และทรงให้ช่างในพระองค์เป็นผู้ปั้นแบบเหรียญพระบรมรูปด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร"

พิธีลงอักขระแผ่นทอง นาก เงิน แผ่นยันต์อักขระที่ใช้สร้าง เหรียญคุ้มเกล้าได้จัดพิธีลงอักขระ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพ มหานคร โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานพร้อมด้วย สมเด็จพระราชาคณะและพระเถระผู้ใหญ่รวม 60 รูป ทำพิธีลงอักขระแผ่น ทอง นาก เงิน เป็นปฐมฤกษ์ หลังจากนั้นได้นำแผ่น ทอง นาก เงิน ไปให้พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศ จารึกอักขระจนครบ 1,250 รูป


พิธีเททองหล่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปคุ้มเกล้าฯ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ซึ่งตรงกับวันที่ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ มีอายุครบ 97 ปี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2527 โดยมีสมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระเถระผู้ใหญ่ผู้ทรงคุณอีก 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา ในโอกาสนี้ได้ทรงทำพิธีหลอมแผ่นทอง นาก เงิน ที่ได้ทำพิธีลงอักขระแล้ว เป็นชนวนนำไปสร้างวัตถุมงคลคุ้มเกล้าต่อไป

จากนั้น ประกอบพิธีพุทธาภิเษกหมู่อย่างใหญ่โตมโหฬาร 4 วัน 4 คืน 6-9 เมษายน 2527 โยงสายสิญจน์จากพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามมายังปะรำพิธี ณ ท้องสนามหลวง นิมนต์พระเถรานุเถระผู้ทรงคุณ เกจิอาจารย์ดัง 108 รูปจากทั่วประเทศผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกปลุกเสกตลอดรวม 4 คืน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่ดูุลย์ วัดบูรพาราม, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงปู่ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า, หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง เป็นต้น

โดยเฉพาะ หลวงปู่แหวนที่มาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิต นับว่าเป็นวาระพิเศษส่งผลให้วัตถุมงคลรุ่นนี้ไม่ธรรมดาในสายตาของนักสะสม มีผู้กล่าวถึงและว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรม และมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ วัตถุมงคลของท่านต่างร่ำลือในความเข้ม มีผู้นิยมแสวงหาไว้พกพาติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคล

เหรียญทุกรุ่นที่หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณโดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง การเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย สยบสิ่งชั่วร้ายต่างๆ นานา วัตถุมงคลที่นิยมมากคือ เหรียญหลวงปู่แหวนรุ่นแรก พิมพ์หน้าวัว

สำหรับวัตถุมงคลรุ่นคุ้มเกล้า ในวันแรกของพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดไฟพระฤกษ์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มอบให้พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. อัญเชิญเข้าขบวนแห่มายังปะรำพิธี จากนั้นในเวลา 19.19 น. สมเด็จพระสังฆราช เสด็จมาจุดเทียนชัยจากไฟพระฤกษ์

เริ่มพิธีพุทธาภิเษกจนถึงรุ่งอรุณของวันที่ 4 สมเด็จพระญาณสังวรฯ เป็นประธานดับเทียนชัย เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษก

นับเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ต้องจารึกเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ว่า พิธีนี้ใหญ่จริงๆ

ยามนี้จึงมีประชาชนถวิลหาเช่าบูชา"เหรียญคุ้มเกล้า"กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในแวดวงเซียนพระเองก็ตาม ต่างเก็บเหรียญนี้ เพื่อเก็งกำไรเพราะเชื่อว่ารุ่นนี้มีอนาคตสดใส ซึ่งก็เป็นจริงตามที่คาดการณ์เอาไว้ ราคาของเหรียญเริ่มขยับขึ้นเรื่อยๆ
ราคาเปิดประมูล1,200 บาท
ราคาปัจจุบัน1,250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอา. - 29 ก.ย. 2556 - 20:06.07
วันปิดประมูล พฤ. - 03 ต.ค. 2556 - 12:15.12 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
ราคาประมูลด่วน1,850 บาท
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
1,250 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 02 ต.ค. 2556 - 12:15.12
กำลังโหลด...
Top