
ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ปี 2521 ถึง 2540
เหรียญพระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี เนื้ออัลปาก้า



ชื่อพระเครื่อง | เหรียญพระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี เนื้ออัลปาก้า |
---|---|
รายละเอียด | พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงองค์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง มีขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๓.๑๐ เมตร สูงประมาณ ๕.๐๐ เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนพร้อมกับลงรักปิดทอง ตามหลักศิลาจารึกตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า เมื่อจุลศักราชได้ ๑๕๔ ตัว พ.ศ. ๒๓๓๕ ปีวอก เจ้าพระพรหมวรราชสุริยะวงศ์ ขึ้นเสวยเมืองอุบลได้ ๑๕ ปี จุลศักราชได้ ๑๖๗ ตัว พ.ศ. ๒๓๔๘ ปีระกา จึงได้มาสร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสสดี เพื่อให้เป็นที่บำเพ็ญแก่พระพุทธรูป จุลศักราชได้ ๑๖๙ ตัว พ.ศ. ๒๓๕๐ ปีเถาะ พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา จึงได้พาลูกศิษย์และศิษยานุศิษย์ทั้งหลายสร้างพระพุทธรูป “พระอินแปลง” และได้นำเอาดินทรายเข้าวัด เสร็จเมื่อเดือนเมษายน วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ วันอาทิตย์ช่วงเวลาบ่าย ๓ โมง ในนักขัตฤกษ์ ๑๒ ราศีกันย์ แล้วนั้นฯ ถือว่าเป็นอุดมมงคลที่มีจิตใจเบิกบานดีในเวลาใกล้จะค่ำมืดลง จึงแล้วเสร็จและได้รับความอุปถัมภ์จากเจ้าเมือง ข้าทาสบริวารและประชาชนทั้งใกล้และไกลให้การสนับสนุนมาโดยตลอดทั้งกำลังกายกำลังทรัพย์ของคน ตามกำลังศรัทธา ได้ร่วมแรงร่วมใจตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาสาธุการด้วยกันทั้งฝ่ายวัดและฝ่ายบ้านเมือง พอถึงเพ็ญเดือน ๕ เมษายน ของทุกปีจะมีการทำบุญตักบาตรมหาชาติชาดกและสรงน้ำพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง พร้อมปิดทองซึ่งถือว่าเป็นขนมธรรมเนียมประเพณีมาจนทุกวันนี้ ประชาชนต่างก็พากันมากราบไหว้มิได้ขาดทั้งใกล้และไกลทั้งไทยและต่างประเทศ “การแสดงธรรมตอนหนึ่งเกี่ยวกับอภินิหารของพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” ท่านสาธุชนพุทธบริษัทผู้ใจบุญทั้งหลาย วัดมหาวนารามที่เราเรียกเป็นทางราชการ ที่เรียกเป็นภาษาสามัญกันก็คือวัดป่าใหญ่นี้นั้น นับว่าเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและตลอดไปทั่วทั้งประเทศ ท่านพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงนี้ก็ยังมีอภินิหารบันดาลหาเงินให้วัดมหาวนาราม (ป่าใหญ่) นี้ได้วันหนึ่งได้วันละมากๆ ไม่ต้องทำไร่ไถนา ไม่ต้องขายข้าวของไม่ต้องทำอะไร พระอินทร์แปลงเนรมิตเงินมาให้ เดียวนี้ได้เท่าไรก็ไม่รู้ ถามโยมคงจะได้มากถ้าจะคิดเป็นรายได้วันละเท่าไรประมาณ ๕,๐๐๐ บาท จะถึงหรือยังโยมๆ หรือวันละ ๑,๐๐๐ บาท ผู้เข้าใจมีอยู่ ตามจริงนั้น พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงนี่ มีบ่หลายได้หน่อ มีบ่มาก อุบลฯ ของเราก็มีสิ มีพระเจ้าหลวงพ่อพระเหลาอีกองค์แม่นบ่ (พระเหลาเทพนิมตร) อำเภออะไรนะ อำเภอเมืองพนาองค์หนึ่ง หาเงินให้เก่งแท้ๆ สมภารสู้บ่ได้ อีกองค์หนึ่งโน้นอยู่โน้น... หลวงพ่อองค์ตื้อวัดบ้านปากแซง ไปมาแล้ว ไปเห็นแล้ว ไปกราบไหว้แล้ว นั้นก็คนนับถือมาก ทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว นับดูสิโยม... วัดในจังหวัดอุบลราชธานีนี้ นับเป็นพันๆ วัด จะมีพระเจ้าที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์หาทุนทรัพย์ให้ สาธุชนพุทธบริษัทนี้น้อยองค์เต็มที่ อย่างไรก็ตามวัดมหาวนารามก็นับเป็นวัดหนึ่ง ที่มีอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและอยู่ในตัวเมืองอุบล ย่านตลาดอยู่ย่านชุมชนซึ่งก็จะหาได้ยากมาก พระเจ้าใหญ่ที่สร้างขึ้นใหม่ๆ ไม่มีคนนับถือมากอย่างนี้ก็นับเป็นมหากุศลเป็นพิเศษและสมกับพระนามที่ชื่อว่า “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” นักปราชญ์ตั้งแต่โบราณกาลมา ท่านได้ตกแต่งสร้างแปลงประพุทธรูปอันเป็นพระเจ้าใหญ่ประจำวัด ให้เป็นที่สักการบูชาเคารพของเราชาวพุทธบริษัทองค์นี้ซึ่งมีความใหญ่พอประมาณแล้วก็ประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เป็นที่เชิดหน้าชูตา เป็นที่เคารพสักการะของสาธุชนพุทธบริษัท เรียกว่าทั่วประเทศก็ว่าได้ พระเจ้าใหญ่องค์นี้เราได้ถวายพระนามหรือขนาดชื่อท่านเป็นนามมหามงคลว่า พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง (แม่นบ่โยม...) หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงหมายความว่าอย่างไร คำว่า “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” ถ้าพูดภาษาไทยกลาง “อินทร์แปลง” บ่แม่น “แปง” อินทร์แปลงมีตัว “ล” ตัวหนึ่งกล้ำ ถ้าไทยอีสาน “อินทร์แปง” แปง แปลว่า “เฮ็ด ว่าทำ” ก็หมายความว่า พระเจ้าใหญ่องค์นี้ไม่ใช่คนธรรมดาสามัญสร้าง พระอินทร์เพิ่นเป็นผู้ประทานเฮ็ดไว้ให้เป็นมิ่งมงคล ให้เป็นที่ตั้งแห่งบุญกุศลของพวกเราเหล่าพุทธบริษัท และก็พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงองค์นี้เป็นที่สักการะบูชา เคารพกราบไหว้เลื่อมใสศรัทธาของพุทธบริษัทอย่างกว้างขวางพากันมากราบไหว้อยู่มิได้ขาดจนถึงปัจจุบันนี้ ตำนานการสร้างพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงอีกนัยหนึ่ง พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง ได้มีตำนานการก่อสร้างบอกเล่าขานกันต่อมาหลายอย่าง โดยอีกนัยหนึ่งว่า ขณะที่ก่อสร้างอยู่นั้น ก็ได้มีฝนตกฟ้าร้องอยู่ตลอดเวลา ใกล้จะแล้วเสร็จอยู่แล้วเพราะเหลือแต่การตกแต่งให้สวยงามเท่านั้น พอถึงตอนดึกก็ได้มีแสงสว่างเต็มบริเวณวัดไปหมดและสูงขึ้นสู่อากาศ ผู้คนต่างก็ตื่นตกใจและมาดูก็ไม่เห็นมีอะไร ต่างก็กลับสู่บ้านเรือนของตน พอรุ่งเช้าก็ปรากฏว่าพระพุทธรูปที่สร้างยังไม่เสร็จนั้นก็ได้สำเร็จเรียบร้อยสวยงามเป็นอย่างยิ่ง พอเห็นเป็นอย่างนั้นชาวบ้านต่างก็พูดว่าเทวดามาสร้าง พระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างแปลงร่างลงมาเป็นตาผ้าขาวมาสร้างจึงได้สวยงามอย่างนี้ ถ้าเป็ฯคนธรรมดามาสร้างจะไม่สวยงามได้เพียงนี้แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อว่าพระอินทร์แปลงร่างลงมาสร้างเสริม รูปร่างหน้าตาของพระพุทธรูปองค์นี้จึงได้สวยงดงามยิ่งนัก เหตุนั้นจึงได้ขนานนามว่า “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” และต่อมาเรียกว่าพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง และก็ได้มีความเชื่อกันมาตลอดจนตราบเท่าทุกวันนี้ |
ราคาเปิดประมูล | 350 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 350 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | ศ. - 20 ก.ย. 2556 - 17:15.08 |
วันปิดประมูล |
พฤ. - 10 ต.ค. 2556 - 17:15.08 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
เบอร์ติดต่อ | 0865565049 |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 350 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 50 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
ยังไม่มีผู้ประมูล |
กำลังโหลด...