8.เหรียญหลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู รุ่น 1สร้างศาลาการเปรียญ วัดประดิษฐาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2514 หลวงปู่ - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

8.เหรียญหลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู รุ่น 1สร้างศาลาการเปรียญ วัดประดิษฐาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2514 หลวงปู่

8.เหรียญหลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู รุ่น 1สร้างศาลาการเปรียญ วัดประดิษฐาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2514 หลวงปู่ 8.เหรียญหลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู รุ่น 1สร้างศาลาการเปรียญ วัดประดิษฐาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2514 หลวงปู่
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง 8.เหรียญหลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู รุ่น 1สร้างศาลาการเปรียญ วัดประดิษฐาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2514 หลวงปู่
รายละเอียดเหรียญหลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู รุ่น 1สร้างศาลาการเปรียญ วัดประดิษฐาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2514 หลวงปู่โต๊ะ ร่วมปลุกเสก (8)

คอลัมน์ มุมพระเก่า

สรพล โศภิตกุล

วัตถุ มงคลประเภทกลางเก่า-กลางใหม่ นับว่าน่าสนใจอยู่มิใช่น้อย เนื่องเพราะสืบสาวถึงความเป็นมาได้เป็นอย่างดี มีความน่าเชื่อถือเป็นยิ่งกว่า "พระใหม่" ที่ยังไม่แน่ใจในพุทธาคม หรืออาจจะมีปัญหาตามมาในภายหลังให้ขุ่นหมองใจที่หลงไปบูชามาเสียแล้ว

ยิ่ง วัตถุมงคลประเภทเก่าเก็บไว้จนเกือบลืมไปอย่างเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อกบ แห่งวัดเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ที่สร้างขึ้นในนามวัดราชประดิษฐาราม แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เนื่องในโอกาสสร้างศาลาการ เปรียญวัดนี้ นับว่าน่าสนใจอยู่มิใช่น้อย

เพราะ วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา นับว่าแปลกประหลาด นั่นคือการเผาทรัพย์สินเงินทองที่ญาติโยมถวายให้ จนเกรียวกราวเป็นข่าวปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ ในการทอดกฐินครั้งหนึ่งของบรรดาศิษย์หลวงพ่อกบ บรรดาข้าวของเงินทองทั้งหลายที่บรรดาลูกศิษย์ได้ถวายให้แก่หลวงพ่อกบ ได้ถูกนำมากองไว้แล้วราดน้ำมันก๊าดจุดไฟเผาไหม้จนหมดสิ้น นัยว่าเป็นการสอนให้ละกิเลสในทรัพย์สินเงินทอง

มิเพียงวัตรปฏิบัติ ที่แปลกในสายตาของผู้คน ชื่อ "หลวงพ่อกบ" ก็มีที่มาที่ไปที่น่าสนใจมิใช่น้อยทีเดียว ว่ากันว่าเมื่อหลวงพ่อกบมาจำพรรษาอยู่บนกุฏิเก่าๆ ที่วัดเขาสาริกาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2430 นั้น คืนวันหนึ่งฝนตก บรรดาลูกศิษย์ที่อยู่บนกุฏิต่างได้ยินเสียงกบร้องกันกึกก้องไปทั่วบริเวณ ด้วยความประหลาดใจ เนื่องเพราะบริเวณกุฏิเป็นที่ดอนและไม่มีหนองน้ำ แม้จะสงสัยแต่ก็บังเกิดความรู้สึกอยากกินแกงกบกัน จึงขออนุญาตหลวงพ่อกบลงไปจับกบกัน ได้มาคนละมากมาย ส่วนหนึ่งนำออกมาทำอาหาร ที่เหลือขังไว้ในข้อง ครั้นจะทำอาหารกันอีกมาดูกบในข้องก็พบว่ากลายเป็นใบไม้ไปหมดแล้ว

จึงเข้าใจว่ากบเหล่านี้ล้วนเป็นวิชาของหลวงพ่อ จึงขนานนามหลวงพ่อว่า "หลวงพ่อกบ"

และ หลวงพ่อกบท่านนี้ยังเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อโอภาสี แห่งอาศรมบางมด บางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีวัตรปฏิบัติในการบูชาเพลิงเป็นพุทธบูชาเฉกเช่นเดียวกับหลวงพ่อกบ

กล่าว สำหรับเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อกบ ปี พ.ศ.2514 สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสเป็นที่ระลึกคราวสร้างศาลาการเปรียญวัดประดิษฐาราม เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อกบนั่งยองๆ กำลังทำพิธีเผาทรัพย์สินบูชาเพลิง มีอักษรใต้รูปเหมือนว่า "หลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู" ส่วนอีกเหรียญเป็นรูปเหมือนครึ่งรูปที่คอสวมลูกกระพวน ด้านล่างรูปเหมือนมีอักษรว่า "หลวงพ่อกบ สมเด็จพระบรมครู" ด้านหลังของเหรียญเป็นยันต์เฑาะว์และอุณาโลม มีอักษรไทยว่า

"รุ่น 1 ที่ระลึกสร้างศาลาการเปรียญวัดประดิษฐาราม กรุงเทพมหานคร"

สํา หรับผู้ชมชอบความแปลกของเหรียญ นอกเหนือจากเหรียญหลวงพ่อกบ เหรียญหลวงพ่อโอภาสีแล้วนั้น เหรียญของหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อคูณนั่งยองๆ นับว่านำเข้าจัดเป็นชุดเหรียญ "ไตรภาคี" ที่น่าดูน่าชมอยู่มิใช่น้อย

เหรียญ ปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อกบนี้ พระครูพิมลสรภาณ วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น นอกเหนือจากจะได้แจกจ่ายเมื่อครั้งวันงานฉลองศาลาการเปรียญวัดราชประดิษฐาน ไปแล้ว ส่วนหนึ่งนำทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2516 ยังคงมีเหลือเก็บอยู่ที่พระครูพิมลสรภาณจำนวนหนึ่งไม่มากนัก ผู้สนใจลองสอบถามไปที่วัดสุทัศนเทพวรารามที่ศาลาครูแก้ว ศาลาการเปรียญวัดสุทัศนเทพวราราม ไปช่วงเวลาตั้งแต่สิบโมงเช้าไปจนถึงบ่ายสามโมงครึ่ง อาจได้ของดีประเภท "กลางเก่า- กลางใหม่" อื่นๆ ติดไม้ติดมือกลับไปบูชากันอีก นอกจากเหรียญหลวงพ่อกบที่เช่ามาเหรียญละ 299 บาท

เหรียญหลวงพ่อกบ ทั้ง 2 พิมพ์นี้นับว่ามีพิธีพุทธาภิเษกเข้มขลังพิธีหนึ่ง ซึ่งจัดขึ้น ณ อุโบสถวัดประดิษฐาราม แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2514 พระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสกล้วนเกริกไกรในชื่อเสียง อย่าง สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์มหาเถร) วัดราชบพิธ ที่สำคัญยิ่ง คือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง

เหรียญดีที่น่าเก็บ ด้วยประวัติการสร้างที่ดี พิธีกรรมดี อายุกาลนับแต่สร้างมาถึงวันนี้ มากกว่า 50 ปีแล้วครับ

รับประกันพระแท้ สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 083-2699000 081-622-1037 Email : Ting_ptk@yahoo.com

ภาณุภัณฑ์ พระเครื่อง เชิญที่นี่ >>> http://www.web-pra.com/Shop/TingSathu
ราคาเปิดประมูล340 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 28 ส.ค. 2556 - 13:20.14
วันปิดประมูล พฤ. - 29 ส.ค. 2556 - 14:38.32 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) พ. - 28 ส.ค. 2556 - 14:38.32
กำลังโหลด...
Top