พระขุนแผนพรายคู่ปลัดทวีปี2490 - webpra

ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน ก่อนปี 2525

พระขุนแผนพรายคู่ปลัดทวีปี2490

พระขุนแผนพรายคู่ปลัดทวีปี2490 พระขุนแผนพรายคู่ปลัดทวีปี2490
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระขุนแผนพรายคู่ปลัดทวีปี2490
รายละเอียดหลวงพ่อทวี อาภัสสโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เป็นหลานแท้ๆ ของหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ได้จัดสร้างพระขุนแผนบ้านกร่าง รุ่นปลัดทวี เพื่อให้ประชาชนได้เช่าบูชา เนื่องจากพระกรุรุ่นเก่าหมดแล้ว

จัดสร้างตั้งแต่เมื่อครั้งที่ หลวงพ่อทวี ยังเป็นรองเจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง เมื่อเดือนห้าปี พ.ศ.2490

ประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า เพื่อเป็นสิริมงคลและความศักดิ์สิทธิ์ที่วิหารวัดบ้านกร่าง

ครั้ง นั้น ได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ดังในยุคนั้น เจริญพระพุทธมนต์ พระปริตร บริกรรมนวหรคุณ อาทิ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น

เมื่อปี พ.ศ.2492 ได้ประกอบพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้ง โดยใช้อุโบสถวัดบ้านกร่าง มีพระเกจิดังเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก นั่งปรกอธิฐานจิต อาทิ หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น

เมื่อประกอบพิธีพุทธาภิเษกเสร็จเรียบร้อย ได้บรรจุพระทั้งหมดไว้ในกรุ ที่อุทเทสิกเจดีย์ เปิดกรุเมื่อปี พ.ศ.2511

สำหรับพระขุนแผน รุ่นปลัดทวี สร้างขึ้น 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ทั้งแบบคู่และแบบเดี่ยว จัดสร้างจำนวนกว่า 3 แสนองค์

มวลสารที่นำมาสร้างพระขุนแผน รุ่นปลัดทวี ประกอบด้วยมวลสารที่ใช้สร้าง อาทิ ดินก้นกรุ ดิน 7 โป่ง ดินขุยปู 7 ทุ่ง ดินสังเวชนียสถาน 4 ดินกรุพระซุ้มกอกำแพงเพชร พระรอดมหาวันที่แตกหัก ดินก้นกรุพระรอดมหาวัน ลำพูน เป็นต้น

สำหรับพระขุนแผนบ้านกร่างรุ่นปลัดทวี ด้านหน้า เป็นพระขุนแผนเนื้อดินเผาดิน ลักษณะเนื้อหยาบ เรียกตามสมัยเดิมว่าพระขุนแผนปางมารวิชัยอยู่ในซุ้มเรือนกอแก้ว มีความงดงามทางพุทธศิลป์เป็นอย่างมาก ยังมีคราบกรุเนื้อดินและทรายเม็ดหยาบ โดยรวมพบว่าองค์และซุ้มลอยขึ้นมาเห็นได้ชัดเจน

ส่วนด้านหลังพระขุนแผน มีรอยขรุขระตามวัสดุที่ใช้รองหลังพิมพ์เสร็จใหม่ ก่อนนำไปเผาแต่ยังมีรอยทรายเม็ดหยาบอยู่บ้าง แต่เนื้อของพระทุกองค์จะมีสีดอกพิกุลแห้ง ถือว่าเป็นคุณลักษณะเด่นของพระรุ่นนี้

พระขุนแผนรุ่นนี้ เดิมเป็นการทำแจกกับญาติโยม เชื่อกันว่าพระขุนแผนทุกรุ่นทุกพิมพ์มีพุทธคุณเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี


คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่

-ขอบพระคุณอย่างมาก
ที่มาจากหนังสือพิมพ์ :

ขุนแผนบ้านกร่างพระครูอาภัสศีลคุณ (ปลัดทวี) ได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2490 ปลุกเศก ปี 2492
มวลสารที่ใช้สร้าง
1.พระเครื่องก้นกรุวัดบ้านกร่าง ที่แตกหัก จำนวน 1 โอ่งมังกรเป็นมวลสารหลัก และดินก้นกรุ
2.ดิน7โป่ง ดินขุยปู 7 ทุ่ง
3.ดินสังเวชนียสถาน 4
4.ดินกรุพระซุ้มกอกำแพงเพชร
5.พระรอดมหาวันที่แตกหัก และดินก้นกรุพระรอดมหาวัน ลำพูน
6.ดิน ผงธูป เกษรดอกไม้ จากวัดพระธาตุดอยสุเทพ และวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือ
7.ผงวิเศษ และผง 108 จากหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
8.ผงวิเศษจากพระเมธีธรรมสาร (หลวงพ่อไสว) วัดบ้านกร่าง
9.ผงวิเศษจากหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
10.ดิน ผงธูป เกษรดอกไม้ จากทางภาคอีสาน วัดใน จ. ขอนแก่น พระธาตุช่อแฮ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
11.พระเนื้อดินจากกรุวัดพระรูป สุพรรณ
12.ผง ธูป พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี พระนอน วัดพระเชตุพนฯ สมเด็จพระศาสดา วัดสุทัศน์ พระอัฏฐารส พิษณุโลก พระเเก้วมรกตในพระบรมมหาราชวัง เจดีย์ภูเขาทองวัดสะเกศ
13. ดิน ผงธูป เกษรดอกไม้ จากพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
14.ดิน 7 วัง วังบางขุนพรม วังบูรพา วังสราญรมย์ วังเทเวศร์ วังสุโขทัย วังจันทร์เกษม และพระบรมมหาราชวัง
15.ดิน 5 ทัพ ทัพขุนช้าง ทัพขุนแผน ทัพผึ้ง ทัพหมัน ทัพหลวง
16. ดิน 5 ถ้ำ ถ้ำมหาสนุก สระบุรี ถ้ำกินนร สระบุรี ถ้ำเขาวัง เพชรบุรี ถ้ำจอมพล ราชบุรี ถ้ำเขานกจอด กาญจนบุรี
17.ดิน 7 สระ สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ สระหนองหลวง สระลาดสิงห์ สุพรรณบุรี สระโกษิณารายณ์ กาญจนบุรี
18 ดิน7 ท่า ท่าช้างวังหน้า ท่าราชวรดิษฐ์ ท่าเสด็จ ท่ามะกา ท่าม่วง ท่านางเริง ท่าวาสุกรี
19ทราย 7หาด บางแสน พัทยา หัวหิน หาดประจวบ ภูเก็ต เจ้าสำราญ แหลมสิงห์


เริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2490 จึงได้นิมนต์พระอาจารย์ 7 รูปมาทำพิธีปลุกเศก และบวงสรวงขณะกดพิมพ์พระ
1.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
2.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
3.หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล
4.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
5.หลวงพ่อไสว วัดบ้านกร่าง
6.หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
7.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ
โดยจะพิมพ์พระภายในวิหารวัดบ้านกร่าง และจะเผาพระเครื่องเฉพาะ วันเสาร์ ตามตำราโบราณ
ได้จำนวนพระบ้านกร่างประมาณ 3 แสนกว่าองค์ครับ
จนถึงปี 2492 จึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกก่อนจะนำไปบรรจุกรุเจดีย์เดิม มีพระอาจารย์มาดังนี้
1.หลวงพ่อนำ วัดดอนศาลา พัทลุง
2.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
3.หลวงพ่อเปลื้อง วัดสุวรรณภูมิ
4.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
5.หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา
6.หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย
7.หลวงพ่อโต๊ะ วัดลาดตาล
8.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
9.หลวงพ่อคำ วัดหน่อพุทธางกูร
10.หลวงพ่อไสว วัดบ้านกร่าง
แล้วจึงนำบรรจุกรุเจดีย์เดิม
จนปี พ.ศ. 2511 เปิดกรุ
สมัยจอมพลถนอม กิตติขจรได้มีจดหมายมาขอพระไปแจกทหารสงครามเวียดนาม ได้เปิดกรุครั้งแรก 4000 องค์
ครั้งที่ 2.สมัยจอมพลประพาส จารุเสถียร ได้ขอไปแจกทหารรุ่นกองพลเสือดำ จำนวน 5000 องค์
ครั้งที่ 3 ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 10,060 องค์
ครั้งที่4 พ.ศ.2513 พ.อ.อำนวย สุรเชษฐ์ ค่ายจิรประวัติ นครสวรรค์ นำไปแจกทหาร 4500 องค์
ครั้งที่ 5มอบให้ ผบ. พันกองบินยุทธการกำแพงแสน นครปฐม 1500 องค์
ครั้งที่ 6 ปี 2523แจกทหารชายแดนอรัญญประเทศ 8900 องค์
ครั้งที่ 7.ปี 2524 งานผูกพัทธสีมาวัดบ้านกร่าง 10000 องค์
แล้วก็ได้ทยอยเปิดกรุออกมาเพื่อให้ประชาชนร่วมทำบุญ จนถึงปัจจุบัน
ราคาเปิดประมูล800 บาท
ราคาปัจจุบัน1,300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 16 มี.ค. 2554 - 19:02.08
วันปิดประมูล จ. - 21 มี.ค. 2554 - 23:00.50 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 1,300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
810 บาท พฤ. - 17 มี.ค. 2554 - 12:52.47
900 บาท พฤ. - 17 มี.ค. 2554 - 17:09.49
1,200 บาท อา. - 20 มี.ค. 2554 - 19:13.56
1,300 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 20 มี.ค. 2554 - 23:00.50
กำลังโหลด...
Top