เหรียญนาคปรกหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส จ.อุดรธานี รุ่นแรก - webpra

ประมูล หมวด:พระเกจิภาคอีสานเหนือ

เหรียญนาคปรกหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส จ.อุดรธานี รุ่นแรก

 เหรียญนาคปรกหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส จ.อุดรธานี รุ่นแรก  เหรียญนาคปรกหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส จ.อุดรธานี รุ่นแรก
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญนาคปรกหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส จ.อุดรธานี รุ่นแรก
รายละเอียดรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และงานบุญบั้งไฟเป็นประเพณีสืบมา
ในรัชกาลที่ 5 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ โปรดให้สร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้นที่บริเวณวัดร้างนี้ แล้วอันเชิญหลวงพ่อนาคประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2437 ต่อมาในพุทธศักราช 2494 พระเทพวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ พร้อมกับบูรณะหลวงพ่อนาคโดยหุ้มพระพุทธรูปองค์เก่าไว้ภายใน
หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ทำจากหินขาวเป็นท่อน นำมาประกอบกันเป็นองค์พระประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมหลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่ที่วัดร้าง บนโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้ง และบ้านใกล้เคียงนับถือว่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงได้พร้อมใจกันปลูกศาลาขนาดเล็ก มุงด้วยหญ้าคาเป็นที่ประดิษฐาน มีการทำบุญสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และทำบุญบั้งไฟบูชาเป็นประจำทุกปี

ต่อมาเมื่อ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงสร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้งนี้ จึงทรงให้สร้างอุโบสถขึ้นที่โนนหมากแข้ง แล้วอาราธนาพระพุทธรูปปางนาคปรก หินขาว ดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถนั้น

ต่อมาทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ จึงได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่า และอาราธนาหลวงพ่อนาค ไปประดิษฐานไว้ที่หน้ามุข ด้านหน้าพระอุโบสถ และได้มีการก่อพระพุทธรูปหุ้มองค์เดิมไว้ ประชาชนถือว่าเป็นพระพุทธรูปมิ่งเมืองอุดรธานี เพราะมีประจำอยู่ที่โนนหมากแข้งก่อนสร้างเมืองอุดรธานี ทางวัดมัชฌิมาวาสถือเอาหลวงพ่อนาคเป็นสัญลักษณ์ของวัดและตราประจำวัด จะมีรูปพระนาคปรกอยู่ตรงกลางหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส
หลวงพ่อนาคองค์เดิมเป็นพุทธรูปปางนาคปรกทำจากหินสีขาว หลังจากบูรณะแล้ว ชาวอุดรที่เคารพศรัทธา สามารถนำทองคำเปลวปิดถวายเพื่อเป็นการสักการะบูชาได้สะดวกขึ้น หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก วัสดุหินขาว พอกปูนทับองค์เดิม ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๔ เซนติ เมตร สูง ๒๖๐ เซนติเมตร (เฉพาะองค์พระสูง ๑๔๙ เซนติเมตร) ศิลปะรัตนโกสินทร์นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดอุดรธานี ประดิษฐานที่มุขด้าน หน้าอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาส

วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ก่อนจะมาเป็นวัด มัชฌิมาวาส วัดมัชฌิมาวาสเป็นวัดร้างมาก่อน ชื่อว่าวัดโนนหมากแข้งแต่หลักฐานที่พอให้ทราบได้ว่าเป็นวัดร้างนั้น ก็มีอยู่ 2 อย่าง คือเจดีย์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่โนน (เนิน) ประชาชนเล่าสืบกันมา ว่าเจดีย์นั้นได้ครอบ หรือ คร่อมตอหมากแข้งขนาดใหญ่ และมีพระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก (ปัจจุบัน คือ หลวงปู่นาค) อยู่ภายในเจดีย์ ปัจจุบัน พระพุทธรูปหินขาว ปางนาคปรก ก็ได้นำมาประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ให้ชาวอุดรฯและจังหวัดใกล้เคียงได้สักการะบูชา กันมาจนถึงทุกวันนี้ และกลายเป็นพระพุทธรูปที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมัชฌิมาวาสตลอดมา


ดูแผนที่เส้นทางไปวัด คลิ๊กที่นี่


วัดมัชฌิมาวาส เดิมชื่อ วัดโนนหมากแข้ง โดยได้รับพระราชทานบรมราชานุญาตสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 ตั้งอยู่ในตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 15 ไร่ 1 งาน มีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออก ติดกับถนนหมากแข้ง และถนนดุษฎี ด้านทิศใต้ ติดกับถนนวัฒนา ด้านทิศเหนือ ติดกับถนนโพนพิไสย อยู่ใกล้กับสถานที่ราชการหลายแห่ง คือ ใกล้ศาลจังหวัดอุดรธานี โดยห่างจากศาลจังหวัดอุดรธานทีเพียง 40 เมตรเท่านั้น ใกล้กับสถานีกาชาดที่ ๙ และสาธารณสุขจังหวัด ประมาณ 30 เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 120 เมตร ด้านหลังติดกับโรงเรียนเทคนิคอุดรธานี โดยห่างกันเพียง 30 เมตร ห่างจากสำนักงานเทศบาลเมืองอุดรธานี ประมาณ 250 เมตร และตั้งอยู่ในย่านกลางของคุ้มต่าง ๆ คือ คุ้มบ้านห้วย คุ้มบ้านโนน คุ้มหมากแข้ง คุ้มทุ่งสว่าง และคุ้มบ้านคอกวัว
พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สมัยดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงใหญ่ ผู้สำเร็จราชการหัวเมืองลาวพวน ได้ทรงสร้างวัดโนนหมากแข้ง (เคยเป็นวัดร้าง) แล้วมีภิกษุจำพรรษาอีกครั้ง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น วัดมัชฌิมาวาส เมื่อราว พ.ศ. 2436 พร้อมกับการสร้าง เมืองอุดรธานีขึ้น วัดมัชฌิมาวาสจึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นวัดที่เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอุดรฯจน ตราบเท่าทุกวันนี้

หลวงพ่อนาค

หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อุดรธานี พบในวัดร้างโบราณที่บ้านโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้งและละแวกใกล้เคียงจัดให้มีงานสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และงานบุญบั้งไฟเป็นประเพณีสืบมา
ในรัชกาลที่ 5 พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ โปรดให้สร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้นที่บริเวณวัดร้างนี้ แล้วอันเชิญหลวงพ่อนาคประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พุทธศักราช 2437 ต่อมาในพุทธศักราช 2494 พระเทพวิสุทธาจารย์ เจ้าอาวาสได้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่ พร้อมกับบูรณะหลวงพ่อนาคโดยหุ้มพระพุทธรูปองค์เก่าไว้ภายใน

หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ทำจากหินขาวเป็นท่อน นำมาประกอบกันเป็นองค์พระประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมหลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่ที่วัดร้าง บนโนนหมากแข้ง ชาวบ้านเดื่อหมากแข้ง และบ้านใกล้เคียงนับถือว่า เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงได้พร้อมใจกันปลูกศาลาขนาดเล็ก มุงด้วยหญ้าคาเป็นที่ประดิษฐาน มีการทำบุญสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์ และทำบุญบั้งไฟบูชาเป็นประจำทุกปี

ต่อมาเมื่อ นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงสร้างวัดมัชฌิมาวาสขึ้น ที่วัดร้างโนนหมากแข้งนี้ จึงทรงให้สร้างอุโบสถขึ้นที่โนนหมากแข้ง แล้วอาราธนาพระพุทธรูปปางนาคปรก หินขาว ดังกล่าวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถนั้น

ต่อมาทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ จึงได้รื้อพระอุโบสถหลังเก่า และอาราธนาหลวงพ่อนาค ไปประดิษฐานไว้ที่หน้ามุข ด้านหน้าพระอุโบสถ และได้มีการก่อพระพุทธรูปหุ้มองค์เดิมไว้ ประชาชนถือว่าเป็นพระพุทธรูปมิ่งเมืองอุดรธานี เพราะมีประจำอยู่ที่โนนหมากแข้งก่อนสร้างเมืองอุดรธานี ทางวัดมัชฌิมาวาสถือเอาหลวงพ่อนาคเป็นสัญลักษณ์ของวัดและตราประจำวัด จะมีรูปพระนาคปรกอยู่ตรงกลางหลวงพ่อนาค วัดมัชฌิมาวาส
หลวงพ่อนาคองค์เดิมเป็นพุทธรูปปางนาคปรกทำจากหินสีขาว หลังจากบูรณะแล้ว ชาวอุดรที่เคารพศรัทธา สามารถนำทองคำเปลวปิดถวายเพื่อเป็นการสักการะบูชาได้สะดวกขึ้น หลวงพ่อนาค เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก วัสดุหินขาว พอกปูนทับองค์เดิม ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๔ เซนติ เมตร สูง ๒๖๐ เซนติเมตร (เฉพาะองค์พระสูง ๑๔๙ เซนติเมตร) ศิลปะรัตนโกสินทร์นับเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดอุดรธานี ประดิษฐานที่มุขด้าน หน้าอุโบสถ วัดมัชฌิมาวาส
ราคาเปิดประมูล330 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 19 มิ.ย. 2556 - 11:57.09
วันปิดประมูล พ. - 10 ก.ค. 2556 - 09:26.32 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ20 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
350 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อ. - 09 ก.ค. 2556 - 09:26.32
กำลังโหลด...
Top