ประมูล หมวด:พระเกจิภาคกลางตอนล่าง
พระดีที่น่ากราบไหว้ ..หลวงพ่อจง วัดเอี่ยมประชามิตร สมุทรปราการ ฉลองอายุ 80 ปี หลังพญานาค ๗ เศียร
ชื่อพระเครื่อง | พระดีที่น่ากราบไหว้ ..หลวงพ่อจง วัดเอี่ยมประชามิตร สมุทรปราการ ฉลองอายุ 80 ปี หลังพญานาค ๗ เศียร |
---|---|
รายละเอียด | พระดีที่น่ากราบไหว้ ..หลวงพ่อจง (พระครูโสภณวรกิจ) วัดเอี่ยมประชามิตร สมุทรปราการ ฉลองอายุ 80 ปี หลังพญานาค ๗ เศียร บทความสมุทรปราการโพสท์ วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ เป็นอีกวันหนึ่งที่ผมและศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อจง โดยเฉพาะคุณพูลผล อัศวเหม นายกสมาคมกีฬาจังหวัด สมุทรปราการ ศิษย์เอกก้นกุฏิเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อที่จะถวายมุทิตาสักการะ ฉลองอายุวัฒนมงคล ครบรอบ ๙๐ ปี ๗๐ พรรษา ของพระครูโสภณวรกิจ (หลวงพ่อจง) วัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) ผมมักจะพูดถึงหลวงพ่อจงอยู่เสมอว่า คนเรานั้นการที่จะดำรงชีวิตให้มีอายุยืนอยู่ได้ถึง ๙๐ ปี นั้นถือเป็นเรื่องที่ยาก แต่หลวงพ่อจงได้ทำเรื่องที่ยากยิ่งกว่าเพราะหลวงพ่อใช้ชีวิตฆราวาสอยู่เพียง ๒๐ ปีเท่านั้น จากนั้นหลวงพ่อได้ดำรงเพศบรรพชิตที่เปี่ยมไปด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม ไร้สิ่ง มัวหมอง เป็นชีวิตที่ถึงพร้อมไปด้วยการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ต่อสัตว์โลกและสังคมมาตลอดระยะเวลาเกือบ ๗๐ ปีที่ผ่านมา เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า ผมจึงขอบันทึกประกาศเกียรติคุณของ “หลวงพ่อจง” พระดีที่น่ากราบไหว้ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ทั้งนี้เพื่อถวายมุทิตาสักการะวันเกิดครบรอบ ๙๐ ปี ๗๐ พรรษา ในฐานะลูกศิษย์คนหนึ่งของหลวงพ่อ ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อจงดังนี้ ชาติกำเนิด หลวงพ่อจงถือกำเนิดในตระกูล “สุดแสง” เมื่อวันเสาร์ ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ณ บ้านเลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๖ ตำบลคลองห้าง อำเภอเมืองสมุทรปราการ (ปัจจุบันคืออำเภอพระสมุทรเจดีย์) จังหวัดสมุทรปราการ ท่านเป็นบุตรของคุณพ่อทิม กับ คุณแม่จิ๋ว สุดแสง โดยมีสถานะเดิมชื่อ นายบรรจง สุดแสง อุปสมบท นายบรรจง สุดแสง สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวัดคลองพระราม อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จากนั้นได้ช่วยคุณพ่อ – คุณแม่ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตขยันหมั่นเพียร จนกระทั่งอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดคลองพระราม ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันพุธ ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๖ โดยมีพระครูพิทักษ์ธรรมโสภิต (เอี่ยม ปภัสสโร) วัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) เป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายาว่า “ตโมนุโท” ภายหลังจากอุปสมบท พระภิกษุ บรรจง ตโมนุโท ได้มุ่งหน้าศึกษาเล่าเรียนปฏิบัติธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ เพียง ๓ พรรษา พระภิกษุ บรรจง ตโมนุโท สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนคณะจังหวัดสมุทรปราการ ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ปี พ.ศ.๒๔๙๘ พระครูพิทักษ์ธรรมโสภิต (เอี่ยม ปภัสสโร) เจ้าอาวาสวัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) ซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ของพระภิกษุ บรรจง ตโมนุโท ได้ลาสิกขา ทำให้วัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) ไม่มีเจ้าอาวาสปกครอง ประชาชนจึงได้นิมนต์ พระภิกษุ บรรจง ตโมนุโท มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๙ จนถึงปัจจุบัน โดยประชาชนทั่วไปมักจะเรียกท่านว่า “หลวงพ่อจง” สร้างสถานีอนามัย หลวงพ่อจง ได้ปกครองดูแลบริหารจัดการกิจการภายในวัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้วัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ พร้อม ๆ กันนั้นหลวงพ่อจงได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ท่านได้ร่วมกับข้าราชการและประชาชนจัดสร้างสถานีอนามัยตำบลแหลมฟ้าผ่าขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ โดยมีที่ตั้งอยู่ข้างวัด ทั้งนี้เพื่อบริการประชาชนที่จะต้องเดินทางด้วยความยากลำบากไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลปากน้ำ ปัจจุบันสถานีอนามัยแหลมฟ้าได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลแหลมฟ้าผ่า (รพ.สต.) ทำบุญสองต่อทวีคูณ หลวงพ่อจง ดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ๆ ไม่สะสมทรัพย์สินใด ๆ ตามแบบพุทธบุตรอย่างแท้จริง เงินทำบุญที่ญาติโยมถวายเป็นการส่วนตัว หลวงพ่อจะนำใส่ขวดโหลไว้แล้วจะนำเงินดังกล่าวทำบุญต่อให้กับโรงพยาบาล โรงเรียน และผู้ด้อยโอกาสมาอย่างสม่ำเสมอ โดยท่านให้เหตุผลว่าญาติโยมจะได้บุญสองต่อทวีคูณ ส่วนตัวหลวงพ่อเองท่านบอกว่าท่านมีหม้อข้าวของพระพุทธเจ้า (บาตร) อยู่แล้วจึงไม่ต้องกลัวว่าจะอดอยากและไม่ต้องการจะสะสมอะไรอีกในชีวิตนอกจากคุณงามความดี ซึ่งหลวงพ่อได้ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างมาตลอดชีวิต ธรรมะง่าย ๆ สไตล์หลวงพ่อจง นอกจากการดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายแล้วหลวงพ่อจงยังมีธรรมะง่าย ๆ ให้กับทุกคน ท่านเป็นพระที่พูดตรง ฟังง่าย เข้าใจง่าย แต่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ธรรมะที่ท่านเทศน์สั่งสอนญาติโยมส่วนใหญ่เป็นธรรมะที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ตัวอย่างเช่น “ความสุขของสมณะ คือ สุขด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนความสุขของผู้ครองเรือนนั้นคือ ๑.ความสุขจากการมีทรัพย์ ๒.ความสุขจากการจ่ายทรัพย์ ๓.ความสุขจากการไม่ต้องเป็นหนี้ ๔.ความสุขจากการมีงานทำที่ปราศจากโทษ ความสุขจะมีมาได้ต้องขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน หิวกิน อยากไม่กิน รับ-จ่ายไม่สำคัญแต่สำคัญว่าเหลือเท่าไหร่ และต้องเว้นจากอบายมุข (ทางแห่งความเสื่อม) คือไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เล่นการพนัน ไม่คบเพื่อนชั่วเป็นมิตร ไม่เกียจคร้านทำงานการ ฯ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือมีศีล ๕ ข้อ ย่อมมีความสุข มีโภคสมบัติ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ในปัจจุบันและในอนาคตกาล” สร้างพระพุทธรูปเตือนใจสาธุชน ในระยะแรก ๆ หลวงพ่อจงนิยมสร้างพระพุทธรูปปางลีลาแล้วนำไปประดิษฐานยังสถานที่ราชการ และสถานศึกษาในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ท่านบอกว่าพระพุทธรูปปางลีลาเป็นการกระตุ้นเตือนให้ข้าราชการและนักเรียนนักศึกษาที่สักการบูชาได้ก้าวเดินอย่างมั่นคงเหมือนพระพุทธรูปปางลีลา ต่อมาหลวงพ่อได้สร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรไปประดิษฐานยังสำนักงานเทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ โดยมีคติธรรมเป็นการห้ามปรามมิให้ข้าราชการกระทำในสิ่งไม่ดี อีกทั้งเป็นการปกป้องมิให้สิ่งไม่ดีเข้าสู่หน่วยงานนั้น ๆ สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ปี พ.ศ.๒๕๓๔ นายอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ในขณะนั้น ได้ขอเมตตาให้หลวงพ่อจงสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประดิษฐานด้านหน้าที่ว่าการอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ท่านจึงบอกบุญให้ครูละเอียด หลวงอุดม สร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ขนาดเท่าพระองค์จริงนำไปประดิษฐานบนแท่นด้านข้างที่ว่าการอำเภอพระสมุทรเจดีย์ โดยทำการประดิษฐานเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๔ มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้า ได้ขอเมตตาให้หลวงพ่อจงสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ขนาดเท่าที่ประดิษฐานข้างที่ว่าการอำเภอพระสมุทรเจดีย์เพื่อนำไปประดิษฐานที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า หลวงพ่อจงพิจารณาดูแล้วมีความคิดว่าป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การสร้างพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ที่มีขนาดเล็ก ย่อมไม่เหมาะสม ไม่สมพระเกียรติ ท่านต้องการให้สร้างเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดใหญ่ประดิษฐานอย่างมั่นคง แต่ติดปัญหาที่การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดใหญ่จะต้องขออนุญาตจากสำนักพระราชวังก่อน หลวงพ่อจึงนำเรื่องไปปรึกษากับ ดร.สุนทร เสถียรไทย บุตรชายของ นาวาโท เที่ยง เสถียรไทย อดีตผู้บังคับป้อมพระจุลจอมเกล้า และเป็นบิดาของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ซึ่งท่านเป็นคนแหลมฟ้าผ่าโดยกำเนิดและให้ความเคารพในตัวหลวงพ่อจงเป็นอย่างมาก ดร.สุนทร และ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ได้ดำเนินการขอนุญาตจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์จากสำนักพระราชวังจนสำเร็จ ส่วนงบประมาณที่จะใช้ในการก่อสร้างนั้นหลวงพ่อจงได้จัดตั้งมูลนิธิพระบรม ราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๕ ขึ้นเพื่อระดมทุนในการจัดสร้าง จนกระทั่งการจัดสร้างเสร็จสิ้นอย่างงดงาม ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติประดิษฐานอย่างมั่นคง ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า จนถึงปัจจุบัน และยังคงเหลือเงินอีกกว่า ห้าล้านบาทเพื่อใช้ในการบริหารจัดการดูแลพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งความเป็นเอกราชต่อไป อิทธิฤทธิ์เหรียญ ๘๙ ปี ห้ามพายุ นอกจากการสร้างพระพุทธรูป และพระบรมรูปแล้ว หลวงพ่อจงยังนิยมจัดสร้างพระผงและเหรียญที่ระลึก เพื่อแจกเป็นที่ระลึกให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญในโอกาสต่าง ๆ เช่นงานวันเกิด งานกฐินประจำปี โดยมิได้มีการให้เช่าบูชา จนกระทั่งในปี ๒๕๕๕ สามหนุ่มแห่งตระกูลอัศวเหมประกอบด้วย คุณพิบูลย์ อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ คุณพูลผล อัศวเหม นายกสมาคมกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ และ คุณชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้ร่วมกันจัดสร้างเหรียญที่ระลึกครบรอบวันเกิด ๘๙ ปีของหลวงพ่อจง และพระกริ่งแหลมฟ้าผ่าเพื่อให้เช่าบูชาเป็นครั้งแรกในจำนวนจำกัด ผลปรากฏว่าประชาชนหลั่งไหลเช่าบูชาจนหมดเกลี้ยงในเวลาอันรวดเร็ว “ผมได้รับเหรียญที่ระลึกที่แจกให้กับคณะกรรมการจากมือหลวงพ่อจง ๑ เหรียญ และคล้องคอบูชามาตลอด วันหนึ่งขณะที่ผมกำลังดูแลการก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งสร้างด้วยไม้ไผ่มุงจากอยู่กลางทุ่งนา ได้เกิดพายุหมุนรุนแรงมากขนาดพายุหอบเอาหลังคามุงกระเบื้องยุ้งเกลือไปไกลหลายกิโล พายุพัดเข้ามาที่โรงมุงจากของผมแรงมากแทบจะถอนมันขึ้นมาจากพื้นดิน ผมได้แต่ยืนลุ้นเกาะเสารอความพินาจอยู่ตรงหน้า แต่แล้วก็นึกได้ว่ามีเหรียญ ๘๙ ปีหลวงพ่อจงคล้องคออยู่ ผมจึงถอดเหรียญใส่มืออาราธนาขอบารมีหลวงพ่อจงแล้วยกขึ้นเหนือหัวร้องว่า “หลวงพ่อจง” ช่วยด้วย สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นจริงเมื่อพายุที่พัดกระหน่ำกลับพัดหลีกจุดที่ผมยืนเป็นสองฝั่งแบบเห็น ๆ ตั้งแต่นั้นมาผมยิ่งเชื่อมั่นในบารมีของหลวงพ่อจงและคล้องเหรียญหลวงพ่อจงติดคอตลอดเวลา” สมณะศักดิ์ แม้หลวงพ่อจงจะมิได้ให้ความสนใจกับยศของพระ หรือ สมณะศักดิ์ แต่ด้วยคุณงามความดีของท่าน ทำให้ท่านได้รับสมณะศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรสูงขึ้นตามลำดับดังนี้ พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท พ.ศ.๒๕๑๓ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก พ.ศ.๒๕๑๘ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก พ.ศ.๒๕๒๒ เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ เปิดหน้าประวัติศาสตร์ “เจ้าคุณ” รูปแรกของอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ทุกวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) จะทรงพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศถวายแด่พระสงฆ์ที่ได้รับแต่งตั้งสมณะศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญขึ้นไป หรือที่เรียกว่า “เจ้าคุณ” ทั้งนี้นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังไม่ปรากฏว่ามีพระสงฆ์รูปใดที่ได้รับสมณะศักดิ์เป็น “เจ้าคุณ” มาก่อน แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ มีข่าวดีที่สร้างความปลาบปลื้มให้กับบรรดาลูกศิษย์ของหลวงพ่อจง โดยข่าวรายงานว่า พระครูโสภณวรกิจ (หลวงพ่อจง) วัดเอี่ยมประชามิตร (วัดแหลมฟ้าผ่า) ได้รับการพิจารณาจากที่ประชุมพระเถรานุเถระให้ได้รับสมณะศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ หรือ เป็นเจ้าคุณ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ซึ่งถือเป็น “เจ้าคุณ” รูปแรกของอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ตามราชทินนามว่า “พระมงคลสีลคุณ”ซึ่งพระราชธรรมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรปราการ เจ้าอาวาสวัดกลางวรวิหาร เป็นผู้เสนอตั้งไว้ เป็นเครื่องยืนยันแห่งความดีงามของหลวงพ่อจงที่สร้างสมปฏิบัติมาตลอด ๙๐ ปีที่ทรงคุณค่าแห่งการกราบไหว้และการจดจำ “ขอแสดงมุทิตาสักการะ ด้วยความเคารพ” นาวาโท กีรติ เทศเจริญ ***ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือพิมพ์สมุทรปราการโพสท์และท่าน นาวาโท กีรติ เทศเจริญ มากๆครับ |
ราคาเปิดประมูล | 489 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 499 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 23 พ.ค. 2556 - 11:07.25 |
วันปิดประมูล | ศ. - 24 พ.ค. 2556 - 12:40.21 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...