ประมูล หมวด:หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค – หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค – หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
รูปหล่อหลวงพ่อพรหมพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อชาร์ปรถไฟ กรมการรถไฟจัดสร้าง ปี15 สภาพสวย
ชื่อพระเครื่อง | รูปหล่อหลวงพ่อพรหมพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อชาร์ปรถไฟ กรมการรถไฟจัดสร้าง ปี15 สภาพสวย |
---|---|
รายละเอียด | ประวัติการสร้าง “พระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหม เนื้อชาร์ฟรถไฟ” จัดสร้างโดย คุณวินัย อยู่เย็น อดีตพนักงานการรถไฟ สังกัดแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ฝ่ายการช่างกล ( ตำแหน่งที่ดำรงท้ายสุด คือพนักงานขับรถไฟ ) ได้เกษียณอายุราชการไป แล้วปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ได้หารือร่วมกับหลวงพ่อผิว ซึ่งเป็นพระลูกวัดช่องแคและเป็นพระ ลูกศิษย์หลวงพ่อพรหมในขณะนั้นว่า ทางพนักงานการรถไฟฯ อยากจะสร้างพระที่เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น เพื่อที่จะแจกจ่ายให้กับพนักงานการรถไฟฯ ไว้ติดตัวเพื่อบูชา และมอบให้ทางวัดเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านทั่วไปบ้าง ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้ มีชาวบ้านและบุคคลทั่วไปต่างก็สร้างพระมาถวายให้หลวงพ่อพรหมทำการปลุกเสกให้ ด้วยความเคารพในตัวหลวงพ่อพรหมหลายคณะหลายบุคคล ซึ่งคุณวินัยฯ ได้หารือกับเพื่อนพนักงานและผู้บังคับบัญชาแล้วเห็นว่า เศษเนื้อชาร์ฟ รถไฟที่ทางการไม่ใช้แล้วและไม่สามารถนำกลับมาใช้งานอีกได้ ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งไป โดยเปล่าประโยชน์และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำหน่วยงานของการรถไฟฯ เศษ เนื้อชาร์ฟรถไฟเป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวและเป็นวัสดุที่บุคคลภายนอกจะหา รวบรวมให้เป็นจำนวนมากได้ยากมาก เมื่อนำมาทำเป็นชิ้นงานออกมาแล้วจะยากแก่การ ปลอมแปลง จึงได้ทำการขออนุญาตหลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหม ขึ้น หลังจากที่ทางวัดได้มีการจัดสร้างพระชุดหลวงพ่อพรหมรุ่นเสาร์ ๕ ปี พ.ศ.2512 แล้ว ทางคุณวินัย อยู่เย็น และคณะจึงได้มีการขออนุญาตจัดสร้างพระขึ้นดังต่อไปนี้ 1. สร้างรูปเหมือนหล่อโบราณ โดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ไม่ทราบชื่อผู้แกะแม่พิมพ์ ลักษณะ ไม่เหมือนรูปหล่อของหลวงพ่อในชุดใด เมื่อหล่อไปจะแก้ไขพิมพ์ไปทำให้บุคคลที่ได้ ครอบครองในภายหลังเกิดความสับสน ลักษณะเนื้อโลหะที่ใช้ทราบจากผู้ที่มีส่วนร่วมใน การหล่อพระบอกว่ามีส่วนผสมของเนื้อเงินผสมกับเนื้อชาร์ฟรถไฟ จำนวนการสร้าง ประมาณ 100 องค์ หลังจากที่สร้างพระรูปเหมือนดังที่กล่าวในข้อ 1. แล้ว พระที่ได้มีรูปแบบที่ไม่น่าพอใจ จึงได้มีการขออนุญาตทำพระขึ้นใหม่ ดังนี้ 1.1 แบบพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อชาร์ฟรถไฟ ตอกโค๊ดใต้ฐานเป็นตัว “พ”อยู่ในใบโพธิ์ โดยถอดแบบมาจาก พระรูปเหมือนพิมพ์ก้นระฆัง ปี 2512 ของพระอาจารย์ (หลวง พ่อพรหม) แต่เพื่อมิให้สับสนและปนกับพระที่พระอาจารย์สร้างไว้ก่อนหน้าคือ ปี 2512 แล้วนั้น จึงแกะแม่พิมพ์ตัว “ผ” เพิ่มไว้ที่ด้านหน้าตรงสังฆาฏิ เพื่อเป็น เอกลักษณ์ จึงสร้างในกรณีพิเศษ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์สายพนักงานรถไฟฝ่ายการ ช่างกล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบนหัวรถจักร (พนักงานขับรถไฟ) ที่ลงพักค้างคืนที่ สถานีรถไฟช่องแค ซึ่งในอดีตสถานีรถไฟช่องแคเป็นศูนย์รวมของพนักงานการ รถไฟฯ อยู่หลายฝ่าย เช่น การเดินรถ, ช่างกล, ฟืน, หิน และเอกชนที่รับเหมาช่วง งานอีกมาก (พระที่สร้างเน้นมอบให้ฝ่ายช่างกล) และได้มอบพระส่วนหนึ่งประมาณ 100 องค์ ให้ที่โรงงานรถไฟมักกะสัน เนื่องจากได้มอบเศษเนื้อชาร์ฟรถไฟมาถวาย เพื่อใช้เป็นวัสดุในการจัดสร้างพระในครั้งนั้น ซึ่งเป็นพระรุ่นแรกที่ใช้เศษเนื้อชาร์ฟ สร้าง พระสร้างได้ 497 องค์ * ในพระชุดนี้เป็นพระที่เริ่มสร้างจากเศษเนื้อชาร์ฟที่ได้มาจากเศษชาร์ฟที่เกิดจากการละลาย เนื่องจากขาดการหล่อลื่น ( รถพ่วงเพลาร้อน ) เนื้อชาร์ฟจะละลายตกลงในอ่างน้ำมันของ หม้อเพลาล้อรถไฟ เนื้อชาร์ฟจะดำเป็นก้อน เนื่องจากมีน้ำมันเพลาจักรเกาะอยู่ที่ผิวของ ชาร์ฟที่ละลายเมื่อหล่อพระออกมาแล้ว ผิวพระส่วนมากจะมีผิวสีออกดำเหมือนผิว ตะกั่วเก่า… * โค๊ดที่ใช้ตอกใต้ฐาน เป็นตัว “พ”อยู่ในใบโพธิ์ (เดิมผู้สร้างตั้งใจทำให้เป็นตัว “พ” ในดอกบัว) พระอีกส่วนหนึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่เป็นจำนวนที่น้อยมากจะไม่ตอก โค๊ดที่ใต้ฐานแต่จะมีจารตัว “มะ อะ อุ”แทน และยังมีพระอีกประมาณ 10 องค์ ที่คุณ อัมพรฯ (ผู้ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระทั้งหมด) ได้นำพระมาเจาะที่ใต้ฐานและนำ เกศา, จีวร, ผงพุทธคุณของหลวงพ่อมาบรรจุไว้ .1.2 พิมพ์หล่อโบราณ แบบพิมพ์หลวงพ่อเดิม ที่ฐานด้านหลังระบุปี พ.ศ. 2513 เลข อารบิค สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์ (ผู้ที่แกะแม่พิมพ์คือ คุณประสิทธิ์ ประภัทสร) 1.3 พิมพ์หูกาง ด้านหลังตอกโค๊ดเลข ๕ สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์ 1.4 พิมพ์แบบแผ่นปั๊ม (ถอดพิมพ์แผ่นปั๊ม ปี2512 หลวงพ่อพรหม)สร้างจำนวน 12 องค์ ***เนื้อพระในการสร้างครั้งต่อมาช่วงหลังจากที่ได้สร้างพระเนื้อชาร์ฟครั้งแรกแล้วจะ เป็นเศษชาร์ฟที่ได้จากการขูดผิวหน้ากาบเพลาชาร์ฟให้เรียบที่โรงซ่อมรถพ่วงปากน้ำโพ ทำให้เนื้อพระที่หล่อได้มีความสวยขึ้นกว่าเดิม สีพระจะมีหลายสี เช่น ผิวขาวเหมือนผิว ปรอทที่เกิดจากดีบุก ผิวปรอทเหลือบทองเกิดจากขณะที่หลอมเนื้อชาร์ฟแล้วไฟแรงเกิน ไปจะมีลักษณะเหมือนไฟไหม้สีผิว พระที่ได้จึงมีสีออกเหลือบทอง เนื้อพระชนิดนี้เมื่อ ถูกจับต้องโดนเหงื่อจากการนำไปใช้บูชาจะมีสีเหมือนสนิมแดงบนผิว เกิดจากคราบสนิม ของนิกเกิ้ลและแทรกอยู่ตามซอกองค์พระ ผิวพระแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่เป็นเส้นเสี้ยนสั้นๆ คล้ายฝอยขัดหม้อ และ แบบเป็นเม็ดหรือเกล็ดแบบเกล็ดน้ำตาลทราย ซึ่งผิวพระทั้ง 2 แบบนี้เกิดจากขั้นตอนใน การหล่อพระ หลังจากที่มีการสร้างพระชุดนี้ออกมาแล้ว ทางพนักงานการรถไฟและบุคคลทั่วไปมี ความต้องการที่จะได้พระไว้บูชาเป็นจำนวนมาก จึงมีการจัดหาวัสดุที่จะสร้างพระ คือเศษ เนื้อชาร์ฟรถไฟมอบให้ทางคุณวินัยฯ และคณะรวบรวมเพื่อขออนุญาตสร้างพระขึ้นอีก วัสดุที่ได้มีที่มาดังนี้ *** จากพนักงานโรงงานรถไฟที่มักกะสัน *** จากพนักงานโรงงานรถไฟที่อุตรดิตถ์ *** จากพนักงานรถพ่วงปากน้ำโพ *** จากพนักงานหน่วยซ่อมที่แม่น้ำ *** และหน่วยพนักงานซ่อมที่ช่องแคอีกด้วย ทางคุณวินัยฯ และคณะจึงมีการสร้างพระขึ้นอีกครั้ง การสร้างเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็นต้นมา การสร้างไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน จะสร้างไปเรื่อยๆ แล้วแต่วัสดุและ เวลาจะอำนวยเพราะคณะผู้จัดสร้างล้วนแต่มีหน้าที่ประจำที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว สร้างจน ถึงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2516 เศษเนื้อชาร์ฟรถไฟหมดและประกอบกับ แม่พิมพ์เริ่มชำรุดจึงได้หยุดการสร้าง จำนวนพระที่สร้างได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 10,000 องค์เศษ 2. พระชุดหลัง กล่าวได้ว่าเป็นชุดที่ 2 ที่จัดสร้างตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็นต้นมา มีแบบพิมพ์ดังนี้ 2.1 พิมพ์ก้นระฆังแบบที่ 1 สร้างประมาณ 4,000 องค์ แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบๆ ละ ประมาณ 2,000 องค์ *** แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙๙๙ ( ตัวเลขไทยจะเป็นตัวใหญ่ ) *** แบบที่ 2 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙๙๙ ( ตัวเลขไทยจะเป็นตัวเล็ก ) * พิมพ์นี้จุดมุ่งหมายสำหรับแจกพนักงานฝ่ายช่างกลโดยเฉพาะ 2.2 พิมพ์กันระฆังแบบที่ 2 สร้างประมาณ 4,000 องค์ แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบๆ ละ ประมาณ 2,000 องค์ *** แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙๐ ( ตัวเลขไทยใหญ่ ) *** แบบที่ 2 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙๐ ( ตัวเลขไทยเล็ก ) * แบบโค๊ดทั้ง 2 แบบ แบบตัวเลขไทยใหญ่ สำหรับแจกพนักงานตั้งแต่ระดับชั้นตรีขึ้นไป แบบตัวเลขไทยเล็ก สำหรับแจกพนักงานโดยทั่วไป พระที่สร้างเมื่อถึงปี 2515 ได้มีการสร้างพระเพิ่มขึ้นอีก 1 พิมพ์ โดยใช้แบบแม่พิมพ์ เดียวกันคือพิมพ์หูกางที่ตอกโค๊ดเลข “๕”ด้านหลัง นำมาตอกโค๊ดเลข ๑๕ ในวงกลมแทน และโค๊ดเลข ๑๕ ในวงกลมนี้ยังได้ใช้ตอกลงในพิมพ์ก้นระฆังด้วย พิมพ์ก้นระฆังตอกโค๊ด เลข ๑๕ ในวงกลม สร้างประมาณ 500 องค์ * พระที่ตอกโค๊ดเลข ๑๕ นี้ ทางผู้สร้างเจตนามอบให้กับพนักงานรถไฟในส่วนกลางใน กรมรถไฟ ( หัวลำโพง, มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์ ) ในปี 2515 นั้น ทางคณะผู้สร้างเห็นว่าในปี 2516 จะเป็นปีที่จะมีการปลุกเสกพระ ในพิธีเสาร์ ๕ จึงได้มีการสร้างพระสมเด็จหลังยันต์สิบขึ้น เมื่อสร้างพระไประยะหนึ่ง แม่พิมพ์เกิดรอยแตกชำรุดขึ้นเรื่อยๆ พระที่ได้โดยมากจะเป็นพิมพ์บล็อคแตก พระที่ สมบูรณ์จริงๆ มีน้อย พิมพ์พระสมเด็จหลังยันต์สิบมีจำนวนการสร้างประมาณ 1,000 องค์ โค๊ดที่ใช้ตอกเพื่อมิให้สับสนกับพิมพ์อื่นจึงใช้โค๊ดเลข ๑๕ อยู่ในวงกลมตอกตรงบริเวณ ไหล่ขวาขององค์พระ ( แม่พิมพ์แกะต่างหากไม่เหมือนของวัด ) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น พระที่สร้างจะทำการสร้างไปเรื่อยๆ เมื่อคุณวินัยฯ ทำ ขบวนมาลงพักค้างคืนที่สถานีรถไฟช่องแค ก็จะนำพระที่หล่อเสร็จมามอบให้หลวงพ่ออธิษฐานจิต หลวงพ่อจะอธิษฐานจิตให้ตลอดคืน ตอนเช้าเมื่อจะทำขบวนรถไฟกลับจึง จะมารับพระคืน และก็ได้นำมาแจกต่อๆ กันไป พระที่สร้าง… เมื่อสร้างมาจนถึงประมาณเดือนพฤศจิกายน ปี 2516 จึงหยุดสร้าง และมีพระที่เหลืออยู่กับคุณวินัยฯ ที่ยังไม่ได้แจกให้กับเพื่อนพนักงานจำนวนมากพอสมควร คุณวินัยฯ ได้นำมาเข้าพิธีปลุกเสกครั้งสุดท้าย เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของหลวงพ่อพรหมในปี พ.ศ. 2517 โดยคุณวินัยฯ ได้นำพระจำนวนดังกล่าวมาเข้าร่วม ในพิธีโดยการใส่มาในปี๊บน้ำมันก๊าด จากที่ได้ทราบมาพระที่คุณวินัยฯ ได้สร้างมานี้ตั้งแต่ที่ได้เริ่มสร้างเมื่อปี 2513 –2516 เมื่อทางวัดมีพิธีปลุกเสกหากคุณวินัยฯ มีพระเหลืออยู่ คุณวินัยฯ จะนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสก กับทางวัดทุกครั้ง ( ดังนั้นพระชุดนี้บุคคลภายนอกจึงไม่ค่อยทราบประวัติ ) ** เนื้อชาร์ฟ** ชาร์ฟ คือ ชิ้นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ใช้ในรถจักรไอน้ำและรถพ่วง ในรถยุคแรกๆ ของรถไฟ ทำหน้าที่เดียวกับบูทลูกปืนล้อรถในปัจจุบันนี้ครับ (ในสมัยรถ จักรไอน้ำยังไม่มีบูทลูกปืน) และปัจจุบันทางการรถไฟฯ เลิกใช้ชาร์ฟมานานแล้ว โดย เปลี่ยนมาใช้บูทลูกปืนแทน… ลักษณะการสร้าง “พระเนื้อชาร์ฟหลวงพ่อพรหม” สร้างโดยใช้วิธีการเทหล่อ โดยการนำพระหลวงพ่อพรหมแบบพิมพ์ต่างๆ เช่น พิมพ์ ก้นระฆัง, หูกาง มาถอดพิมพ์ด้วยดินขาว แล้วผ่าครึ่งองค์ทางด้านข้างองค์พระ เพื่อนำพระ ที่ใช้ถอดพิมพ์แยกออก จะได้แบบแม่พิมพ์ออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อ ได้แบบแม่พิมพ์ทั้ง 2 ด้านแล้ว จะนำมาประกบกันเพื่อใช้ทำการหล่อพระ *** จากจุดนี้ จะสังเกตุได้ว่าพระเนื้อชาร์ฟทุกองค์ จะต้องมีรอยตะไบตบแต่งเนื้อล้นที่ ด้านข้างรอบๆ องค์พระและใต้ฐานพระทุกองค์… *** พระเนื้อชาร์ปรถไฟนี้มีในงานประกวดพระประจำ จ.นครสวรรค์ครับ ประเภทพระคณาจารย์ท้องถิ่นครับ ดังนั้นเรื่องการสร้างพระเนื้อชาร์ปนี้จึงมีการจัดสร้างจริง แต่เป็นไปในนามองค์กรโดยเฉพาะครับ |
ราคาเปิดประมูล | 4,000 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 4,100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 20 บาท |
วันเปิดประมูล | อ. - 16 เม.ย. 2556 - 14:39.56 |
วันปิดประมูล | พฤ. - 18 เม.ย. 2556 - 11:14.42 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...