เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง - webpra

ประมูล หมวด:หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง - หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม

เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง

เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ หลวงปู่ใหญ่ วัดท่าซุง
รายละเอียดประวัติหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์
หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นที่เก่าแก่ อยู่ในวิหารหลวงปู่ใหญ่มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (หลวงปู่ใหญ่มาบูรณะวัดนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ครองราชย์ได้ปีที่ ๙ หลวงปู่ใหญ่ท่านมาถึงวัดท่าซุงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๓๒)

ในวิหารนี้มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่หลายองค์ส่วนมากจะปั้นเป็นพระพุทธรูปทรงสมัยอยุธยาเป็นเกศหนามขนุนทั้งสิ้น ต่อมาพระพุทธรูปบางองค์รวมทั้งหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ถูกพวกมิจฉาชีพตัดเอาเศียรพระไป และมีคนมาปั้นเศียรพระต่อให้แต่ก็ไม่สวยงามเท่าไรนัก โดยปั้นเป็นหน้าคนฟันเหยิน ตาโปน หมุ่นมวยผม

ดังนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ผู้บูรณะได้กราบขออนญาตจากพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อมหาวีระ ถาวโร หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เจ้าอาวาสวัดท่าซุงในสมัยนั้น) ซ่อมแซมพระพุทธรูปทั้งหมดที่ชำรุด รวมทั้งขอปั้นปูนทับอค์หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ด้วย หลวงพ่อท่านอนุญาต และได้กล่าวอีกว่า พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อปั้นเสร็จให้ทำป้ายชื่อติดเอาไว้ พ่อให้ชื่อท่านว่า "หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์"ต่อไปในภายภาคหน้าจะมีคนขึ้นกับท่านมาก และนี่ก็คือประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ตามที่ได้กล่าวมาจนถึงทุกวันนี้...

สิ่งที่ผู้คนนิยมมาทำบุญและขอพระกับหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์มากทีเห็นก็คงจะเป็นการถวายผ้าสไบห่มองค์พระ โดยจะมีหลวงพี่องค์หนึ่งท่านนำสวดถวายและขอพรให้ เรียกว่าแบบละเอียดเลยก็ว่าได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคนเยอะขนาดไหน ถ้าคนเยอะเกินไปท่านจะไม่อธิบายมาก แนะนำให้ไปวันธรรมดาคนน้อยๆท่านจะเล่าสาระดีๆให้เกี่ยวกับหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ให้ฟังอย่างละเอียด

โดยทั่วไปที่วิหารหลวงพ่อใหญ่แห่งนี้คนจะหนาแน่นเป็นพิเศษในช่วงงานฝึกมโนมยิทธิเต็มกำลัง... เพราะเป็นช่วงที่บุคคลทั้งหลายต้องการกำลังใจกันสุดๆ เรียกว่าช่วงก่อนงานมโนยิทธิภายในวิหารนี้แทบไม่มีที่จะให้นั่งเลยก็ว่าได้ ที่แน่นไม่ใช่เพราะอะไร ส่วนใหญ่คนจะมาขอพรให้สำเร็จในการได้มโนมิยทธเต็มกำลังกันทั้งนั้นและส่วนใหญ่ก็สัมฤิทธิ์ผลซะด้วย...

ฉะนั้นถ้าใครได้อ่านและปรารถนาที่จะได้ชมบารมีของท่านก็ขอเชิญสักการะได้ที่วิหารหลวงปู่ใหญ่ อยู่คู่กับโบสถ์เก่า วัดท่าซุง ท่านเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์มาก บางท่านได้อธิษฐานจิตขอพรจากท่าน และได้สมความปรารถนาก็มีหลายราย ดังนั้นท่านใดที่สนใจจะเข้าชมบารมีหรืออธิษฐานจิตขอพรจากท่านก็เชิญได้ตามที่ปรารถนา ถ้าไม่เกินวิสัยก็ขอให้โชคดี สมความปรารถนาทุกผู้คน
---------------------------------------------------------------------------

หลวงพ่อใหญ่องค์ที่สร้างวัดนี้เป็นองค์แรก ที่เขาเรียกท่านว่า "หลวงพ่อใหญ่" ความจริงท่านบอกว่าท่านชื่อ "ปาน" เหมือนกัน องค์นี้ศักดิ์สิทธิ์นะ ถ้าเกณฑ์ทหารใครมาบน ๒ คน รับรองถูกคน ถ้าหากมาบนองค์เดียวรับรองไม่ถูกแน่ ท่านไปถึง ฉันอยู่ที่วัดสะพาน ฉันช่วยวัดสะพานเขา ๒ ปี กลางคืนท่านไป กำลังเจริญกรรมฐาน ท่านไปเอ๊ะ สว่างจ้า เอ๊ะใครมามันสว่างผิดปกติ คือเทวดากับพรหมกับพระอริยะนี่ปกติไม่เหมือนกัน พระอรหันต์ที่นิพพานแล้วก็ไม่เหมือนกัน นี่เป็นรัศมีของพระอรหันต์ที่นิพพานแล้ว สว่างมาก เรานั่งๆ อยู่ เอ๊ะอะไรกันแน่ พอปั๊บท่านก็มาเป็นพระสงฆ์ บอกว่า "แกไปช่วยสร้างไอ้วัดท่าซุงให้รุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่งเถอะ" ถามว่า "อีกครั้งหนึ่งหมายความว่าผมเคยทำมาแล้ว และว่าเคยทำมาเมื่อไหร่" ท่านบอกว่า "แกเคยทำมาแล้ว ๒ สมัย คือสมัยพระเจ้าสามพระยา กับ สมัยพระนารายณ์"
ท่านก็ให้ดูภาพวัดเดิมๆ มีสภาพเป็นยังไง เวลานี้มันย่อบยับหมดแล้ว ไม่มีละ
ถามว่า "เพราะอะไร..?"
บอกว่า "มันขายกินหมด.."
ถามว่า "พระที่นั่นพระดีๆมีกี่สมัย..?"
ท่านบอกว่า "สมัยท่านมาจนกระทั่งถึงหลวงพ่อเล่ง หลวพ่อไล้ จะถึงนะ ชุดนั้นเป็นพระอรหันต์หมด.."

ที่นี่เป็นคลังอรหันต์ แต่หลวงพ่อเล่ง หลวงพ่อไล้นี่เป็นพระทรงฌานโลกีย์ ยังดีอยู่หลังจากนั้นมาเป็น "ภิกขุพานิช" หมดรู้จักไหม มีอะไรขายหมด จำไว้นะ "ภิกขุพานิช"

ถามว่า "ขึ้นมาที่นี่ ไปแล้วจะมีอุปสรรคแบบไหนบ้าง..?"
"คนบ้านนั้นจะไม่เอากับแก จะมีบ้างแต่คนดีเขามีอยู่"
ถามว่า "จะทำยังไง"
บอก "ไม่เป็นไรฉันจะช่วย"

เรื่องจริงๆแล้ว เวลานั้นพระอรหันต์ท่านรวมตัวกันช่วย รวมตัวเลย อย่างอยู่ๆ พระประธานมาก่อน โบสถ์ยังไม่มี ท่านกะให้เลยปี ๒๐ ฝังลูกนิมิตได้เลย เอ๊ะ...เราก็ยังไงกันแน่ ตังค์ แหม...เงินหมื่นยังหาไม่ได้ แต่แกเอาพระประธานมา แกให้ทุนไว้หมื่นหนึ่ง แล้วคนนั้นคนนี้มั่งก็ได้สัก ๒ - ๓ หมื่น โบสถ์มันเป็นล้าน หมื่นรู้เรื่องเรอะ ใช่ไหม พอเสร็จที่ฝั่งนี้ยังไม่มี ที่ฝั่งนี้ยังไม่ใช่ ที่ฝั่งนี้ซื้อทั้งหมดนะ ซื้อ ๑๐๐ ไร่กว่า ค่อยมาซื้อไปทีละหน่อยๆ ญาติโยมเขาช่วยกัน มาซื้อทีหลังพอเริ่มจะทำโบสถ์ ฝนตกเป็นฝอยเป็นละออง เม็ดสีแดง เป็นฝนโบกขรพรรษ พอวันจะนำพระประธานเข้าอีกเหมือนกัน มีสภาพเหมือนกัน แต่หลวงพ่อขนมจีนท่านบอกว่า "แกจะทำอะไรอย่าลืมขนมจีนข้านะ" ท่านช่วยอย่าลืมขนมจีน บางทีเราก็ลืม ท่านก็ช่วย ท่านเป็นพระเจ๊กนี่ พ่อโล้ง-เล้งๆ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ รองจากหลวงพ่อใหญ่ แต่หลวงพ่อใหญ่ท่านบอก "แกเป็นน้องข้ามาหลายชาติ แกช่วยหน่อยเฮอะ" ก็เลยถามประวัติความเป็นมาว่า "วัดท่าซุงนี่เริ่มสร้างกันตั้งแต่เมื่อไหร่...?" ท่านบอกเอาเริ่มสร้างกันนะ...
ประวัติหลวงปู่ใหญ่

ชื่อจริงของท่านชื่อ "หลวงพ่อปาน วิสุทธิปัญโญ" เป็นคนชัยนาทตอนนั้นถูกเกณฑ์ไปตีเวียงจีนทร์ พอไปตีเวียงจันทร์ได้แล้ว ก็เลยชาติได้เมือง ทหารก็เลยได้เมีย (มัน ม.ม้า เหมือนกัน ชาติได้เมือง ทหารได้เมีย)มีเมีย ๒ คน โก้ไปเลย ต่อไปต่อมาก็หลายปีนึกถึงพ่อแม่ขึ้นมา ก็เลยมาเยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่ คงจะนานหลายปี พ่อแม่อยู่ชัยนาทก็ไม่พบ เขาบอกย้ายไปที่เมืองสวรรค์ เวลานั้นเมืองสวรรค์มันก็ ๑๖ -๑๗ กิโล แต่อย่าลืมว่ามันเป็นป่านะก็หากันยาก ท่านก็เลยตัดสินใจบวชเป็นพระ ออกธุดงค์ก็ไปเจอะพ่อเจอะแม่แล้วก็ธุดงค์เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งอ้อมไปไกลมาก เลียวกลับจะเข้ามากลับชัยนาทมาถึงจุดนี้ ที่นีเป็นป่าดงดิบๆ คือเป็นวัดท่าซุงอันเป็นวัดร้าง อันซึ่งล่าสุดวัดนี้สร้างก่อนที่จะสร้างกรุงศรีอยุธยามาได้ ๓๐ ปี หลวงพ่อใหญ่(ปาน)ในขณะนั้นอายุได้ ๖๐ ปี มาถึงที่นี่เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๓๓๒ (ตรงกับรัตนโกสินธ์ศก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร.๑ ครองราชย์เป็นปีที่ ๙)

หลวงพ่อใหญ่มาถึงก็ปักกลด ชาวบ้านนำอาหารมาใส่บาตรถวาย แล้วนิมนต์ให้ท่านอยู่นี่ที่เพื่อสร้างบูรณะวัดท่าซุงให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ต่อมาเจ๊กเส็งอายุ ๔๕ ปี เป็นพ่อค้าขายสินค้าทางเรือ พายเรือมาพบหลวงพ่อใหญ่ จึงอยู่ช่วยกันสร้างบูรณะวัด โดยปลูกกุฏิไม้ ๙ ห้อง เป็นหลังแรก ต่อมาก็ทำการสร้างบูรณะโบสถ์ วิหาร พื้นที่วัดท่าซุงสมัยนั้นทั้งหมด ๓๗๐ ไร่ ที่หน้าวัดถึงกึ่งกลางแม่น้ำในปัจจุบัน โดยสมัยนั้นแม่น้ำยังเป็นสายเล็กๆ อยู่ และตรงปากทางเข้าวัดมีเสาหงส์ทองคำอยู่คู่หนึ่ง ซึ่งต่อมาก็ถูกขโมยลักไป เช่นเดียวกับพระพุทธรูปทองคำบนชื่อในโบสถ์ วิหารก็ถูกขโมยหมด สมัยนั้นรุ่งเรืองมากจนหลวงพ่อใหญ่มรณภาพ ชาวบ้านขอให้เจ็กเส็งบวชและเป็นเจ้าอาวาส ท่านชอบฉันขนมจีน จึงเรียกท่านว่า หลวงพ่อขนมจีน ปัจจุบันสร้างมณฑปและองค์จำลองแทนท่านไว้มุมซ้าย หลวงปู่สีวลีอยู่มุมขวา ในบริเวณรั้วหลังพระอุโบสถปัจจุบัน ท่านเป็นพระให้ลาภ ใครบนให้แก้บนด้วยขนมจีน น้ำยา น้ำพริก สำหรับ หลวงปู่พระสีวลีแก้บนด้วยข้าวสุก ๑ หม้อ แกง ๑ หม้อ ถวายตอนเช้าจุดธูปบอก หลังจากนั้น ๑๐ นาที ให้ลาของบนแล้วนำไปถวายเพลพระภิกษุสงฆ์ในวัด ได้บุญสังฆทานอีกต่อหนึ่ง หลังจากนันต่อมาหลวงพ่อขนมจีนมรณภาพ หลวงพ่อจันเป็นเจ้าอาวาส วัดจึงเปลี่ยนชื่อว่าจันทาราม ต่อมาหลวงพ่อจันมรณภาพ หลวงพ่อเล่งเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาหลวงพ่อเล่งมรณภาพ หลวงพ่อไล้น้องชายเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อพระราชพรหมยานกล่าวว่า พระทั้ง ๕ องค์ ท่านเข้านิพพานหมดแล้วหลังจากนั้นวัดก็เริ่มทรุดโทรมลง ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ หลวงพ่อพระราชพรหมยานรับนิมนต์มาอยู่ช่วยก่อสร้าง ขณะนั้นวัดเหลือพื้นที่ประมาณ ๖ ไร่ (จากเดิมที่เคยมีอยู่ในอดีตในสมัยหลวงพ่อใหญ่ ๓๗๐ ไร่) หอสวดมนต์ก็โย้ เย้ วิหารร้าวหลังคาผุพัง โบสถ์ก็จะพัง...ตั้งแต่ปีนั้นท่านและพุทธบริษัทช่วยกันบูรณะวัดจนท่านมรณภาพ มีพื้นที่ ๒๘๙ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตรว.

ถามว่า "ใครรู้ประวัติศาสตร์บ้างครับ...?"
ท่านบอก "ไอ้อ่อง ๆ ไอ้อ่องมันเคยเป็นกำนันเวลานี้มันอายุ ๙๓ ปี อยู่มโนรมย์ มันรู้เรื่องมันรู้ มันเคยเห็นวัด" ตอนนั้นแม่น้ำยังเล็กๆ เช้าวันนั้นก็ไปรับโยมอ่องมา ๙๓ ปี เรานึกว่าเดินไม่ไหวที่ไหนได้แกมาแกห่อผ้ามาด้วย แกเดินไปอุทัย...ซวยเลย แกก็เล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังทุกๆ อย่างตรงหมด

ถาม "โยมเคยเห็นเสาหงส์ไหม...?"
แกตอบ "เคยเห็นครับ สมัยเด็กๆ ผมยังเดินขึ้นแถวนั้น ยังวิ่งเล่นอยู่เลย ไอ้บึงเล็กๆ ตรงนี้เป็นแม่น้ำออกไป แม่น้ำเก่าที่นี่น้ำขังน้ำไม่ขาดตลอดปี แม่น้ำใหมนี่มันแห้งใช่ไหม ในบึงมันไม่แห้ง แกอาศัยกินน้ำ " แกเล่าตรงทุกอย่าง สภาพตรงทุกอย่าง เมื่อแกเล่าแล้ว พระหลวงพ่อใหญ่กับพระท่านยืนยัน เราก็ต้องเชื่อว่าตรง... นี่ประวัติความเป็นมาของวัดนี้


***โดยพระอัฐิของหลวงพ่อใหญ่ถูกเก็บไว้ที่วิหารตรีมุขที่ประดิษฐานพระสถูปเสาบัวบรรจุพระอัฐธาตุของหลวงพ่อใหญ่
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลศ. - 29 มี.ค. 2556 - 02:06.29
วันปิดประมูล พฤ. - 18 เม.ย. 2556 - 02:06.29 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 500 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
20 บาท จ. - 01 เม.ย. 2556 - 14:00.04
100 บาท จ. - 01 เม.ย. 2556 - 14:00.37
200 บาท จ. - 01 เม.ย. 2556 - 14:00.50
500 บาท ศ. - 05 เม.ย. 2556 - 17:55.57
กำลังโหลด...
Top