ประมูล หมวด:พระเนื้อผง เนื้อดิน เนื้อว่าน หลังปี 2525
พระผงเกศารุ่นแรก ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
ชื่อพระเครื่อง | พระผงเกศารุ่นแรก ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง |
---|---|
รายละเอียด | วัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาอิน อินโท ส่วนใหญ่จะมีลุกศิษย์ลูกหาจากทุกสารทิศ สร้างมาถวาย หรือไม่ก็ขออนุญาตจัดสร้างขึ้นตามวาระพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ รูปหล่อ หรือพระกริ่ง ทางวัดเอง มีการจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเองไม่มากนัก และที่วัดสร้างมักจะเป็นตะกรุดหรือยันต์เสียเป็นส่วนมาก พระผงเกศารุ่นแรกนี้ เป็นหนึ่งในจำนวนวัตถุมงคลไม่กี่รายการที่ว่า พระผงเกศาของหลวงปู่ ผู้สร้างคือคณะศิษย์และพระเณรในวัด ที่จดจำได้ก็มี พระไพบูลย์ อินทปัญโญ (พระอาจารย์ทิม) ผู้ที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องวัตถุมงคลต่างๆ ของทางวัด พระอธิการปรีชา เปสโล ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นสามเณร ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดฟ้าหลั่ง พระอาจารย์วุฒิ (ไม่ทราบฉายา) ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดศิลามงคล (วัดครูบาบุญมี) กิ่งอ.ดอยหล่อ ใกล้ๆ กับทางเข้าน้ำตกแม่กลาง และยังมีพระอาวุโสอีกรูปหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันได้ลาสิกขาบทไปแล้ว ชื่อพ่อหนานเรือง รวมทั้งพระเณรรูปอื่นๆ ที่อยู่ในวัดฟ้าหลั่งตอนสมัยนั้น กล่าวถึงพ่อหนานเรือง ในขณะนั้นหากไม่รวมหลวงปู่ครูบาอินแล้ว ถือว่าพระเรืองเป็นผู้ที่มีอาวุโสสูงสุด ในบรรดาพระเณรวัดฟ้าหลั่ง คณะญาติโยมหมายจะฝากฝังให้สืบทอดวัดฟ้าหลั่งต่อจากหลวงปู่ครูบาอิน แต่บุญกรรมเป็นเรื่องที่ยากจะหยั่งรู้ได้ ต่อมาในภายหลังพระเรืองได้ลาสิกขาบท และได้ย้ายไปอยู่บ้านแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนตราบจนถึงปัจจุบัน หลวงปู่เป็นพระที่ชอบแจกวัตถุมงคล ท่านแจกครั้งหนึ่งก็หลายองค์ ใครมาหามากราบมักจะได้ของดีกลับไปเสมอ วัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมาถ้าทางพระเณรหรือกรรมการวัดไม่แบ่งไว้ให้เช่าบูชา หลวงปู่ท่านก็จะแจกหมด พระผงเกศารุ่นแรกนี้ก็เช่นกัน บางส่วนก็แจก บางส่วนก็ให้เช่าบูชา สร้างทั้งหมด ๓ แบบด้วยกันคือ แบบแรก: เป็นพระผงเกศาเนื้อผงเถ้า จากการเผาดอกไม้ที่ญาติโยมนำมาบูชาพระ แล้วตักเอาแต่ผงเถ้า ผสมดินจอมปลวกด้านหลังวัด น้ำมันละหุ่ง ผงว่าน และเกศาของหลวงปู่ ใช้เวลารวบรวมมวลสารกว่า ๓ ปี เพราะดอกไม้ต้องนำมาตากแห้งแล้วเผา เก็บผงเถ้าครั้งหนึ่งก็ได้ไม่มาก ว่านยาต่างๆ ก็ต้องโขลกต้องตำกันเองภายในวัด หลังจากนั้นก็นำมากดพิมพ์ได้ประมาณหมื่นกว่าองค์ ขนาดองค์พระกว้างประมาณ ๒ เซนติเมตร สูงประมาณ ๓ เซนติเมตร แบบที่สอง: เป็นพระผงเกศาไม้งิ้วดำใช้แม่พิมพ์เดียวกับแบบแรก พระวุฒิเป็นต้นคิดที่จะสร้างเป็นเนื้อพิเศษไม้งิ้วดำ โดยใช้ไม้งิ้วดำซึ่งมีลูกศิษย์หลวงปู่นำมาถวายจากอ.แม่สะเรียง เมื่อหั่นเป็นท่อนๆ แล้วโขลกกันเอง ใช้เวลาโขลกนานมากเนื่องจากไม้งิ้วดำเป็นไม้ที่แข็ง เหล่าพระเณรสู้แรงโขลกไม่ไหว ทำให้ได้มวลสารไม่มาก จากนั้นนำมาผสมเกศา (ผสมมากกว่าพระเนื้อผงธรรมดา เพราะผู้ทำตั้งใจจะเก็บไว้ใช้กันเอง) ดินจอมปลวก และน้ำมันละหุ่ง และผงเถ้าดอกไม้เล็กน้อย กดพิมพ์ได้แค่ห้าสิบกว่าองค์ และมีแตกหักไม่สมบูรณ์บ้าง แบบที่สาม: เป็นพิมพ์พระรอด ขนาดพระรอดพิมพ์เล็ก เนื้อพญางิ้วดำเหมือนกับพระผงเกศาแบบที่สอง (นี่แหละคือพระรอดดำที่โด่งดังของหลวงปู่) ในส่วนของพิมพ์พระรอดนี้ พระเรือง (ปัจจุบันลาสิกขาแล้ว) เป็นผู้เตรียมมวลสารและกดพิมพ์เอง ท่านชาเล่าว่าหลังจากกดพิมพ์เสร็จ นำเอามาตาก พอดีเกิดลมแรงจึงพัดเอาพระรอดตกกระจายบริเวณด้านข้างพระวิหาร ปัจจุบันเป็นด้านหลังกุฏิหลวงปู่หลังใหม่ มีพระรอดที่เหลือในสภาพสมบูรณ์ประมาณ ๔๐ กว่าองค์เท่านั้น ขนาดสูงประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร เมื่อตากพระจนแห้งได้ที่ดีแล้ว ก็ได้เอาพระทั้งสามพิมพ์ ไปอาราธนาหลวงปู่ให้ปลุกเสกเดี่ยว หลังจากนั้นจึงเอาออกมาแจกจ่าย โดยแบบแรกเนื้อผงเถ้าดอกไม้ ส่วนหนึ่งหลวงปู่ก็แจกให้กับผู้ที่มากราบนมัสการหลวงปู่ในช่วงนั้น อีกส่วนหนึ่งก็ให้เช่าบูชา (ราคาในตอนนั้นองค์ละ ๓๙.-) เฉพาะแบบแรก ส่วนเนื้อพิเศษไม้งิ้วดำทั้งสองพิมพ์ แจกกันในหมู่ลูกศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น ปีสร้างไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัด สอบถามพระอาจารย์ชาเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันก็ได้คำตอบว่า ตอนที่สร้างท่านยังเป็นสามเณรอยู่เลย ท่านชาบรรพชาปี พ.ศ.๒๕๒๖ แล้วก็อุปสมบทปี พ.ศ.๒๕๓๑ ดังนั้นพระผงเกศารุ่นแรกนี้ น่าจะสร้างระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๑ ผู้เขียนเองได้รับมาจากวัดในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งในขณะนั้น ก็มีเหลืออยู่ที่วัดไม่มากนัก จากจำนวนการสร้างถึงหมื่นกว่าองค์ ข้อสังเกตประการหนึ่งก็คือ ด้านหน้าพระผงเกศารุ่นแรก รูปใบหน้าหลวงปู่ ดูคล้ายกับล็อคเก็ตรุ่นสองของหลวงปู่ (ซึ่งมักถูกเข้าใจว่าเป็นรุ่นแรก เนื่องจากผู้คนส่วนมากไม่ทราบกันว่า ได้มีการสร้างล็อคเก็ตรูปสี ติดบนฐานพลาสติกสีทอง ด้านหลังเป็นรูปนางกวัก สร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๕๑๘ ก่อนจะนำเอารูปตามล็อคเก็ตนี้ไปเป็นต้นแบบทำเหรียญรุ่นแรก) ล็อคเก็ตรุ่นสองนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๖ (ปีที่สร้างยืนยันจากบทความประวัติหลวงปู่ เขียนโดยลูกศิษย์ กองบิน ๔๑ เชียงใหม่ ซึ่งร่วมสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่หลายต่อหลายรุ่น) ยันต์ด้านหลังพระผงรูปเหมือนรุ่นแรกนี้ เป็นรูปยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ เป็นบล็อกเดียวกันกับด้านหลังของเหรียญ ปว. (ไม่ทราบว่ามีความหมายอะไร แต่เนื่องจากมีตัวอักษร ปว. อยู่ใต้รูปยันต์ จึงนิยมเรียกว่าเหรียญ ปว.) ยังมีเหรียญอีกรุ่นหนึ่ง ที่ใช้ยันต์ลักษณะนี้ คือเหรียญหันข้างรุ่น “ชยมงฺคลํ (ชะยะมังคะลัง)” ซึ่งสร้างในปี ๒๕๓๗ สรุปว่ามีเหรียญ ๒ รุ่นที่ใช้ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์นี้เหมือนกัน ดังนั้น หากสรุปจากลักษณะรูปภาพใบหน้าหลวงปู่ ยันต์ด้านหลังที่ใช้ เปรียบเทียบกับวัตถุมงคลรุ่นอื่นๆ ที่มีปีสร้างแน่ชัด จึงน่าจะพออนุมานได้ว่า ปัจจุบันพระผงรุ่นแรกนี้น่าจะมีอายุการสร้าง ๒๐ กว่าปีแล้ว ลักษณะเนื้อก็แห้ง มองดูมีอายุ บางองค์อาจจะเห็นเส้นเกศาของหลวงปู่ ในองค์พระอีกด้วย |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 19 พ.ค. 2553 - 21:12.29 |
วันปิดประมูล | ส. - 29 พ.ค. 2553 - 21:12.29 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 200 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 100 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เนื่องด้วยเจ้าของรายการประมูลนี้ ได้ทำผิดกฎ หรือ ถูกลดสิทธิ์ในการตั้งรายการประมูล ดังนั้นรายการประมูลทั้งหมดของเจ้าของรายการประมูลนี้จะถูกระงับชั่วคราว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...