ประมูล หมวด:พระบูชา
พระพุทธชินราช ขนาดบูชา หน้าตัก 3 นิ้ว องค์นี้ผิวสวยแบบเดิม ๆ จ้า
ชื่อพระเครื่อง | พระพุทธชินราช ขนาดบูชา หน้าตัก 3 นิ้ว องค์นี้ผิวสวยแบบเดิม ๆ จ้า |
---|---|
รายละเอียด | หากความจำของ JORAWIS ยังพอใช้งานได้ พระองค์นี้น่าจะได้มาในช่วง ฉลองอายุกรุงเทพฯครบ 200 ปี ( พ.ศ.2525 ) แต่ไม่สามารถระบุปีที่สร้างหรือออกจากวัดได้ชัดเจนกว่านี้ อายุการสร้างคาดว่าน่าจะอยู่ในช่วงราว ปี พ.ศ. 2510 กว่าไปจนถึงช่วงก่อน ปี 2525 พระขนาดกำลังกะทัดรัด หน้าตักเพียง 3 นิ้ว หากวัดจากฐาน 5 นิ้ว ความสูงวัดจากฐาน 8 นิ้ว พระหล่อได้หนาแข็งแรง งานประณีตแทบไม่มีรอยพรุนบนผิวให้เห็น บนฐานบางส่วนยังปรากฏรองรอของแป้งเจิมให้เห็น พระเนตรเป็นแบบที่เรียกกันว่า "ตามุก" สนใจลองติดต่อสอบถามเข้ามากันได้จ้า พระสวยแบบนี้ไม่ค่อยมีมาบ่อยนัก หากพลาดแล้วอาจเสียดายไปอีกนาน หากองค์นี้ยังไม่ถูกใจอาจมีรายการอื่น ๆ ที่ทำนกำลังค้นหาอยู่เชิญที่นี่เลยจ้า http://www.web-pra.com/Shop/jorawis พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว และสูง 7 ศอก ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดของเมืองไทย เส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขนงโก่ง พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิง พระหัตถ์มีปลายนิ้วทั้งสี่เสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเรียกว่า ทีฒงฺคุลี ซุ้มเรือนแก้วทำด้วยไม้แกะสลักสร้างในสมัยอยุธยา แกะสลักเป็นรูปมกร ลำตัวคล้ายมังกร มีงวงแบบช้าง อยู่ตรงปลายซุ้ม และมีเหรา (อ่านว่า เห-รา ) มีลักษณะคล้ายจระเข้ อยู่ตรงกลาง และมีเทพอสุราคอยปกป้ององค์พระอยู่ ข้างละองค์ พระพุทธชินราช สร้างขึ้นในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แห่งเมืองสุโขทัย พร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ซึ่งมีพุทธลักษณะงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสุทัศน์เทพวรารามและวัดบวรนิเวศวิหารตาม ลำดับ เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะหาพระประธาน สำหรับวัดเบญจมพิตร ซึ่งทรงขยายพระราชวังดุสิต จึงทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตร ให้มีความงดงามสมเป็นวัดใกล้วังดุสิต จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ออกแบบถวาย และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” อันเป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปจากทั่วประเทศ ในครั้งแรก มีพระราชดำริที่จะนำองค์พระพุทธชินราช ลงมาประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร ในพระนคร ดังปรากฏความในพระราชหัตถเลขาของพระองค์ ความว่า “จะหาพระพุทธรูปใดงามเสมอพระพุทธชินราชนั้นไม่มีแล้ว ครั้นจะเชิญพระพุทธชินราชลงมาก็เห็นว่าเป็นหลักเป็นศรีของเมืองพิษณุโลก ประดิษฐานอยู่ในเมืองนั้นแต่สร้างมา” แต่เมื่อข่างแพร่ออกไปเหล่าอาณาประชาราษฎร์สมณชีพราหมณ์ ทั้งหลายต่างโทมนัส ที่จะต้องย้ายที่ประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมือง เมื่อพระองค์ทรงสดับเหตุการณ์ดังนั้นแล้ว จึงมิได้แข็งขืนทั้งมีพระราชอำนาจที่จะทำได้ แต่กลับทรงแสดงน้ำพระราชหฤทัยต่อไพร่ฟ้าผสกนิกรชาวพิษณุโลก ด้วยการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ขึ้นใหม่เพื่อใช้ประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร แทน ดังปรากฏข้อความจารึกที่ศิลา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ว่า “...ศุภมัสดุพระพุทธสาสนกาลล่วงแล้ว ๒๔๔๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธามีพระราชประสงค์จะทรงสร้างพระพุทธปฏิมากร ให้มีพระพุทธลักษณเหมือนพระพุทธชินราช ณ เมืองพระพิษณุโลก อันมีมาแต่โบราณเพื่อประดิษฐานเปนพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ณ กรุงเทพมหานคร จึงเสด็จพระราชดำเนิรโดยกระบวนชลมารควิถี มาประทับแรม ณ เมืองพระพิษณุโลก ครั้น ณ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ จันทรคติกาลเดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำปีฉลู ตรีศกจุลศักราช ๑๒๖๓ เสด็จพระราชดำเนิรมานมัศการพระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ทรงปิดทองถวายใหม่ทั่วทั้งพระองค์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการมหรสพสมโภชแลจัดการตั้งพระราชพิธีที่จะหล่อพระพุทธชินราชขึ้นใหม่ ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ๓๐ รูปแลสวดภาณวารประจำเทียนไชย์ ๔ รูป นังปรกรูป ๑ ผลัดเปลี่ยนกันตลอดการพระราชพิธีถ้วน ๓ ทิวาราตรี ครั้น ณ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ ตุลาคมรัตนโกสินทรศก ๑๒๐ จันทรคติกาล เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำปีฉลูตรีศกจุลศักราช ๑๒๖๓ เวลารุ่งเช้าเปนมงคลฤกษ์อันอุดม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อพระพุทธปฏิมากรเปนปฐม แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างเททองต่อไป แล้วเสด็จพระราชดำเนิรจากเมืองพระพิษณุโลก ไปประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือต่อไปจนถึงเมืองอุตรดิฐ เมื่อเสด็จพระราชดำเนิรกลับมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จพระราชดำเนิรมานมัสการพระพุทธชินราช แลทอดพระเนตรพระพุทธปฏิมากรที่หล่อใหม่แล้ว จึงทรงปลูกต้นโพธิ์ต้นนี้ไว้ ณ ที่นี้ อันเปนที่ตั้งพิมพ์หล่อพระพุทธปฏิมากรองค์ใหม่ ให้ต้องตามตำนานในกาลกอ่นกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งโบราณมหาราชทรงสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์แลพระศรีศาสดาได้ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ในที่ซึ่งหล่อพระพุทธปฏิมากรทั้งสามพระองค์นั้น อันเรียกกันว่าโพธิ์สามเส้ามีปรากฏอยู่ในบัดนี้ ต้นโพธิ์ต้นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูกเมื่อ ณ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ จันทรคติกาลเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำปีฉลูตรีศกจุลศักราช ๑๒๖๓ ขอสาธุชนผู้นับถือพระพุทธสาสนา อันได้มานมัสการในที่นี้ จงรลึกถึงคุณพระรัตนไตรยอันเปนเหตุให้เกิดภาวนามัยบุญกิริยา แล้วจงรลึกถึงพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลอุทิศส่วนกุศลถวายด้วยอำนาจความศรัทธา แลกตัญญูกตเวทิตาขอความสิริสวีสดิ์พิพัฒนมงคลชนมสุขจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ความประสงค์ที่เปนธรรมปราศจากโทษจงสำเร็จทุกประการเทอญ ฯ…..” |
ราคาเปิดประมูล | 900 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 4,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | พฤ. - 07 มี.ค. 2556 - 16:39.38 |
วันปิดประมูล | พ. - 27 มี.ค. 2556 - 11:09.43 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
1,000 บาท | พฤ. - 07 มี.ค. 2556 - 18:13.01 | |
1,100 บาท | ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 00:44.49 | |
1,200 บาท | ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 00:45.26 | |
1,300 บาท | ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 02:42.26 | |
1,400 บาท | ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 11:48.28 | |
1,500 บาท | อา. - 10 มี.ค. 2556 - 12:02.38 | |
2,000 บาท | อา. - 10 มี.ค. 2556 - 12:02.45 | |
2,100 บาท | อา. - 17 มี.ค. 2556 - 16:52.25 | |
2,200 บาท | อ. - 26 มี.ค. 2556 - 09:08.25 | |
2,500 บาท | อ. - 26 มี.ค. 2556 - 11:08.35 | |
3,000 บาท | อ. - 26 มี.ค. 2556 - 11:08.58 | |
3,500 บาท | อ. - 26 มี.ค. 2556 - 11:09.30 | |
4,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) | อ. - 26 มี.ค. 2556 - 11:09.43 |
กำลังโหลด...