ประมูล หมวด:พระปิดตาทั่วไป
ปิดตา (พิมพ์เล็ก) แก่นไม้พญาเถาว์วัลย์ หลวงพ่อบุญให้ วัดท่าม่วง
ชื่อพระเครื่อง | ปิดตา (พิมพ์เล็ก) แก่นไม้พญาเถาว์วัลย์ หลวงพ่อบุญให้ วัดท่าม่วง |
---|---|
รายละเอียด | + ปิดตา (พิมพ์เล็ก) แก่นไม้พญาเถาว์วัลย์ หลวงพ่อบุญให้ วัดท่าม่วง + :::- พระปิดตาพิมพ์เล็กแก่นไม้พญาเถาว์วัลย์รุ่นแรกมหาลาภลอยองค์แกะมือขัดสมาธิเพชร : หลวงพ่อบุญให้ ปทุโม { เทพเจ้ามนต์คาถาแห่งภาคใต้ หนึ่งในพระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองนครศรีธรรมราชยุคปัจจุบัน!!! } เจ้าอาวาสวัดท่าม่วง หมู่ที่ ๒ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต จัดสร้างเมื่อเสาร์ ๕ พุทธาภิเษก ๕ พิธี ๑ ไตรมาส (๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ – พ.ศ.๒๕๕๓) ขนาดหน้าตักเฉลี่ย ๑.๗ เซนติเมตร ขนาดความสูงเฉลี่ย ๒.๒ เซนติเมตร จำนวน ๔๕๘ องค์ พระทุกองค์ ตอกโค๊ต ดอกจันทร์ และโค๊ต บุญให้ บรรจุตะกรุดซึ่งพ่อท่านบุญให้จารทุกดอกและอุดผงปถมังพ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ ( การบรรจุตะกรุดและผงปถมัง ต้องทำตามฤกษ์ พอหมดฤกษ์ก็ต้องหยุด ต้องหาฤกษ์ที่เหมือนครั้งแรกที่บรรจุใหม่อีก ) อานุภาพพุทธคุณ : ครอบจักรวาล โดยเฉพาะเด่นมากทางโชคลาภ เมตตา อำนาจ ตบะ แคล้วคลาด ป้องกันสัตว์มีเคี้ยวและมีพิษ ป้องกันคุณไสย สภาพคัดสวย เดิม พร้อมกล่อง พร้อมประกวด หรือเลือกหาไว้บูชาติดตัวหรือมอบให้คนที่เรารัก เพื่อเสริมดวง / คุ้มครอง / โชคลาภ!!! เหมาะกับทุกราศีทุกวันเวลาเกิด ทุกเพศทุกวัย รับประกันความแท้ตลอดชีวิต เก๊คืนเงินเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ :::- ทำไม? ถึงจัดสร้างพระปิดตารุ่นแรกมหาลาภลอยองค์ ขัดสมาธิเพชร? : เนื่องจาก หลวงพ่อบุญให้ มีความผูกพันกับพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อเป็นอย่างมาก การสร้างวัตถุมงคลท่านจะเน้นหนักไปทางเครื่องรางของขลัง พระปิดตาเป็นการสืบสายจากสำนักเขาอ้อจะเห็นได้ว่ายันต์ที่ท่านเขียนท่านใช้ ตัว (นะ) ตัว (นอ) คู่กับตัว (ทม {ยันต์เฑาะ}) ซึ่งคล้ายกับของพระอาจารย์นำ หลวงพ่อบุญให้ได้เมตตาให้จัดสร้างพระปิดตา :::- ไม้เมื่อย : เป็นไม้ประเภท พญาเถาว์วัลย์ ซึ่งมีอำนาจความขลังอาถรรพ์ในตัว :::- ป้องกัน สัตว์มีเขี้ยวมีพิษ คุ้มกันภัยอันตราย เมตตามหานิยม โชคลาภ :::- วัตถุประสงค์ : เพื่อนำปัจจัยถวายเป็นทุนสำรองค่ารักษาพยาบาล :::- การจัดสร้าง : เป็นงานแกะช่างฝีมือ สร้างตามจำนวนไม้แก่นเมื่อยที่มีอยู่ ได้พระ ๘๕๙ องค์ ประกอบด้วย ๑. พระปิตตาพิมพ์กรรมการ ขนาดหน้าตักเฉลี่ย ๒.๓ เซนติเมตร ขนาดความสูงเฉลี่ย ๓.๓ เซนติเมตร จำนวน ๙ องค์ (หมดแล้ว) ๒. พระปิตตาพิมพ์จัมโบ้ ขนาดหน้าตักเฉลี่ย ๒.๕ เซนติเมตร ขนาดความสูงเฉลี่ย ๔ เซนติเมตร จำนวน ๒๙ องค์ (หมดแล้ว) ๓. พระปิตตาพิมพ์ใหญ่ ขนาดหน้าตักเฉลี่ย ๒ เซนติเมตร ขนาดความสูงเฉลี่ย ๒.๓ เซนติเมตร จำนวน ๑๓๙ องค์ ๔. พระปิตตาพิมพ์เล็ก ขนาดหน้าตักเฉลี่ย ๑.๗ เซนติเมตร ขนาดความสูงเฉลี่ย ๒.๒ เซนติเมตร จำนวน ๔๕๘ องค์ ๕. พระปิตตาพิมพ์มหาอุตม์ ขนาดหน้าตักเฉลี่ย ๒.๑ เซนติเมตร ขนาดความสูงเฉลี่ย ๒.๖ เซนติเมตร จำนวน ๕๑ องค์ ๖. ฤาษีหนังตะลุง แกะด้วยไม้ยอยอดเจดีย์ และ รากไม้รักซ้อน (หมดแล้ว) ๗. พระพิฆเนศวร แกะด้วยไม้ยอยอดเจดีย์ และ รากไม้รักซ้อน จำนวน ๕๖ องค์ (หมดแล้ว) ๘. เสือ เสาร์ ๕ ศิลป์พอใช้ จำนวน ๑๐๒ ตัว :::- พิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสก :::- ๖ พ.ย.๒๕๕๑ – ๕ มี.ค.๒๕๕๒ พ่อท่านบุญให้ วัดท่าม่วง ปลุกเสกเดี่ยว (แจกไป ๒๙ องค์) :::- ๗ มี.ค.๒๕๕๒ พิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดท่าม่วง พ่อท่านบุญให้เป็นประธาน :::- ๒๐ มี.ค.๒๕๕๓ พิธีพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ ณ อุโบสถวัดพระนคร พ่อท่านบุญให้เป็นประธาน :::- ๒๐ มี.ค.๒๕๕๓ เสาร์ ๕ ยามกลางคืน พ่อท่านบุญให้ วัดท่าม่วง ปลุกเสกเดี่ยว :::- ๑๑ เม.ย.๒๕๕๓ พิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดวัวหลุง พ่อท่านเอื้อมเป็นประธาน :::- ๒๐ พ.ค.๒๕๕๓ พิธีพุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดพระบรมมหาธาตุ หลวงปู่ไข่เป็นประธาน :::- ๒๒ พ.ค.๒๕๕๓ พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงวัดพระบรมมหาธาตุ :::- ๒๗ ก.ค.๒๕๕๓ – ๒๓ ต.ค.๒๕๕๓ พ่อท่านบุญให้ วัดท่าม่วง ปลุกเสกเดี่ยว ๑ ไตรมาส :::- ประวัติพระครูพิศาลวิหารวัตร (หลวงพ่อบุญให้ ปทุโม) วัดท่าม่วง :::- เกิดในสกุล สุขขนาน เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๑ (ปัจจุบันอายุ ๘๔ ปี ๖๔ พรรษา) ณ หมู่บ้านบางทองคำ ตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช :::- โยมบิดา-มารดาชื่อ นายสงค์และนางทองนวล สุขขนาน :::- มีพี่น้อง ๙ คน ท่านเป็นคนที่ ๖ ดังมีรายนามดังนี้ ๑. นายแก้ว สุขขนาน ๒. นางประดับ สีสุข ๓. นางแดง ทองแก้ว ๔. นายทอง สุขขนาน ๕. นางตุ้น สุขขนาน ๖. พระครูพิศาลวิหารวัตร (หลวงพ่อบุญให้ ปทุโม) ๗. นางหนูกล่อม สังข์ศรีเพ็ชร ๘. นายสงวน สุขขนาน ๙. นางถนอม สุกใส :::- หลวงพ่อบุญให้ ปทุโม ในช่วงวัยเด็กเป็นคนขยันขันแข็ง มีจิตใจเมตตากรุณา แม้กระทั่งวัวที่เลี้ยงไว้ไถนาท่านก็ตัดหญ้าให้กินมาโดยตลอด ก่อนที่จะออกไปตัดหญ้าให้วัวกินท่านก็จะเอาข้าวเปลือกให้กินก่อน ๑ เลียง วันไหนไถนาท่านก็จะรีบทำในตอนเช้าเพราะแดดไม่ร้อน พอเวลาเพลท่านก็พักวัวแล้ว จะลงอีกทีก็บ่าย ท่านบอกว่า “ วัวกับเราช่วยกันทำนา เสร็จแล้ววัวก็ต้องได้กินข้าวเหมือนกัน ” มีอยู่ครั้งหนึ่งมีญาติมาขอยืมวัวไปไถนา ท่านตามไปดู ท่านเห็นแล้ว ท่านก็ร้องไห้ ขอให้พ่อเอากลับมา ท่านบอกว่า “ เอาวัวไปทำงานจนเกินแรง วัวเขามีบุญคุณกับเรานะ เราต้องนึกถึงอกเขาอกเรา ” ซึ่งแสดงถึง : ความมีเมตตาและรู้บุญคุณ :::- หลวงพ่อบุญให้ ปทุโม ในช่วงวัยเด็กได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดบางทองคำ ตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ต้องลาออกจากโรงเรียน เพื่อมาช่วยครอบครัวทำนา กระทั่งเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๑ ที่วัดพระหอม ตำบลบ้านกลาง อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีพระธรรมปาลาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดฝาก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า (((ปทุโม))) มีความหมายว่า (((ดอกบัว))) เมื่อได้อุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยอย่างมุ่งมั่น รวมทั้งได้ศึกษาร่ำเรียนสรรพวิชาจากพระครูทักษิณธรรมสาร ตลอดเวลา ๓ พรรษา ท่านได้คอยปรนนิบัติรับใช้พระครูทักษิณธรรมสารอย่างใกล้ชิด ด้วยความเมตตาจากพระครูทักษิณธรรมสารได้มอบความไว้วางใจถ่ายทอดสรรพวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ให้อย่างครบถ้วน หลวงพ่อบุญให้ ได้หมั่นฝึกฝนปฏิบัติวิทยาคมต่าง ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพระครูทักษิณธรรมสารแห่งวัดพระหอม ซึ่งเป็นวิชาสายเดียวกับพ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน อำเภอเชียรใหญ่ จนเกิดพลังสมาธิญาณสามารถอย่างน่าอัศจรรย์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ท่านได้ย้ายไปจำวัดที่วัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเวลา ๑๓ พรรษา ท่านมีพระสหายทางธรรม อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณแบน วัดบวรนิเวศน์ , ท่านเจ้าคุณอุบล เป็นต้น หลังจากนั้น อาจารย์ของท่านก็ให้ หลวงพ่อบุญให้ มาดูแล เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าบันเทิงธรรม บางกอกน้อย ซึ่งท่านก็ได้ซ่อมแซมกุฏิ สร้างศาลาโรงธรรม เสนาสนะต่าง ๆ ครบ ๓ พรรษา จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๐๘ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระหอมเป็นเวลา ๑ พรรษา ก่อนย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่ามะเดื่อ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นเวลา ๖ พรรษา หลวงพ่อบอกว่า “ คนที่นี่ไม่ธรรมดา เขามีดีกัน ” และที่นี่หลวงพ่อได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ กับพระเกจิอาจารย์ดังแห่งสำนักเขาอ้อ อาทิเช่น พระสมุห์สงฆ์ วัดตะโหมด , พระครูกาชาด วัดดอนศาลา , พระอาจารย์นำ , พระอาจารย์ทอง , พระครูทักษิณธรรมสาร (ลูกศิษย์พ่อท่านจับ วัดท่าลิพง ซึ่งเป็นเกลอกับพ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน) กระทั่งปี พ.ศ.๒๕๑๓ หลวงพ่อได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดท่าม่วง ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีเพียงหลวงตา อายุ ๘๐ กว่าปีอยู่เพียงองค์เดียว โบสถ์ที่มีเพียงเสา หลังคากุฏิผุ ๆ ตอนที่ท่านเข้ามาอยู่ใหม่ ๆ ก็ต้องพบกับแรงเสียดทานต่าง ๆ จากชาวบ้านละแวกนั้น แต่หลวงพ่อก็ไม่ย่อท้อ ด้วยความมุ่งมั่น เด็ดเดียว และปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในบวรพระพุทธศาสนา ในปีถัดมาท่านก็สามารถชักชวนชาวบ้านเปลี่ยนเสาโบสถ์ หลังคา และสร้างผนังโบสถ์ พร้อมนั้น ก็ยังเป็นองค์อุปถัมภ์ในการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ ของโรงเรียนวัดท่าม่วง ในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้จัดสร้างหอระฆัง พ.ศ.๒๕๑๕ ได้จัดสร้างเมรุ กุฏิ ศาลาการเปรียญ พ.ศ.๒๕๑๗ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลบ้านปากพูน และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑ (อายุ ๘๐ ปี ๖๐ พรรษา) ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูเทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ปัจจุบัน!!! มีประชาชนทุกชนชั้น จากทั่วทุกสารทิศ มากราบขอพร หนาแน่นวัดตั้งแต่ตีห้าถึงห้าทุ่มทุกวัน : หลวงพ่อบุญให้ ปทุโม จึงเป็นที่รัก นับถือ และศรัทธา ของชาวนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียงอย่างมาก เปรียบดั่ง (((เพชรเม็ดงาม))) ของจังหวัดนครศรีธรรมราช :::- คติธรรม : ทำดี...คนก็ว่า ทำชั่ว...คนก็ด่า ไม่ทำเลย...คนก็นินทา เพราะฉะนั้น...ให้เลือกทำอย่างแรก :::- ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมะเท่านั้นที่พ้นจากทุกข์ได้ :::- อยากรวย ให้พากันทำทาน อยากสวย ให้พากันเจริญภาวนา :::- ข้าฯจะมีเกินใช้ แต่ไม่ใช้เกินมี :::- ชีวิตอายุสั้นต้องรีบทำความดี :::- (ทำบุญ) ตั้งแต่วันนี้ พรุ่งนี้อาจไม่มีโอกาสได้ทำ :::- จงพิจารณาด้วยเหตุผลอย่างมงาย :::- คาถาค้าขาย (ขายของดี) : นะชาลีติ ขันหมากพูนมา โภชะนังพูนมา ปัจจัยพูนมา นะชาลีติ อาคัจฉาหิมานิมามา :::- คาถากันอาวุธต่าง ๆ กันอาวุธปืน กันระเบิด : พุธธัง อุด ธัมมัง อัต สังฆัง อุด ปิติอิ โธ อุด ทัง อุด |
ราคาเปิดประมูล | 900 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 1,000 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | อา. - 03 มี.ค. 2556 - 12:36.56 |
วันปิดประมูล | พฤ. - 07 มี.ค. 2556 - 21:42.33 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...