เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้ โค๊ตกรรมการ (ตอก4โค๊ต) - webpra

ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร

เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้ โค๊ตกรรมการ (ตอก4โค๊ต)

เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้ โค๊ตกรรมการ (ตอก4โค๊ต) เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้ โค๊ตกรรมการ (ตอก4โค๊ต) เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้ โค๊ตกรรมการ (ตอก4โค๊ต) เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้ โค๊ตกรรมการ (ตอก4โค๊ต)
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้ โค๊ตกรรมการ (ตอก4โค๊ต)
รายละเอียดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดจัมโบ้
เนื้อทองแดง โค๊ตกรรมการ (นิยม)ตอก 4 โค๊ต
ปลุกเสกครั้งสุดท้าย ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ ค่ายตากสิน จ.จันทบุรี
เมื่อ 24 มกราคม 2553
ชนชาวสยามมีความเป็นรัฐชาติมาเนิ่นนานตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึง กรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ตามประวัติศาสตร์ชาติไทย ระบุไว้ว่าเราเคยเสียเอกราช ด้วยกันสองครั้ง ครั้งแรกในเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2112 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ในคราวนั้น พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดีได้ยาตราทัพมาปิดล้อมพระนครอยู่นานจนกระทั่งตีเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองประเทศราชได้สำเร็จ.....จวบจนกระทั่งในปี ในปี พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงประกาศอิสรภาพโดยทรงหลั่งน้ำสิโนทก ณ เมืองแกลงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับกรุงหงสาวดีอีกต่อไป
ส่วนการเสียกรุงครั้งที่ 2 นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ อันเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่ง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพ จากการปกครองของพม่าในปีเดียวกันนั้น
ก่อนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยจนถึงกรุงธนบุรี สยามมีพระมหากษัตริย์ที่คอยดูแลอาณาประชาราษฎรมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาที่เป็นราชธานีมายาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ถึง 33 พระองค์ ในอดีตก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์นั้นเรามีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้รับการยอมรับและได้รับการขนามพระต่อท้ายด้วยคำว่ามหาราชมาแล้ว 4 พระองค์ด้วยกัน
1. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งอาณาจักรสุโขทัย ทรงประดิษฐ์อักษรไทย
2. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทรงกอบกู้เอกราชจากการเสียกรุงครั้งที่ 1
3. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทรงทำการค้าขายกับต่างชาติจนกรุงศรีอยุธยาเป็นที่เลื่องลือและทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในด้านต่างๆ
4. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งอาณาจักรกรุงธนบุรี ทรงกอบกู้เอกราชจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 พระราชประวัติในเรื่องชาติกำเนิดของพระเจ้าตากสินนั้นออกจะดูคลุมเครือกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นของไทย และมีลักษณะค่อนข้างจะกำกวมอยู่มาก ตามหลักฐานที่มีปรากฏก็ยังไม่แน่ชัดเท่าที่ควรบ้างว่าพระองค์ท่านประสูติเมื่อ แรม 15 ค่ำ เดือน 5 จุลศักราช 1096 ซึ่งน่าจะตรงกับวันที่ 17 เมษายน 2277 อันเป็นต้นรัชกาลของสมเด็จพระบาทพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ได้เป็นปีที่ 3 แต่ความที่ปรากฏในจดหมายเหตุโหร ความว่าเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ 48 พรรษา กับ 15 วันเมื่อผนวกกับ ข้อมูลจาก Histoies de le Mission de Siam เขียนโดย Adrien Launay อันเป็นเอกสารของชาวต่างชาติที่ระบุว่า พระองค์ท่านทรงถูกสำเร็จโทษในวันที่ 7 เมษายน 2325 หากยึดเอาตามข้อมูลนี้ก็ต้องถือว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชสมภพในวันที่ 23 มีนาคม 2277(อ้างจาก การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์)
พระเจ้าตากสินมหาราช นามเดิมชื่อสิน มีพระนามในภาษาจีนว่า เจิ้งเจา มีพระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ ไหฮอง ที่อพยพมาอยู่มาตั้งรกรากในเมืองไทย ส่วนพระราชมารดาเป็นชาวไทย พื้นเพเดิมเป็นชาวเพชรบุรี นามว่า นกเอี้ยง ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ ส่วนพระราชบิดาของพระเจ้าตากสินทำหน้าที่เป็นขุนพัฒน์ นายอากรบ่อนเบี้ย อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าพระยาจักรีซึ่งเป็นขุนนางในสมัยนั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระราชสมภพได้ไม่นาน พระยาจักรีจึงรับไว้เป็นบุตรบุญธรรม
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือเด็กชายสินในขณะนั้นอายุได้ 9 ขวบ พระยาจักรีจึงพาไปฝากฝังไว้กับ พระอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส เพื่อทำการศึกษาเล่าเรียนทั้งตำราไทย ตำราขอม อีกทั้งศึกษาพระไตรปิฎกจนเชี่ยวชาญดีแล้ว พระยาจักรีจึงพาไปถวายเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ รับราชการสนองพระเดชพระคุณ จนอายุครบได้ 20 ปีครบบวช จึงออกมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ที่วัดโกษาวาส คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ทองดี ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมาในคราวที่บรรพชาเป็นสามเณร พระภิกษุสินดำรงสมณะเพศอยู่ได้ 3 พรรษาก็ลาสิกขาออกมา แล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กอย่างเดิม จนกระทั่งเกิดการณ์ผลัดแผ่นดินขึ้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าอุทุมพรทรงเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อ ก่อนจะยกแผ่นดินให้พระเจ้าเอกทัศน์ผู้เป็นพระเชษฐาดูแลอาณาประชาราษฎร์ต่อไป ส่วนพระเจ้าอุทุมพรก็เสด็จออกผนวชแสวงหาความสงบในรสพระธรรม
ในรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์นี้เอง ที่พระเจ้าตากสินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหลวงยกบัตร หัวเมืองฝ่ายเหนือ ไปรับราชการอยู่ที่เมืองตาก ซึ่งได้รับราชการด้วยดี จนกระทั่งเจ้าเมืองตากคนเก่าได้ถึงแก่กรรม หลวงยกบัตรจึงขึ้นเป็นเจ้าเมืองตากแทน และปกครองดูแลเมืองตากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาได้ตั้งต้นขึ้นเป็นใหญ่ ขึ้นครองเมืองในอาณาจักรพุกาม ได้ส่งกองทัพเข้ามาเพื่อหวังจะยึดครองอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สำเร็จจนถึงรัชสมัยของพระเจ้ามังระ ผู้เป็นพระโอรสของพระเจ้าอลองพญาจึงกรีฑาทัพเข้ายึดครองกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งในปีพ.ศ. 2307 การเข้ามาครั้งนี้ของทัพพม่าเป็นการเข้ามาในลักษณะกองโจร ปล้นสะดม อยู่รอบชานเมืองนานถึง 3 ปีเต็ม ประชาชนอกสั่นขวัญผวาไม่เป็นอันทำมาหากิน
ข้างพระเจ้าตากซึ่งเป็นเจ้าเมืองตาก ได้ลงมาช่วยราชการสงครามต่อสู้กับทัพข้าศึกอย่างแข็งขัน และได้รับชัยชนะหลายคราว จนได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็น พระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร ซึ่งถือว่าเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในสมัยนั้น แต่ก็ไม่ได้ไปว่าราชการที่เมืองกำแพงเพชร เพราะกรุงศรีฯยังตกอยู่ในภัยสงคราม พระยาวชิรปราการได้เข้าต่อต้านข้าศึก อย่างเต็มความสามารถ แต่การสู้รบในครั้งนั้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะพม่ายกทัพกันมาเหลือคณานับ ในขณะที่ไทยเองได้แต่รอให้ถึงฤดูน้ำหลาก พระยาวชิรปราการยศของพระเจ้าตากในขณะนั้น เห็นว่าสู้ต่อไปรังแต่จะพ่ายแพ้และสูญเสีย จึงคิดจะถอยทัพโดยทิ้งกรุงศรีอยุธยาไว้โดยมีดำริจะมากู้คืนในภายหลัง เมื่อรวบรวมไพร่พลได้ราว 500 คน จึงตีฝ่าทัพพม่าออกไป ทางด้านค่ายวัดพิชัย ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก หรือ ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309
เมื่อพระเจ้าตากสินตีฝ่าข้าศึกออกมาได้แล้วก็มุ่งสู่ภาคตะวันออก ตามที่เรารับทราบกันมาในตำราเรียนทางด้านประวัติศาสตร์ การเดินทางไปยังดินแดนภาคตะวันออกในครั้งนั้น พระยาตากได้ทำการรวบรวมไพร่พล รวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ไปตลอดเส้นทางการเดินทัพ ด้วยหมายใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยาในเร็ววัน โดยไล่ตั้งแต่การยกกองทัพไปทางนาเริง-นครนายก เดินทัพต่อไปยังเมืองฉะเชิงเทรา เข้าเมืองระยอง ในระหว่างที่อยู่ที่เมืองระยองนี้เอง พระยาตากก็ได้รับทราบข่าวร้ายว่ากรุงศรีอยุธยาเสียทีให้แก่พม่าแล้ว พระองค์ท่านจึงมุ่งหน้ายึดเอาเมืองจันทบุรีหมายเอาเป็นที่มั่น และสามารถยึดเมืองจันทบุรีได้ใน วันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ ๐3.๐๐ น. ซึ่งไทยเสียเอกราชให้แก่พม่าเป็นเวลาสองเดือนล่วงผ่านมาแล้ว
ข้างฝ่ายสยามประเทศเมื่อเสียกรุงศรีฯแล้ว แผ่นดินก็ลุกเป็นไฟ มีการตั้งเป็นก๊กเป็นเหล่า ไม่สมัครสมานสามัคคีกันอย่างเก่า เมื่อพระยาตากได้จันทบุรีแล้ว ก็มีดำริที่จะยึดเอากรุงศรีอยุธยาคืน จึงได้ให้ทหารในสังกัดต่อเรือรบ แล้วทำการรวบรวมไพร่พลและอาวุธเพิ่มเติม ใช้เวลาทั้งสิ้นราว 3 เดือน จึงเคลื่อนทัพออกจากจันทบุรีมุงสู่กรุงศรีอยุธยา เข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นและยึดกรุงศรีอยุธยากลับคืนมาได้ รวมระยะเวลาในการกู้กรุง 7 เดือน พระเจ้าตากสามารถตีค่ายโพธิ์สามต้นอันเป็นที่มั่นของพม่าแตก เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก หรือตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 เวลาประมาณ 13.00 น.
และได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ในวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2311 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ และในวันนี้เอง ที่อิสรภาพได้กลับคืนสู่แผ่นดินไทยอีกครั้ง และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ท่านจึงถือเอาวันที่28 ธันวาคม ของทุกปี อันเป็นวันปราบดาภิเษกในการครองราชย์เป็นวันตากสินมหาราช
เมื่อขจัดภัยต่างชาติเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวรวบรวมดินแดนให้เป็นปึกแผ่นดังเก่าก่อน ในคราวนั้นเจ้าผู้ครองแคว้นในดินแดนต่างๆ ต่างตั้งตนเป็นใหญ่ แตกกันเป็นก๊ก ไทยฆ่าฟันกันเอง หาความสงบสุขไม่ได้ โดยมีก๊กหรือชุมนุมใหญ่คือ
- ชุมนุมพระยาตาก อันเป็นชุมนุมของพระเจ้าตากเองตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีก่อนจะสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
- ชุมนุมพระยาพิษณุโลก เจ้าเมืองพิษณุโลกตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองพิษณุโลก อันคลุมไปถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือในบางส่วนด้วย
- ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช หัวเมืองสำคัญฝ่ายใต้เจ้าพระยานครตั้งชุมนุมขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช
- ชุมนุมเจ้าพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมโกศ ตั้งชุมนุมขึ้นที่เมืองพิมาย
- ชุมนุมเจ้าพระฝาง พระสังฆราชาในเมืองฝางตั้งชุมนุมขึ้นโดยที่ยังคงดำรงตนในเพศบรรพชิต มีที่มั่นอยู่เมืองสวางคบุรีหรือเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน
พระเจ้ากรุงธนบุรีใช้เวลาปราบปรามชุมนุมต่างๆอยู่ 3 ปี จึงสามารถรวบรวมสยามให้เป็นปึกแผ่นได้ดั่งเก่าก่อนตลอด 15 ปีในรัชกาลของพระองค์ ยังคงมีศึกสงครามติดพันอยู่ตลอดแต่กระนั้น พระราชกรณียกิจทางด้านต่างๆพระองค์ก็ทรงหาได้ละเลย พระราชกรณียกิจที่สำคัญ คือ การฟื้นฟูอาณาจักรให้เข้มแข็งอย่างเก่าในเกือบทุกๆ ด้าน อย่างเช่น พระราชกรณียกิจที่สำคัญ เช่น
1. ชำระกฎหมาย โดยได้ทรงรวบรวมกฎหมายต่างๆที่ส่วนใหญ่ถูกทำลายไปเมื่อคราวถูกเผาเมือง เมื่อได้มาก็ให้ทำการชำระขึ้นใหม่และใช้บังคับในราชอาณาจักรของพระองค์
2. ทรงฟื้นฟูความสัมพันธ์นานาประเทศ โดยเฉพาะกับจีนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นในแผ่นดินกรุงธนบุรี
3. การรวบรวมพระไตรปิฎก ทรงให้ความสำคัญกับพระศาสนาโดยทรงรวบรวมพระไตรปิฎกจากที่ต่างๆ เช่น นครศรีธรรมราช อุตรดิตถ์ เพื่อเอามาร่างเป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง
4. การบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม โดยทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ในการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม และยกให้เป็นอารามหลวง เช่น วัดอินทารามวรวิหาร, วัดอรุณราชวราราม เป็นต้น
5. ทรงสมโภชพระแก้วมรกตให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง โดยจัดให้มีขบวนเรือพยุหยาตรา จำนวน 246 ลำ โดยเมื่อแรกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อมีการย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งพระนครในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ย้ายพระแก้วมรกตมาประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่างเช่นในปัจจุบัน
6. ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ กษัตริย์ในสมัยก่อนนอกจากจะต้องทรงเชี่ยวชาญทางด้านการศึก แล้วศิลปะคือวิทยาการอีกแขนงหนึ่งที่ต้องรอบรู้ พระเจ้าตากก็เช่นกันโดยได้ทรงพระราชนิพนธ์ รามเกียรติ์ ไว้ 4 ตอน
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูลพ. - 27 ก.พ. 2556 - 14:28.30
วันปิดประมูล ส. - 09 มี.ค. 2556 - 06:03.10 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ100 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 06:01.30
300 บาท ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 06:02.13
400 บาท ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 06:03.00
500 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) ศ. - 08 มี.ค. 2556 - 06:03.10
กำลังโหลด...
Top