
ประมูล หมวด:ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง - ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี - ครูบาชัยวงศ์ วัดพระพทธบาทห้วยต้ม
พระสมเด็จไจยะเบงชร หลวงปู่ครูบาอิน อินโท หลังยันต์ฟ้าฟีก # 3 (ไม่มีกล่อง)



ชื่อพระเครื่อง | พระสมเด็จไจยะเบงชร หลวงปู่ครูบาอิน อินโท หลังยันต์ฟ้าฟีก # 3 (ไม่มีกล่อง) |
---|---|
รายละเอียด | องค์ นี้พิมพ์พระประธานกรอบกระจก เนื้อผงผสมเกษา ฝังแบงค์,ฝังพลอย,สภาพสวยมากๆ พลังพุทธคุณสุดยอด ใช้แทนสมพระเด็จวัดระฆัง หรือพระสมเด็จชินบัญชร ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ได้เลย แรงเหมือนกันเลยครับ ของดีราคาถูก น่าบูชามากๆครับ.. สมเด็จ ไจยะเบงชรเนื้อผงพุทธคุณโรยเศษธนบัตร-พลอยกินบ่เซี่ยง เป็น วัตถุมงคลอันทรงคุณค่าที่จัดสร้างมาในช่วงปลายๆก่อนหลวงปู่ครูบาอิน อินโท หรือ "ครูบาฟ้าหลั่ง" จะละสังขารไปไม่กี่ปี วัตถุมงคลรุ่นท้ายๆถึงแม้จะจัดสร้างมาในช่วงหลังๆจึงเสมือนเป็นมรดกทางวัตถุ ธรรมที่หลวงปู่ครูบาอินท่านได้ฝากไว้ให้ศิษย์ได้ระลึกนึกถึงท่าน สำหรับ พระกริ่งไจยะเบงชรอันเป็นวัตถุมงคลเทหล่อที่สร้างขึ้นในปีเดียวกันกับ พระพิมพ์สมเด็จรุ่นนี้ ตอนนี้ไม่ต้องพูดถึง หายากใครมีแล้วเป็นต้องเก็บรักษาไว้ ส่วนวัตถุมงคลเนื้อผงพุทธคุณพิมพ์สมเด็จก็เป็นวัตถุมงคลอันทรงคุณค่าไม่แพ้ กันกับพิมพ์พระกริ่งไจยะเบงชรอย่างเช่นสมเด็จได้นำผงตะไบจากองค์พระกริ่งไจ ยะเบ็งชรมาโรยไว้ด้านหน้า อีกทั้งยังผสมมลสารครบถ้วนอีกด้วย ต่อไปจะหาเช่าบูชาได้ยากพอๆ กับพระกริ่งไจยะเบงชรของครูบาอินเช่นกันครับ พระสมเด็จ หลังยันต์ฟ้าฟีก หัวใจไจยะเบงชร เนื้อต่างๆ ....................................... ฟ้า ฟีก ยันต์หัวใจแห่งไชยเบงชร(ไจยะเบงจร) หรือ ชินบัญชร พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ยิ่งยวด ใช้ป้องกันและเสริมความเป็นมงคลได้ทุกด้าน ยันต์ฟ้าฟีกหรือคาถาหัวใจไชยเบงชรที่ว่า "ระตะนังปุระโตอาสิ" ในวัฒนธรรมความเชื่อล้านนาเป็นคาถาที่ใช้อย่างแพร่หลาย แม้แต่ ครูบาเจ้าศรีวิไชย สิริวิชโย ต๋นบุญแห่งล้านนายังใช้เป็นยันต์ประจำตัวองค์ท่าน มีคุณด้านกันและปัดเป่าสรรพอันตรายเภทภัยต่างๆให้ออกไปจากตัวตน บ้านเรือน เมืองนคร เวลายามจะเกิดลมหลวงหรือพายุชาวบ้านชาวเมืองผู้มีวิชาจะใช้คาถานี้ในการไล่ ลมฝนฟ้าให้ห่างไปจากบ้านของตน ยันต์นี้ยังทำเป็นแผ่นติดเสาเรือนเพื่อกันไฟไหม้และกันฟ้าผ่าได้ฉมังยิ่งนัก ฟ้า ฟีก ตาลหิ้น .... ยันต์ฟ้าฟีก หรือคาถาตาลหิ้น เป็นการดึงเอาหัวใจของพระคาถาไจยะเบงชร ออกมา 8 อักขระ ว่าดังนี้ "ระตะนัง ปุระ โต อาสิ" มาเขียนย่อเป็นยันต์ลงในแผ่นกระดาษหรือแผ่นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมสำหรับติดที่ ปลายเสาดั้งของบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร เพื่อป้องกันฟ้าผ่า ไฟไหม้ เรียกว่า ?ยันต์หัวเสา? บ้าง ?ยันต์เสาดั้ง? บ้าง ?ยันต์ฟ้าฟีก? บ้าง การลงอักขระมีหลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็ลงเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยม 9 ช่อง เวลาลงอักขระให้ลงเป็นตารางแบบม้าย่อง ตรงกลาง บางตำราก็ลง "ติ" บางตำราก็ลงเป็นตัวเลขล้านนา บางตำราก็ลงเป็นองค์พระ ( โอม , อุนาโลม ) อันนี้ก็แล้วแต่ว่าครูบาอาจารย์สืบสายตำรามากันอย่างไร อีกแบบหนึ่งเป็นรูปวงกลม ซ้อนกันหลายวง ตัดแบ่งเป็นช่องๆ ลงอักขระที่แตกต่างกัน นิยมทำเป็นยันต์หัวเสา ยันต์ฟ้าฟีก เป็นยันต์ที่เชื่อว่า มีฤทธิ์ ป้องกันบรรเทาภัยจาก ฟ้า ฝน ลมพายุได้ ตามความเชื่อโบราณ ว่ากันว่า เวลาเกิด "ฝนตกใหญ่ลมหลวง" ฝนฟ้าคะนองและมีพายุพัดแรงจัด ต่างคนก็ต่างมีวิธีป้องกันบ้านเรือน บ้างก็นำเอาจวัก ช้อน ชามไปแขวนบริเวณหน้าบ้าน บ้างก็เอามีดไปขัดประตู หน้าต่างแทนกลอน หรือไม่ก็เอามีดไปแทงทะลุเสียบคารอยฝาแตกให้ปลายมีชี้ไปทางทิศที่ลมมาถือว่า เป็นการ "แทงลม" บ้างก็เอามีดไปเสียบขัดไว้ที่ข้างฝา บ้างใช้มีดขัดกลอนประตูหน้าต่างนัยว่าเป็นการขัดหรือฝืนลม บางแห่งให้ลูกหลานไปซื้อเหล้าโรงมาประกอบพิธีไล่ลมที่เรียกว่า "ม้าเหล็กไล่ม้าลม" โดยนำเขียงไปวางที่ชานเรือน พ่อเจ้าเรือนจะถือมีดด้วยมือซ้าย กลั้นลมหายใจสับมีดอย่างแรงให้มีดสับคาเขียงและปลายมีดชี้ไปทางทิศที่ลมมา แล้วเสกเหล้าด้วยมนต์ "คาถาฟ้าฟีก" (ฟีก = หลีก) ว่า "ระตะนัง ปุระโต อาสิ" อมแล้วพ่นไปที่มีดพร้อมให้ลูกหลานตบมือส่งเสียงโห่ร้องว่า "เอ้าๆ ม้าเหล็กไล่ม้าลม..เอ้า ๆ ?เฮ้!ๆๆๆ" ... (อ.สนั่น ธรรมธิ เขียนไว้ครับ) แล้ว เหตุใด จึงมีชื่อว่าคาถาตาลหิ้น...???... มีเรื่องเล่าแบบมุขปาถะ เรื่องหนึ่งว่า... ในแคว้นล้านนาสมัยของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (ทิพย์ช้าง) ต้น ตะกูล ทิพย์ช้างเชื้อเจ้าเจ็ดตน หลักฐานยังอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ท่านเป็นปู่ของ เจ้าชีวิตอ้าว เจ้าหลวงเชียงใหม่ ตามประวัติว่า ถ้าท่านอุทานว่า "อ้าว" เมื่อไหร่ต้องจับประหารเมื่อนั้น หนานติ๊บจ๊างมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านนับถือมากเป็นคนประสิทธิประสาทคาถาทั้งหลายทั้งมวลให้ (เข้าใจว่าเป็น พระมหาเถรวัดชมพู) วันหนึ่งท่านเรียกหนาน เข้าไปหาและบอกว่าจะให้ของดี มันเป็นคาถา แต่ไม่มีชื่อเรียก มี 8 คำ เมื่อเจ้าหนานท่องจนขึ้นใจแล้วก็จะทดสอบความขลัง จึงให้ทหารเอาปืนมาอยู่ใต้ต้นตาล ให้มากที่สุด จากนั้นเจ้าหนานก็ขึ้น ไปอยู่ยอดต้นตาล แล้วสั่งให้ทหารยิง ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเจ้าหนานจนต้นตาลปลายด้วนหมด เจ้าหนานเลยตั้งชื่อ คาถาบทนี้ ว่า ยอดตาลหิ้น นั่นเอง .... อย่างที่ออกตัวไว้ตั้งแต่ต้น นี่เป็นเพียงเรื่องเล่าต่อๆ กันมา ไม่สามารถหาหลักฐานใดๆ ยืนยันได้ กล่าวโดยสรุปก็คือ ยันต์นี้ ถือเป็นยันต์ที่มีอานุภาพ มากเรื่องแคล้วคลาด ป้องกันภัย ภยันตรายต่างๆ และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ครูบาอาจารย์ทางเหนือใช้กันมากครับ |
ราคาเปิดประมูล | 100 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | ศ. - 22 ก.พ. 2556 - 22:20.39 |
วันปิดประมูล |
พ. - 06 มี.ค. 2556 - 18:20.13 ![]() |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
ราคาปัจจุบัน | 250 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ) |
---|---|
เพิ่มครั้งละ | 10 บาท |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดก่อนกำหนดโดยผู้ตั้งประมูล
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
ผู้เสนอราคา | ราคา | เวลา |
---|---|---|
110 บาท | ส. - 23 ก.พ. 2556 - 10:02.20 | |
120 บาท | อา. - 24 ก.พ. 2556 - 18:31.45 | |
130 บาท | อา. - 24 ก.พ. 2556 - 18:31.58 | |
150 บาท | จ. - 25 ก.พ. 2556 - 13:21.55 | |
160 บาท | อ. - 26 ก.พ. 2556 - 16:52.08 | |
250 บาท | อ. - 26 ก.พ. 2556 - 16:52.19 |
กำลังโหลด...