ประมูล หมวด:วัตถุมงคลของแผ่นดิน เชื้อพระวงศ์ บุคคลสำคัญ เหรียญกษาปณ์ เหรียญที่ระลึก ธนบัตร
พระกริ่ง พระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542
ชื่อพระเครื่อง | พระกริ่ง พระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล พระกริ่ง 72 พรรษา ปี2542 |
---|---|
รายละเอียด | เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2542 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดสร้างวัตถุมงคลพระพุทธรูป และพระบรมรูปจำลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัดสร้างครั้งนี้จึงประกอบด้วยหลักการดังนี้ 1. ความถูกต้องในพิธีแต่โบราณ 2. ความสมบูรณ์พร้อมของมวลสาร ทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างพระในโครงการฯ 3. รูปแบบที่งดงาม หลักการดังกล่าว คณะกรรมการจัดสร้าง จึงได้กำหนดพิธีการให้มี 3 พิธี ด้วยกัน เพื่อจะได้ถูกต้องสมบูรณ์และศักดิ์สิทธิ์ตามตำราแต่โบราณซึ่งสืบทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาในสมัยของสมเด็จพระพนรัต พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯแทนพระองค์ในพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล ชนิดพระบูชา และพระกริ่ง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2541 เวลาฤกษ์ 18.19 โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และทรงจุดเทียนชัย พร้อมสมเด็จพระราชาคณะและเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ รายละเอียดของพิธี พิธีที่ 1 จัดขึ้น ณ พระอุโสสถวัดระฆังโฆสิตาราม ในวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2540 โดยได้รับความเมตตาอย่างยิ่งจากพระคณาจารย์ทั่วประเทศจังหวัดละ 9 รูป รวม 684 รูป พิธีที่ 2 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงเททอง และทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2541 ในการนี้ได้นำแผ่นทองคำ นาก และเงิน ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอธิษฐานจิต ทรงเจิม และทรงพระสุหร่าย เพื่อนำมาหล่อหลอมจัดสร้างพระโครงการนี้ พิธีที่ 3 พิธีมหาพุทธาภิเษกและพิธีชัยมังคลาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในราวเดือนพฤศจิกายน 2541 เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการถวายพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสดังกล่าว รายได้ทั้งหมดนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโครงการฯ นี้ว่า พระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล หมายถึง พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในโอกาสอันเป็นมงคลฉลองพระชนมายุครบ 6 รอบ แห่งพระมหาราชที่ 9 ซึ่งเป็นรุ่นเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 5 ธันวาคม 2542 และนอกจากนี้ยังได้พระราชทานมวลสารจิตรลดามาทำพระผงชุด 5 องค์อีกด้วย โดยเป็นพระสมเด็จสององค์พระนางพญา 2 องค์และพระประจำพระชนมวาร 1 องค์ ในส่วนพระกริ่งจะตอกโค๊ดเลข ๙ ที่ด้านหลังองค์พระกริ่ง และอุดฐานด้วยพระปรมาภิไธย ภปร ๗๒ พรรษา ในการสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ภปร 6 รอบ 72 พรรษา ในหลวง มีการสร้างเป็นเนื้อทองคำ และเนื้อโลหะผสม (ทองแดงรมดำ) ลักษณะองค์พระกริ่ง พระพักตร์แบบไทย ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำ บัวหงาย พระเนื้อทองคำ สร้าง 3 ขนาด มีน้ำหนักหนึ่งบาท สองสลึง และหนึ่งสลึง ขนาดหนึ่งบาทจะบรรจุเม็ดกริ่ง อันเป็นลักษณะของพระกริ่ง ส่วนขนาดสองสลึงและหนึ่งสลึง ไม่มีการบรรจุเม็ดกริ่ง จะเป็นลักษณะพระชัยวัฒน์ ส่วนพระกริ่งเนื้อโลหะผสม (ทองแดงรมดำโดยกรรมวิธีทางช่างเรียกว่าแช่น้ำกดดำกดแดงเนื้อถึงดำ) สร้างขนาดเดียว โดยมีขนาดใกล้เคียงกับพระเนื้อทองคำขนาดหนึ่งบาท บรรจุเม็ดกริ่ง และพิมพ์แจกกรรมการ หมายเหตุ : พระกริ่งรุ่นนี้ไม่ได้มีการจัดสร้างเนื้อนวโลหะนะครับ ขนาด ฐานกว้าง 2.0 ซม. ความสูง 3.5 ซม. สำหรับท่านที่สนใจพระกริ่งที่จัดสร้างในวโรกาสเฉลิมฉลองพระชนมายุของในหลวงอยู่ และกำลังหาพระกริ่งที่พิธีดีๆไว้บูชา ขอแนะนำพระกริ่งพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคล องค์นี้เลยครับ พระกริ่งสวยมาก พิธีดี น่าบูชาเก็บไว้มากครับ พระกริ่งพระพุทธนวมมหาราชายุจฉับปริวัตนมงคลไม่ผ่านการใช้ บูชาพร้อมกล่องเดิมจากวัด พระกริ่งแท้กับพระกริ่งเก๊มาเปรียบเทียบกันแล้วก็แทบจะไม่เห็นความแตกต่างกันเลย แต่ก็ยังมีความแตกต่างให้เห็นกันชัดๆอยู่ 3 จุดคือ 1. โค้ดเลขเก้าไทย (๙) ที่ตอกบริเวณสะโพกองค์พระด้านหลัง พระกริ่งแท้จะเป็นเส้นตอกลึกลงไป ส่วนพระกริ่งเก๊จะมีลักษณะเป็นแอ่งกว้างบ้าง หรือเส้นเลข๙มีแต่ไม่ชัดบ้าง 2. ตัวหนังสือใต้ฐาน อันนี้สำคัญมากเป็นหลักการพิจารณาพระแท้หรือเก๊ได้เลย พระกริ่งแท้จะมีลักษณะเป็นแท่งคมชัดกว่าพระกริ่งเก๊มาก โดยเฉพาะตัวอักษร ภปร พระกริ่งแท้นั้นตัวอักษรมีความหนาและคมชัดกว่าพระกริ่งเก๊อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้การอุดกริ่งนั้นพระกริ่งแท้ทำได้เรียบร้อยกว่าพระกริ่งเก๊มาก 3. ถ้าดูจากด้านข้างขององค์พระ พระกริ่งแท้จะมีความหนากว่าพระกริ่งเก๊เล็กน้อย |
ราคาเปิดประมูล | 1,000 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 1,050 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 50 บาท |
วันเปิดประมูล | พ. - 30 ม.ค. 2556 - 09:25.59 |
วันปิดประมูล | พฤ. - 31 ม.ค. 2556 - 17:56.58 |
ผู้ตั้งประมูล | |
แชร์หน้านี้ |
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
กรุณาทำการ Login เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ |
กำลังโหลด...