วัดใจ 100 บาท เหรียญรุ่นสองหลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ ล.ลพบุรี ปี 15 - webpra

ประมูล หมวด:เหรียญปั๊ม ก่อนปี 2520

วัดใจ 100 บาท เหรียญรุ่นสองหลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ ล.ลพบุรี ปี 15

วัดใจ 100 บาท เหรียญรุ่นสองหลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ ล.ลพบุรี ปี 15 วัดใจ 100 บาท เหรียญรุ่นสองหลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ ล.ลพบุรี ปี 15 วัดใจ 100 บาท เหรียญรุ่นสองหลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ ล.ลพบุรี ปี 15
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง วัดใจ 100 บาท เหรียญรุ่นสองหลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ ล.ลพบุรี ปี 15
รายละเอียดเหรียญรุ่นสองหลวงปู่ฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ ล.ลพบุรี ปี 15
ประวัติ
พระครูสมถวิกรม (ฟัก) ภัททจารี
เจ้าอาวาสวัดเขาวงพระจันทร์
ชื่อพระครูสมถวิกรม (ฟัก) ภททจารี อายุ ๘๙ พรรษา ๕๔ สถานะเดิม ชื่อ ฟัก นามสกุล ชนะโกเศศ เกิดเมื่อ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ บิดา พระอักษรสมบัติ (เปล่ง) ชนะโกเศศ มารดา นางปลิก ชนะโกเศศ เกิดที่ บางขุนพรหม กรุงเทพฯ
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เวลา ๑๗.๑๓ น. ณ วัดเทพากร ตำบลบางพลัด อำเภอบางกอกน้อย ธนบุรี พระเทพากร (ในสมัยนั้น) วัดสามพระยาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปรากรมมุนี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด สุดใจ เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ภททจารี

งานปกครอง
วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาวงพระจันทร์ ตำบลห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

สมณศักดิ์
วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวินัยธร ฐานานุกรม ในพระเดชพระคุณพระธรรมมุนี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสมถวิกรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอกในราชทินนามที่พระครูสมถวิกรม

อยู่เขาวงตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๙๖
และเมื่อคิดว่าจะปฏิบัติให้จริงจัง ดังนั้นหลวงปู่จึงจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย ไหว้พระสวดมนต์ และเมื่อหลวงปู่ไหว้พระสวดมนต์เสร็จ หลวงปู่จึงตั้งสัจจะขึ้นว่า ข้าแต่พระพุทธเจ้า พระธัมมเจ้า พระสังฆเจ้า พระผู้ศักดิ์สิทธิ์ พระผู้มีฤทธิ์ พระผู้กายทิพย์ทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายจงรับทราบ และจงเป็นพยาน กระผมขอตั้งสัจจะว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป กระผมจะขอถือวัตรปฏิบัติ กินน้อย นอนน้อย ปฏิบัติมาก จึงขอยึดทางปฏิบัติว่า

๑. จะไม่ขอนอนตลอดชีวิต
๒. ฉันข้าวมื้อละไม่เกิน ๘ คำ
๓. ฉันแต่มังสวิรัติตลอดชีวิต
๔. จะไม่สรงน้ำตลอดชีวิตและ
๕. จะบวชตลอดชีวิต
๑. จะไม่ขอนอนตลอดชีวิต – เป็นการปฏิบัตทีทำได้ยากมากๆ ถ้าจิตไม่แข็งดุจเพชร ไม่มีทางที่จะปฏิบัติได้เลย หลวงปุ่ท่านเล่าให้ฟังว่า ๓ ปีแรกที่ปฏิบัติ ไม่นอน (หมายถึง ถ้าจะหลับก็จะนั่งหลับ) หลวงปู่ท่านบอกว่ามันเมื่อย มันเจ็บ มันปวด มันทรมานมาก เหมือนกายจะแตกแยกออกจากกัน โดยเฉพาะในปีที่ ๓ มันปวดร้าวระบมไปทั่วร่าง แต่หลวงปู่ท่านไม่ยอมแพ้ สู้และทน ด้วยคิดเสมอว่า เมื่อวานหนักกว่านี้ยังทนได้ ด้วยจิตที่แข็งแกร่งดุจเพชร ในที่สุด หลวงปู่ท่านก็ชนะได้ คือจะนั่งอย่างไร ก็สบายทุกท่า ถึงจะนั่งหลับก็หลับสบาย ไม่ทุกข์ ไม่ทรมานอีกต่อไป หลวงปู่ท่านให้เหตุผลของการไม่นอนไว้ว่า ก็เราตั้งใจถือปฏิบัติว่านอนน้อย ถ้าเรานอน มันก็ติดสุข นอนสนุกสุขสบายไป แต่เรานั่ง นั่งหลับนี้ดีกว่า นอนหลับตรงที่ พอเราหลับอยู่เพลินๆ กายเรามันก็โยกไปซ้ายบ้าง ขวาบ้าง เราก็รู้สึกเรียกว่า ไม่ให้หลับเลย ไม่ให้มันติดสุข ให้มันนอนเท่าที่อยู่ได้ เมื่อรู้สึก เราก็กำหนดจิตต่อ ฉะนั้น เราจะหลับเป็นช่วงๆ หนึ่งไม่นานเกิน ๒๕ นาที เมื่อรู้ก็กำหนดจิต เมื่อจิตสงบมันก็หลับ เมื่อหลับสนิท กายเอียงซ้ายบ้างเอียงขวาบ้าง ก็รู้สึกมันเป็นเช่นนี้ทั้งคืน นี่คือวัตรปฏิบัติ คนโดยทั่วไป นั่นมักเข้าใจว่า คำว่าพระธุดงค์ต้องแบกกลดเดินไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่าพระธุดงค์ แต่จริงๆ แล้ว คำว่า ธุดงค์ คือ สมาทาน เมื่อสมาทานแล้ว จะปฏิบัติอยู่ที่ไหนก็ได้ จะแบกกลดเข้าป่า หรือจะอยุ่วัด ขอให้ปฏิบัติให้ได้ ในข้อที่ตนสมาทาน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็เรียกว่า ถือธุดงค์ ตรงกันข้าม ถึงจะแบกกลดเดินไปทั่ว แต่ใจปฏิบัติไม่ได้ก็เหนื่อยเปล่า อย่าทำเลย ฉะนั้นคำว่าธุดงค์ จึงอยุ่ที่การถือปฏิบัติ คำว่าธุดงค์มี ๑๓ ข้อ ในที่นี้จะขอยกมากล่าวเพียง ๒ ข้อ เพราะถ้านำมาอธิบายทั้ง ๑๓ ข้อ ก็จะยืดยาวเกินความจำเป็นไป ข้อที่ ๑ ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ว่าคหปฏจีวรัง ปะฏิกขิปามิ บังสุxxxลิกังคัง สมาธยามิ แปลว่า เรางดคหบดีจีวรเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตรและข้อที่ ๑๓ ถือการนั่งเป็นวัตร ว่า เสยยัง ปะฏิกขิปามิ เนสัชชิกัง คัง สะมาธิยามิ แปลว่า เรางดการนอนเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือนั่งเป็นวัตร หลวงปู่ท่านถือการนั่งเป็นวัตร จึงอยู่ในหลักสมาทานธุดงค์ ข้อที่ ๑๓


๒. หลวงปู่ฉันอาหารมื้อละได้ไม่เกิน ๘ คำ ผู้เขียนได้กราบเรียนถามหลวงปู่ว่า ทำไมหลวงปู่จึงฉันอาหารมื้อล่ะไม่เกิน ๘ คำ หลวงปู่ท่านให้เหตุผลว่า พระเดชพระคุณ หลวงพ่อ โอภาสี ซึ่งเป็นอาจารย์ของเรา ท่านฉันครั้งละ ๓ คำเท่านั้น แต่เราฉัน ๘ คำ นับว่ามากกว่าครูอาจารย์ตั้งเยอะแล้ว อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้บวชเข้ามาในพุทธศาสนา ถ้าหวังการหลุดพ้น แต่กินมาก นอนมาก ก็ไม่รู้จะหลุดพ้นได้อย่างไร ฉะนั้น เราจึงปฏิบัติกินน้อย นอนน้อย แต่ปฏิบัติมาก หลวงปู่ท่านกล่าวถึงเหตุผล


๓. ฉันอาหารมังสวิรัติตลอดชีวิต เหตุผลในการฉันมังสวิรัติตลอดชีวิต หลวงปุ่ท่านต้องการปฏิบัติโดยไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ หลวงปู่ท่านจึงสมาทาน ฉันมังสวิรัติตลอดชีวิต


๔. ไม่สรงน้ำตลอดชีวิต โดยธรรมชาติ มนุษย์ทุกรูปทุกนาม จะมีการอาบน้ำชำระล้างร่างกาย เพราะร่างกายมนุษย์นั้น ถ้าไม่ชำระล้างก็คือกองปฏิxxxล เต็มไปด้วยของเหม็นสิ่งสกปรก ถ้าเราไม่ได้อาบน้ำแม้แต่เพียงวันเดียว เราจะรู้สึกอึดอัด มีกลิ่นไม่พึงปรารถนาเต็มไปหมด หลวงปู่ท่านบอกว่า ที่ไม่สรงน้ำ เพราะต้องการทำในสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปทำได้ยาก ฤาก็ดี โยคีก็ดี ในอดีตท่านก็ไม่อาบน้ำ ท่านก็ยังอยู่ของท่านได้ แล้วทำไมเราจะทำไม่ได้ ถ้าไม่สรงน้ำดีด้วยซ้ำไป จะได้ไม่ต้องกังวล ว่าถึงเวลาสรงน้ำแล้ว ถ้าไม่สรงน้ำเวลาอากาศร้อนเราก็เฉยๆ เวลาอากาศหนาว ยิ่งสบายไม่ลำบาก แต่ถึงแม้หลวงปู่ท่านจะไม่สรงน้ำ แต่ศิษย์ทุกคน สาธุชนทั้งหลายที่ได้เจอได้กราบหลวงปู่ ต่างจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า หลวงปู่ช่างผ่องใส งามสง่าเหลือเกิน มองอย่างไรก็ไม่อิ่มตา และกลิ่นกายของหลวงปู่ ก็มีกลิ่นหอมเย็นๆ ซึ่งทุกคนที่เข้าใกล้หลวงปู่ว่าจริง น่าอัศจรรย์แท้


๕. หลวงปู่อธาฐานบวชตลอดชีวิต ดังที่กล่าวแต่เบื้องต้นแล้วว่า ก่อนบวชหลวงปู่ท่านเบื่อหน่ายในชีวิตเพราะท่านเห็นด้วยปัญญาแล้วว่า ใดๆในโลกล้วงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาจะหาอะไรเป็นแก่นสารไม่มีเหลือ เมื่อจะบวช จึงอธิษฐานขอบวชตลอดชีวิต ผู้เขียนในกราบเรียนถึงเรื่องส่วนตัวของท่านว่า หลวงปู่ขอรับหลวงปู่อธิษฐานบวชไม่สึก และหลวงปู่บวชเมือ่อายุ ๓๕ ปีแล้ว หลวงปู่ไม่เคยมีคู่มาก่อนเลยหรือครับ หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า ถ้าหมายถึงภรรยาไม่มี แต่คนรักเคยมี เมื่อตัดสินใจบวชก็บอกเขาว่า ถ้าเธอต้องการมีคู่ก็มีได้เลย ไม่ต้องรอกันนะ เพราะเมื่อบวช คิดว่าจะไม่สึกตลอดชีวิต แต่เขาไม่เชื่อ เขาคิดว่าเราต้องสึกไปหาเขาแน่ จนเมื่อเราบวชได้สามพรรษา เขาเห็นว่าไม่สึกแน่ เขาจึงแต่งงาน งานแต่งงานก็นิมนต์เรา เราก็ไปอนุโมทนา เมื่อเขามีลูก เขาก็พามาให้เราผูกข้อมือให้ เราคิดแต่เพียงว่าทุกอย่างที่ผ่านไป ไม่ว่าจะผ่านไปนานแล้วหรือเพิ่งผ่านไปเมื่อวานนี้ก็ตามมันเป็นเพียงอดีตเราไม่ยึดติดกับมันไม่ว่าเรื่องอะไรทั้งสิ้น ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม เมื่อผ่านไปมันคืออดีต เราอยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ถูกต้อง เราจึงอยู่กับปัจจุบันเท่านั้น และไม่ใช่ว่าเราคิด เมื่อเราบวชตั้งแต่ยังไม่บวช ตั้งใจว่าบวชเมื่อไร จะขอบวชตลอดชีวิต และตั้งแต่บวชวันแรกจนถึงวันนี้ ไม่เคยแม้แต่น้อยเลยที่คิดจะสึก
ราคาเปิดประมูล90 บาท
ราคาปัจจุบัน100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูลพฤ. - 13 ม.ค. 2554 - 10:06.13
วันปิดประมูล จ. - 17 ม.ค. 2554 - 19:34.19 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ10 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
100 บาท (ถึงราคาขั้นต่ำ) อา. - 16 ม.ค. 2554 - 19:34.19
กำลังโหลด...
Top