พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด - webpra

ประมูล หมวด:พระบูชา

พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด

พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง พระบูชาหน้าตัก 1.5 นิ้ว ศิลป์อู่ทอง-สุวรรณภูมิ เนื้อสำริด
รายละเอียดพระบูชาสมัยอู่ทอง ได้รับยกย่องว่า ทรงคุณค่าทัดเทียมเสมอด้วยพระพุทธรูปสกุลช่างสมัยสุโขทัย แต่มีลักษณะแตกต่างกัน คือ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยมีลักษณะอ่อนช้อย นุ่มนวล แสดงเปรียบเสมือนพุทธองค์ภายหลังตรัสรู้หลุดพ้นแล้ว

แต่พระพุทธรูป สมัยอู่ทองมีลักษณะทรวดทรงสำแดงถึงความเข้มแข็ง ขึงขัง พระพักตร์ออกเป็นสี่เหลี่ยม สง่างาม เฉียบขาดอย่างนักรบผู้กล้าหาญ จึงเป็นที่นิยมของบุคคลบางกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับต้นกำเนิดของ พระพุทธรูปอู่ทอง นั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีกำเนิด ณ ท้องถิ่นเมืองใดแน่ แต่คำว่า "อู่ทอง" ไม่ได้บ่งบอกว่ามีถิ่นกำเนิดจาก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี แต่อย่างใด

เดิมทีนักเลงพระเรียกพระพุทธรูป แบบนี้ว่า “พระเมืองสรรค์” หรือ “พระเมืองสรรค์แข้งคม” ทั้งนี้เป็นเพราะว่า พระพุทธรูปสมัยอู่ทองพบครั้งแรกที่ เมืองสรรค์ จ.ชัยนาท จนกระทั่งในปี ๒๔๗๑ ศ.ยอช เซเดส์ จึงขนานนามพิมพ์นี้ว่า “พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง” เป็นครั้งแรก โดยให้คำอธิบายว่าเริ่มทำตั้งแต่ก่อนพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑) พระพุทธรูปสมัยอู่ทองนอกจากพบมากที่พระนครศรีอยุธยาและสุพรรณบุรีแล้ว ยังพบอยู่ทั่วๆ ไปตามแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแถบภาคกลาง เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ ตลอดถึงตอนใต้ของภาคเหนือ อันได้แก่ พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย อีกจำนวนไม่น้อย

พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง แบ่งออกได้เป็น ๓ รุ่น ด้วยกัน คือ

๑.พระพุทธรูป สมัยอู่ทอง ๑ เรามักเรียกกันมากในอีกแบบหนึ่งว่า “อู่ทองสุวรรณภูมิ” จัดว่าเป็นพระยุคแรกของสมัยอู่ทอง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะเมืองทวารวดี กับลพบุรีผสมผสานกัน มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปสมัยทวารวดียุคปลาย โดยเฉพาะใบหน้า แต่พระเนตรไม่อูม พระโอษฐ์ไม่แบะอย่างพระพุทธรูปสมัยทวารวดี

เอกลักษณ์ที่เด่นชัดของพระสมัยนี้นิยมทำคือ พระเมาลีและพระเกศ (มวยผม) เป็นรูปฝาชีครอบ มักเทด้วยโลหะสัมฤทธิ์ มีความหนา และน้ำหนักมากกว่าพระพุทธรูปสมัยอื่นๆ

๒.พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ๒ เป็นพระพุทธรูปของสมัยอู่ทองที่นิยมมากที่สุด ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปสมัยลพบุรีมากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้ชัดที่ใบหน้าขององค์พระ เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีไรพระศกเป็นเส้นหนา (เรียกกันเล่นๆ ว่า “ที่คาดผม”) คิ้วเป็นเส้นตรง หัวคิ้วเชื่อมต่อกัน เม็ดพระศกเป็นเม็ดละเอียดแบบหนามขนุน รัศมีเป็นเปลวเพลิง คางป้านคล้ายคางมนุษย์จริงๆ จีวรแนบเนื้อ สังฆาฏิแข็งใหญ่ ปลายมักตัดตรง ฐานเป็นแบบฐานสำเภา มักประทับนั่งแบบขัดสมาธิราบ นักสะสมนิยมเรียกกันว่า “พระอู่ทองหน้าแก่”

๓.พระ พุทธรูปสมัยอู่ทอง ๓ เป็นพระพุทธรูปที่นิยมแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยายุคต้น จนเห็นได้ชัดจากพระสมัยนี้บรรจุไว้ในพระปรางค์กรุวัดราชบูรณะ ที่สร้างโดย สมเด็จเจ้าสามพระยา เป็นจำนวนเกือบ ๔๐๐ องค์ พระพุทธรูปแบบนี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า “พระอู่ทองหน้าหนุ่ม” มีพุทธลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับพระอู่ทอง ๒ แต่แตกต่างกันบางส่วน คือใบหน้ามีแบบที่เป็นรูปไข่คล้ายกับพระสมัยสุโขทัยมากกว่าลพบุรี เพราะอิทธิพลของเมืองลพบุรีสลายไปแทบหมดสิ้น พร้อมกับพระเกศเป็นรัศมีแบบเปลวเพลิง พระขนง (คิ้ว) โก่ง ไม่เชื่อมต่อกัน ยิ่งกว่านั้นนิ้วมือก็ยังมีการทำแบบอ่อนช้อย

ในยุคนี้ถือว่าวิทยา การในการหล่อโลหะประณีตมาก สังเกตจาก พระอู่ทองหน้าหนุ่มนี้เนื้อโลหะจะมีความบางมากกว่าพระบูชาทุกสมัย เลยเป็นเหตุให้หาพระสมัยนี้ที่มีความสมบูรณ์ยากมาก

รวมความได้ว่า พระพุทธรูปอู่ทอง ๓ แบบนี้ ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปสุโขทัยมากที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลของเมืองลพบุรีหลงเหลืออยู่บ้าง ที่พอเห็นได้คือ เส้นไรพระศก และสัดส่วนของพระเท่านั้นเอง โดยที่พระพุทธรูปอู่ทองรุ่นที่ ๓ นี้ มีลักษณะต่างกับอีกสองแบบเล็กน้อย ตามที่พบคือ

แบบอู่ทอง-สุโขทัย จะมีความงดงามนุ่มนวล อ่อนช้อย เนื่องจากได้ใกล้ชิดกับอิทธิพลสุโขทัย พบมากที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร และสุโขทัยอีกพอประมาณ

แบบอู่ทอง-อโยธยา จะมีความขึงขังใกล้เคียงกับพระอู่ทองหน้าแก่ของเดิมอยู่มากกว่า เพียงแต่นำพุทธลักษณะใบหน้าเป็นรูปไข่ของอิทธิพลสุโขทัยมาใช้เท่านั้น พบมากในเขต จ.พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี

อิทธิพลของพระพุทธรูป สมัยอู่ทอง ส่งผลโดยตรงต่อพระพุทธรูปสมัยอยุธยาในเวลาต่อมา โดยเฉพาะพระพุทธรูปอู่ทอง ๓ แทบจะกล่าวได้เลยว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้นอย่างแท้จริง
ราคาเปิดประมูล200 บาท
ราคาปัจจุบัน350 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูลอ. - 11 พ.ค. 2553 - 19:27.30
วันปิดประมูล ศ. - 14 พ.ค. 2553 - 19:27.30 ปิดประมูล
ผู้ตั้งประมูล
แชร์หน้านี้
รายละเอียดราคาประมูล
ราคาปัจจุบัน 350 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มครั้งละ50 บาท
การประมูลพระเครื่องนี้ ถูกปิดโดยระบบแล้ว
เนื่องด้วยเจ้าของรายการประมูลนี้ ได้ทำผิดกฎ หรือ ถูกลดสิทธิ์ในการตั้งรายการประมูล ดังนั้นรายการประมูลทั้งหมดของเจ้าของรายการประมูลนี้จะถูกระงับชั่วคราว
เคาะประมูล
กรุณาทำการ เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการประมูลใดๆ
รายละเอียดผู้เสนอราคา
ผู้เสนอราคา ราคา เวลา
200 บาท อ. - 11 พ.ค. 2553 - 21:13.26
Nadoon9 (85) (-2) 202.29.57.211
250 บาท พ. - 12 พ.ค. 2553 - 00:44.29
Nadoon9 (85) (-2) 202.29.57.211
300 บาท พ. - 12 พ.ค. 2553 - 00:44.32
350 บาท ศ. - 14 พ.ค. 2553 - 09:02.53
กำลังโหลด...
Top